ธรรมเหล่าไหน ทำให้มากแล้วย่อมทำให้ วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! ก็ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์"
ดูกรกุณฑลิยะ ! โพฌงค์ 7 ประการแล.....
"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ก็ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่บุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ 7 ประการให้บริบูรณ์"
ดูก่อนกุณฑลิยะ ! สติปัฎฐาน 4 ประการแล....
"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ก็ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฎฐาน 4 ประการให้บริบูรณ์"
ดูก่อนกุณฑลิยะ ! สุจริต 3 ประการแล...
"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ก็ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมทำสุจริต 3 ประการให้บริบูรณ์"
ดูก่อนกุณฑลิยะ ! อินทรีย์สังวรณ์แล...ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมทำ สุจริต 3 ประการให้บริบูรณ์.
ดูก่อนกุณฑลิยะ ! อินทรียสังวร อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไรเล่าจึงจะทำสุจริต 3 ประการให้บริบูรณ์
ดูก่อนกุณฑลิยะ ! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นรูปที่น่าพอใจด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่เพ่งเล็งด้วยความโลภ, ไม่หวังจะเอามาทะนุถนอม,
ไม่ทำราคะให้เกิดขึ้น : กายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ ตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้วในภายใน อนึ่งเธอ เห็นรูปที่ไม่น่าพอใจด้วยจักษุแล้ว
ย่อมไม่เป็นผู้เงอะงะ, ไม่มีจิตตั้งอยู่ด้วยโทสะ, มีใจอันความโกรธไม่ครอบงำแล้ว, มีจิตไม่มาดร้ายแล้ว ; กายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่
ตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้วในภายใน. (ในกรณแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธัมมารมณ์ ก็ตรัสไว้มีนัยเดียวกัน)
ดูก่อนกุณฑลิยะ ! เพราะเหตุที่ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้คงที่ มีจิตอันกิเลสไม่ครอบงำแล้ว ไม่มีจิตถึงความผิดปรกติแล้ว ในรูป
ทั้งหลายทั้งที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ ; กายของเธอจึงคงที่ จิตของเธอจึงคงที่ ตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้วในภายใน( ในกรณีแห่งเสียง
กลิ่น รสโผฎฐัพพะ และ ธัมมารมณ์ ก็ตรัสไว้มีนัยเดียวกัน)
ดูก่อนกุณฑลิยะ ! อินทรียสังวร อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงจะทำสุจริต 3 ประการให้บริบูรณ์.
ดูก่อนกุณฑลิยะ ! สุจริต 3 ประการ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงจะทำสติปัฎฐาน 4 ประการให้บริบูรณ์;
ดูก่อนกุณฑลิยะ ! ภิกษุในกรณีนี้ (1) ย่อมเจริญกายสุจริตเพื่อละกายทุจริต, (2) ย่อมเจริญวจีสุจริตเพื่อละวจีทุจริต
(3)ย่อมเจริญมโนสุจริตเพื่อละมโนทุจริต. ดูก่อนกุณฑลิยะ ! สุจริต 3 ประการ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล
จึงจะทำสติปัฎฐาน 4 ประการให้บริบูรณ์.
ดูก่อนกุณฑลิยะ ! สติปัฎฐาน 4 ประการ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงจะทำให้โพชฌงค์ 7 ประการให้บริบูรณ์ !
ดูก่อนกุณฑลิยะ ! ภิกษุในกรณีนี้ (1) ย่อมเป็นผู้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสติสัมปชัญญะ
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้, (2) ย่อมเป็นผู้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ...ฯลฯ...
(3) ย่อมเป็นผู้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ...ฯลฯ...(4) ย่อมเป็นผู้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้. ดูก่อนกุณฑลิยะ ! สติปัฎฐาน 4 ประการ
อันบุคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล จึงทำให้โพชฌงค์ 7 ประการให้บริบูรณ์.
ดูก่อนกุณฑลิยะ !โพชฌงค์ 7 ประการ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงจะทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
ดูก่อนกุณฑลิยะ ! ภิกษุในกรณีนี้ (1) ย่อม เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความปล่อยวาง
(2) ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์...ฯลฯ...(3) ย่อม เจริญวิริยะสัมโพชฌงค์...ฯลฯ...(4) ย่อม เจริญปิติสัมโพชฌงค์.ฯลฯ.
(5) ย่อม เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์...ฯลฯ...(6) ย่อม เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์...ฯลฯ...(7) ย่อม เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธะ น้อมไปเพื่อความปล่อยวาง. ดูก่อนกุณฑลิยะ ! โพชฌงค์ 7 ประการ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้ว อย่างนี้แลจึงจะทำ วิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้แล้ว กุณฑลิยะ ! ปริพาชกยกย่องชมเชยในพระธรรมเทศนาแล้วแสดงตนเป็น อุบาสก รับนับถือ พระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ จนตลอดชีวิต.
หมายเหตุ : ลำดับการปฎิบัตินี้คือ อินทรียสังวร สุจริต3 สติปัฎฐาน4 โพชฌงค์7 กระทั่งถึงวิชชาวิมุตติ....
จากหนังสือ ปฎิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
ธรรมเหล่าไหน ทำให้มากแล้วย่อมทำให้ วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! ก็ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์"
ดูกรกุณฑลิยะ ! โพฌงค์ 7 ประการแล.....
"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ก็ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่บุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ 7 ประการให้บริบูรณ์"
ดูก่อนกุณฑลิยะ ! สติปัฎฐาน 4 ประการแล....
"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ก็ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฎฐาน 4 ประการให้บริบูรณ์"
ดูก่อนกุณฑลิยะ ! สุจริต 3 ประการแล...
"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ก็ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมทำสุจริต 3 ประการให้บริบูรณ์"
ดูก่อนกุณฑลิยะ ! อินทรีย์สังวรณ์แล...ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมทำ สุจริต 3 ประการให้บริบูรณ์.
ดูก่อนกุณฑลิยะ ! อินทรียสังวร อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไรเล่าจึงจะทำสุจริต 3 ประการให้บริบูรณ์
ดูก่อนกุณฑลิยะ ! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นรูปที่น่าพอใจด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่เพ่งเล็งด้วยความโลภ, ไม่หวังจะเอามาทะนุถนอม,
ไม่ทำราคะให้เกิดขึ้น : กายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ ตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้วในภายใน อนึ่งเธอ เห็นรูปที่ไม่น่าพอใจด้วยจักษุแล้ว
ย่อมไม่เป็นผู้เงอะงะ, ไม่มีจิตตั้งอยู่ด้วยโทสะ, มีใจอันความโกรธไม่ครอบงำแล้ว, มีจิตไม่มาดร้ายแล้ว ; กายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่
ตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้วในภายใน. (ในกรณแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธัมมารมณ์ ก็ตรัสไว้มีนัยเดียวกัน)
ดูก่อนกุณฑลิยะ ! เพราะเหตุที่ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้คงที่ มีจิตอันกิเลสไม่ครอบงำแล้ว ไม่มีจิตถึงความผิดปรกติแล้ว ในรูป
ทั้งหลายทั้งที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ ; กายของเธอจึงคงที่ จิตของเธอจึงคงที่ ตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้วในภายใน( ในกรณีแห่งเสียง
กลิ่น รสโผฎฐัพพะ และ ธัมมารมณ์ ก็ตรัสไว้มีนัยเดียวกัน)
ดูก่อนกุณฑลิยะ ! อินทรียสังวร อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงจะทำสุจริต 3 ประการให้บริบูรณ์.
ดูก่อนกุณฑลิยะ ! สุจริต 3 ประการ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงจะทำสติปัฎฐาน 4 ประการให้บริบูรณ์;
ดูก่อนกุณฑลิยะ ! ภิกษุในกรณีนี้ (1) ย่อมเจริญกายสุจริตเพื่อละกายทุจริต, (2) ย่อมเจริญวจีสุจริตเพื่อละวจีทุจริต
(3)ย่อมเจริญมโนสุจริตเพื่อละมโนทุจริต. ดูก่อนกุณฑลิยะ ! สุจริต 3 ประการ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล
จึงจะทำสติปัฎฐาน 4 ประการให้บริบูรณ์.
ดูก่อนกุณฑลิยะ ! สติปัฎฐาน 4 ประการ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงจะทำให้โพชฌงค์ 7 ประการให้บริบูรณ์ !
ดูก่อนกุณฑลิยะ ! ภิกษุในกรณีนี้ (1) ย่อมเป็นผู้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสติสัมปชัญญะ
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้, (2) ย่อมเป็นผู้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ...ฯลฯ...
(3) ย่อมเป็นผู้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ...ฯลฯ...(4) ย่อมเป็นผู้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้. ดูก่อนกุณฑลิยะ ! สติปัฎฐาน 4 ประการ
อันบุคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล จึงทำให้โพชฌงค์ 7 ประการให้บริบูรณ์.
ดูก่อนกุณฑลิยะ !โพชฌงค์ 7 ประการ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงจะทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
ดูก่อนกุณฑลิยะ ! ภิกษุในกรณีนี้ (1) ย่อม เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความปล่อยวาง
(2) ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์...ฯลฯ...(3) ย่อม เจริญวิริยะสัมโพชฌงค์...ฯลฯ...(4) ย่อม เจริญปิติสัมโพชฌงค์.ฯลฯ.
(5) ย่อม เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์...ฯลฯ...(6) ย่อม เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์...ฯลฯ...(7) ย่อม เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธะ น้อมไปเพื่อความปล่อยวาง. ดูก่อนกุณฑลิยะ ! โพชฌงค์ 7 ประการ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้ว อย่างนี้แลจึงจะทำ วิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้แล้ว กุณฑลิยะ ! ปริพาชกยกย่องชมเชยในพระธรรมเทศนาแล้วแสดงตนเป็น อุบาสก รับนับถือ พระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ จนตลอดชีวิต.
หมายเหตุ : ลำดับการปฎิบัตินี้คือ อินทรียสังวร สุจริต3 สติปัฎฐาน4 โพชฌงค์7 กระทั่งถึงวิชชาวิมุตติ....
จากหนังสือ ปฎิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์