" อวิช ชา สูตร ( อา หาร ของ อวิช ชา ) "

ยมกวรรคที่ ๒
อวิชชาสูตร

[๖๑] ดูกรภิกษุ ท. ! เงื่อนต้นแห่ง อวิชชา ย่อมไม่ปรากฏในกาลก่อนแต่นี้
อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้อย่างนี้ว่า
ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชามีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ

ดูกรภิกษุ ท. ! เราย่อมกล่าวอวิชชาว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชา ควรจะกล่าวว่านิวรณ์ ๕


แม้ นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น อาหาร ของนิวรณ์ ๕ ควรกล่าวว่า ทุจริต ๓

แม้ทุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของทุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การไม่สำรวมอินทรีย์

แม้การไม่สำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้ กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่าความไม่มีสติสัมปชัญญะ

แม้ความ ไม่มีสติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของ ความ ไม่มีสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย

แม้ การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของ การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ควรกล่าวว่า ความไม่มีศรัทธา

แม้ความไม่มีศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา ควรกล่าวว่า การไม่ฟังสัทธรรม

แม้ การไม่ฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น อาหาร ของ การไม่ฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การไม่คบสัปบุรุษ


ดูกรภิกษุ ท. ! ด้วยประการดังนี้ การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยัง การไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
การไม่ฟังสัทธรรม ที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีศรัทธา ให้บริบูรณ์
ความไม่มีศรัทธา ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ให้บริบูรณ์
การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะ ให้บริบูรณ์
ความไม่มีสติสัมปชัญญะ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ ให้บริบูรณ์
การไม่สำรวมอินทรีย์ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
ทุจริต ๓ที่บริบูรณ์ ย่อมยัง นิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์
นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยัง อวิชชา ให้บริบูรณ์

อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้

ดูกรภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา
เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วยให้เต็มซอกเขา
ลำธารและห้วยที่เต็ม ย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็มย่อมยังบึงให้เต็ม
บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็มย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม
แม่น้ำใหญ่ที่เต็มย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทรสาครนั้น
มีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด


ดูกรภิกษุ ท. ! การไม่คบสัปบุรุษ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรม ให้บริบูรณ์
การไม่ฟังสัทธรรม ที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีศรัทธา ให้บริบูรณ์
ความไม่มีศรัทธา ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ให้บริบูรณ์
การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะ ให้บริบูรณ์
ความไม่มีสติสัมปชัญญะ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ ให้บริบูรณ์
การไม่สำรวมอินทรีย์ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์
นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์
อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ ฉันนั้นเหมือนกันแล

________________________________________________________________________________________________


ดูกรภิกษุ ท. ! เรากล่าว วิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗


แม้ โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของ โพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔

แม้ สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของ สติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓

แม้ สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของ สุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์

แม้ การสำรวมอินทรีย์ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของ การสำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่า สติสัมปชัญญะ

แม้ สติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของ สติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย

แม้ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของ การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่า ศรัทธา

แม้ ศรัทธา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของ ศรัทธา ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม

แม้ การฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของ การฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การคบสัปบุรุษ

ดูกรภิกษุ ท. ! ด้วยประการดังนี้ การคบสัปบุรุษ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรม ให้บริบูรณ์
การฟังสัทธรรม ที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธา ให้บริบูรณ์
ศรัทธา ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคาย ให้บริบูรณ์
การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะ ให้บริบูรณ์
สติสัมปชัญญะ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ ให้บริบูรณ์
การสำรวมอินทรีย์ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยัง สติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยัง โพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยัง วิชชาและวิมุตติ ให้บริบูรณ์

วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้

ดูกรภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา
เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วยให้เต็ม
ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็มย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็มย่อมยังบึงให้เต็ม
บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม
แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทรสาครนั้นมีอาหารอย่างนี้
และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุ ท. ! การคบสัปบุรุษ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรม ให้บริบูรณ์
การฟังสัทธรรม ที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธา ให้บริบูรณ์
ศรัทธา ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคาย ให้บริบูรณ์
การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะ ให้บริบูรณ์
สติสัมปชัญญะ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ ให้บริบูรณ์
การสำรวมอินทรีย์ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยัง สติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยัง โพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยัง วิชชาและวิมุตติ ให้บริบูรณ์
วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ ฉันนั้นเหมือนกันแล


จบสูตรที่ ๑
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่