กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนว่า เศรษฐกิจโปรตุเกสเสี่ยงที่จะชะลอตัวลง เนื่องจากรัฐบาลปฏิเสธการใช้มาตรการรัดเข็มขัด
IMF ระบุในรายงานฉบับล่าสุดว่า แม้ว่าโปรตุเกสกำลังพื้นตัวจากวิกฤติทางการเงิน "แต่เศรษฐกิจโปรตุเกสยังคงเติบโตซบเซา การลงทุนอ่อนแรง และยังมีปัญหาท้าทายด้านการแข่งขัน"
รายงานดังกล่าวยังชี้ด้วยว่า "ภาคธนาคารโปรตุเกสมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มากเกินไป ขณะที่หนี้สาธารณะก็ยังอยู่ในระดับสูง"
เมื่อปี 2554 โปรตุเกสได้ลงนามในข้อตกลงรับเงินช่วยเหลือ 7.8 หมื่นล้านยูโร (8.739 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) เนื่องจากขณะนั้นมีความเสี่ยงที่จะล้มละลาย นับตั้งแต่นั้นก็ได้พบกับ "จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่" อย่างไรก็ตาม IMF มองว่าเศรษฐกิจโปรตุเกสยังคงฟื้นตัวอย่างซบเซา
IMF ระบุว่า "การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโปรตุเกสเริ่มหมดแรงขับเคลื่อน การชะลอตัวลงในกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อช่วงครึ่งปีหลังของปี 2558 นั้นยังคงปรากฎให้เห็น แม้ว่ามีปัจจัยหนุนและมีนโยบายเอื้ออำนวยในระดับมหภาค" โดย IMF ได้สรุปรายงานโครงการเฝ้าสังเกตหลังให้เงินช่วยเหลือกับโปรตุเกสเป็นฉบับที่ 4 เมื่อวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ IMF ยังเปิดเผยว่า แม้ว่ามาตรการผ่อนคลายทางการเงินที่มีการใช้มาตั้งแต่ปีที่แล้ว ตลอดจนนโยบายจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ส่งผลให้การบริโภคเติบโตอย่างแข็งแกร่ง แต่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) รวมๆแล้วยังเติบโตได้ไม่มากนัก เนื่องจากการส่งออกและการลงทุนซบเซา
ทั้งนี้ IMF คาดการณ์ว่า โปรตุเกสจะเติบโตเป็นสัดส่วน 1.0% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศปีนี้ เมื่อเทียบกับ 1.5% ปีก่อนหน้า และคาดการณ์ว่าจะขาดดุลงบประมาณเป็นสัดส่วน 3.0% ปีนี้ สำนักข่าวซินหัวรายงาน
IMF เตือนเศรษฐกิจโปรตุเกสเสี่ยง ชะลอตัว เหตุไม่ยอมรัดเข็มขัด
IMF ระบุในรายงานฉบับล่าสุดว่า แม้ว่าโปรตุเกสกำลังพื้นตัวจากวิกฤติทางการเงิน "แต่เศรษฐกิจโปรตุเกสยังคงเติบโตซบเซา การลงทุนอ่อนแรง และยังมีปัญหาท้าทายด้านการแข่งขัน"
รายงานดังกล่าวยังชี้ด้วยว่า "ภาคธนาคารโปรตุเกสมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มากเกินไป ขณะที่หนี้สาธารณะก็ยังอยู่ในระดับสูง"
เมื่อปี 2554 โปรตุเกสได้ลงนามในข้อตกลงรับเงินช่วยเหลือ 7.8 หมื่นล้านยูโร (8.739 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) เนื่องจากขณะนั้นมีความเสี่ยงที่จะล้มละลาย นับตั้งแต่นั้นก็ได้พบกับ "จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่" อย่างไรก็ตาม IMF มองว่าเศรษฐกิจโปรตุเกสยังคงฟื้นตัวอย่างซบเซา
IMF ระบุว่า "การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโปรตุเกสเริ่มหมดแรงขับเคลื่อน การชะลอตัวลงในกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อช่วงครึ่งปีหลังของปี 2558 นั้นยังคงปรากฎให้เห็น แม้ว่ามีปัจจัยหนุนและมีนโยบายเอื้ออำนวยในระดับมหภาค" โดย IMF ได้สรุปรายงานโครงการเฝ้าสังเกตหลังให้เงินช่วยเหลือกับโปรตุเกสเป็นฉบับที่ 4 เมื่อวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ IMF ยังเปิดเผยว่า แม้ว่ามาตรการผ่อนคลายทางการเงินที่มีการใช้มาตั้งแต่ปีที่แล้ว ตลอดจนนโยบายจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ส่งผลให้การบริโภคเติบโตอย่างแข็งแกร่ง แต่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) รวมๆแล้วยังเติบโตได้ไม่มากนัก เนื่องจากการส่งออกและการลงทุนซบเซา
ทั้งนี้ IMF คาดการณ์ว่า โปรตุเกสจะเติบโตเป็นสัดส่วน 1.0% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศปีนี้ เมื่อเทียบกับ 1.5% ปีก่อนหน้า และคาดการณ์ว่าจะขาดดุลงบประมาณเป็นสัดส่วน 3.0% ปีนี้ สำนักข่าวซินหัวรายงาน