มองในตัวคน ว่าคน คน หนึ่งนี้ มันมีอะไร
สภาวะธรรมในชีวิตประจำวันนี้คืออะไร
คือการปรุงแต่งทางจิตใจที่มีอยู่เรื่อย.
ท่านทั้งหลายพึงเข้าใจคำว่าร่างกาย จิตใจ
การกระทบทางตา ทางหู ทางจมูก
ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เป็นประจำวัน
แล้วมันปรุงเป็นความรู้สึกในทางจิตใจอยู่เรื่อย
รู้จักตัวธรรมชาติประจำวันในคนอย่างนี้ก่อน.
ทีนี้มันก็เป็นไปตามกฎที่ว่าถ้าปรุงอย่างนี้
(คือผิดทาง) มันจะเกิดความรู้สึกเห็นแก่ตัว;
ถ้าปรุงอย่างนี้ (คือถูกทาง) มันจะไม่เกิดความรู้สึกที่เห็นแก่ตัว
แต่เห็นแก่ธรรม;
นั่นแหละคือตัวกฎธรรมชาติที่มีอยู่อย่างแน่นอนในคนเราว่า
ถ้าคิดอย่างนี้ มันจะเกิดตัวกู–ของกู
ถ้าคิดอีกทางหนึ่ง มันจะไม่เกิดตัวกู–ของกู.
ตัวกู–ของกู นี้หมายถึงกิเลสเป็นเหตุให้เห็นแก่ตัว
และเป็นต้นตอของความทุกข์ทั้งหมดในสังคม
หรือในตัวคนทุกคนก็ตาม.
นี้ถ้าว่าความคิดมันปรุงแต่งจิตไปในทางผิดเกิดเป็นกิเลส
เกิดเป็นตัวกู–ของกู มันก็มีการปฏิบัติที่ไปตามแบบของตัวกู–ของกู
อย่างดี ก็เรียกว่าปฏิบัติอย่างบุญ
อย่างเลว ก็เรียกว่าปฏิบัติอย่างบาป
มันก็ได้สุข ได้ทุกข์.
ทีนี้ ถ้าว่าเมื่อปรุงแต่งแล้ว มันไม่เกิดตัวกู–ของกู
มันเกิดสติปัญญาแทน
อย่างนี้มันก็เป็นไปในทางธรรมะ
ในทางศาสนาคือเหนือบาป เหนือบุญขึ้นมา
แล้วผลของมันก็คือมีจิตใจอยู่เหนือสุข–เหนือทุกข์.
นี่ พอจะวัดตัวเองได้ทุกคนว่า เรานี้
มันยังอยู่ในระดับที่ว่าจะต้องบุญบาป สุขทุกข์ เสมอไป
ไม่เคยเหนือบุญเหนือบาป เหนือสุขเหนือทุกข์;
แต่ทั้งนี้มิใช่หมายความว่ามันไม่มี หากแต่ว่าเรายังไม่รู้จัก ยังไม่ถึง
ฉะนั้น ขอให้สังเกตความรู้สึกคิดนึกประจำวัน
ความรู้สึกคิดนึกที่เกิดขึ้น
เพราะตาเห็นรูป เพราะหูได้ยินเสียง
เพราะจมูกได้กลิ่น ฯลฯ อะไรนี้
ฉะนั้นคน ที่ไม่รู้อะไร จะต้องเกิดสิ่งที่เรียกว่าตัวกู–ของกู
แล้วเห็นแก่ตัว อยากทำดีก็ทำดี
อยากทำชั่วก็ทำชั่ว
แล้วผลของมันก็คือสุขและทุกข์.
ทีนี้ถ้าเป็นคนที่ได้ยินได้ฟังคำสอนของพระอริยเจ้า
คือรู้พุทธศาสนาอย่างนี้
รู้จักวิธีควบคุมความคิดอย่างนี้แล้ว
ก็ควบคุมความคิดไม่ให้เกิดตัวกู–ของกู
แต่เกิดสติปัญญาแทนขึ้นมาทุกครั้ง
เมื่อตาเห็นรูป หูฟังเสียงก็ตาม มันทำให้เกิดความฉลาด
รู้ว่าอันนี้ไปหลงมันไม่ได้; เมื่อไม่เกิดตัวกู–ของกู
ไม่หลงมันแล้ว การปฏิบัติหรือการกระทำ
ก็กระทำไปในทางที่ไม่หลง ไม่เป็นทาสของกิเลส.
การปฏิบัติอย่างนี้เขาเรียกว่า “อริยมรรค”
มันยิ่งไปกว่าบุญและบาป คือเหนือกว่าบุญหรือบาป
ฉะนั้นผลของมันจึงเป็นนิพพาน
เป็นไปในทางนิพพานที่ถูกต้อง คือเหนือสุขเหนือทุกข์;
ความสงบที่แท้จริงต้องอยู่เหนือสุขเหนือทุกข์.
การที่ต้องดื่มสุขอยู่เสมอ ท่านลองคิดดูเถอะ
หรือการที่ต้องเสวยทุกข์ ก็ลองคิดดูเถอะ
มันไม่ไหวทั้งนั้น มันเป็นความเหน็ดเหนื่อยทั้งนั้น
ไม่ใช่ความพักผ่อน.
นี้ก็เป็นแง่ที่สำคัญที่สุด ที่มนุษย์จะต้องรู้จัก
เพราะว่าเดี๋ยวนี้มนุษย์ได้หลง
ในความเอร็ดอร่อยของความสุขทางฝ่ายวัตถุ
บูชาสิ่งเหล่านี้ทั้งนั้น
นี่เป็นเหตุให้เกิดลัทธิต่าง ๆ ที่ไม่พึงปรารถนาขึ้นมา
เพราะว่าพวกนายทุนก็บูชาวัตถุ
พวกชนกรรมาชีพก็บูชาวัตถุ
แล้วมันก็ยื้อแย่งกัน รบกัน
ปัญหาของโลกจึงแก้ไม่ได้
เพราะทุกคนบูชาวัตถุ
ทั้งพวกนายทุน และชนกรรมาชีพ.
เพราะว่าคน มักเป็นไปอย่างธรรมดาสามัญ
เมื่อมีการกระทบทางตา ทางหูแล้ว
ก็ปรุงแต่งเป็นตัวกู–ของกู
แล้วก็ทำไปตามความต้องการของกิเลสตัณหา
แล้วก็ได้ความเดือดร้อน ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม
ถ้ามันเกิดเลี้ยววกไปในทางไม่เกิดตัวกู–ของกู
แต่เกิดสติปัญญา กำจัดความเห็นแก่ตัวเสียได้
การกระทำนั้น ก็เป็นไปในทางที่จะ
อยู่เหนือบุญเหนือบาป เหนือสุขเหนือทุกข์.
พุทธทาสภิกขุ
ตุลาการิกธรรม พ.ศ. ๒๕๑๒
เหนือบุญ เหนือบาป เหนือสุข เหนือทุกข์ คือนิพพานหรือจิตใจที่ทำอะไรโดยไม่มีตัวกู ของกู นั่นเอง
สภาวะธรรมในชีวิตประจำวันนี้คืออะไร
คือการปรุงแต่งทางจิตใจที่มีอยู่เรื่อย.
ท่านทั้งหลายพึงเข้าใจคำว่าร่างกาย จิตใจ
การกระทบทางตา ทางหู ทางจมูก
ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เป็นประจำวัน
แล้วมันปรุงเป็นความรู้สึกในทางจิตใจอยู่เรื่อย
รู้จักตัวธรรมชาติประจำวันในคนอย่างนี้ก่อน.
ทีนี้มันก็เป็นไปตามกฎที่ว่าถ้าปรุงอย่างนี้
(คือผิดทาง) มันจะเกิดความรู้สึกเห็นแก่ตัว;
ถ้าปรุงอย่างนี้ (คือถูกทาง) มันจะไม่เกิดความรู้สึกที่เห็นแก่ตัว
แต่เห็นแก่ธรรม;
นั่นแหละคือตัวกฎธรรมชาติที่มีอยู่อย่างแน่นอนในคนเราว่า
ถ้าคิดอย่างนี้ มันจะเกิดตัวกู–ของกู
ถ้าคิดอีกทางหนึ่ง มันจะไม่เกิดตัวกู–ของกู.
ตัวกู–ของกู นี้หมายถึงกิเลสเป็นเหตุให้เห็นแก่ตัว
และเป็นต้นตอของความทุกข์ทั้งหมดในสังคม
หรือในตัวคนทุกคนก็ตาม.
นี้ถ้าว่าความคิดมันปรุงแต่งจิตไปในทางผิดเกิดเป็นกิเลส
เกิดเป็นตัวกู–ของกู มันก็มีการปฏิบัติที่ไปตามแบบของตัวกู–ของกู
อย่างดี ก็เรียกว่าปฏิบัติอย่างบุญ
อย่างเลว ก็เรียกว่าปฏิบัติอย่างบาป
มันก็ได้สุข ได้ทุกข์.
ทีนี้ ถ้าว่าเมื่อปรุงแต่งแล้ว มันไม่เกิดตัวกู–ของกู
มันเกิดสติปัญญาแทน
อย่างนี้มันก็เป็นไปในทางธรรมะ
ในทางศาสนาคือเหนือบาป เหนือบุญขึ้นมา
แล้วผลของมันก็คือมีจิตใจอยู่เหนือสุข–เหนือทุกข์.
นี่ พอจะวัดตัวเองได้ทุกคนว่า เรานี้
มันยังอยู่ในระดับที่ว่าจะต้องบุญบาป สุขทุกข์ เสมอไป
ไม่เคยเหนือบุญเหนือบาป เหนือสุขเหนือทุกข์;
แต่ทั้งนี้มิใช่หมายความว่ามันไม่มี หากแต่ว่าเรายังไม่รู้จัก ยังไม่ถึง
ฉะนั้น ขอให้สังเกตความรู้สึกคิดนึกประจำวัน
ความรู้สึกคิดนึกที่เกิดขึ้น
เพราะตาเห็นรูป เพราะหูได้ยินเสียง
เพราะจมูกได้กลิ่น ฯลฯ อะไรนี้
ฉะนั้นคน ที่ไม่รู้อะไร จะต้องเกิดสิ่งที่เรียกว่าตัวกู–ของกู
แล้วเห็นแก่ตัว อยากทำดีก็ทำดี
อยากทำชั่วก็ทำชั่ว
แล้วผลของมันก็คือสุขและทุกข์.
ทีนี้ถ้าเป็นคนที่ได้ยินได้ฟังคำสอนของพระอริยเจ้า
คือรู้พุทธศาสนาอย่างนี้
รู้จักวิธีควบคุมความคิดอย่างนี้แล้ว
ก็ควบคุมความคิดไม่ให้เกิดตัวกู–ของกู
แต่เกิดสติปัญญาแทนขึ้นมาทุกครั้ง
เมื่อตาเห็นรูป หูฟังเสียงก็ตาม มันทำให้เกิดความฉลาด
รู้ว่าอันนี้ไปหลงมันไม่ได้; เมื่อไม่เกิดตัวกู–ของกู
ไม่หลงมันแล้ว การปฏิบัติหรือการกระทำ
ก็กระทำไปในทางที่ไม่หลง ไม่เป็นทาสของกิเลส.
การปฏิบัติอย่างนี้เขาเรียกว่า “อริยมรรค”
มันยิ่งไปกว่าบุญและบาป คือเหนือกว่าบุญหรือบาป
ฉะนั้นผลของมันจึงเป็นนิพพาน
เป็นไปในทางนิพพานที่ถูกต้อง คือเหนือสุขเหนือทุกข์;
ความสงบที่แท้จริงต้องอยู่เหนือสุขเหนือทุกข์.
การที่ต้องดื่มสุขอยู่เสมอ ท่านลองคิดดูเถอะ
หรือการที่ต้องเสวยทุกข์ ก็ลองคิดดูเถอะ
มันไม่ไหวทั้งนั้น มันเป็นความเหน็ดเหนื่อยทั้งนั้น
ไม่ใช่ความพักผ่อน.
นี้ก็เป็นแง่ที่สำคัญที่สุด ที่มนุษย์จะต้องรู้จัก
เพราะว่าเดี๋ยวนี้มนุษย์ได้หลง
ในความเอร็ดอร่อยของความสุขทางฝ่ายวัตถุ
บูชาสิ่งเหล่านี้ทั้งนั้น
นี่เป็นเหตุให้เกิดลัทธิต่าง ๆ ที่ไม่พึงปรารถนาขึ้นมา
เพราะว่าพวกนายทุนก็บูชาวัตถุ
พวกชนกรรมาชีพก็บูชาวัตถุ
แล้วมันก็ยื้อแย่งกัน รบกัน
ปัญหาของโลกจึงแก้ไม่ได้
เพราะทุกคนบูชาวัตถุ
ทั้งพวกนายทุน และชนกรรมาชีพ.
เพราะว่าคน มักเป็นไปอย่างธรรมดาสามัญ
เมื่อมีการกระทบทางตา ทางหูแล้ว
ก็ปรุงแต่งเป็นตัวกู–ของกู
แล้วก็ทำไปตามความต้องการของกิเลสตัณหา
แล้วก็ได้ความเดือดร้อน ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม
ถ้ามันเกิดเลี้ยววกไปในทางไม่เกิดตัวกู–ของกู
แต่เกิดสติปัญญา กำจัดความเห็นแก่ตัวเสียได้
การกระทำนั้น ก็เป็นไปในทางที่จะ
อยู่เหนือบุญเหนือบาป เหนือสุขเหนือทุกข์.
พุทธทาสภิกขุ
ตุลาการิกธรรม พ.ศ. ๒๕๑๒