สรุปพระธรรมเทศนา เรื่อง นักปฏิบัติพระกรรมฐาน ควรจะรู้อะไรบ้าง
ตอน... ฝึกกรรมฐาน เพื่อให้เห็นตัวเอง
วันเสาร์ที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
สอนโดย....ท่านอาจารย์ อ กสินัง
**************************************************
วันนี้ ท่านอาจารย์ได้เดินทางมาสอนการฝึกกรรมฐานแก่กลุ่มกรรมฐานวันเสาร์เป็นกรณีพิเศษเหมือนเช่นเคยอีกครั้งหนึ่ง และวันเสาร์นี้ก็เป็นวันเสาร์สุดท้ายของปีนี้อีกด้วย
ท่านอาจารย์ได้ใคร่ครวญว่า สาเหตุใดที่ชาวคณะพุทธธรรมสงฆ์ที่ฟังธรรมมาโดยตลอด (๑๐ ปี ๕ ปี ๓ ปี...) กลับไม่ค่อยจะได้อะไร!!! ต่างจากคนที่มาฝึกใหม่ บางคนฝึกเพียงแค่ปีเดียว เขาก็สามารถมองเห็นความเป็นจริง (บรรลุธรรม) ได้ จิตใจที่ไม่เคยสงบ กลับสงบ... จิตใจที่ไม่เคยเยือกเย็น กลับเยือกเย็น... จิตใจที่ไม่เคยมีเหตุผล กลับมีเหตุผล... ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกว่า คนที่ทำอะไรนานวัน ความชำนาญน่าจะมีมากกว่า แต่...บางคนยิ่งนานวัน กลับเสื่อมลง!
อาจารย์จึงมาพิจารณาหาเหตุผลว่า เป็นที่ตัวอาจารย์หรือเปล่า? สอนแล้ว ฟังเข้าใจยากหรือเปล่า? เมื่ออาจารย์ได้ใคร่ครวญแล้ว จึงพบความเป็นจริงว่า อาจารย์สอนได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน ยกตัวอย่างต่างๆ ในเรื่องนั้นๆ มาประกอบให้เห็นชัดเจนมากขึ้น
ส่วนใหญ่เป็นเพราะ ผู้ฟังธรรมไม่ได้ตั้งใจ ปล่อยปะละเลย ไม่จดจำในสิ่งที่อาจารย์ได้สอนไปแล้ว ไม่ได้เอาใจใส่... สักแต่ว่า...ฟัง... ไม่มีประโยชน์เลย บางคนกลับหลงผิดคิดว่า รู้เรื่องแล้ว ได้บุญแล้ว!!!
การฟังธรรม จะได้บุญ ก็ต่อเมื่อ...เรารู้แจ้งเห็นจริงในธรรมนั้นจนสลดเบื่อหน่ายจางคลาย..
วันพระ คนเข้าวัดเยอะ เพื่อฟังธรรม แต่หลงผิดคิดว่า จะได้บุญมาก ได้บุญจริงหรือ? แต่..เมื่อเราฟังธรรมไม่รู้เรื่อง และไม่นำมาปฏิบัติ เราจะได้บุญตรงไหน? แม้ว่าคนที่มาฟังธรรม จะมีกำลังใจที่ดี แต่กลับไม่ได้บุญเลย! เพราะ บาปยังไม่ได้ละ ตราบใดที่เรายังไม่รู้แจ้งเห็นจริงจนสลดเบื่อหน่ายจางคลาย ทุกข์ก็ยังไม่สามารถหมดไปจากใจเราได้
บุญ จะเกิดขึ้นได้จริง ก็ต่อเมื่อ...ใจเราได้บรรลุดวงตาเห็นธรรม หลุดพ้นจากอุปาทาน กิเลสตัณหาจางคลายไป บุญนั้นก็จะส่งผลทำให้เรามีความสุขได้จริง... ซึ่งถ้าไม่เป็นไปตามนี้ เราไม่ได้อะไรเลย!!!
กรรมฐานกองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อานาปานุสติกรรมฐาน กรรมฐาน ๔๐... เราทำเพื่ออะไร? จริงๆ แล้ว เราฝึกเพื่อให้เห็นตัวเอง บาป-บุญอยู่ที่จิตใจของเรา ไม่ได้ดูใจคนอื่น เพราะ ไม่ได้ทำให้บาปของเราลดลง!!!
กรรมฐานทั้งหลายนั้น ฝึกเพื่อให้เรามีสติ มองเห็นตัวเองว่า ความคิดอ่านไหนที่ไม่ดี กิเลสตัวไหนที่เรายังมีมากอยู่ แล้วเอากรรมฐานมาหักล้างแก้ไขออกไป
อานาปานุสติกรรมฐาน คือ การทำสมาธิ กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ฝึกจิตใจให้มีความสงบระงับจากนิวรณ์ จิตใจเราก็พร้อมจะพิจารณา อ่านใจตัวเอง ว่า จิตใจเราเป็นอย่างใด สะอาดหรือสกปรก เป็นคนดีหรือคนชั่ว
เมื่อจิตใจเรามีกามราคะมาก มากจนไม่อยากตกเป็นทาส อยากวิมุติหรือหลุดพ้นจากกาม เราต้องอาศัย.กายคตานุสติกรรมฐานหรืออสุภกรรมฐานมาหักล้าง
คนเรียนกรรมฐาน จะต้องรู้ว่า เราจะเอากรรมฐานกองใดมาใช้ให้ได้ผลกับกิเลสตัวที่เรามีอยู่!
เมื่อใจเรามีความสงบหรือ สัมมาสมาธิ โดยเริ่มแรก ใจเราต้องสร้างพรหมวิหาร มีสัมมาทิฐิ เป็นเบื้องต้นเสียก่อน เราจึงจะเข้ากรรมฐานแบบไหน จึงจะได้ผลเร็ว เรื่อยๆ ไม่ได้
บาปที่เกิดจากกามราคะนั้น ถ้าเราไม่อ่านใจตัวเอง ไม่เพ่งโทษตัวเอง ยากที่เราจะรู้ได้... ทุกคนไม่เคยรู้ว่า ความอยากของเราก่อทุกข์โทษให้แก่เรามากขนาดไหน!
ผู้ประพฤติปฏิบัติจึงต้องบำเพ็ญเพียรกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก (พุทโธ) อยู่เสมอในทุกอิริยาบท ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ตื่น เดินจงกลม และ/หรือ การนั่งสมาธิ ไม่ว่าอยู่ในสถานธรรม ที่บ้าน หรือที่ทำงาน นานวันเข้า ฌานสมาบัติหรือความสงบ ก็จะเกิดขึ้น และจะเป็นสมาธิที่ปราศจากนิวรณ์ด้วย
(นิวรณ์ เป็นอารมณ์ที่ขวางกั้นความดี ไม่ให้เรารู้แจ้ง ไม่ให้เราสงบ)
แต่...ความสงบที่เราเคยได้ บางช่วงก็ไม่ได้ ยิ่งอยากสงบ ก็ยิ่งฟุ้งซ่าน ทำสมาธิไม่ได้เลย หรือ ฌานทรงอยู่ไม่ได้ เพราะ กิเลสตัณหา ยังอยู่ครบ เราจึงต้องเอาฌานฯ หรือสมาธินั้น มาอ่านใจตัวเอง
(ไม่ใช่หลงผิดไปอ่านใจคนอื่น เมื่อนั้น ธรรมะของเราเองก็จะเสื่อม มีมานะทิฐิ หลงผิด มีอวิชชาเพิ่มมากขึ้นไปอีก)
พระพุทธเจ้าต้องการให้เราฝึกกรรมฐานมา เพื่ออ่านใจตัวเอง เมื่อเราสงบ นิ่ง เราก็จะอ่านใจตัวเองออกว่า เรายังติดขัด ผูกกับอะไรอยู่ ถ้าผูกอยู่กับกาม โลภ หงุดหงิด ยึดมั่นถือมั่น คิดว่าอะไรๆ ก็เป็นของเรา มีปฏิฆะอยู่... สมาธิที่เรามีอยู่ เราก็จะอ่านออก จะทำให้เรามองเห็น ความชั่ว เหล่านี้ได้
การฝึกกรรมฐานหรือการฝีกสมาธิ เพื่อไปอ่านใจคนอื่น จะเหมือนกับ คนบ้าที่หลงทาง ฝึกธรรมะแล้ว ความชั่วกลับมากขึ้น เพราะ ความหลงผิด นั่นเอง
ธรรมะของพระพุทธเจ้า สอนให้เรามีปัญญา มีเหตุผล เราจึงจะพ้นทุกข์ได้
บางคนไม่รู้ว่า ฝึกอย่างไร เพราะ ไม่ได้ใส่ใจ แต่บางคนฉลาด เก็บธรรมะมาฟังหมด จิตใจเขาก็ดีขึ้น ฟังมาก รู้น้อย ไม่มีประโยชน์
ฟังมาก รู้มาก มีประโยชน์
ใจของเราที่มีทุกข์ เพราะ อาศัย กิเลส ๔ อย่าง (ได้แก่ ราคะ โลภ โกรธ หลง) เป็นเหตุ
การฝึกให้เข้าถึงมรณานุสติกรรมฐาน (การนึกถึงความตายเป็นอารมณ์) เพื่อหักล้างกับกามราคะนั้น เมื่อใจเราสงบแล้ว เวลาอ่านหนังสือพิมพ์เห็นภาพคนอื่นตาย ส่วนใหญ่เราจะไม่สนใจ เราเห็นความตายของคนอื่น เป็นเรื่องไม่จริง หรือเห็นคนตายแล้ว ใจของเรายังหวาดกลัวหดหู่... ฝึกให้จิตของเราเข้าไปยอมรับว่า คนอื่นตายจริง แล้วน้อมเข้ามาจิตของเราว่า เราเองก็จะตายจริงนะ!
เมื่อเรามีสมาธิควบคู่ไปกับการคิดพิจารณา (ในความตาย) อารมณ์ปลงธรรมสังเวชก็จะเกิดขึ้น ซึ่งไม่อาจคาดการณ์ว่า อารมณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อใด บางคนเดี๋ยวเดียว บางคนใช้เวลานานหลายปี
คนที่เข้าถึงความตาย หรือ คนที่ได้ นั้น เขาทำใจของเขาเป็น มรรคสามังคี จนรู้แจ้งเห็นจริงได้ (ทาน ศีล สมาธิ) ฝึกให้ใจของเราหาความเป็นจริงไปเรื่อยๆ จนกำลังใจทั้งสามอย่างสูงได้ระดับ ปัญญาที่เป็นสัมมาทิฐิ การบรรลุรู้แจ้งเห็นจริงในมรณานุสติกรรมฐานก็จะเกิดขึ้น ทิพจักขุญานก็จะเกิดขึ้น มีความสลดเบื่อหน่ายในการยึดมั่นถือมั่น บาปที่มีกามเป็นเหตุก็จะลดได้ ละได้ เลิกได้
ถ้าเราไม่มีมรรค (เส้นทางเดิน) ที่ถูกต้อง ฝึกไป ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะ บาปยังไม่ได้ล้าง บาปก็จะยังคงเกิดขึ้นอยู่
ความอยาก ไม่ใช่ว่า เราจะออกไปจากใจของเราได้ง่ายๆ เพราะ เป็นนามธรรม อารมณ์จึงต้องล้างด้วยอารมณ์ ความไม่รู้ (อวิชชา) ล้างด้วย ความรู้ (วิชชา)
บาป มาจาก กิเลสตัณหา ส่วนความทุกข์ มาจาก อกุศลกรรม เราจึงต้องรู้บ่อเกิดของมัน พระพุทธเจ้าทรงสอนดี แต่...เราไม่เอาดี
. เราทำสมาธิ เพื่ออะไร ได้แต่ความสงบ แต่แก้ไขนิสัยเลวๆ ไม่ได้!!!
เราจะบอกว่า ไม่รู้ ไม่ได้! เราต้องรู้
รู้อะไร?... รู้ใจตัวเอง ไม่ต้องไปรู้ใจคนอื่น!
เราอยากพ้นจากความทุกข์ยากลำบาก เราต้องหาเหตุจากใจของเรา ไม่ต้องไปหาเหตุจากที่อื่น
ดังนั้น การฝึกกรรมฐานของเรา จะต้องเห็นบาปของตนเองให้ได้ แล้วนำกรรมฐานมาลด ละ เลิกเสีย
. อย่าฝึกผิดทาง!!
เมื่อเรามี ความโลภ เกิดขึ้น ให้หักล้างด้วย
การให้ หรือ จาคานุสติกรรมฐาน ซึ่งเป็นอารมณ์ของพระอริยะเจ้า และจะมีลำดับอารมณ์ของการให้อยู่ ๓ ระดับ คือ
เสียสละ เวลาให้ ยังมีการลังเลบ้าง
สละ เวลาให้ ไม่ลังเลเลย
ละ เวลาให้ ให้แบบไม่คิดถึงตัวเองเลย
การสร้างจาคานุสติกรรมฐานนั้น จึงขึ้นอยู่กับ กำลังใจของพวกเรา และ เราก็ไม่ต้องรอผลชาติหน้า ชาตินี้ เราสามารถเห็นผลได้เลย!!!
คนเราเมื่อมีความอยากมาก โลภมาก ใจเป็นเปรต เป็นสัตว์เดรัจฉาน โลภ เพราะความไม่รู้ ก็ไม่ต่างอะไรจากสุนัข แมว นก... สุนัข เราให้กินอิ่ม มันก็ยังโลภ อยากกินอีก อยาก เพราะไม่รู้... คนเราก็เหมือนกัน ร่างเป็นคน ใจเป็นสัตว์ เมื่อตายไป ก็จะไปเกิดเป็นสัตว์ เพราะ เราได้สร้าง กายใน ไว้เอง
อาจารย์ฝึกกรรมฐาน เพื่อความดีของตัวเอง เพื่อเข้าสู่ความวิมุติ และเพื่อเข้าสู่มรรค ผล พระนิพพานเอง และคนที่เจริญมรรค ผล ถูกต้องนั้น เขาจะไม่มีความยินดียินร้ายต่อสิ่งต่างๆ ที่เข้ามากระทบจิตใจแต่อย่างใด อีกทั้งอาจารย์ยังฝีกกรรมฐาน เพื่อต้องการพ้นทุกข์ และอยากรู้ว่า ชึวิตเกิดมาเพื่ออะไร?
เมื่อเรารู้ว่า ชีวิตเกิดมาเพื่ออะไร เราจะไม่สามารถออกจากมรรค ไม่สามารถเลือกเดินทางเส้นทางอื่นได้ เพราะ เราได้รู้แจ้งเห็นจริงแล้วว่า ความโลภ ทำให้เราตกอยู่ในอบาย
ดังนั้น อาจารย์จึงขอให้ เอาออกบ้าง อย่าคิดเอาเข้ามา เพราะ ตายไป เอาไปไม่ได้ สะสมได้แต่ ความโลภ ตอนมีมาก อดอยากเหมือนสัตว์เดรัจฉาน... ฝึกกรรมฐานไปทำไม?
ลูกศิษย์ของอาจารย์บางคนน่าชมเชยมาก ยิ่งฟังธรรมมาก แม้การฝึกกรรมฐาน จะฝึกไปคนละเส้นทาง บางคนฝึกกรรมฐาน เพื่อ ความไม่มี แต่บางคนฝึกกรรมฐาน เพื่อ ความมี เพียงแต่
ชีวิตจะมีหรือไม่มี เขาจะไม่ยินดียินร้าย
. มี ก็ไม่โลภ ไม่มี ก็ไม่ทุกข์ใจ.... ด้วยเหตุนี้ กรรมฐานจึงฝึกยาก บางครั้งอาจารย์จึงเบื่อในการสอน
ถ้าเรารู้แจ้งเห็นจริง บำเพ็ญเพียรไป เราจะรู้เองว่า เราจะได้ทรัพย์ที่มนุษย์และเทวดาได้ยาก ถ้าเราฝีกไป เพื่อความวิมุติ (หลุดพ้น)
เทวดาที่ไม่ได้เจริญมรรคผล จะเพลิดเพลินกับสิ่งที่ตนเองได้ เทวดาเต็มไปได้ด้วยสุขและโลกียะ อาศัยการให้ทาน แต่ไม่มีปัญญา ไม่มีการฝึกกรรมฐาน เหมือนกับคนที่เพลิดเพลินกับความสุขจนลืมความตายว่า ไม่มีอะไรเป็นของเราเลย โลกมันสมมุติทั้งนั้น แต่
พระอริยะเจ้าจะมีอริยะทรัพย์ ซึ่งไม่สามารถบรรยายเป็นรูปร่างได้
บุคคลใดที่ปฏิบัติจนจิตเป็นพระอรหันต์ จะมี ร่างในหรือกายใน เป็นพระวิสุทธิเทพ คือ กายในเป็นเพชร มีแต่ความสงบ ความเยือกเย็น และความสุขที่ไม่สามารถประมาณการได้
เมื่อเราปฏิบัติพระกรรมฐานด้วยตัวเอง จนรู้ความเป็นจริง สัมผัสเอง เราจะไม่เพลิดเพลินกับทางโลกเลย คนปฏิบัติธรรมที่สำเร็จ ยากที่จะออกจากทางธรรมได้ ส่วนคนทางโลกที่สำเร็จ ก็ยากที่จะออกจากทางโลกได้เช่นกัน คนทั้งสองเส้นทางดังกล่าว ตายเหมือนกัน แต่.. ได้ไม่เหมือนกัน!
ขอให้เราถามตัวเองว่า
เราปฏิบัติกรรมฐานเพื่ออะไร? ถ้าปฏิบัติเพื่อความอุดมสมบูรณ์ อยู่ดี กินดี ร่ำรวย เราจะ ขาดทุน เพราะ เราได้ไม่นาน ยกเว้นว่า เราอยู่นาน (ไม่ตาย)!!!
กรรมฐานของพระพุทธเจ้า เป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อการสะสม (ถ้าฝึกเพื่อการสะสม ให้ไปฝึกที่อื่น) อาจารย์จึงไม่อาจทรยศต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า ทรยศต่อความเป็นจริงที่มันเกิดขึ้นได้
เมื่อเราฝึกเพื่อคลายความกำหนัด คลายจากทุกสิ่งทุกอย่าง!!! ชึวิตจึงจะพ้นทุกข์ได้ ขอให้ไหว้พระ รักษาศีลให้ถูกต้อง
อย่านึกถึงความร่ำรวย!!!
. แต่เหตุที่ไม่อยากรวย จะทำให้ชีวิตของเราไม่ลำบาก แต่
ถ้าอยากมาก ชีวิตก็จะลำบากมาก!
สรุปธรรมบรรยายในวันนี้.... ท่านอาจารย์ได้สอนให้พวกเราฝึกกรรมฐานด้วยการบำเพ็ญเพียร เพื่อให้ความอยากลดลง เพราะตอนนั่งสมาธิ ไม่มีกิเลสเข้า แต่จะมีกิเลส ตอนที่ออกจาการนั่งสมาธิ กิเลสจึงลดลงไม่ได้ เราจึงต้อง ทรงสมาธิ ให้ได้ตลอดทุกอิริยาบท เพื่อนำมาใช้ในการอ่านใจตัวเองทุกวันว่า กิเลสกองไหนเข้ามา ถ้าไม่ฝึกแบบนี้ จะล้างใจตัวเองได้อย่างไร?
ราคะ หักล้างด้วย อาการ ๓๒ อสุภะ มรณานุสติกรรมฐาน
โลภ หักล้างด้วย ให้เอาออก (จาคานุสติกรรมฐาน)
โกรธ หักล้างด้วย การสร้างพรหมวิหาร
หลง หักล้างด้วย ในโลกนี้ มีอะไรเป็นของเราบ้าง?
ถ้าฌานสมาบัติของเราดี พิจารณาหาความเป็นจริงไปเรื่อยๆ ใจเราจะสว่าง กลางคืนจะเป็นกลางวัน ไม่มีเรื่องหนักใจอะไรเข้ามาเลย... เมื่อนั้น... เราจะรู้เองว่า มรรคผลให้ผลแบบไหน และทางโลกให้ผลแบบไหน...
Credit :
http://www.kasinung.com/article-th-86684-%E0%B8%9D%E0%
ฝึกกรรมฐาน เพื่อให้เห็นตัวเอง (ยาวหน่อยครับ)
ตอน... ฝึกกรรมฐาน เพื่อให้เห็นตัวเอง
วันเสาร์ที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
สอนโดย....ท่านอาจารย์ อ กสินัง
**************************************************
วันนี้ ท่านอาจารย์ได้เดินทางมาสอนการฝึกกรรมฐานแก่กลุ่มกรรมฐานวันเสาร์เป็นกรณีพิเศษเหมือนเช่นเคยอีกครั้งหนึ่ง และวันเสาร์นี้ก็เป็นวันเสาร์สุดท้ายของปีนี้อีกด้วย
ท่านอาจารย์ได้ใคร่ครวญว่า สาเหตุใดที่ชาวคณะพุทธธรรมสงฆ์ที่ฟังธรรมมาโดยตลอด (๑๐ ปี ๕ ปี ๓ ปี...) กลับไม่ค่อยจะได้อะไร!!! ต่างจากคนที่มาฝึกใหม่ บางคนฝึกเพียงแค่ปีเดียว เขาก็สามารถมองเห็นความเป็นจริง (บรรลุธรรม) ได้ จิตใจที่ไม่เคยสงบ กลับสงบ... จิตใจที่ไม่เคยเยือกเย็น กลับเยือกเย็น... จิตใจที่ไม่เคยมีเหตุผล กลับมีเหตุผล... ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกว่า คนที่ทำอะไรนานวัน ความชำนาญน่าจะมีมากกว่า แต่...บางคนยิ่งนานวัน กลับเสื่อมลง!
อาจารย์จึงมาพิจารณาหาเหตุผลว่า เป็นที่ตัวอาจารย์หรือเปล่า? สอนแล้ว ฟังเข้าใจยากหรือเปล่า? เมื่ออาจารย์ได้ใคร่ครวญแล้ว จึงพบความเป็นจริงว่า อาจารย์สอนได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน ยกตัวอย่างต่างๆ ในเรื่องนั้นๆ มาประกอบให้เห็นชัดเจนมากขึ้น
ส่วนใหญ่เป็นเพราะ ผู้ฟังธรรมไม่ได้ตั้งใจ ปล่อยปะละเลย ไม่จดจำในสิ่งที่อาจารย์ได้สอนไปแล้ว ไม่ได้เอาใจใส่... สักแต่ว่า...ฟัง... ไม่มีประโยชน์เลย บางคนกลับหลงผิดคิดว่า รู้เรื่องแล้ว ได้บุญแล้ว!!!
การฟังธรรม จะได้บุญ ก็ต่อเมื่อ...เรารู้แจ้งเห็นจริงในธรรมนั้นจนสลดเบื่อหน่ายจางคลาย..
วันพระ คนเข้าวัดเยอะ เพื่อฟังธรรม แต่หลงผิดคิดว่า จะได้บุญมาก ได้บุญจริงหรือ? แต่..เมื่อเราฟังธรรมไม่รู้เรื่อง และไม่นำมาปฏิบัติ เราจะได้บุญตรงไหน? แม้ว่าคนที่มาฟังธรรม จะมีกำลังใจที่ดี แต่กลับไม่ได้บุญเลย! เพราะ บาปยังไม่ได้ละ ตราบใดที่เรายังไม่รู้แจ้งเห็นจริงจนสลดเบื่อหน่ายจางคลาย ทุกข์ก็ยังไม่สามารถหมดไปจากใจเราได้
บุญ จะเกิดขึ้นได้จริง ก็ต่อเมื่อ...ใจเราได้บรรลุดวงตาเห็นธรรม หลุดพ้นจากอุปาทาน กิเลสตัณหาจางคลายไป บุญนั้นก็จะส่งผลทำให้เรามีความสุขได้จริง... ซึ่งถ้าไม่เป็นไปตามนี้ เราไม่ได้อะไรเลย!!!
กรรมฐานกองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อานาปานุสติกรรมฐาน กรรมฐาน ๔๐... เราทำเพื่ออะไร? จริงๆ แล้ว เราฝึกเพื่อให้เห็นตัวเอง บาป-บุญอยู่ที่จิตใจของเรา ไม่ได้ดูใจคนอื่น เพราะ ไม่ได้ทำให้บาปของเราลดลง!!!
กรรมฐานทั้งหลายนั้น ฝึกเพื่อให้เรามีสติ มองเห็นตัวเองว่า ความคิดอ่านไหนที่ไม่ดี กิเลสตัวไหนที่เรายังมีมากอยู่ แล้วเอากรรมฐานมาหักล้างแก้ไขออกไป
อานาปานุสติกรรมฐาน คือ การทำสมาธิ กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ฝึกจิตใจให้มีความสงบระงับจากนิวรณ์ จิตใจเราก็พร้อมจะพิจารณา อ่านใจตัวเอง ว่า จิตใจเราเป็นอย่างใด สะอาดหรือสกปรก เป็นคนดีหรือคนชั่ว
เมื่อจิตใจเรามีกามราคะมาก มากจนไม่อยากตกเป็นทาส อยากวิมุติหรือหลุดพ้นจากกาม เราต้องอาศัย.กายคตานุสติกรรมฐานหรืออสุภกรรมฐานมาหักล้าง
คนเรียนกรรมฐาน จะต้องรู้ว่า เราจะเอากรรมฐานกองใดมาใช้ให้ได้ผลกับกิเลสตัวที่เรามีอยู่!
เมื่อใจเรามีความสงบหรือ สัมมาสมาธิ โดยเริ่มแรก ใจเราต้องสร้างพรหมวิหาร มีสัมมาทิฐิ เป็นเบื้องต้นเสียก่อน เราจึงจะเข้ากรรมฐานแบบไหน จึงจะได้ผลเร็ว เรื่อยๆ ไม่ได้
บาปที่เกิดจากกามราคะนั้น ถ้าเราไม่อ่านใจตัวเอง ไม่เพ่งโทษตัวเอง ยากที่เราจะรู้ได้... ทุกคนไม่เคยรู้ว่า ความอยากของเราก่อทุกข์โทษให้แก่เรามากขนาดไหน!
ผู้ประพฤติปฏิบัติจึงต้องบำเพ็ญเพียรกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก (พุทโธ) อยู่เสมอในทุกอิริยาบท ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ตื่น เดินจงกลม และ/หรือ การนั่งสมาธิ ไม่ว่าอยู่ในสถานธรรม ที่บ้าน หรือที่ทำงาน นานวันเข้า ฌานสมาบัติหรือความสงบ ก็จะเกิดขึ้น และจะเป็นสมาธิที่ปราศจากนิวรณ์ด้วย
(นิวรณ์ เป็นอารมณ์ที่ขวางกั้นความดี ไม่ให้เรารู้แจ้ง ไม่ให้เราสงบ)
แต่...ความสงบที่เราเคยได้ บางช่วงก็ไม่ได้ ยิ่งอยากสงบ ก็ยิ่งฟุ้งซ่าน ทำสมาธิไม่ได้เลย หรือ ฌานทรงอยู่ไม่ได้ เพราะ กิเลสตัณหา ยังอยู่ครบ เราจึงต้องเอาฌานฯ หรือสมาธินั้น มาอ่านใจตัวเอง
(ไม่ใช่หลงผิดไปอ่านใจคนอื่น เมื่อนั้น ธรรมะของเราเองก็จะเสื่อม มีมานะทิฐิ หลงผิด มีอวิชชาเพิ่มมากขึ้นไปอีก)
พระพุทธเจ้าต้องการให้เราฝึกกรรมฐานมา เพื่ออ่านใจตัวเอง เมื่อเราสงบ นิ่ง เราก็จะอ่านใจตัวเองออกว่า เรายังติดขัด ผูกกับอะไรอยู่ ถ้าผูกอยู่กับกาม โลภ หงุดหงิด ยึดมั่นถือมั่น คิดว่าอะไรๆ ก็เป็นของเรา มีปฏิฆะอยู่... สมาธิที่เรามีอยู่ เราก็จะอ่านออก จะทำให้เรามองเห็น ความชั่ว เหล่านี้ได้
การฝึกกรรมฐานหรือการฝีกสมาธิ เพื่อไปอ่านใจคนอื่น จะเหมือนกับ คนบ้าที่หลงทาง ฝึกธรรมะแล้ว ความชั่วกลับมากขึ้น เพราะ ความหลงผิด นั่นเอง
ธรรมะของพระพุทธเจ้า สอนให้เรามีปัญญา มีเหตุผล เราจึงจะพ้นทุกข์ได้
บางคนไม่รู้ว่า ฝึกอย่างไร เพราะ ไม่ได้ใส่ใจ แต่บางคนฉลาด เก็บธรรมะมาฟังหมด จิตใจเขาก็ดีขึ้น ฟังมาก รู้น้อย ไม่มีประโยชน์ ฟังมาก รู้มาก มีประโยชน์
ใจของเราที่มีทุกข์ เพราะ อาศัย กิเลส ๔ อย่าง (ได้แก่ ราคะ โลภ โกรธ หลง) เป็นเหตุ
การฝึกให้เข้าถึงมรณานุสติกรรมฐาน (การนึกถึงความตายเป็นอารมณ์) เพื่อหักล้างกับกามราคะนั้น เมื่อใจเราสงบแล้ว เวลาอ่านหนังสือพิมพ์เห็นภาพคนอื่นตาย ส่วนใหญ่เราจะไม่สนใจ เราเห็นความตายของคนอื่น เป็นเรื่องไม่จริง หรือเห็นคนตายแล้ว ใจของเรายังหวาดกลัวหดหู่... ฝึกให้จิตของเราเข้าไปยอมรับว่า คนอื่นตายจริง แล้วน้อมเข้ามาจิตของเราว่า เราเองก็จะตายจริงนะ!
เมื่อเรามีสมาธิควบคู่ไปกับการคิดพิจารณา (ในความตาย) อารมณ์ปลงธรรมสังเวชก็จะเกิดขึ้น ซึ่งไม่อาจคาดการณ์ว่า อารมณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อใด บางคนเดี๋ยวเดียว บางคนใช้เวลานานหลายปี
คนที่เข้าถึงความตาย หรือ คนที่ได้ นั้น เขาทำใจของเขาเป็น มรรคสามังคี จนรู้แจ้งเห็นจริงได้ (ทาน ศีล สมาธิ) ฝึกให้ใจของเราหาความเป็นจริงไปเรื่อยๆ จนกำลังใจทั้งสามอย่างสูงได้ระดับ ปัญญาที่เป็นสัมมาทิฐิ การบรรลุรู้แจ้งเห็นจริงในมรณานุสติกรรมฐานก็จะเกิดขึ้น ทิพจักขุญานก็จะเกิดขึ้น มีความสลดเบื่อหน่ายในการยึดมั่นถือมั่น บาปที่มีกามเป็นเหตุก็จะลดได้ ละได้ เลิกได้
ถ้าเราไม่มีมรรค (เส้นทางเดิน) ที่ถูกต้อง ฝึกไป ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะ บาปยังไม่ได้ล้าง บาปก็จะยังคงเกิดขึ้นอยู่
ความอยาก ไม่ใช่ว่า เราจะออกไปจากใจของเราได้ง่ายๆ เพราะ เป็นนามธรรม อารมณ์จึงต้องล้างด้วยอารมณ์ ความไม่รู้ (อวิชชา) ล้างด้วย ความรู้ (วิชชา)
บาป มาจาก กิเลสตัณหา ส่วนความทุกข์ มาจาก อกุศลกรรม เราจึงต้องรู้บ่อเกิดของมัน พระพุทธเจ้าทรงสอนดี แต่...เราไม่เอาดี . เราทำสมาธิ เพื่ออะไร ได้แต่ความสงบ แต่แก้ไขนิสัยเลวๆ ไม่ได้!!!
เราจะบอกว่า ไม่รู้ ไม่ได้! เราต้องรู้ รู้อะไร?... รู้ใจตัวเอง ไม่ต้องไปรู้ใจคนอื่น!
เราอยากพ้นจากความทุกข์ยากลำบาก เราต้องหาเหตุจากใจของเรา ไม่ต้องไปหาเหตุจากที่อื่น
ดังนั้น การฝึกกรรมฐานของเรา จะต้องเห็นบาปของตนเองให้ได้ แล้วนำกรรมฐานมาลด ละ เลิกเสีย . อย่าฝึกผิดทาง!!
เมื่อเรามี ความโลภ เกิดขึ้น ให้หักล้างด้วย การให้ หรือ จาคานุสติกรรมฐาน ซึ่งเป็นอารมณ์ของพระอริยะเจ้า และจะมีลำดับอารมณ์ของการให้อยู่ ๓ ระดับ คือ
เสียสละ เวลาให้ ยังมีการลังเลบ้าง
สละ เวลาให้ ไม่ลังเลเลย
ละ เวลาให้ ให้แบบไม่คิดถึงตัวเองเลย
การสร้างจาคานุสติกรรมฐานนั้น จึงขึ้นอยู่กับ กำลังใจของพวกเรา และ เราก็ไม่ต้องรอผลชาติหน้า ชาตินี้ เราสามารถเห็นผลได้เลย!!!
คนเราเมื่อมีความอยากมาก โลภมาก ใจเป็นเปรต เป็นสัตว์เดรัจฉาน โลภ เพราะความไม่รู้ ก็ไม่ต่างอะไรจากสุนัข แมว นก... สุนัข เราให้กินอิ่ม มันก็ยังโลภ อยากกินอีก อยาก เพราะไม่รู้... คนเราก็เหมือนกัน ร่างเป็นคน ใจเป็นสัตว์ เมื่อตายไป ก็จะไปเกิดเป็นสัตว์ เพราะ เราได้สร้าง กายใน ไว้เอง
อาจารย์ฝึกกรรมฐาน เพื่อความดีของตัวเอง เพื่อเข้าสู่ความวิมุติ และเพื่อเข้าสู่มรรค ผล พระนิพพานเอง และคนที่เจริญมรรค ผล ถูกต้องนั้น เขาจะไม่มีความยินดียินร้ายต่อสิ่งต่างๆ ที่เข้ามากระทบจิตใจแต่อย่างใด อีกทั้งอาจารย์ยังฝีกกรรมฐาน เพื่อต้องการพ้นทุกข์ และอยากรู้ว่า ชึวิตเกิดมาเพื่ออะไร?
เมื่อเรารู้ว่า ชีวิตเกิดมาเพื่ออะไร เราจะไม่สามารถออกจากมรรค ไม่สามารถเลือกเดินทางเส้นทางอื่นได้ เพราะ เราได้รู้แจ้งเห็นจริงแล้วว่า ความโลภ ทำให้เราตกอยู่ในอบาย
ดังนั้น อาจารย์จึงขอให้ เอาออกบ้าง อย่าคิดเอาเข้ามา เพราะ ตายไป เอาไปไม่ได้ สะสมได้แต่ ความโลภ ตอนมีมาก อดอยากเหมือนสัตว์เดรัจฉาน... ฝึกกรรมฐานไปทำไม?
ลูกศิษย์ของอาจารย์บางคนน่าชมเชยมาก ยิ่งฟังธรรมมาก แม้การฝึกกรรมฐาน จะฝึกไปคนละเส้นทาง บางคนฝึกกรรมฐาน เพื่อ ความไม่มี แต่บางคนฝึกกรรมฐาน เพื่อ ความมี เพียงแต่ ชีวิตจะมีหรือไม่มี เขาจะไม่ยินดียินร้าย . มี ก็ไม่โลภ ไม่มี ก็ไม่ทุกข์ใจ.... ด้วยเหตุนี้ กรรมฐานจึงฝึกยาก บางครั้งอาจารย์จึงเบื่อในการสอน
ถ้าเรารู้แจ้งเห็นจริง บำเพ็ญเพียรไป เราจะรู้เองว่า เราจะได้ทรัพย์ที่มนุษย์และเทวดาได้ยาก ถ้าเราฝีกไป เพื่อความวิมุติ (หลุดพ้น)
เทวดาที่ไม่ได้เจริญมรรคผล จะเพลิดเพลินกับสิ่งที่ตนเองได้ เทวดาเต็มไปได้ด้วยสุขและโลกียะ อาศัยการให้ทาน แต่ไม่มีปัญญา ไม่มีการฝึกกรรมฐาน เหมือนกับคนที่เพลิดเพลินกับความสุขจนลืมความตายว่า ไม่มีอะไรเป็นของเราเลย โลกมันสมมุติทั้งนั้น แต่ พระอริยะเจ้าจะมีอริยะทรัพย์ ซึ่งไม่สามารถบรรยายเป็นรูปร่างได้
บุคคลใดที่ปฏิบัติจนจิตเป็นพระอรหันต์ จะมี ร่างในหรือกายใน เป็นพระวิสุทธิเทพ คือ กายในเป็นเพชร มีแต่ความสงบ ความเยือกเย็น และความสุขที่ไม่สามารถประมาณการได้
เมื่อเราปฏิบัติพระกรรมฐานด้วยตัวเอง จนรู้ความเป็นจริง สัมผัสเอง เราจะไม่เพลิดเพลินกับทางโลกเลย คนปฏิบัติธรรมที่สำเร็จ ยากที่จะออกจากทางธรรมได้ ส่วนคนทางโลกที่สำเร็จ ก็ยากที่จะออกจากทางโลกได้เช่นกัน คนทั้งสองเส้นทางดังกล่าว ตายเหมือนกัน แต่.. ได้ไม่เหมือนกัน!
ขอให้เราถามตัวเองว่า เราปฏิบัติกรรมฐานเพื่ออะไร? ถ้าปฏิบัติเพื่อความอุดมสมบูรณ์ อยู่ดี กินดี ร่ำรวย เราจะ ขาดทุน เพราะ เราได้ไม่นาน ยกเว้นว่า เราอยู่นาน (ไม่ตาย)!!!
กรรมฐานของพระพุทธเจ้า เป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อการสะสม (ถ้าฝึกเพื่อการสะสม ให้ไปฝึกที่อื่น) อาจารย์จึงไม่อาจทรยศต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า ทรยศต่อความเป็นจริงที่มันเกิดขึ้นได้
เมื่อเราฝึกเพื่อคลายความกำหนัด คลายจากทุกสิ่งทุกอย่าง!!! ชึวิตจึงจะพ้นทุกข์ได้ ขอให้ไหว้พระ รักษาศีลให้ถูกต้อง
อย่านึกถึงความร่ำรวย!!! . แต่เหตุที่ไม่อยากรวย จะทำให้ชีวิตของเราไม่ลำบาก แต่ ถ้าอยากมาก ชีวิตก็จะลำบากมาก!
สรุปธรรมบรรยายในวันนี้.... ท่านอาจารย์ได้สอนให้พวกเราฝึกกรรมฐานด้วยการบำเพ็ญเพียร เพื่อให้ความอยากลดลง เพราะตอนนั่งสมาธิ ไม่มีกิเลสเข้า แต่จะมีกิเลส ตอนที่ออกจาการนั่งสมาธิ กิเลสจึงลดลงไม่ได้ เราจึงต้อง ทรงสมาธิ ให้ได้ตลอดทุกอิริยาบท เพื่อนำมาใช้ในการอ่านใจตัวเองทุกวันว่า กิเลสกองไหนเข้ามา ถ้าไม่ฝึกแบบนี้ จะล้างใจตัวเองได้อย่างไร?
ราคะ หักล้างด้วย อาการ ๓๒ อสุภะ มรณานุสติกรรมฐาน
โลภ หักล้างด้วย ให้เอาออก (จาคานุสติกรรมฐาน)
โกรธ หักล้างด้วย การสร้างพรหมวิหาร
หลง หักล้างด้วย ในโลกนี้ มีอะไรเป็นของเราบ้าง?
ถ้าฌานสมาบัติของเราดี พิจารณาหาความเป็นจริงไปเรื่อยๆ ใจเราจะสว่าง กลางคืนจะเป็นกลางวัน ไม่มีเรื่องหนักใจอะไรเข้ามาเลย... เมื่อนั้น... เราจะรู้เองว่า มรรคผลให้ผลแบบไหน และทางโลกให้ผลแบบไหน...
Credit : http://www.kasinung.com/article-th-86684-%E0%B8%9D%E0%