การปฏิบัติเพื่อจุดมุ่งหมายให้พบสุข ต้องเข้าใจถึงเส้นทางแห่งความสำเร็จหรือการที่จะพาไปถึงความสุขนั้นได้จริง ไม่หลงทางไม่ผิดเส้นทาง ในทางธรรมนั้นก็คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งนั่นก็คือองค์รวมทั้งหมดของการปฏิบัติ ก่อนที่จะทราบถึงวิธีปฏิบัติ อันดับแรกที่เราต้องทำก็คือ ปรับทัศนคติให้ถูกต้องกับการปฏิบัติก่อน เปรียบกับเราหันหัวรถให้ตรงกับเส้นทางที่เราจะไปเสียก่อนจะได้ไม่ผิดทิศทาง
ให้ความสำคัญกับ“จิต”ตนเอง
ในคำสอนของพระอริยสงฆ์ของพระราชวุฒาจารย์ หรือหลวงปู่ ดุล อตุโล ท่านเคยเมตตากล่าวไว้ว่า “จิตนั้นคือสิ่งสูงสุด เป็นพุทธะที่แท้” หมายความว่าจิตที่บริสุทธิ์ผุดผ่องปราศจากกิเลสใด ๆแล้วคือเป็นสิ่งที่สูงสุดในพระพุทธศาสนาคือ ดับแล้วซึ่งกิเลสทั้งสามกองใหญ่ ๆ คือ โลภ โกรธและหลง
การเน้นปฏิบัติธรรมเพื่อให้ได้บุญอย่างสูงสุด ผู้ที่มีสัมมาทิฐิจะมุ่งเน้นให้จิตสะอาดปล่อยวางจากสิ่งต่างๆได้ คือพิจารณาว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนไม่มีอะไรเป็นของเราเลย" เมื่อเรารักษาความคิดของเราให้สามารถปล่อยวางได้ ความรู้สึกหรือจิตที่ขุ่นมัว เสียใจ น้อยใจ โกรธ โลภ หลง และรักอันเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งหมดก็จะสามารถหมดไปได้เองโดยธรรมชาติ
ให้ความสำคัญต่อข้อปฏิบัติธรรมต่างๆ ที่ต้องพึงปฏิบัติให้สม่ำเสมอ
เมื่อให้ความสำคัญถึงเรื่องจิตว่าจะทำให้สะอาดได้อย่างไรก็จะทำให้น้อมนำมาสู่วิธีการที่ถูกต้องที่จะพึงปฏิบัติที่จะต้องทำให้สม่ำเสมอด้วย
ยกตัวอย่างเช่น การสวดมนต์ก็จะไม่สวดเพื่อมุ่งหวังในเมตตามหานิยมหรือการสวดอ้อนวอนเพื่อขอลาภขอทรัพย์หรือหวังให้มีอานุภาพฤทธิ์ใด ๆ แต่จะมุ่งเน้นให้จิตตั้งมั่นเกิดและมีสมาธิ จิตจดจ่ออยู่กับบทสวดเท่านั้น หรือการนั่งสมาธิทำจิตให้สงบก็จะไม่หวังเห็นนิมิตหรือหวังสร้างอภินิหารใดๆให้เกิดขึ้นแต่มุ่งเน้นให้จิตสามารถอยู่นิ่ง ๆอันเป็นพื้นฐานในการเจริญปัญญาที่ได้ผลต่อไป
ประการต่อมาก็คือ ผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติธรรมให้ได้ผลจริงนั้นควรมีระเบียบวินัยในการปฏิบัติธรรมโดยจะพึงปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้รู้จริงให้ได้มากที่สุดโดยไม่เห็นแก่สิ่งใด
ผู้คิดจะปฏิบัติธรรมคือ หมั่นรักษาการปฏิบัติโดยไม่เห็นแก่ความหนาว ไม่เห็นแก่ความร้อน ไม่เห็นแก่ความง่วงไม่เห็นแก่ความหิวใดๆ อันเป็นข้ออ้างที่จะขวางกั้นเพื่อการปฏิบัติให้เกิดผล ซึ่งหมายความรวมถึงการดำรงชีวิตในชีวิตประจำวันด้วย
ให้ความสำคัญกับครูบาอาจารย์ผู้ที่ให้ความรู้และวิธีการในการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง
คำว่า “พระพุทธศาสนา”นั้นแปลว่า “ศาสนาที่มีผู้รู้แจ้งรู้จริงอยู่” ดังนั้นการปฏิบัติธรรมให้ได้ผลอย่างแท้จริงนั้นจำเป็นต้องมี “ผู้รู้” หรือครูบาอาจารย์คอยให้คำแนะนำ ซึ่งประการสุดท้ายนี้นับว่าเป็นประเด็นสำคัญมากที่สุดข้อหนึ่งเลยทีเดียว
เพราะแม้แต่พระภิกษุกรรมฐานผู้ที่พึงเน้นเรื่องการปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น ท่านเหล่านั้นยังจำเป็นต้องมีผู้รู้หรือผู้ชี้แนะให้ปฏิบัติไปได้อย่างถูกทิศทาง เพราะไม่เช่นนั้นอาจทำให้หลงผิดไปได้
ปฏิบัติธรรมตามหลักมรรค 8 ให้ครบอย่าให้ขาด
บางคนชอบนั่งสมาธิเจริญสติล้วนๆ แต่ไม่มีฐานของสมาธิ ไม่มีศีลเป็นพื้นฐานทำให้กำลังการปฏิบัติไม่พอเมื่อกำลังไม่พอการปฏิบัติก็ไม่ได้ผล พอจะนำธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวันก็ไร้ปัญญาไม่มีความแหลมคม บกพร่องอยู่เรื่อย สุดท้ายต้องกลับมาใช้ชีวิต "ตามกระแสโลก ตามกระแสกิเลสเหมือนเดิม รู้หมดแต่อดไม่ได้เพราะกำลังและความรู้พื้นฐานไม่มี"
เวลาปฏิบัติธรรมจึงต้องมี "มรรคสามัคคี" ทำให้ครบทุกข้อ พระพุทธองค์ท่านว่าไว้ 8 ข้อก็ทำไปตามนั้น
จากหนังสือเรื่องวิธีปฏิบัติธรรมที่บ้านแบบได้บุญมาก โดย ธ.ธรรมรักษ์
เริ่มต้นปฏิบัติธรรมที่บ้านอย่างไรให้ได้บุญมาก
ให้ความสำคัญกับ“จิต”ตนเอง
ในคำสอนของพระอริยสงฆ์ของพระราชวุฒาจารย์ หรือหลวงปู่ ดุล อตุโล ท่านเคยเมตตากล่าวไว้ว่า “จิตนั้นคือสิ่งสูงสุด เป็นพุทธะที่แท้” หมายความว่าจิตที่บริสุทธิ์ผุดผ่องปราศจากกิเลสใด ๆแล้วคือเป็นสิ่งที่สูงสุดในพระพุทธศาสนาคือ ดับแล้วซึ่งกิเลสทั้งสามกองใหญ่ ๆ คือ โลภ โกรธและหลง
การเน้นปฏิบัติธรรมเพื่อให้ได้บุญอย่างสูงสุด ผู้ที่มีสัมมาทิฐิจะมุ่งเน้นให้จิตสะอาดปล่อยวางจากสิ่งต่างๆได้ คือพิจารณาว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนไม่มีอะไรเป็นของเราเลย" เมื่อเรารักษาความคิดของเราให้สามารถปล่อยวางได้ ความรู้สึกหรือจิตที่ขุ่นมัว เสียใจ น้อยใจ โกรธ โลภ หลง และรักอันเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งหมดก็จะสามารถหมดไปได้เองโดยธรรมชาติ
ให้ความสำคัญต่อข้อปฏิบัติธรรมต่างๆ ที่ต้องพึงปฏิบัติให้สม่ำเสมอ
เมื่อให้ความสำคัญถึงเรื่องจิตว่าจะทำให้สะอาดได้อย่างไรก็จะทำให้น้อมนำมาสู่วิธีการที่ถูกต้องที่จะพึงปฏิบัติที่จะต้องทำให้สม่ำเสมอด้วย
ยกตัวอย่างเช่น การสวดมนต์ก็จะไม่สวดเพื่อมุ่งหวังในเมตตามหานิยมหรือการสวดอ้อนวอนเพื่อขอลาภขอทรัพย์หรือหวังให้มีอานุภาพฤทธิ์ใด ๆ แต่จะมุ่งเน้นให้จิตตั้งมั่นเกิดและมีสมาธิ จิตจดจ่ออยู่กับบทสวดเท่านั้น หรือการนั่งสมาธิทำจิตให้สงบก็จะไม่หวังเห็นนิมิตหรือหวังสร้างอภินิหารใดๆให้เกิดขึ้นแต่มุ่งเน้นให้จิตสามารถอยู่นิ่ง ๆอันเป็นพื้นฐานในการเจริญปัญญาที่ได้ผลต่อไป
ประการต่อมาก็คือ ผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติธรรมให้ได้ผลจริงนั้นควรมีระเบียบวินัยในการปฏิบัติธรรมโดยจะพึงปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้รู้จริงให้ได้มากที่สุดโดยไม่เห็นแก่สิ่งใด
ผู้คิดจะปฏิบัติธรรมคือ หมั่นรักษาการปฏิบัติโดยไม่เห็นแก่ความหนาว ไม่เห็นแก่ความร้อน ไม่เห็นแก่ความง่วงไม่เห็นแก่ความหิวใดๆ อันเป็นข้ออ้างที่จะขวางกั้นเพื่อการปฏิบัติให้เกิดผล ซึ่งหมายความรวมถึงการดำรงชีวิตในชีวิตประจำวันด้วย
ให้ความสำคัญกับครูบาอาจารย์ผู้ที่ให้ความรู้และวิธีการในการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง
คำว่า “พระพุทธศาสนา”นั้นแปลว่า “ศาสนาที่มีผู้รู้แจ้งรู้จริงอยู่” ดังนั้นการปฏิบัติธรรมให้ได้ผลอย่างแท้จริงนั้นจำเป็นต้องมี “ผู้รู้” หรือครูบาอาจารย์คอยให้คำแนะนำ ซึ่งประการสุดท้ายนี้นับว่าเป็นประเด็นสำคัญมากที่สุดข้อหนึ่งเลยทีเดียว
เพราะแม้แต่พระภิกษุกรรมฐานผู้ที่พึงเน้นเรื่องการปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น ท่านเหล่านั้นยังจำเป็นต้องมีผู้รู้หรือผู้ชี้แนะให้ปฏิบัติไปได้อย่างถูกทิศทาง เพราะไม่เช่นนั้นอาจทำให้หลงผิดไปได้
ปฏิบัติธรรมตามหลักมรรค 8 ให้ครบอย่าให้ขาด
บางคนชอบนั่งสมาธิเจริญสติล้วนๆ แต่ไม่มีฐานของสมาธิ ไม่มีศีลเป็นพื้นฐานทำให้กำลังการปฏิบัติไม่พอเมื่อกำลังไม่พอการปฏิบัติก็ไม่ได้ผล พอจะนำธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวันก็ไร้ปัญญาไม่มีความแหลมคม บกพร่องอยู่เรื่อย สุดท้ายต้องกลับมาใช้ชีวิต "ตามกระแสโลก ตามกระแสกิเลสเหมือนเดิม รู้หมดแต่อดไม่ได้เพราะกำลังและความรู้พื้นฐานไม่มี"
เวลาปฏิบัติธรรมจึงต้องมี "มรรคสามัคคี" ทำให้ครบทุกข้อ พระพุทธองค์ท่านว่าไว้ 8 ข้อก็ทำไปตามนั้น
จากหนังสือเรื่องวิธีปฏิบัติธรรมที่บ้านแบบได้บุญมาก โดย ธ.ธรรมรักษ์