ประเทศนี้ถ้ามีเสียงดังรบกวนที่บ้านต้องไปแจ้งที่ใคร

สรุปไว้แบบกระชับในโพสต์นี้ครับ
http://ppantip.com/topic/35608727

ในโพสต์เดิมนี้บางคลิปจะดูไม่ได้แล้วนะครับ ต้องไปโพสต์ใหม่
แกไข 21 ก.ย. 2559 15:00


บอกไว้ก่อนว่าประเทศไทยมีกฎหมายคุ้มครองสิทธิของประชาชนที่เกี่ยวกับเหตุเดือดร้อนรำคาญจากเสียงดังรบกวนอยู่แล้ว[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ แต่ประเด็นที่จะพูดต่อจากนี้คือเมื่อเกิดความเดือดร้อนรำคาญจากเสียงดังรบกวนเราจะต้องไปแจ้งที่ใคร? (เพื่อให้เขาเหล่านั้นมาบังคับใช้กฎหมาย) ขอนำเสนอประสบการณ์ตรงของเราตามนี้

อันดับแรกโดยพื้นฐานก็ต้องแจ้งตำรวจ  กดไปเลย 191 ถ้าเป็นพื้นที่อื่นในประเทศไทยอาจจบง่าย ๆ  ที่ขั้นตอนนี้ แต่ในกรณีของที่บ้านเราโทรไปหาเจ้าหน้าที่เขาก็จะพูดด้วยความสุภาพ ถามรายละเอียดต่าง ๆ แล้วบอกว่าจะส่งสายตรวจไป เราก็รอไปสิสามสี่ชั่วโมงก็ไม่มีมา จนหลังเที่ยงคืนเสียงมันจะเงียบไปเอง เป็นแบบนี้ตลอด มีบทสนทนา [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ส่วนต้นตอของเสียงดังที่บ้านเรามันก็มาจากสถานบันเทิงลอยน้ำ ตามลักษณะแบบนี้เลยจ้า [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

พอมีศูนย์ดำรงธรรม เราก็ไปแจ้ง 27 พ.ย. 2557 [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ทางศูนย์พอรับเรื่อง แล้วส่งต่อไปที่อำเภอ อำเภอส่งต่อไปที่ตำรวจ  ตำรวจก็เรียกผู้ประกอบการสถานบันเทิงมาตักเตือน จากนั้นก็ส่งหนังสือแจ้งกลับมาถึงเราเพื่อเป็นหลักฐานว่าได้ดำเนินการให้แล้ว ทั้งหมดนี่ใช้เวลาเจ็ดเดือนเต็ม [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ระหว่างนั้นก็ต้องใช้ความอดทนและถ้าทนไม่ไหวก็ไปร้องเรียนเพิ่มเติม เราก็จะได้ก็อปปี้ของจดหมายตอบกลับมา[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ (ของบ้านคนอื่นที่แจ้งก็ได้คล้าย ๆ กัน)  แต่ที่แย่ไปกว่านั้นคือหลังจากตักเตือนไปแล้วผู้ประกอบการที่เคยแจ้งก็ยังทำเสียงดังอยู่(จนถึงเดี๋ยวนี้)

1111 สำนักนายกรัฐมนตรี เราโทรไป  8 ครั้ง ตั้งแต่ เมษายน – กรกฎาคม 2558 ครั้งสุดท้ายเราโทรไปวันที่ 9 กรกฎาคม 2558 ติดตามเรื่องแล้วเขาบอกว่าส่งมาให้ที่เดียวกับศูนย์ดำรงธรรมนั่นแหละจ้ะ

จงเชื่อมั่นประเทศไทย วันที่ 6 ก.ค. 2558 เราก็ไปที่ศูนย์ดำรงธรรมอีก คราวนี้เอาคลิปวีดีโอกับทำพาวเวอร์พอยต์ไปนำเสนอด้วยว่าเสียงมันดังยังงัย แพจอดที่ไหน วัยรุ่นมามั่วสุมกันยังงัย แล้วก็เขียนคำร้องไปอย่างละเอียด (ข้ามไปมั่งก็ได้ เอกสารเยอะเดี๋ยวจะเบื่อซะก่อน) [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ เจ้าหน้าที่ก็ดูเหมือนจะเข้าใจแล้วบอกให้เราไปตามเรื่องภายใน 15 วัน  พอครบ 15 วันเราไปตามเรื่องก็สรุปว่ายังไม่ได้ทำอะไร พึ่งจะร่างหนังสือส่งไปที่อำเภอ คือที่นัดให้เราไปภายใน 15 วันมันน่าจะอยู่ในคอนเซ็ปต์ ของการให้บริการยุคใหม่ “บริการด้วยใจคนไทยยิ้มได้” แต่เราตามเรื่องอยู่เกือบสี่เดือนก็ยังไม่ได้ทำอะไร จน 26 ตุลาคม 2558 ก็เลยร้องเรียนซ้ำ[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ เพราะแพที่เคยถูกตักเตือนก็ยังทำเสียงดังซ้ำแล้วซ้ำเล่า แล้วเราก็มีคลิปไปให้เจ้าหน้าที่ดูอีกแล้ว พอเจอแบบนี้ก็พูดอะไรไม่ออก ทำอะไรไม่ถูก แล้วบอกให้เราไปตามเรื่องเองที่อำเภอเมืองกาญจนบุรี

วันที่ 27 ตุลาคม 2558 เราไปอำเภอ เจ้าหน้าที่ก็ให้ขึ้นไปบนชั้นสองไปเจอกับปลัดอำเภอผู้หญิง  กำลังแกะส้มโอกินอยู่ ปลัดถามว่ามาทำไม เรายังไม่ทันได้พูดอะไร ป้าเจ้าหน้าที่คนหนึ่งก็พูดขึ้นมาว่า “ก็ไอ้นี่งัย คนที่ร้องเรียนเรื่องแพเธคเสียงดัง” แกบอกชื่อ นามสกุลของเราได้อย่างถูกต้องทั้ง ๆ ที่ไม่เคยเจอกันมาก่อน เหมือนเราไปทำความเดือดร้อนให้ เราจะเอาเรื่องเพราะข้อมูลต้องปกปิดเป็นความลับแต่ป้ารู้จักเราดียังกะเราเป็นลูกหนี้แก ป้าก็กำลังจะบริภาษเราต่อปลัดก็บอกให้หยุด แล้วเราก็ให้ข้อมูลกับปลัด เสร็จแล้วปลัดพูดว่า”อยู่มาตั้งนาน  ยังไม่ชินอีกเหรอ” แล้วก็ต่อสายถึงแกนนำสมาคมที่เกี่ยวกับเรื่องแพ ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกันแล้วก็แจ้งว่ามีคนมาร้องเรียน พร้อมกับกำชับ(แบบกระหนุงกระหนิงมุ้งมิ้ง) ว่าให้บรรดาแพทั้งหลาย อย่าไปจอดแถว ๆ บ้านผู้ร้องเรียนนะให้ขยับไปที่อื่น ส้มโอลำเลียงเข้าปากเป็นระยะ ๆ  จนเราจะกลับถึงเริ่มเซ็นเอกสาร[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้  พอเรากลับมาบ้าน ผลปรากฏว่าคืนนั้นพวกแพเธคมารวมกันจอดแล้วกระหน่ำเสียงเพลงตั้งแต่สองทุ่มจนถึงเที่ยงคืน โดยปกติแถว ๆ บ้านจะมีมาจอดคืนละหนึ่งถึงสองราย แต่คืนนั้นมากันเยอะ แล้วเสียงแบบอภิมหาดังอลังการ สะท้านสามโลก (เราคิดว่าคงโดนสั่งสอนที่ไปร้องเรียน)

ตอนนี้ก็เริ่มท้อแล้วกับหน่วยงานรัฐ ตามมาจะครบปีแล้วยังไม่ทำอะไรให้เลยแถมยังเดือดร้อนกว่าเก่า เราเลยไปแจ้งที่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส รายการสถานีประชาชน [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ไทยพีบีเอสมาเก็บข้อมูล แล้วผ่านไปไม่กี่วันก็เป็นข่าว [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

พอเป็นข่าว ชาวบ้านก็ฮึดกันขึ้นมาแล้วชวนกันไปร้องนายกรัฐมนตรี [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

พอเรื่องถึงนายกฯ ไม่เกิน 7 วัน ทุกคนก็ตื่นตัว ตื่นตัว ตื่นตัว ตำรวจทหาร ออกตรวจพรึบพรับ แพเธคถอดลำโพงออก  นายอำเภอเรียกประชุมวันอาทิตย์กันเลยทีเดียวแล้วก็ได้มาตรการออกมาแบบเสกได้ทันใจ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

วันที่ 23 พ.ย. 59 เจ้าหน้าที่ก็เรียกชาวบ้านให้มาประชุม ฝ่ายรัฐก็ตกลงจะทำตามมาตรการที่เตรียมเอาไว้กับผู้ประกอบการ ตำรวจก็ออกมารับปากว่าจะเป็นคนดำเนินการเรื่องนี้อย่างเด็ดขาด และถ้าพบว่ามีเสียงดังให้โทรแจ้ง 191 (ก่อนหน้านี้ก็ถือว่าให้แล้ว ๆ กันไป ) [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

บรรยากาศก็กลับมาสงบเรียบร้อย ประชนชน ภาครัฐ ผู้ประกอบการ ก็อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข นี่คือขั้นตอนทั้งหมดที่เราได้ทำลงไปเพื่อหยุดเสียงดังข้างบ้าน ใช้เวลาหนึ่งปี ตั้งแต่ 27 พ.ย. 57 จนถึง 23 พ.ย. 58 (จบแล้วจ้า แบบทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขชื่นมื่น ถ้าชอบจบแบบนี้ก็หยุดที่ตรงนี้ได้เลย แต่มีต่อนะ)
.
.
.
.
.
ต่อ......นับจากวันที่ไปร้องเรียนนายกรัฐมนตรี / หัวหน้าคสช.  ความดีงามก็สถิตอยู่ได้ 3 สัปดาห์ วันที่ 4 ธ.ค. 2558  ผู้ประกอบการแพเธคก็เอาลำโพงกลับมาติดเต็มรูปแบบอีกครั้ง ชาวบ้านโทรไป 191 ตำรวจก็มานะฮะ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้เหมือนเดิม(แค่มาดูก็ดีใจแล้ว เพราะก่อนหน้านี้ไม่เคยมา) เรือที่เคยออกตรวจตอนมีนักข่าวมาถ่ายรายการก็หายไป โทรไปเบอร์ส่วนตัวของนายตำรวจที่รับปากเอาไว้ก็บอกว่าไม่มีงบ โทรไป 191 บ่อย ๆ ตำรวจก็บอกว่านี่มันวิถีชีวิตปกติของจังหวัด อะไรที่เจ้าหน้าที่รัฐเคยพูดว่าจะทำก็ไม่ได้ทำ พอถามกับตำรวจก็โยนให้ไปถามฝ่ายปกครอง พอไปที่จังหวัดก็โยนให้ไปตามที่อำเภอ จนกระทั่งทุกวันนี้นายอำเภอก็ยังไม่ได้ทำตามมาตรการที่ตัวเองเป็นคนไปประชุม คือเอาเข้าจริง ๆข้าราชการก็ไม่ได้สนใจคำสั่งนายกรัฐมนตรีอะไรนั่นมากนัก

พอเรามานั่งอ่านข้อมูลเก่า ๆ ไม่ใช่นายกรัฐมนตรีเท่านั้น ที่ทำอะไรไม่ได้  ปปช. ก็เคยลงมาจัดการแล้วเมื่อปี 2551[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ปี 2555 ชาวบ้านก็เคยร้องเรียนไปที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ปี 2556 ผู้ตรวจการแผ่นดินก็ลงมาตรวจอีก [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

แต่ก็ออกอาการเดียวกัน คือทุกฝ่ายออกมาทำงานแบบพอเป็นพิธีเท่านั้น ขั้นแรกถอดลำโพง ขั้นที่สองจัดประชุมหามาตรการ ขั้นที่สามรอให้เรื่องเงียบ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

พอผ่านไป 3 สัปดาห์ ทุกอย่างก็กลับมาเลวร้าย เมื่อเราทำมาหมดทุกอย่างแล้ว อย่างสุดท้ายที่ต้องทำก็คืออดทน เพราะไม่ว่าจะเป็น ปปช. ผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือนายกรัฐมนตรี ก็ไม่สามารถทำให้ข้าราชการจังหวัดนี้บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังได้

มาดูกันว่าหลังนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้จัดระเบียบแล้ว ข้าราชการเขาปฏิบัติงานกันยังงัยเริ่มจากตำรวจเลยว่าเขาให้เหตุผลอะไร[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

พอแจ้งตำรวจบ่อย ๆ ท่านก็คงทำงานเต็มที่แล้ว และคงเหนื่อยเพราะงานปราบปรามเรื่องอื่นก็เยอะแยะเลยบอกให้ไปแจ้งศูนย์ดำรงธรรม [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

พอไปศูนย์ดำรงธรรมนี่เจอหนักเลย วันที่ 4 เม.ย. 2559 ไปถึงแล้วเจ้าหน้าที่ก็บอกให้ไปตามที่อำเภอเลย (แล้วมันใช่เรื่องเหรอ) พอเราบอกว่าหน่วยงานปกครองไม่เคยมีการออกตรวจเลย เจ้าหน้าที่เขายืนยันว่าเขาออกตรวจเถียงกันไปกันมาสุดท้ายบอกให้เราอยู่คุยกับเจ้าหน้าที่ทหาร [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ระหว่างรอเจ้าหน้าที่ทหารมาปรับทัศนคติ ทางเจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรมคนอื่น ๆ ก็แนะนำว่าเวลาเสียงดัง ให้ย้ายไปอยู่ที่อื่น [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

พอทหารมาแล้วก็เชิญให้ไปปรับทัศนคติกับเจ้าหน้าที่รัฐท่านหนึ่ง (ไม่ขอลงรายละเอียด)

จะด้วยอะไรก็แล้วแต่ หลังจากนั้นก็มีเจ้าหน้าที่มาจากกองช่าง มาตรวจบ้านเรา แจ้งว่ามีคนร้องเรียนว่าบ้านเราปลูกสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงขอเข้าตรวจ พอสอบถามปรากฏว่าคนที่มาตรวจนั่นแหละเป็นคนอนุมัติเอง(พอจำได้แล้วท่านก็กลับไป) เรื่องราวมันแปลก ๆ ก็เลยขอหยุดร้องเรียนไปซักพักนึง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่