เมื่อครั้งที่มีโอกาสได้ไปเยือนเมืองน่านเป็นครั้งแรก ผมได้ขี่จักรยานเที่ยวอยู่ในเมืองและแวะเข้าไปชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ที่ชั้นล่างของพิพิธภัณฑ์ผมสะดุดตากับภาพถ่ายของสุภาพสตรีผู้สวยงามท่านหนึ่ง ยิ่งอ่านประวัติของท่านด้วยแล้ว ยิ่งน่าสนใจ เพราะท่านเคยปฏิเสธพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อพระองค์ตรัสขอให้เข้ารับราชการในตำแหน่งเจ้าจอม สุภาพสตรีท่านนี้คือ หม่อมศรีพรหมา กฤษดากร ณ อยุธยา
หม่อมศรีพรหมา มีนามเดิม เจ้าศรี ณ น่าน เป็นธิดาของเจ้าผู้ครองนครน่าน พระยามหิบาลบริรักษ์และภริยาได้ทูลขอไปเป็นบุตรบุญธรรมตั้งแต่ท่านอายุได้ 3 ปีเศษ ต่อมาได้ติดตามครอบครัวไปอยู่ที่รัสเซียและอังกฤษ หลังจากกลับสู่ประเทศไทย ได้เข้ารับราชการในพระราชสำนักของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ในหน้าที่นางสนองพระโอษฐ์และเป็นล่ามติดต่อกับชาวต่างชาติในบางโอกาส ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เปลี่ยนนามจากเจ้าศรีเป็น เจ้าศรีพรหมา และทรงขอให้อภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤษดากร อธิบดีในกระทรวงเกษตร ภายหลังออกจากราชการ ทั้งสองท่านบุกเบิกทำการเกษตรกรรมแผนใหม่กันที่บางเบิด ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และได้ใช้เป็นสถานีทดลองทางการเกษตรด้วย
เมื่อครั้งรัชกาลที่ 5 รับสั่งกับเจ้าศรีพรหมมาว่า โปรดจะให้รับราชการเป็นเจ้าจอม เจ้าศรีพรหมาปฏิเสธ โดยกราบบังคมทูลว่า “เคารพพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์ แต่มิได้รักใคร่พระองค์ในทางชู้สาว” เจ้าศรีพรหมาเลี่ยงไม่ใช้ภาษาไทย แต่ใช้ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นการง่ายต่อการกราบบังคมทูลปฏิเสธ และไม่ทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท รัชกาลที่ 5 ก็ทรงเมตตาให้เป็นไปตามอัธยาศัย มิทรงได้ถือโทษ ยังพระราชทานความเมตตาต่อเจ้าศรีพรหมาเสมอมาตราบจนเสด็จสวรรคต และภาพถ่ายของเจ้าศรีพรหมาที่ผมเห็นในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติน่านนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉายให้ด้วยฝีพระหัตถ์และทรงตั้งไว้ในห้องพระบรรทมของพระองค์
สตรีผู้เคยปฏิเสธ ร. 5
เมื่อครั้งที่มีโอกาสได้ไปเยือนเมืองน่านเป็นครั้งแรก ผมได้ขี่จักรยานเที่ยวอยู่ในเมืองและแวะเข้าไปชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ที่ชั้นล่างของพิพิธภัณฑ์ผมสะดุดตากับภาพถ่ายของสุภาพสตรีผู้สวยงามท่านหนึ่ง ยิ่งอ่านประวัติของท่านด้วยแล้ว ยิ่งน่าสนใจ เพราะท่านเคยปฏิเสธพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อพระองค์ตรัสขอให้เข้ารับราชการในตำแหน่งเจ้าจอม สุภาพสตรีท่านนี้คือ หม่อมศรีพรหมา กฤษดากร ณ อยุธยา
หม่อมศรีพรหมา มีนามเดิม เจ้าศรี ณ น่าน เป็นธิดาของเจ้าผู้ครองนครน่าน พระยามหิบาลบริรักษ์และภริยาได้ทูลขอไปเป็นบุตรบุญธรรมตั้งแต่ท่านอายุได้ 3 ปีเศษ ต่อมาได้ติดตามครอบครัวไปอยู่ที่รัสเซียและอังกฤษ หลังจากกลับสู่ประเทศไทย ได้เข้ารับราชการในพระราชสำนักของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ในหน้าที่นางสนองพระโอษฐ์และเป็นล่ามติดต่อกับชาวต่างชาติในบางโอกาส ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เปลี่ยนนามจากเจ้าศรีเป็น เจ้าศรีพรหมา และทรงขอให้อภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤษดากร อธิบดีในกระทรวงเกษตร ภายหลังออกจากราชการ ทั้งสองท่านบุกเบิกทำการเกษตรกรรมแผนใหม่กันที่บางเบิด ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และได้ใช้เป็นสถานีทดลองทางการเกษตรด้วย
เมื่อครั้งรัชกาลที่ 5 รับสั่งกับเจ้าศรีพรหมมาว่า โปรดจะให้รับราชการเป็นเจ้าจอม เจ้าศรีพรหมาปฏิเสธ โดยกราบบังคมทูลว่า “เคารพพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์ แต่มิได้รักใคร่พระองค์ในทางชู้สาว” เจ้าศรีพรหมาเลี่ยงไม่ใช้ภาษาไทย แต่ใช้ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นการง่ายต่อการกราบบังคมทูลปฏิเสธ และไม่ทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท รัชกาลที่ 5 ก็ทรงเมตตาให้เป็นไปตามอัธยาศัย มิทรงได้ถือโทษ ยังพระราชทานความเมตตาต่อเจ้าศรีพรหมาเสมอมาตราบจนเสด็จสวรรคต และภาพถ่ายของเจ้าศรีพรหมาที่ผมเห็นในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติน่านนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉายให้ด้วยฝีพระหัตถ์และทรงตั้งไว้ในห้องพระบรรทมของพระองค์