จิตดั่งเดิมแท้ พุทธะอันแท้จริง
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด
เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๑
จิตเป็นของละเอียดมาก รู้สึกจะมีความละเอียดเหนือสิ่งใดๆ จนไม่ปรากฏร่องรอยที่ไปและมา แม้จะท่องเที่ยวอยู่ได้ทั้งวันทั้งคืน ร่องรอยของจิตที่พอจะยึดได้ว่าเป็นอย่างนั้นๆ เหมือนด้านวัตถุนี้ไม่มี ท่านเปรียบไว้เหมือนกับนกบินบนอากาศ ไม่มีร่องรอยทั้งนั้น อีกตอนหนึ่งเปรียบถึงท่านผู้บริสุทธิ์ที่ได้พรากจากร่างนี้ไปแล้ว ไม่มีร่องรอยว่าจะไปเกิดหรือไปตั้งอยู่ในสถานที่ใดอย่างนี้อีกเหมือนกัน แม้จิตจะยังมีสมมุติอยู่ภายในตัวที่เรียกว่ากฎแห่งกรรมก็ตาม แต่จิตก็ไปตามธรรมชาติของจิตที่มีความละเอียดประจำตัวอยู่แล้ว แม้จะไปสู่สถานที่ใดหรือไปเกิดในที่ใดๆ การไปของจิตนั้นก็ไม่มีใครสามารถจะทราบได้ นอกจากท่านผู้มีญาณซึ่งควรจะรู้ได้เท่านั้น
ตามธรรมชาติของจิตแล้วมีความละเอียดประจำตนอยู่เสมอเช่นนี้ จึงยากที่จะพิสูจน์ให้ทราบได้ การปฏิบัติบำเพ็ญมีการภาวนาเป็นต้น นี้แลท่านว่าเป็นทางพิสูจน์เรื่องความรู้คือใจของตัวเอง และความเคลื่อนไหวของใจว่าจะกระเพื่อมไปสู่วัตถุหรืออารมณ์ใด ไม่ว่าส่วนหยาบส่วนกลางส่วนละเอียด ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์อดีตอนาคต หรือกำลังปรากฏตัวอยู่ในปัจจุบันคือขณะนี้ จิตที่ตั้งความรู้สึกไว้จำเพาะสถานที่เกิดอารมณ์คือใจของตัวเองนี้ มีทางที่จะทราบได้ในความเคลื่อนไหวของตน
ในเบื้องต้นก็ทันบ้างไม่ทันบ้าง เพราะสติหรือปัญญาเราก็เพิ่งเริ่มฝึกหัด เริ่มตั้งหลักตั้งฐานขึ้นด้วยการพยายามคือการภาวนา ฉะนั้นท่านจึงสอนให้มีสติคอยรับทราบอยู่กับความรู้คือใจดวงนี้ ก่อนจะปรากฏภาพต่างๆ จะเป็นภาพที่มีวิญญาณหรือไม่ก็ตาม จะต้องมีความกระเพื่อมจากความรู้นี้ก่อน ถ้ายังไม่กระเพื่อมภาพก็ยังไม่ปรากฏ ขณะที่จิตกระเพื่อม ก็เป็นขณะเดียวที่จิตจะออกแสดงภาพให้ตัวรู้ตัวเห็น จะเป็นภาพที่น่าเพลิดเพลิน ภาพที่น่าเสียใจหรือภาพที่น่ากลัวก็ตาม จะต้องแสดงออกจากความกระเพื่อมของจิตเป็นสำคัญ นี่พูดถึงขณะที่เราภาวนา
ส่วนภาพที่ปรุงขึ้นภายในใจตามปรกติของคนทั่วๆ ไปนั้น เป็นเรื่องของความคิด เดี๋ยวปรากฏเรื่องนั้นปรากฏเรื่องนี้ ปรากฏคนนั้น พอเราคิดถึงคนไหนก็ปรากฏภาพคนนั้นขึ้นมาอันนี้ถือเป็นธรรมดา ไม่ค่อยมีอะไรล่อแหลมนัก โลกทั้งหลายก็คิดกันได้ ไม่มีความเสียหายจากความคิดอย่างนั้น แต่ภาพที่ปรากฏขึ้นในขณะภาวนานี้มีส่วนจะทำให้เสียได้ จะอย่างไรก็ตามภาพต้องปรากฏขึ้นในขณะที่จิตกระเพื่อมตัวออกไป ถ้ามีแต่ความรู้ล้วนๆ จะยังไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้นจิตเวลาอยู่เฉพาะตัวเอง คือรู้อยู่จำเพาะตัวเองจริงๆ ไม่แสดงตัวออกไปภายนอก สิ่งต่างๆ จึงไม่สามารถจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับใจนั้นได้ ดังท่านเข้าสมาธิ ขณะที่จิตเข้าอยู่ในองค์ของสมาธิคือความสงบแน่วแน่ตามหลักของสมาธิจริงๆ แล้ว จะไม่มีสิ่งใดมาเกี่ยวข้องเลยในเวลานั้น ต่อเมื่อจิตได้ถอนตัวออกมาจากจุดนั้นนั่นแล ถ้ามีเรื่องก็จะเกี่ยวข้องกัน คือมีเรื่องเกี่ยวกับภายนอกก็จะรับทราบได้เหตุได้ผลรู้เรื่องรู้ราวกันในเวลานั้น
ถ้าเทียบอุปมาก็เช่นเดียวกับเราอยู่ในบ้านของเราและปิดประตูบ้านไว้ด้วย แขกคนหรืออะไรจะมาจากที่ไหน มาอยู่ภายนอกฝาเรือนเรานั้น เราจะไม่มีทางทราบได้ เพราะขณะนั้นไม่ใช่ขณะที่เรารับแขก ต่อเมื่อเราออกจากในบ้านของเรา เปิดประตูออกมานั่นแล เราจะทราบเรื่องราวทั้งหลายที่มีอยู่ภายนอก เรื่องของจิตก็ย่อมมีลักษณะเช่นนั้นเหมือนกัน
ความรู้ของจิตนี้รู้สึกว่าพิสดารมากตามจริตนิสัยของผู้บำเพ็ญไม่เหมือนกัน บางรายก็ไม่ค่อยมีเรื่องแสดงภาพต่างๆ ให้เห็น เช่นเป็นคนเป็นเปรตเป็นผี หรือเรื่องคนล้มคนตายให้ปรากฏในภาวนาอย่างนี้ บางรายไม่ค่อยมี แต่บางรายพอจิตสงบแล้วแสดงขึ้นมาทันที เพราะหลักธรรมชาติที่ปรากฏเช่นนี้นั้นไม่ได้ศึกษามาจากครูจากอาจารย์ แต่จะปรากฏขึ้นกับจริตนิสัยของผู้บำเพ็ญเวลาจิตสงบแล้ว
หากนิสัยมีในทางที่จะรู้เห็นสิ่งต่างๆ ก็ต้องแสดงออกมาให้เจ้าตัวรู้ ต่อเมื่อเราได้รู้ได้เห็นสิ่งนั้นว่าแสดงอาการอย่างไรบ้างแล้วนั้น เรามีทางที่จะศึกษาปรารภหรือไต่ถามครูอาจารย์ได้ ว่าจะควรปฏิบัติต่อสิ่งนั้นอย่างไรบ้าง แต่หลักนิสัยนั้นจะไม่ได้ถาม จะไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนจากผู้ใด แต่จะปรากฏขึ้นมาให้ผู้มีนิสัยในทางนั้นรู้โดยเฉพาะตัวเอง ถ้านิสัยไม่มีก็ไม่รู้ไม่เห็น การไม่รู้ไม่เห็นก็ไม่เป็นการที่จะตัดทอนประโยชน์ของผู้บำเพ็ญในนิสัยเช่นนั้น ผู้ไม่เห็นไม่รู้ก็ไม่สนใจ แต่ผู้เห็นผู้รู้ตามนิสัยของตนก็ต้องปฏิบัติให้ถูกกับจริตของตน ถ้าไม่ถูกก็มีทางเสียได้เหมือนกัน
คำว่าจิตอันแท้จริงนั้นมีแต่รู้เท่านั้น ไม่ปรากฏว่ารู้ในลักษณะอย่างไรบ้าง เป็นธรรมชาติที่รู้ๆ อยู่เท่านั้นแล นั้นแลเป็นธรรมชาติของจิตแท้ ลักษณะที่แสดงออกเป็นสีสันวรรณะ หรือเป็นภาพต่างๆ นั้น เป็นอาการอันหนึ่งที่แสดงออกมาจากจิตซึ่งไม่ใช่จิตแท้ อาการเหล่านั้นเป็นสิ่งที่เกิด ๆ ดับๆ ตามคติธรรมดาของเขา แต่ผู้ที่รู้ในหลักธรรมชาติของตัวเองนี้จะไม่มีการขาดวรรคขาดตอนในความรู้ ไม่มีการเกิดและดับไป คือการเกิดขึ้นก็ไม่มี การดับไปก็ไม่มี มีแต่เป็นธรรมชาติที่รู้อยู่เท่านั้น นี้แลท่านเรียกว่าเป็นธรรมชาติของจิตแท้ ถ้าได้พิจารณาอบรมให้ถึงแก่นของความรู้อันแท้จริงแล้วนั้น ท่านเรียกว่าความรู้อันดั้งเดิม ความรู้อันนี้หมดการเปลี่ยนแปลง
กิริยาที่เปลี่ยนแปลงนั้น เป็นอาการอันหนึ่งซึ่งเกิดจากธรรมชาติอันดั้งเดิมนี้ต่างหาก เพราะฉะนั้นจึงมีการเกิดๆ ดับๆ มีการเปลี่ยนแปลงสภาพเป็นลักษณะต่างๆ ซึ่งเอาแน่ไม่ได้ ไม่ว่าเราจะปฏิบัติธรรมขั้นต่ำขั้นกลางหรือขั้นสูง อาการอันนี้จะต้องมีไปตามๆ กัน คือเวลาใจยังมีสิ่งแวดล้อมหยาบอยู่ อาการที่แสดงอยู่ในขั้นนั้นก็ต้องแสดงอาการหยาบ ภาพก็เป็นภาพที่หยาบ อารมณ์ก็เป็นอารมณ์ที่หยาบ พออาการที่เกี่ยวข้องกับจิต ค่อยเปลี่ยนแปลงตัวเองขึ้นไป อารมณ์ก็ค่อยเปลี่ยนไปสู่ความละเอียด จนจิตเข้าสู่ความละเอียดอย่างเต็มที่ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับจิตซึ่งไม่ใช่จิตเดิมแท้นั้น ก็ต้องแสดงอาการที่ละเอียดอย่างยิ่งเหมือนกัน แต่ทั้งสามอาการนี้เรียกว่าเป็นอาการของจิตทั้งนั้น ไม่ใช่จิตอันดั้งเดิมแท้
ผู้พิจารณาจึงต้องอาศัยอารมณ์เหล่านี้เป็นเครื่องทดสอบ ฝึกหัดสติปัญญา ถือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตนนี้เป็นเหมือนหินลับมีดโกนให้คมกล้าไปเสมอ ปัญญา สติต้องอาศัยเหล่านี้เป็นเครื่องฝึกซ้อม และรู้เท่าทันกันไปเป็นระยะๆ จนหมด ไม่มีอาการใดเหลืออยู่ แฝงอยู่ภายในจิตนั้นเลย สิ่งที่มีอยู่ตามหลักดั้งเดิมของตนก็คือความรู้ล้วนๆ นี่แลเป็นแก่นแห่งความรู้แท้ เป็นความรู้ในหลักธรรมชาติแท้ จึงไม่มีทางที่จะแปรเป็นอื่นได้
ท่านที่บำเพ็ญตั้งแต่ต้น ชำระหรือพิจารณาให้รู้สิ่งที่เกี่ยวข้องกับจิตมาเป็นชั้นๆ จนถึงธรรมชาติอันดั้งเดิมของจิตนั้นแล้ว จิตท่านเป็นอย่างนั้นแล ถึงหลักหรือถึงธรรมชาติอันไม่เปลี่ยนแปลง อันไม่หลอกลวง ท่านจึงหมดความหวั่นไหว เพราะไม่มีสิ่งที่จะมาหลอกลวงหนึ่ง ไม่มีสิ่งที่จะหลงตามสิ่งหลอกลวงนั้นหนึ่ง เหตุที่จะให้เกิดความหลอกลวงก็ไม่มี คือต้นเหตุที่จะให้เกิดความหลอกลวงก็ไม่มี ผลที่จะให้เกิดความลุ่มหลงหรือเดือดร้อนเสียใจไปตามก็ไม่มี
ท่านจึงอยู่เป็นเอกเทศอันหนึ่งโดยหลักธรรมชาติ ไม่ต้องเสกสรร ไม่ต้องระมัดระวัง คือไม่ต้องตั้งท่าตั้งทาง ไม่ต้องมีอาการใดซึ่งเป็นอาการที่จะสงวนรักษาหรือต้านทานกันกับสิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย เพราะต่างอันต่างจริง ต่างอันต่างมีอยู่ตามหลักธรรมชาติของตน ทั้งสิ่งที่เกี่ยวข้องกับจิต ทั้งจิตผู้รู้สิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย นี่เรียกว่าท่านผู้หมดเหตุหมดปัจจัย รู้อยู่ในหลักปัจจุบันของท่านทุกๆ ขณะ ว่าไม่มีการสืบต่อกับอารมณ์ซึ่งเป็นเหตุให้ยั่วกิเลสให้ฟุ้งขึ้นมา
หลักธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ชี้อุบายแนวทางตั้งแต่ขั้นเริ่มแรกจนถึงจุดหมายปลายทางแห่งความสมมุติและวิมุตติ คือถึงความบริสุทธิ์ของจิต ไม่มีโอวาทใดที่จะสามารถชี้ให้ถูกต้อง และผู้ปฏิบัติได้พ้นภัยไปได้จริงดังสวากขาตธรรมของพระพุทธเจ้า บรรดาผู้ปฏิบัติตามสวากขาตธรรม จนได้รู้แจ้งเห็นจริงถึงภูมิแห่งธรรมขั้นนี้แล้ว แม้จะไม่เป็นอันเดียวกับพระพุทธเจ้าก็ตาม เพราะต่างคนต่างบริสุทธิ์ แต่ก็เป็นเหมือนกับเป็นอันเดียวกันกับพระพุทธเจ้า เพราะความบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้ากับความบริสุทธิ์ของท่านผู้รู้ตามเห็นตามพระพุทธเจ้านั้น เป็นความบริสุทธิ์เช่นเดียวกัน ไม่มีสิ่งใดหรืออาการใดที่จะผิดแปลกกันไปแม้แต่นิดหนึ่งที่ให้ชื่อว่าสมมุติ เพราะความผิดแปลกท่านเรียกว่าสมมุติทั้งนั้น
อยู่ในสถานที่ใด เราอยู่ฉันใด ก็เหมือนพระพุทธเจ้าอยู่ฉันนั้น เรารู้อยู่ฉันใดเหมือนพระพุทธเจ้ารู้อยู่ฉันนั้น เรารู้อยู่ในขณะนี้ก็เหมือนพระพุทธเจ้ารู้อยู่ในขณะเดียวกัน ฉะนั้นการที่พระพุทธเจ้าจะนิพพานไปกี่เวลา และนิพพานอยู่ในสถานที่ใด นั่นจึงไม่เป็นปัญหาสำหรับท่านผู้รู้องค์แห่งพุทธะอันแท้จริงตามเสด็จพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่มีกาลมีเวลา ไม่มีสถานที่ นั่นเป็นสถานที่อันหนึ่งต่างหาก ซึ่งเป็นที่ประทับหรือเป็นที่บำเพ็ญของพระพุทธเจ้าที่มีพระกายอยู่ พระกายก็เป็นสมมุติ สถานที่จึงต้องแสดงสมมุติขึ้นมา กาลเวลาจึงต้องแสดงขึ้นไปตามๆ กัน ต่อเมื่อได้ถึงขั้นแห่งความบริสุทธิ์ หมดจุดที่หมายแห่งความสมมุติแล้วนั้น ไม่ว่าสาวกองค์ใดแม้จะตรัสรู้ขึ้นในขณะนี้ก็เป็นเหมือนได้เห็นพระพุทธเจ้าในขณะนี้ ประหนึ่งคำว่านิพพานแล้วนั้นไม่ปรากฏ เพราะนั้นเป็นแต่เพียงร่างที่พรากจากกันไปเท่านั้น
ร่างของพระพุทธเจ้ากับร่างของสัตว์โลกเป็นธาตุ ๔ ดินน้ำลมไฟอันเดียวกัน แต่ธรรมชาติที่รู้นั้นกับผู้ที่รู้ขึ้นในขณะนี้ไม่มีอะไรผิดแปลกกัน นี่แลการที่ว่าพระพุทธเจ้านิพพานไปนานเท่าไรหรือไม่นั้นจึงไม่เป็นปัญหา ไม่มีกาล ไม่มีสถานที่ ไม่มีบุคคล เป็นแต่ความบริสุทธิ์ล้วนๆ อยู่เท่านั้น แล้วกาลเวลาไม่สามารถจะเข้าไปเกี่ยวข้องได้อีก ว่าธรรมชาติที่บริสุทธิ์นี้จะตั้งอยู่ได้นานเท่าไร เพราะธรรมชาตินี้ไม่ใช่กายดังที่ได้อธิบายผ่านมาแล้วนี้ ใครจะให้ชื่อให้นามว่าอย่างไรก็ตาม ธรรมชาตินี้ก็คือธรรมชาตินี้อยู่นั่นแล ไม่เป็นไปตามความสมมุติชื่อเสียงที่ตั้งให้
แต่เป็นธรรมดาของโลกที่มีสมมุติจะไม่ให้ชื่อไม่ให้นาม ไม่มีกรุยหมายป้ายทางย่อมเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นหลักธรรมะที่พระองค์ท่านแสดงไว้ทุกบททุกบาทจึงเป็นกรุยหมายป้ายทางเพื่อผู้ดำเนินจะได้รู้วิธีปฏิบัติและหยิบยกขึ้นมาประพฤติปฏิบัติตามจริตนิสัยและความสามารถของตน ดังนั้นธรรมจึงต้องเป็นสมมุติไปเช่นเดียวกับโลกที่มีสมมุติ ทางเหตุก็ต้องมีสมมุติ ผลที่แสดงไปเป็นลำดับๆ ก็ต้องเป็นสมมุติแต่ละประเภทๆ จนกระทั่งถึงหลักธรรมชาติอันแท้จริงแล้วนั้น นั่นไม่เป็นปัญหา จะเอาชื่อให้มีสมมุติเหมือนโลกทั่วๆ ไปก็ตาม ไม่ตั้งชื่อให้ก็ไม่เป็นปัญหา เช่นเดียวกับเรารับประทานมีความเพียงพอกับธาตุขันธ์แล้ว จะตั้งชื่อให้ว่าอิ่มหรือไม่อิ่มก็ไม่เป็นปัญหาสำหรับผู้พอแก่การรับประทานแล้ว ย่อมจะทราบตนได้อย่างชัดเจน นั่นละท่านเรียกว่าของวิเศษคือจิตดวงนี้
พยายามเอาหลักธรรมะนี้แลเข้าไปเป็นเครื่องขัดเกลา แก้ไขดัดแปลงเข้าไปทุกระยะ ใจชอบกดขี่บังคับ ต้องอาศัยการกดขี่บังคับกันบ้าง ถ้าหากใจไม่ชอบแล้วเราก็เคยปล่อยตามอำเภอใจมาบ้างเป็นบางกาลบางเวลา ก็พอจะทราบผลว่าแสดงตัวขึ้นมาอย่างไรบ้าง เมื่อเราได้ปล่อยให้เป็นไปตามความชอบใจ โดยไม่ต้องมีการกดขี่บังคับหรือดัดแปลง ผลก็ย่อมเป็นไปตามยถากรรม ไม่เห็นปรากฏขึ้นมาเป็นที่พอใจเรา ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะปรากฏผลขึ้นมาให้เป็นที่พอใจ ก็เนื่องจากการดัดแปลงแก้ไขให้ได้อย่างใจของตัว คือบำเพ็ญเหตุให้ถูกต้องตามผลที่เราต้องการ ผลก็แสดงตัวขึ้นมาเพราะอำนาจของเหตุเป็นเครื่องเสริม
+ + จิตดั่งเดิมแท้ พุทธะอันแท้จริง + +
จิตดั่งเดิมแท้ พุทธะอันแท้จริง
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด
เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๑
จิตเป็นของละเอียดมาก รู้สึกจะมีความละเอียดเหนือสิ่งใดๆ จนไม่ปรากฏร่องรอยที่ไปและมา แม้จะท่องเที่ยวอยู่ได้ทั้งวันทั้งคืน ร่องรอยของจิตที่พอจะยึดได้ว่าเป็นอย่างนั้นๆ เหมือนด้านวัตถุนี้ไม่มี ท่านเปรียบไว้เหมือนกับนกบินบนอากาศ ไม่มีร่องรอยทั้งนั้น อีกตอนหนึ่งเปรียบถึงท่านผู้บริสุทธิ์ที่ได้พรากจากร่างนี้ไปแล้ว ไม่มีร่องรอยว่าจะไปเกิดหรือไปตั้งอยู่ในสถานที่ใดอย่างนี้อีกเหมือนกัน แม้จิตจะยังมีสมมุติอยู่ภายในตัวที่เรียกว่ากฎแห่งกรรมก็ตาม แต่จิตก็ไปตามธรรมชาติของจิตที่มีความละเอียดประจำตัวอยู่แล้ว แม้จะไปสู่สถานที่ใดหรือไปเกิดในที่ใดๆ การไปของจิตนั้นก็ไม่มีใครสามารถจะทราบได้ นอกจากท่านผู้มีญาณซึ่งควรจะรู้ได้เท่านั้น
ตามธรรมชาติของจิตแล้วมีความละเอียดประจำตนอยู่เสมอเช่นนี้ จึงยากที่จะพิสูจน์ให้ทราบได้ การปฏิบัติบำเพ็ญมีการภาวนาเป็นต้น นี้แลท่านว่าเป็นทางพิสูจน์เรื่องความรู้คือใจของตัวเอง และความเคลื่อนไหวของใจว่าจะกระเพื่อมไปสู่วัตถุหรืออารมณ์ใด ไม่ว่าส่วนหยาบส่วนกลางส่วนละเอียด ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์อดีตอนาคต หรือกำลังปรากฏตัวอยู่ในปัจจุบันคือขณะนี้ จิตที่ตั้งความรู้สึกไว้จำเพาะสถานที่เกิดอารมณ์คือใจของตัวเองนี้ มีทางที่จะทราบได้ในความเคลื่อนไหวของตน
ในเบื้องต้นก็ทันบ้างไม่ทันบ้าง เพราะสติหรือปัญญาเราก็เพิ่งเริ่มฝึกหัด เริ่มตั้งหลักตั้งฐานขึ้นด้วยการพยายามคือการภาวนา ฉะนั้นท่านจึงสอนให้มีสติคอยรับทราบอยู่กับความรู้คือใจดวงนี้ ก่อนจะปรากฏภาพต่างๆ จะเป็นภาพที่มีวิญญาณหรือไม่ก็ตาม จะต้องมีความกระเพื่อมจากความรู้นี้ก่อน ถ้ายังไม่กระเพื่อมภาพก็ยังไม่ปรากฏ ขณะที่จิตกระเพื่อม ก็เป็นขณะเดียวที่จิตจะออกแสดงภาพให้ตัวรู้ตัวเห็น จะเป็นภาพที่น่าเพลิดเพลิน ภาพที่น่าเสียใจหรือภาพที่น่ากลัวก็ตาม จะต้องแสดงออกจากความกระเพื่อมของจิตเป็นสำคัญ นี่พูดถึงขณะที่เราภาวนา
ส่วนภาพที่ปรุงขึ้นภายในใจตามปรกติของคนทั่วๆ ไปนั้น เป็นเรื่องของความคิด เดี๋ยวปรากฏเรื่องนั้นปรากฏเรื่องนี้ ปรากฏคนนั้น พอเราคิดถึงคนไหนก็ปรากฏภาพคนนั้นขึ้นมาอันนี้ถือเป็นธรรมดา ไม่ค่อยมีอะไรล่อแหลมนัก โลกทั้งหลายก็คิดกันได้ ไม่มีความเสียหายจากความคิดอย่างนั้น แต่ภาพที่ปรากฏขึ้นในขณะภาวนานี้มีส่วนจะทำให้เสียได้ จะอย่างไรก็ตามภาพต้องปรากฏขึ้นในขณะที่จิตกระเพื่อมตัวออกไป ถ้ามีแต่ความรู้ล้วนๆ จะยังไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้นจิตเวลาอยู่เฉพาะตัวเอง คือรู้อยู่จำเพาะตัวเองจริงๆ ไม่แสดงตัวออกไปภายนอก สิ่งต่างๆ จึงไม่สามารถจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับใจนั้นได้ ดังท่านเข้าสมาธิ ขณะที่จิตเข้าอยู่ในองค์ของสมาธิคือความสงบแน่วแน่ตามหลักของสมาธิจริงๆ แล้ว จะไม่มีสิ่งใดมาเกี่ยวข้องเลยในเวลานั้น ต่อเมื่อจิตได้ถอนตัวออกมาจากจุดนั้นนั่นแล ถ้ามีเรื่องก็จะเกี่ยวข้องกัน คือมีเรื่องเกี่ยวกับภายนอกก็จะรับทราบได้เหตุได้ผลรู้เรื่องรู้ราวกันในเวลานั้น
ถ้าเทียบอุปมาก็เช่นเดียวกับเราอยู่ในบ้านของเราและปิดประตูบ้านไว้ด้วย แขกคนหรืออะไรจะมาจากที่ไหน มาอยู่ภายนอกฝาเรือนเรานั้น เราจะไม่มีทางทราบได้ เพราะขณะนั้นไม่ใช่ขณะที่เรารับแขก ต่อเมื่อเราออกจากในบ้านของเรา เปิดประตูออกมานั่นแล เราจะทราบเรื่องราวทั้งหลายที่มีอยู่ภายนอก เรื่องของจิตก็ย่อมมีลักษณะเช่นนั้นเหมือนกัน
ความรู้ของจิตนี้รู้สึกว่าพิสดารมากตามจริตนิสัยของผู้บำเพ็ญไม่เหมือนกัน บางรายก็ไม่ค่อยมีเรื่องแสดงภาพต่างๆ ให้เห็น เช่นเป็นคนเป็นเปรตเป็นผี หรือเรื่องคนล้มคนตายให้ปรากฏในภาวนาอย่างนี้ บางรายไม่ค่อยมี แต่บางรายพอจิตสงบแล้วแสดงขึ้นมาทันที เพราะหลักธรรมชาติที่ปรากฏเช่นนี้นั้นไม่ได้ศึกษามาจากครูจากอาจารย์ แต่จะปรากฏขึ้นกับจริตนิสัยของผู้บำเพ็ญเวลาจิตสงบแล้ว
หากนิสัยมีในทางที่จะรู้เห็นสิ่งต่างๆ ก็ต้องแสดงออกมาให้เจ้าตัวรู้ ต่อเมื่อเราได้รู้ได้เห็นสิ่งนั้นว่าแสดงอาการอย่างไรบ้างแล้วนั้น เรามีทางที่จะศึกษาปรารภหรือไต่ถามครูอาจารย์ได้ ว่าจะควรปฏิบัติต่อสิ่งนั้นอย่างไรบ้าง แต่หลักนิสัยนั้นจะไม่ได้ถาม จะไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนจากผู้ใด แต่จะปรากฏขึ้นมาให้ผู้มีนิสัยในทางนั้นรู้โดยเฉพาะตัวเอง ถ้านิสัยไม่มีก็ไม่รู้ไม่เห็น การไม่รู้ไม่เห็นก็ไม่เป็นการที่จะตัดทอนประโยชน์ของผู้บำเพ็ญในนิสัยเช่นนั้น ผู้ไม่เห็นไม่รู้ก็ไม่สนใจ แต่ผู้เห็นผู้รู้ตามนิสัยของตนก็ต้องปฏิบัติให้ถูกกับจริตของตน ถ้าไม่ถูกก็มีทางเสียได้เหมือนกัน
คำว่าจิตอันแท้จริงนั้นมีแต่รู้เท่านั้น ไม่ปรากฏว่ารู้ในลักษณะอย่างไรบ้าง เป็นธรรมชาติที่รู้ๆ อยู่เท่านั้นแล นั้นแลเป็นธรรมชาติของจิตแท้ ลักษณะที่แสดงออกเป็นสีสันวรรณะ หรือเป็นภาพต่างๆ นั้น เป็นอาการอันหนึ่งที่แสดงออกมาจากจิตซึ่งไม่ใช่จิตแท้ อาการเหล่านั้นเป็นสิ่งที่เกิด ๆ ดับๆ ตามคติธรรมดาของเขา แต่ผู้ที่รู้ในหลักธรรมชาติของตัวเองนี้จะไม่มีการขาดวรรคขาดตอนในความรู้ ไม่มีการเกิดและดับไป คือการเกิดขึ้นก็ไม่มี การดับไปก็ไม่มี มีแต่เป็นธรรมชาติที่รู้อยู่เท่านั้น นี้แลท่านเรียกว่าเป็นธรรมชาติของจิตแท้ ถ้าได้พิจารณาอบรมให้ถึงแก่นของความรู้อันแท้จริงแล้วนั้น ท่านเรียกว่าความรู้อันดั้งเดิม ความรู้อันนี้หมดการเปลี่ยนแปลง
กิริยาที่เปลี่ยนแปลงนั้น เป็นอาการอันหนึ่งซึ่งเกิดจากธรรมชาติอันดั้งเดิมนี้ต่างหาก เพราะฉะนั้นจึงมีการเกิดๆ ดับๆ มีการเปลี่ยนแปลงสภาพเป็นลักษณะต่างๆ ซึ่งเอาแน่ไม่ได้ ไม่ว่าเราจะปฏิบัติธรรมขั้นต่ำขั้นกลางหรือขั้นสูง อาการอันนี้จะต้องมีไปตามๆ กัน คือเวลาใจยังมีสิ่งแวดล้อมหยาบอยู่ อาการที่แสดงอยู่ในขั้นนั้นก็ต้องแสดงอาการหยาบ ภาพก็เป็นภาพที่หยาบ อารมณ์ก็เป็นอารมณ์ที่หยาบ พออาการที่เกี่ยวข้องกับจิต ค่อยเปลี่ยนแปลงตัวเองขึ้นไป อารมณ์ก็ค่อยเปลี่ยนไปสู่ความละเอียด จนจิตเข้าสู่ความละเอียดอย่างเต็มที่ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับจิตซึ่งไม่ใช่จิตเดิมแท้นั้น ก็ต้องแสดงอาการที่ละเอียดอย่างยิ่งเหมือนกัน แต่ทั้งสามอาการนี้เรียกว่าเป็นอาการของจิตทั้งนั้น ไม่ใช่จิตอันดั้งเดิมแท้
ผู้พิจารณาจึงต้องอาศัยอารมณ์เหล่านี้เป็นเครื่องทดสอบ ฝึกหัดสติปัญญา ถือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตนนี้เป็นเหมือนหินลับมีดโกนให้คมกล้าไปเสมอ ปัญญา สติต้องอาศัยเหล่านี้เป็นเครื่องฝึกซ้อม และรู้เท่าทันกันไปเป็นระยะๆ จนหมด ไม่มีอาการใดเหลืออยู่ แฝงอยู่ภายในจิตนั้นเลย สิ่งที่มีอยู่ตามหลักดั้งเดิมของตนก็คือความรู้ล้วนๆ นี่แลเป็นแก่นแห่งความรู้แท้ เป็นความรู้ในหลักธรรมชาติแท้ จึงไม่มีทางที่จะแปรเป็นอื่นได้
ท่านที่บำเพ็ญตั้งแต่ต้น ชำระหรือพิจารณาให้รู้สิ่งที่เกี่ยวข้องกับจิตมาเป็นชั้นๆ จนถึงธรรมชาติอันดั้งเดิมของจิตนั้นแล้ว จิตท่านเป็นอย่างนั้นแล ถึงหลักหรือถึงธรรมชาติอันไม่เปลี่ยนแปลง อันไม่หลอกลวง ท่านจึงหมดความหวั่นไหว เพราะไม่มีสิ่งที่จะมาหลอกลวงหนึ่ง ไม่มีสิ่งที่จะหลงตามสิ่งหลอกลวงนั้นหนึ่ง เหตุที่จะให้เกิดความหลอกลวงก็ไม่มี คือต้นเหตุที่จะให้เกิดความหลอกลวงก็ไม่มี ผลที่จะให้เกิดความลุ่มหลงหรือเดือดร้อนเสียใจไปตามก็ไม่มี
ท่านจึงอยู่เป็นเอกเทศอันหนึ่งโดยหลักธรรมชาติ ไม่ต้องเสกสรร ไม่ต้องระมัดระวัง คือไม่ต้องตั้งท่าตั้งทาง ไม่ต้องมีอาการใดซึ่งเป็นอาการที่จะสงวนรักษาหรือต้านทานกันกับสิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย เพราะต่างอันต่างจริง ต่างอันต่างมีอยู่ตามหลักธรรมชาติของตน ทั้งสิ่งที่เกี่ยวข้องกับจิต ทั้งจิตผู้รู้สิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย นี่เรียกว่าท่านผู้หมดเหตุหมดปัจจัย รู้อยู่ในหลักปัจจุบันของท่านทุกๆ ขณะ ว่าไม่มีการสืบต่อกับอารมณ์ซึ่งเป็นเหตุให้ยั่วกิเลสให้ฟุ้งขึ้นมา
หลักธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ชี้อุบายแนวทางตั้งแต่ขั้นเริ่มแรกจนถึงจุดหมายปลายทางแห่งความสมมุติและวิมุตติ คือถึงความบริสุทธิ์ของจิต ไม่มีโอวาทใดที่จะสามารถชี้ให้ถูกต้อง และผู้ปฏิบัติได้พ้นภัยไปได้จริงดังสวากขาตธรรมของพระพุทธเจ้า บรรดาผู้ปฏิบัติตามสวากขาตธรรม จนได้รู้แจ้งเห็นจริงถึงภูมิแห่งธรรมขั้นนี้แล้ว แม้จะไม่เป็นอันเดียวกับพระพุทธเจ้าก็ตาม เพราะต่างคนต่างบริสุทธิ์ แต่ก็เป็นเหมือนกับเป็นอันเดียวกันกับพระพุทธเจ้า เพราะความบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้ากับความบริสุทธิ์ของท่านผู้รู้ตามเห็นตามพระพุทธเจ้านั้น เป็นความบริสุทธิ์เช่นเดียวกัน ไม่มีสิ่งใดหรืออาการใดที่จะผิดแปลกกันไปแม้แต่นิดหนึ่งที่ให้ชื่อว่าสมมุติ เพราะความผิดแปลกท่านเรียกว่าสมมุติทั้งนั้น
อยู่ในสถานที่ใด เราอยู่ฉันใด ก็เหมือนพระพุทธเจ้าอยู่ฉันนั้น เรารู้อยู่ฉันใดเหมือนพระพุทธเจ้ารู้อยู่ฉันนั้น เรารู้อยู่ในขณะนี้ก็เหมือนพระพุทธเจ้ารู้อยู่ในขณะเดียวกัน ฉะนั้นการที่พระพุทธเจ้าจะนิพพานไปกี่เวลา และนิพพานอยู่ในสถานที่ใด นั่นจึงไม่เป็นปัญหาสำหรับท่านผู้รู้องค์แห่งพุทธะอันแท้จริงตามเสด็จพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่มีกาลมีเวลา ไม่มีสถานที่ นั่นเป็นสถานที่อันหนึ่งต่างหาก ซึ่งเป็นที่ประทับหรือเป็นที่บำเพ็ญของพระพุทธเจ้าที่มีพระกายอยู่ พระกายก็เป็นสมมุติ สถานที่จึงต้องแสดงสมมุติขึ้นมา กาลเวลาจึงต้องแสดงขึ้นไปตามๆ กัน ต่อเมื่อได้ถึงขั้นแห่งความบริสุทธิ์ หมดจุดที่หมายแห่งความสมมุติแล้วนั้น ไม่ว่าสาวกองค์ใดแม้จะตรัสรู้ขึ้นในขณะนี้ก็เป็นเหมือนได้เห็นพระพุทธเจ้าในขณะนี้ ประหนึ่งคำว่านิพพานแล้วนั้นไม่ปรากฏ เพราะนั้นเป็นแต่เพียงร่างที่พรากจากกันไปเท่านั้น
ร่างของพระพุทธเจ้ากับร่างของสัตว์โลกเป็นธาตุ ๔ ดินน้ำลมไฟอันเดียวกัน แต่ธรรมชาติที่รู้นั้นกับผู้ที่รู้ขึ้นในขณะนี้ไม่มีอะไรผิดแปลกกัน นี่แลการที่ว่าพระพุทธเจ้านิพพานไปนานเท่าไรหรือไม่นั้นจึงไม่เป็นปัญหา ไม่มีกาล ไม่มีสถานที่ ไม่มีบุคคล เป็นแต่ความบริสุทธิ์ล้วนๆ อยู่เท่านั้น แล้วกาลเวลาไม่สามารถจะเข้าไปเกี่ยวข้องได้อีก ว่าธรรมชาติที่บริสุทธิ์นี้จะตั้งอยู่ได้นานเท่าไร เพราะธรรมชาตินี้ไม่ใช่กายดังที่ได้อธิบายผ่านมาแล้วนี้ ใครจะให้ชื่อให้นามว่าอย่างไรก็ตาม ธรรมชาตินี้ก็คือธรรมชาตินี้อยู่นั่นแล ไม่เป็นไปตามความสมมุติชื่อเสียงที่ตั้งให้
แต่เป็นธรรมดาของโลกที่มีสมมุติจะไม่ให้ชื่อไม่ให้นาม ไม่มีกรุยหมายป้ายทางย่อมเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นหลักธรรมะที่พระองค์ท่านแสดงไว้ทุกบททุกบาทจึงเป็นกรุยหมายป้ายทางเพื่อผู้ดำเนินจะได้รู้วิธีปฏิบัติและหยิบยกขึ้นมาประพฤติปฏิบัติตามจริตนิสัยและความสามารถของตน ดังนั้นธรรมจึงต้องเป็นสมมุติไปเช่นเดียวกับโลกที่มีสมมุติ ทางเหตุก็ต้องมีสมมุติ ผลที่แสดงไปเป็นลำดับๆ ก็ต้องเป็นสมมุติแต่ละประเภทๆ จนกระทั่งถึงหลักธรรมชาติอันแท้จริงแล้วนั้น นั่นไม่เป็นปัญหา จะเอาชื่อให้มีสมมุติเหมือนโลกทั่วๆ ไปก็ตาม ไม่ตั้งชื่อให้ก็ไม่เป็นปัญหา เช่นเดียวกับเรารับประทานมีความเพียงพอกับธาตุขันธ์แล้ว จะตั้งชื่อให้ว่าอิ่มหรือไม่อิ่มก็ไม่เป็นปัญหาสำหรับผู้พอแก่การรับประทานแล้ว ย่อมจะทราบตนได้อย่างชัดเจน นั่นละท่านเรียกว่าของวิเศษคือจิตดวงนี้
พยายามเอาหลักธรรมะนี้แลเข้าไปเป็นเครื่องขัดเกลา แก้ไขดัดแปลงเข้าไปทุกระยะ ใจชอบกดขี่บังคับ ต้องอาศัยการกดขี่บังคับกันบ้าง ถ้าหากใจไม่ชอบแล้วเราก็เคยปล่อยตามอำเภอใจมาบ้างเป็นบางกาลบางเวลา ก็พอจะทราบผลว่าแสดงตัวขึ้นมาอย่างไรบ้าง เมื่อเราได้ปล่อยให้เป็นไปตามความชอบใจ โดยไม่ต้องมีการกดขี่บังคับหรือดัดแปลง ผลก็ย่อมเป็นไปตามยถากรรม ไม่เห็นปรากฏขึ้นมาเป็นที่พอใจเรา ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะปรากฏผลขึ้นมาให้เป็นที่พอใจ ก็เนื่องจากการดัดแปลงแก้ไขให้ได้อย่างใจของตัว คือบำเพ็ญเหตุให้ถูกต้องตามผลที่เราต้องการ ผลก็แสดงตัวขึ้นมาเพราะอำนาจของเหตุเป็นเครื่องเสริม