อริยมรรค อริยผล
โดย หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
วัดบรรพตคีรี (วัดภูจ้อก้อ)
ต.หนองสูงใต้ อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร
๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗
เป็นของไม่แน่นอน แต่ว่าแน่นอน แต่อยู่ในโลกแม้จะไปที่ใดก็ตาม ในส่วนกาย ก็ไปในมนุษยโลก ส่วนจิตใจ ไปตามธรรมะของใครของมัน ส่วนสกลกายไม่แน่นอน แต่ก็แน่นอนอยู่ในมนุษยโลกในเวลาที่ไม่สิ้นลมปราณ โลกทั้งปวงย่นลงมาเป็นโลกเดียวกัน โลกที่เกี่ยวกับมหาภูตธาตุ ก็มีธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม มีวิญญาณเป็นผู้ครองสิง มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก สัตว์โลกก็มีดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นตัวประธาน เป็นมหาภูตธาตุ เป็นมหาภูตธรรม สัตว์ทั้งหลาย ผู้ท่องเที่ยวอยู่ในโลกดิน โลกน้ำ โลกไฟ โลกลม เหล่านี้จัดเข้าในสังขารโลก
โลกคือสังขาร เกิดขึ้นมาแล้วก็แปรปรวน และแตกสลายไปเป็นยุคๆ เป็นรอบๆ อยู่เป็นเนืองนิจไม่ขาดสาย สังขารหากเกิดขึ้น สังขารหากตั้งอยู่ สังขารหากแปรปรวน สังขารหากดับไป มีเกิดขึ้นเป็นเบื้องต้น มีแปรปรวนเป็นท่ามกลาง มีดับเป็นสุดท้าย แต่ก็วนไปวนมากันอยู่อย่างนั้น เรียกว่าโลกกลม กลมเพราะวนเวียน เกิดขึ้นแล้วแปรปรวน แตกสลาย ติดต่อกันอยู่ไม่ขาดสาย ของละเอียดก็เกิดขึ้นอย่างละเอียด แปรปรวนอย่างละเอียด แตกสลายไปอย่างละเอียด ของหยาบก็เกิดขึ้นอย่างหยาบ แปรปรวนอย่างหยาบๆ แตกสลายไปอย่างหยาบๆ วนเวียนกันอยู่อย่างนี้
นอกจากสังขารไม่มีอันใดจะเกิดขึ้น และไม่มีอันใดจะแปรปรวน และไม่มีอันใดจะดับไป อนิจจังเท่านั้นเกิดขึ้น อนิจจังเท่านั้นแปรปรวน อนิจจังเท่านั้นดับไป ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นแปรปรวน ทุกข์เท่านั้นดับไป ก็มีความหมายอันเดียวกัน อนิจจตาธรรมเท่านั้นเกิดขึ้น อนิจจตาธรรมเท่านั้นแปรปรวน อนิจจตาธรรมเท่านั้นดับไป ก็มีความหมายอันเดียวกัน อนิจจตาธรรมเท่านั้นครองโลก ทุกขตาธรรมเท่านั้นครองโลก อนัตตาธรรมเท่านั้นครองโลก ก็มีความหมายอันเดียวกัน จะห้ำหั่นสังขารให้เป็นไปอย่างไรก็เป็นไปไม่ได้
มีหน้าที่จะรู้ตามเป็นจริงด้วยแห่งมโนภาพ แห่งสติปัญญาภาพ จะพิจารณาตามเป็นจริงด้วย จะหลุดพ้นจากความหลงด้วย จะไม่ยืนยันเอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นเรา เป็นเขา เป็นสัตว์ เป็นบุคคลด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้ ไม่ปฏิญาณว่าจะอยู่ในอำนาจของท่านผู้ใด ไม่ได้ยืนยันว่าข้าพเจ้าเป็นสังขารท่านผู้ใด ไม่ได้ยืนยันว่าข้าพเจ้าเป็นทาสของผู้ใด ไม่ได้ยืนยันว่าข้าพเจ้าเป็นธรรมของผู้ใด เป็นอยู่อย่างนั้นไม่ขาดสาย ไม่ขาดระยะ ประจำโลกอยู่ ไม่ได้อิโหน่อิเหน่กับผู้ที่ยึดถือเอาเป็นเจ้าของสกลกายก็อันเดียวกัน สกลกองนามรูป ก็อันเดียวกัน ไม่อิโหน่อิเหน่กับผู้ยึดถือเอาเป็นเจ้าของ ไม่ปฏิเสธและไม่ปฏิญาณกับใครด้วยเป็นจริงอยู่อย่างนั้น
ยถาภูตํ สมฺมปฺปญฺญาย ทฏฺฐพฺพํ เธอทั้งหลายจงรุ้ตามเป็นจริงเถิด พระบรมศาสดา จิตใจของเธอทั้งหลายเคยยึดมั่นถือมั่น หากจะปล่อยเองวางเองไปตามสภาพดอก เนตํ มม เนโสหมสฺมิ น เมโส อตฺตาหิ รูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารก็ดี ที่บัญญัติว่า รูปขันธ์ นามขันธ์ ที่บัญญัติว่าโลก ที่บัญญัติว่าทุกข์ ท่านทั้งหลายจงรู้ตามเป็นจริงเถิด ส่งคืนเถิด ส่งคืนความเข้าใจผิดของตนเถิด ธาตุก็ส่งคืนให้ธาตุ ธรรมก็ส่งคืนให้ธรรม ที่บัญญัติว่า ขันธ์ก็ส่งคืนให้ขันธ์ เธอทั้งหลายอย่าเข้าไปสอดแทรก ยึดถือเอาเป็นเจ้าของ ถ้าเธอทั้งหลายเข้าไปสอดแทรก ยึดถือเอาเป็นเจ้าของแล้ว เมื่อไม่อยู่สมประสงค์ เธอทั้งหลายจะดิ้นรนกวัดแกว่ง จิตใจของพวกเธอก็เดือดร้อน สิ่งเหล่านั้นไม่รู้อิโหน่ อิเหน่อะไร
ดินก็ส่งคืนให้ดิน น้ำก็ส่งคืนให้น้ำ ไปก็ส่งคืนให้ไฟ ตามสมมติ ลมก็ส่งคืนให้ลมตามสมมติ ที่เรียกว่า รูปโลก ที่เรียกว่า รูปขันธ์ ที่เรียกว่ารูปธาตุ เวทนา สุข ทุกข์ อุเบกขาก็ดี สัญญาก็ดี สัญญาจำรูป จำเสียง จำกลิ่น จำรส จำโผฏฐัพพะ จำธรรมารมณ์ก็ดี สังขารที่ปรุงแต่งแห่งจิตก็ดี วิญญาณที่รู้จากทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ดี เธอทั้งหลายจงส่งคืนเสียเถิด อย่าไปจี้ไปปล้นเลย จงปล่อยวางตามสภาพเสีย ถ้าหากว่าเธอไม่ยึดถือเอาเป็นเจ้าของแล้ว ความเดือดร้อนของเธอทั้งหลายก็จักไม่มี ถ้าหากว่าเธอทั้งหลายยึดถือเอาเป็นเจ้าของแล้ว ความเดือดร้อนของพวกเธอทั้งหลายก็มี เพราะรูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารก็ดี ดุจเหมือนหัวฝีเกิดขึ้น แล้วก็แปรปรวนและแตกสลายไป หรือเหมือนต้นกล้วย หรือเหมือนตุ่มน้ำ หรือเหมือนภาชนะดิน เวทนานี้ สัญญานี้ ดับเร็วนัก เหมือนพยับแดด
สิ่งที่เกิดขึ้นแปรปรวนและแตกสลาย บรรจุอยู่ในโลกนี้แล้ว เธอทั้งหลายจงหัดให้รู้ตามเป็นจริงเถิด ยถาภูตํ สมฺมปฺปญฺญาย ทฏฺฐพฺพํ จงส่งคืน จาโค ปฏินิสฺสคฺโค มุตฺติ อนาลโย อย่าได้อาลัยเลย อย่าได้ยึดถือว่าเป็นเรา เป็นเขา เป็นสัตว์ เป็นบุคคล จงทำจิตใจของพวกเธอให้ว่าง ว่างจากสัตว์ จากบุคคลเสียเถิด นิมิตทั้งหลายก็คือรูปนิมิตนั่นเอง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นนิมิตฝ่ายนาม ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นนิมิตฝ่ายรูป นิมิตทั้งหลายเหล่านี้แหละ เกิดขึ้นแล้วแปรปรวน และแตกสลาย จงพิจารณาด้วยปัญญาชัด สมมติ เธอทั้งหลายจงส่งคืนตามสมมติเถิด วิมุติ เธอทั้งหลายก็ส่งคืนตามวิมุติ พวกเธออย่าได้เข้าไปสอดแทรกในส่วนทั้งสอง เมื่อพวกเธอเข้าไปสอดแทรกในส่วนทั้งสองแล้ว อุปาทานของพวกเธอก็ยึดแน่น เมื่ออุปาทานของพวกเธอยึดแน่นเข้าแล้ว ชาติภพก็เกิดขึ้นในที่นั้นทันที กามภพ อรูปภพ ก็เกิดขึ้นในที่นั้นทันที
เมื่อเธอทั้งหลายไม่ได้เข้าไปยึดถือเอาเป็นเจ้าของแล้ว สิ่งทั้งปวงก็อยู่ตามสภาพ จิตใจของพวกเธอทั้งหลายก็อยู่ตามสภาพ ธรรมทั้งหลายก็อยู่ตามสภาพ ไม่ไปจี้ ไม่ไปปล้นกัน ไม่ไปลักไก่ ลักถอนกัน รูปก็เป็นแต่สักว่ารูป เสียงก็เป็นแต่สักว่าเสียง กลิ่นก็เป็นแต่สักว่ากลิ่น รสก็เป็นแต่สักว่ารส ลิ้นก็เป็นแต่สักว่าลิ้น กายก็เป็นแต่สักว่ากาย โผฏฐัพพะ มากระทบกาย ก็เป็นแต่สักว่า โผฏฐัพพะมากระทบกาย ใจก็เป็นแต่สักว่าใจ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา เป็นเพียงจิตตานุปัสสนาเท่านั้น ธรรมก็เป็นแต่สักว่าธรรม เป็นเพียงธรรมานุปัสสนาเท่านั้น เธอทั้งหลายอย่าเป็นนักจี้ นักปล้น จงปล่อยวางเสียเถิด ภาระจะหมดไป ปัจจุบัน อดีต อนาคต เธอทั้งหลายจงรู้ตามเป็นจริง อดีตก็คือกองรูปขันธ์ หรือนามขันธ์ที่ล่วงมาแล้ว อนาคตก็คือกองรูปขันธ์ นามขันธ์ที่ยังมาไม่ถึง ปัจจุบันก็คือกองรูปขันธ์ นามขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่เธอทั้งหลายจงปล่อยวางเสียเถิด
จึงเป็นธรรมอันสูง จึงเป็นจิตใจอันสูง จึงเป็นมหาศีล จึงเป็นมหาสมาธิ จึงเป็นมหาปัญญา จึงเป็นมหาวิมุติ จึงเป็นมหานิพพาน ลมเข้าลมออก ก็เป็นแต่สักว่าลมเข้าลมออก คือรูปขันธ์ ความเสวยอารมณ์ในเวลาลมเข้าลมออกอยู่ ก็เป็นแต่สักว่าเวทนาขันธ์ สัญญาความจำว่าลม ลมก็เป็นแต่สักว่าสัญญา สังขารปรุงแต่งในเวลาลมเข้าลมออก ในขณะจิตที่นึกคิดในที่ดีก็ดี ในทางที่ชั่วก็ดี ก็เป็นแต่สักว่าสังขาร วิญญาณความรู้ในทางธรรมารมณ์ก็ดี ในทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่ส่งมาในปัจจุบัน หรืออดีต อนาคตก็ดี ก็เป็นแต่สักว่าเท่านั้น ไม่อยู่ในอำนาจของใครดอก แต่สัตว์ทั้งหลายที่มีอวิชชา ตัณหา อุปาทานเข้าไปจี้ เข้าไปปล้น ไปยึดถือเอาเป็นเจ้าของ สิ่งใดที่มีผู้เข้าไปยึดถือเอาเป็นเจ้าของ สิ่งนั้นจะเป็นของไม่มีโทษย่อมไม่มีในโลก
ธรรมชั้นสูง อริยธรรม รูปขันธ์ นามขันธ์ เป็นของว่างจากสัตว์ จากบุคคล จากตัวตน เราเขาดังที่สมมติโดยจริงจัง สมมติกันใช้อยู่ในโลกเท่านั้น ตลอดถึงผู้รู้ทั้งในปัจจุบัน ผู้รู้ในอดีต ผู้รู้ในอนาคต ผู้รู้ทั้ง ๓ กาล นี้เป็นอนัตตาธรรมธรรม ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ท่านทั้งหลายจงรู้ตามเป็นจริงเถิด อย่าไปยึดถือเอาเป็นเจ้าของ กายเป็นแต่สักว่ากาย เวทนาเป็นแต่สักว่าเวทนา จิตเป็นแต่สักว่าจิตธรรมเป็นแต่สักว่าธรรม ส่งคืนหมด ส่งคืนไว้ตามเดิม สมมติก็ส่งคืนตามสมมติ วิมติก็ส่งคืนตามวิมุติ มืดก็ส่งคืนให้มืด สว่างก็ส่งคืนให้สว่าง โง่ก็ส่งคืนให้โง่ ฉลาดก็ส่งคืนให้ฉลาด
ไม่ไปสอดแทรกยึดถือเอาโง่เป็นเรา เราเป็นโง่ ไม่สอดแทรกไปยึดถือเอาฉลาดเป็นเรา เราเป็นฉลาด ภาระทั้งหลายของพวกเธอจะหายไป เอสวณฺโต ทุกฺขสฺส ย่อมเป็นที่สุดแห่งกองทุกข์ ภาระไม่มีในท่านผู้ใด ผู้นั้นปลงภาระแล้ว ภาระจะไม่มีก็เพราะเห็นอนัตตาธรรมชัด บาปก็ส่งคืนให้บาป บุญก็ส่งคืนให้บุญ ไม่เข้าไปสอดแทรกยึดถือเอาเป็นเจ้าของ ใจก็ส่งคืนให้ใจ ธรรมก็ส่งคืนให้ธรรม รู้ก็ส่งคืนให้รู้อย่าไปยึดถือเอาเป็นเจ้าของ เห็นก็เป็นแต่สักว่าเห็น รู้ก็เป็นแต่สักว่ารู้ ทั้งอดีต ทั้งอนาคต ทั้งปัจจุบันด้วย เมื่อเธอทั้งหลายเห็นชัดด้วยปัญญาอย่างนั้น ความเดือดร้อนของพวกเธอก็หายไป ไม่มีประตูจะมาอีก
นั่งก็ให้รู้จักตามนั่ง ตามสมมติ อย่าไปยึดถือเอาเป็นเจ้าของ เป็นแต่สักว่าธาตุ ว่าธรรม ว่าขันธ์เท่านั้น จิตก็เป็นแต่สักว่าจิต อย่าไปยึดถือเอาว่าเป็นเจ้าของ ถ้าไปยึดเอาเป็นเจ้าของ เมื่อจิตไม่สมประสงค์ก็จะเดือดร้อน เมื่อสมประสงค์ก็จะติดอยู่ เหตุฉะนั้น ท่านจึงบัญญัติว่า รูป จิต เจตสิก นิพพาน จิตไม่ใช่นิพพาน นิพพานไม่ใช่จิต รูป จิต เจตสิก นิพพาน ผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่นในจิต จิตก็ไม่มีพิษ ถ้ามีผู้ยึดถือเอาเป็นเจ้าของ จิตก็ต้องมีพิษ เพราะมีความหลง สัมปยุต เพราะมีกิเลส สัมปยุต จิตจะเด่นดวงสักเพียงไรก็ตาม อย่าไปยึดถือเอาเป็นเจ้าของ ธรรมชั้นสูง เราอยู่เหนือจิตเรา บังคับจิตได้ พระบรมศาสดา เราไม่ได้อยู่ใต้อำนาจของจิต
เรารู้จิตตามเป็นจริงของจิต เรารู้ธรรมตามเป็นจริงของธรรม แล้วเราส่งคืนทั้ง ๒ อย่าง เราไม่ไปจี้ เราไม่ไปปล้น เรารู้ทั้งอดีตด้วย รู้ทั้งอนาคตด้วย เรารู้ผู้รู้ในอดีต ผู้รู้ในอนาคต ผู้รู้ในปัจจุบัน ผู้รู้ทั้ง ๓ กาลนี้ เราไม่ไปยึดถือเอาเป็นเจ้าของ เราก็ดับรอบโลกแล้ว วิญญาณปฏิสนธิของเราก็ไม่มีอะไร อะไร ที่จะไปตั้งอยู่ ไม่มีอาลัยอาวรณ์ที่ไหน ต้องข้ามความหลงด้วยวิธีนี้ เราทำลายอวิชชาด้วยวิธีนี้ เราทำลายตัณหาด้วยวิธีนี้ เราทำลายอุปาทานด้วยวิธีนี้ เราทำลายผลด้วยวิธีนี้ เราทำลายกรรมและผลของกรรมด้วยวิธีนี้ เราทำลายเหตุด้วยวิธีนี้ เราทำลายผลด้วยวิธีนี้ เราจึงอยู่เหนือเหตุเหนือผล จึงไม่เป็นเปรตเฝ้าเหตุเฝ้าผล ปัญหาของเราจึงหมดไป ไม่สอดแทรกตนเองมาให้เป็นทุกข์ ธรรมชั้นสูงที่สุดนี่
เหตุฉะนั้นหลวงปู่มั่นท่านจึงปรารภว่า บางแห่งสมาธิล้วนๆ ก็มีรสนิดเดียวเท่ากับไม้ชำระฟัน ท่านพูดอย่างนั้น ไอ้ที่พูดนี่ท่านไม่ได้พูดประมาทธรรมนะ ท่านพูดตามเป็นจริงของธรรมชั้นสูงนี่ เหตุฉะนั้นพระบรมศาสดาจึงไม่ได้ติดอยู่ในที่ใด พระอริยเจ้าทั้งหลายไม่ได้ติดอยู่ในรูป ไม่ติดอยู่ในอรูป ไม่ติดอยู่ในรูปเพ่ง รูปเป็นอารมณ์ ก็เพ่งเฉยๆ เพ่งอรูปเป็นอารมณ์ก็เพ่งเฉยๆ แต่ไม่ติดอยู่ เพราะไม่มีใครเข้าไปสอดแทรก เอารูป เอาอรูป เป็นตน เป็นตัว เป็นเรา เป็นเขา เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เห็นสกลกายทุกหนทุกแห่ง ต้องการเห็นสิ่งไรก็เห็น แต่ไม่ยึดถือในผู้เห็น แต่ไม่ยึดถือในผู้รู้
เหตุฉะนั้น การรู้การเห็นจึงไม่มีพิษทั้งในอดีต ทั้งอนาคต ทั้งปัจจุบันด้วย จึงได้ข้ามห้วงทะเลหลงไปลัดนิ้วมือเดียว ไม่ได้ถือว่าเรา แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องสังขารต่างหาก บางทีหลวงปู่มั่นรับอาหารอยู่ กำลังรับอาหารอยู่ มีแม่ชีแก่คนหนึ่งอายุแก่กว่าหลวงปู่มั่น พอมาส่งอาหารก็ถามว่า หลวงพ่อ หลวงพ่อ อะไรกินข้าวอยู่นั่น พูดแบบภาษาชาวบ้านนอก ไม่ได้ว่าฉันเลย หลวงปู่ก็ไม่ถือสา หลวงปู่มั่นกลืนคำข้าวแล้ว ท่านก็ตอบว่า ก็สังขาร กองทุกข์ที่รับทานอาหารอยู่นี้ ที่ฉันจังหันอยู่นี้ ที่ฉันอาหารอยู่นี้ มันไม่ใช่ฉันดอก ตอบทันกันเหลือเกิน หลวงปู่มั่นก็ให้คะแนนว่า ยายแก่คนนั้นปฏิบัติมานานแล้ว ถึงโลกุตรจิต ยายแก่คนนั้นเป็นพระอริยบุคคลชั้นใดชั้นหนึ่ง นักปราชญ์พูดกันฟังดีมาก
+ + อริยมรรค อริยผล + +
อริยมรรค อริยผล
โดย หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
วัดบรรพตคีรี (วัดภูจ้อก้อ)
ต.หนองสูงใต้ อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร
๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗
เป็นของไม่แน่นอน แต่ว่าแน่นอน แต่อยู่ในโลกแม้จะไปที่ใดก็ตาม ในส่วนกาย ก็ไปในมนุษยโลก ส่วนจิตใจ ไปตามธรรมะของใครของมัน ส่วนสกลกายไม่แน่นอน แต่ก็แน่นอนอยู่ในมนุษยโลกในเวลาที่ไม่สิ้นลมปราณ โลกทั้งปวงย่นลงมาเป็นโลกเดียวกัน โลกที่เกี่ยวกับมหาภูตธาตุ ก็มีธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม มีวิญญาณเป็นผู้ครองสิง มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก สัตว์โลกก็มีดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นตัวประธาน เป็นมหาภูตธาตุ เป็นมหาภูตธรรม สัตว์ทั้งหลาย ผู้ท่องเที่ยวอยู่ในโลกดิน โลกน้ำ โลกไฟ โลกลม เหล่านี้จัดเข้าในสังขารโลก
โลกคือสังขาร เกิดขึ้นมาแล้วก็แปรปรวน และแตกสลายไปเป็นยุคๆ เป็นรอบๆ อยู่เป็นเนืองนิจไม่ขาดสาย สังขารหากเกิดขึ้น สังขารหากตั้งอยู่ สังขารหากแปรปรวน สังขารหากดับไป มีเกิดขึ้นเป็นเบื้องต้น มีแปรปรวนเป็นท่ามกลาง มีดับเป็นสุดท้าย แต่ก็วนไปวนมากันอยู่อย่างนั้น เรียกว่าโลกกลม กลมเพราะวนเวียน เกิดขึ้นแล้วแปรปรวน แตกสลาย ติดต่อกันอยู่ไม่ขาดสาย ของละเอียดก็เกิดขึ้นอย่างละเอียด แปรปรวนอย่างละเอียด แตกสลายไปอย่างละเอียด ของหยาบก็เกิดขึ้นอย่างหยาบ แปรปรวนอย่างหยาบๆ แตกสลายไปอย่างหยาบๆ วนเวียนกันอยู่อย่างนี้
นอกจากสังขารไม่มีอันใดจะเกิดขึ้น และไม่มีอันใดจะแปรปรวน และไม่มีอันใดจะดับไป อนิจจังเท่านั้นเกิดขึ้น อนิจจังเท่านั้นแปรปรวน อนิจจังเท่านั้นดับไป ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นแปรปรวน ทุกข์เท่านั้นดับไป ก็มีความหมายอันเดียวกัน อนิจจตาธรรมเท่านั้นเกิดขึ้น อนิจจตาธรรมเท่านั้นแปรปรวน อนิจจตาธรรมเท่านั้นดับไป ก็มีความหมายอันเดียวกัน อนิจจตาธรรมเท่านั้นครองโลก ทุกขตาธรรมเท่านั้นครองโลก อนัตตาธรรมเท่านั้นครองโลก ก็มีความหมายอันเดียวกัน จะห้ำหั่นสังขารให้เป็นไปอย่างไรก็เป็นไปไม่ได้
มีหน้าที่จะรู้ตามเป็นจริงด้วยแห่งมโนภาพ แห่งสติปัญญาภาพ จะพิจารณาตามเป็นจริงด้วย จะหลุดพ้นจากความหลงด้วย จะไม่ยืนยันเอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นเรา เป็นเขา เป็นสัตว์ เป็นบุคคลด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้ ไม่ปฏิญาณว่าจะอยู่ในอำนาจของท่านผู้ใด ไม่ได้ยืนยันว่าข้าพเจ้าเป็นสังขารท่านผู้ใด ไม่ได้ยืนยันว่าข้าพเจ้าเป็นทาสของผู้ใด ไม่ได้ยืนยันว่าข้าพเจ้าเป็นธรรมของผู้ใด เป็นอยู่อย่างนั้นไม่ขาดสาย ไม่ขาดระยะ ประจำโลกอยู่ ไม่ได้อิโหน่อิเหน่กับผู้ที่ยึดถือเอาเป็นเจ้าของสกลกายก็อันเดียวกัน สกลกองนามรูป ก็อันเดียวกัน ไม่อิโหน่อิเหน่กับผู้ยึดถือเอาเป็นเจ้าของ ไม่ปฏิเสธและไม่ปฏิญาณกับใครด้วยเป็นจริงอยู่อย่างนั้น
ยถาภูตํ สมฺมปฺปญฺญาย ทฏฺฐพฺพํ เธอทั้งหลายจงรุ้ตามเป็นจริงเถิด พระบรมศาสดา จิตใจของเธอทั้งหลายเคยยึดมั่นถือมั่น หากจะปล่อยเองวางเองไปตามสภาพดอก เนตํ มม เนโสหมสฺมิ น เมโส อตฺตาหิ รูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารก็ดี ที่บัญญัติว่า รูปขันธ์ นามขันธ์ ที่บัญญัติว่าโลก ที่บัญญัติว่าทุกข์ ท่านทั้งหลายจงรู้ตามเป็นจริงเถิด ส่งคืนเถิด ส่งคืนความเข้าใจผิดของตนเถิด ธาตุก็ส่งคืนให้ธาตุ ธรรมก็ส่งคืนให้ธรรม ที่บัญญัติว่า ขันธ์ก็ส่งคืนให้ขันธ์ เธอทั้งหลายอย่าเข้าไปสอดแทรก ยึดถือเอาเป็นเจ้าของ ถ้าเธอทั้งหลายเข้าไปสอดแทรก ยึดถือเอาเป็นเจ้าของแล้ว เมื่อไม่อยู่สมประสงค์ เธอทั้งหลายจะดิ้นรนกวัดแกว่ง จิตใจของพวกเธอก็เดือดร้อน สิ่งเหล่านั้นไม่รู้อิโหน่ อิเหน่อะไร
ดินก็ส่งคืนให้ดิน น้ำก็ส่งคืนให้น้ำ ไปก็ส่งคืนให้ไฟ ตามสมมติ ลมก็ส่งคืนให้ลมตามสมมติ ที่เรียกว่า รูปโลก ที่เรียกว่า รูปขันธ์ ที่เรียกว่ารูปธาตุ เวทนา สุข ทุกข์ อุเบกขาก็ดี สัญญาก็ดี สัญญาจำรูป จำเสียง จำกลิ่น จำรส จำโผฏฐัพพะ จำธรรมารมณ์ก็ดี สังขารที่ปรุงแต่งแห่งจิตก็ดี วิญญาณที่รู้จากทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ดี เธอทั้งหลายจงส่งคืนเสียเถิด อย่าไปจี้ไปปล้นเลย จงปล่อยวางตามสภาพเสีย ถ้าหากว่าเธอไม่ยึดถือเอาเป็นเจ้าของแล้ว ความเดือดร้อนของเธอทั้งหลายก็จักไม่มี ถ้าหากว่าเธอทั้งหลายยึดถือเอาเป็นเจ้าของแล้ว ความเดือดร้อนของพวกเธอทั้งหลายก็มี เพราะรูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารก็ดี ดุจเหมือนหัวฝีเกิดขึ้น แล้วก็แปรปรวนและแตกสลายไป หรือเหมือนต้นกล้วย หรือเหมือนตุ่มน้ำ หรือเหมือนภาชนะดิน เวทนานี้ สัญญานี้ ดับเร็วนัก เหมือนพยับแดด
สิ่งที่เกิดขึ้นแปรปรวนและแตกสลาย บรรจุอยู่ในโลกนี้แล้ว เธอทั้งหลายจงหัดให้รู้ตามเป็นจริงเถิด ยถาภูตํ สมฺมปฺปญฺญาย ทฏฺฐพฺพํ จงส่งคืน จาโค ปฏินิสฺสคฺโค มุตฺติ อนาลโย อย่าได้อาลัยเลย อย่าได้ยึดถือว่าเป็นเรา เป็นเขา เป็นสัตว์ เป็นบุคคล จงทำจิตใจของพวกเธอให้ว่าง ว่างจากสัตว์ จากบุคคลเสียเถิด นิมิตทั้งหลายก็คือรูปนิมิตนั่นเอง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นนิมิตฝ่ายนาม ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นนิมิตฝ่ายรูป นิมิตทั้งหลายเหล่านี้แหละ เกิดขึ้นแล้วแปรปรวน และแตกสลาย จงพิจารณาด้วยปัญญาชัด สมมติ เธอทั้งหลายจงส่งคืนตามสมมติเถิด วิมุติ เธอทั้งหลายก็ส่งคืนตามวิมุติ พวกเธออย่าได้เข้าไปสอดแทรกในส่วนทั้งสอง เมื่อพวกเธอเข้าไปสอดแทรกในส่วนทั้งสองแล้ว อุปาทานของพวกเธอก็ยึดแน่น เมื่ออุปาทานของพวกเธอยึดแน่นเข้าแล้ว ชาติภพก็เกิดขึ้นในที่นั้นทันที กามภพ อรูปภพ ก็เกิดขึ้นในที่นั้นทันที
เมื่อเธอทั้งหลายไม่ได้เข้าไปยึดถือเอาเป็นเจ้าของแล้ว สิ่งทั้งปวงก็อยู่ตามสภาพ จิตใจของพวกเธอทั้งหลายก็อยู่ตามสภาพ ธรรมทั้งหลายก็อยู่ตามสภาพ ไม่ไปจี้ ไม่ไปปล้นกัน ไม่ไปลักไก่ ลักถอนกัน รูปก็เป็นแต่สักว่ารูป เสียงก็เป็นแต่สักว่าเสียง กลิ่นก็เป็นแต่สักว่ากลิ่น รสก็เป็นแต่สักว่ารส ลิ้นก็เป็นแต่สักว่าลิ้น กายก็เป็นแต่สักว่ากาย โผฏฐัพพะ มากระทบกาย ก็เป็นแต่สักว่า โผฏฐัพพะมากระทบกาย ใจก็เป็นแต่สักว่าใจ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา เป็นเพียงจิตตานุปัสสนาเท่านั้น ธรรมก็เป็นแต่สักว่าธรรม เป็นเพียงธรรมานุปัสสนาเท่านั้น เธอทั้งหลายอย่าเป็นนักจี้ นักปล้น จงปล่อยวางเสียเถิด ภาระจะหมดไป ปัจจุบัน อดีต อนาคต เธอทั้งหลายจงรู้ตามเป็นจริง อดีตก็คือกองรูปขันธ์ หรือนามขันธ์ที่ล่วงมาแล้ว อนาคตก็คือกองรูปขันธ์ นามขันธ์ที่ยังมาไม่ถึง ปัจจุบันก็คือกองรูปขันธ์ นามขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่เธอทั้งหลายจงปล่อยวางเสียเถิด
จึงเป็นธรรมอันสูง จึงเป็นจิตใจอันสูง จึงเป็นมหาศีล จึงเป็นมหาสมาธิ จึงเป็นมหาปัญญา จึงเป็นมหาวิมุติ จึงเป็นมหานิพพาน ลมเข้าลมออก ก็เป็นแต่สักว่าลมเข้าลมออก คือรูปขันธ์ ความเสวยอารมณ์ในเวลาลมเข้าลมออกอยู่ ก็เป็นแต่สักว่าเวทนาขันธ์ สัญญาความจำว่าลม ลมก็เป็นแต่สักว่าสัญญา สังขารปรุงแต่งในเวลาลมเข้าลมออก ในขณะจิตที่นึกคิดในที่ดีก็ดี ในทางที่ชั่วก็ดี ก็เป็นแต่สักว่าสังขาร วิญญาณความรู้ในทางธรรมารมณ์ก็ดี ในทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่ส่งมาในปัจจุบัน หรืออดีต อนาคตก็ดี ก็เป็นแต่สักว่าเท่านั้น ไม่อยู่ในอำนาจของใครดอก แต่สัตว์ทั้งหลายที่มีอวิชชา ตัณหา อุปาทานเข้าไปจี้ เข้าไปปล้น ไปยึดถือเอาเป็นเจ้าของ สิ่งใดที่มีผู้เข้าไปยึดถือเอาเป็นเจ้าของ สิ่งนั้นจะเป็นของไม่มีโทษย่อมไม่มีในโลก
ธรรมชั้นสูง อริยธรรม รูปขันธ์ นามขันธ์ เป็นของว่างจากสัตว์ จากบุคคล จากตัวตน เราเขาดังที่สมมติโดยจริงจัง สมมติกันใช้อยู่ในโลกเท่านั้น ตลอดถึงผู้รู้ทั้งในปัจจุบัน ผู้รู้ในอดีต ผู้รู้ในอนาคต ผู้รู้ทั้ง ๓ กาล นี้เป็นอนัตตาธรรมธรรม ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ท่านทั้งหลายจงรู้ตามเป็นจริงเถิด อย่าไปยึดถือเอาเป็นเจ้าของ กายเป็นแต่สักว่ากาย เวทนาเป็นแต่สักว่าเวทนา จิตเป็นแต่สักว่าจิตธรรมเป็นแต่สักว่าธรรม ส่งคืนหมด ส่งคืนไว้ตามเดิม สมมติก็ส่งคืนตามสมมติ วิมติก็ส่งคืนตามวิมุติ มืดก็ส่งคืนให้มืด สว่างก็ส่งคืนให้สว่าง โง่ก็ส่งคืนให้โง่ ฉลาดก็ส่งคืนให้ฉลาด
ไม่ไปสอดแทรกยึดถือเอาโง่เป็นเรา เราเป็นโง่ ไม่สอดแทรกไปยึดถือเอาฉลาดเป็นเรา เราเป็นฉลาด ภาระทั้งหลายของพวกเธอจะหายไป เอสวณฺโต ทุกฺขสฺส ย่อมเป็นที่สุดแห่งกองทุกข์ ภาระไม่มีในท่านผู้ใด ผู้นั้นปลงภาระแล้ว ภาระจะไม่มีก็เพราะเห็นอนัตตาธรรมชัด บาปก็ส่งคืนให้บาป บุญก็ส่งคืนให้บุญ ไม่เข้าไปสอดแทรกยึดถือเอาเป็นเจ้าของ ใจก็ส่งคืนให้ใจ ธรรมก็ส่งคืนให้ธรรม รู้ก็ส่งคืนให้รู้อย่าไปยึดถือเอาเป็นเจ้าของ เห็นก็เป็นแต่สักว่าเห็น รู้ก็เป็นแต่สักว่ารู้ ทั้งอดีต ทั้งอนาคต ทั้งปัจจุบันด้วย เมื่อเธอทั้งหลายเห็นชัดด้วยปัญญาอย่างนั้น ความเดือดร้อนของพวกเธอก็หายไป ไม่มีประตูจะมาอีก
นั่งก็ให้รู้จักตามนั่ง ตามสมมติ อย่าไปยึดถือเอาเป็นเจ้าของ เป็นแต่สักว่าธาตุ ว่าธรรม ว่าขันธ์เท่านั้น จิตก็เป็นแต่สักว่าจิต อย่าไปยึดถือเอาว่าเป็นเจ้าของ ถ้าไปยึดเอาเป็นเจ้าของ เมื่อจิตไม่สมประสงค์ก็จะเดือดร้อน เมื่อสมประสงค์ก็จะติดอยู่ เหตุฉะนั้น ท่านจึงบัญญัติว่า รูป จิต เจตสิก นิพพาน จิตไม่ใช่นิพพาน นิพพานไม่ใช่จิต รูป จิต เจตสิก นิพพาน ผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่นในจิต จิตก็ไม่มีพิษ ถ้ามีผู้ยึดถือเอาเป็นเจ้าของ จิตก็ต้องมีพิษ เพราะมีความหลง สัมปยุต เพราะมีกิเลส สัมปยุต จิตจะเด่นดวงสักเพียงไรก็ตาม อย่าไปยึดถือเอาเป็นเจ้าของ ธรรมชั้นสูง เราอยู่เหนือจิตเรา บังคับจิตได้ พระบรมศาสดา เราไม่ได้อยู่ใต้อำนาจของจิต
เรารู้จิตตามเป็นจริงของจิต เรารู้ธรรมตามเป็นจริงของธรรม แล้วเราส่งคืนทั้ง ๒ อย่าง เราไม่ไปจี้ เราไม่ไปปล้น เรารู้ทั้งอดีตด้วย รู้ทั้งอนาคตด้วย เรารู้ผู้รู้ในอดีต ผู้รู้ในอนาคต ผู้รู้ในปัจจุบัน ผู้รู้ทั้ง ๓ กาลนี้ เราไม่ไปยึดถือเอาเป็นเจ้าของ เราก็ดับรอบโลกแล้ว วิญญาณปฏิสนธิของเราก็ไม่มีอะไร อะไร ที่จะไปตั้งอยู่ ไม่มีอาลัยอาวรณ์ที่ไหน ต้องข้ามความหลงด้วยวิธีนี้ เราทำลายอวิชชาด้วยวิธีนี้ เราทำลายตัณหาด้วยวิธีนี้ เราทำลายอุปาทานด้วยวิธีนี้ เราทำลายผลด้วยวิธีนี้ เราทำลายกรรมและผลของกรรมด้วยวิธีนี้ เราทำลายเหตุด้วยวิธีนี้ เราทำลายผลด้วยวิธีนี้ เราจึงอยู่เหนือเหตุเหนือผล จึงไม่เป็นเปรตเฝ้าเหตุเฝ้าผล ปัญหาของเราจึงหมดไป ไม่สอดแทรกตนเองมาให้เป็นทุกข์ ธรรมชั้นสูงที่สุดนี่
เหตุฉะนั้นหลวงปู่มั่นท่านจึงปรารภว่า บางแห่งสมาธิล้วนๆ ก็มีรสนิดเดียวเท่ากับไม้ชำระฟัน ท่านพูดอย่างนั้น ไอ้ที่พูดนี่ท่านไม่ได้พูดประมาทธรรมนะ ท่านพูดตามเป็นจริงของธรรมชั้นสูงนี่ เหตุฉะนั้นพระบรมศาสดาจึงไม่ได้ติดอยู่ในที่ใด พระอริยเจ้าทั้งหลายไม่ได้ติดอยู่ในรูป ไม่ติดอยู่ในอรูป ไม่ติดอยู่ในรูปเพ่ง รูปเป็นอารมณ์ ก็เพ่งเฉยๆ เพ่งอรูปเป็นอารมณ์ก็เพ่งเฉยๆ แต่ไม่ติดอยู่ เพราะไม่มีใครเข้าไปสอดแทรก เอารูป เอาอรูป เป็นตน เป็นตัว เป็นเรา เป็นเขา เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เห็นสกลกายทุกหนทุกแห่ง ต้องการเห็นสิ่งไรก็เห็น แต่ไม่ยึดถือในผู้เห็น แต่ไม่ยึดถือในผู้รู้
เหตุฉะนั้น การรู้การเห็นจึงไม่มีพิษทั้งในอดีต ทั้งอนาคต ทั้งปัจจุบันด้วย จึงได้ข้ามห้วงทะเลหลงไปลัดนิ้วมือเดียว ไม่ได้ถือว่าเรา แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องสังขารต่างหาก บางทีหลวงปู่มั่นรับอาหารอยู่ กำลังรับอาหารอยู่ มีแม่ชีแก่คนหนึ่งอายุแก่กว่าหลวงปู่มั่น พอมาส่งอาหารก็ถามว่า หลวงพ่อ หลวงพ่อ อะไรกินข้าวอยู่นั่น พูดแบบภาษาชาวบ้านนอก ไม่ได้ว่าฉันเลย หลวงปู่ก็ไม่ถือสา หลวงปู่มั่นกลืนคำข้าวแล้ว ท่านก็ตอบว่า ก็สังขาร กองทุกข์ที่รับทานอาหารอยู่นี้ ที่ฉันจังหันอยู่นี้ ที่ฉันอาหารอยู่นี้ มันไม่ใช่ฉันดอก ตอบทันกันเหลือเกิน หลวงปู่มั่นก็ให้คะแนนว่า ยายแก่คนนั้นปฏิบัติมานานแล้ว ถึงโลกุตรจิต ยายแก่คนนั้นเป็นพระอริยบุคคลชั้นใดชั้นหนึ่ง นักปราชญ์พูดกันฟังดีมาก