วิกฤตอาหาร และปัญหา ′จีเอ็มโอ′ ในมุมมอง ′โจน จันได′ นักสะสมเมล็ดพันธุ์

โดย อรพรรณ จันทรวงศ์ไพศาล

"ทุกวันนี้ผู้คนป่วยโดยไม่มีเชื้อโรคอะไรเลยเยอะมาก มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ โดยโรคเหล่านี้เกิดจากพฤติกรรมการกินเป็นหลัก รองลงมาเป็นเรื่องวิถีชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้อายุสั้นลง ทำให้ต้องทำงานหนักเพื่อหาเงินมารักษาตัวเอง แต่ไม่ค่อยมีใครใส่ใจในเรื่องสุขภาพนัก" คือถ้อยคำที่เต็มไปด้วยความกังวลของ โจน จันได ลูกชาวนาแห่งยโสธร ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการสร้างบ้านดิน ซึ่งวันนี้เขาคือเจ้าของสวน "พันพรรณ" อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เป็นแหล่งสะสมเมล็ดพันธุ์พื้นบ้านที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ

เพราะปัญหาสุขภาพของคนไทยส่วนใหญ่มีต้นเหตุมาจากอาหาร นี่เองเป็นหนึ่งในสาเหตุทำให้โจนหันมาเก็บสะสมเมล็ดพืชในสวนเกษตรอินทรีย์เล็กๆ

โจนมองว่าอาหารเป็นสิ่งที่เปลี่ยนชีวิตคน ในท้องตลาดเราจะเห็นผักเต็มไปหมด แต่ไม่มีใครตั้งคำถามว่าผักที่วางขายอยู่นั้นมีกี่ชนิด ถ้านับดูจริงๆ จะเห็นผักกาดขาว ผักบุ้ง กะหล่ำปลี กวางตุ้ง คะน้า ถั่วฝักยาว ฯลฯ ซ้ำไปซ้ำมาในแต่ละตลาดและมีแบบนี้เหมือนกันทั้งปีไม่แตกต่าง ตรงนี้เป็นสิ่งที่ทำให้มองเห็นว่า เริ่มจะเข้าสู่ภาวะวิกฤตแล้ว ทุกวันนี้เรากินมากขึ้นแต่กินน้อยชนิดลง ร่างกายเริ่มมีปัญหาเรื่องการขาดสารอาหาร ทั้งๆ ที่มีเงินทองมีฐานะที่จะกินของดีๆ ได้ แต่ไม่มีทางเลือก

นั่นเป็นเพราะตลาดเป็นผู้ที่สั่งให้เรากินอะไร หรือส่งเสริมให้ชาวบ้านและเกษตรกรปลูกอะไร

นอกจากปัญหาเรื่องชนิดพันธุ์ต่างๆ แล้วสิ่งที่น่าหวาดกลัวและน่าเป็นห่วงที่สุดในสภาวะปัจจุบัน พืชตัดแต่งพันธุกรรม หรือพืชจีเอ็มโอ (GMOs : Genetically Modified Organisms)

โจนเล่าให้ฟังว่า จีเอ็มโอ คือการเอาชีวิตที่ต่างกันมารวมกัน ช่วงแรกมีมะเขือเทศจีเอ็มโอที่เอายีนของปลามาผสม ซึ่งปลากับมะเขือเทศโดยธรรมชาติก็ผสมกันไม่ได้ แต่เขาผสมเพื่อให้มะเขือเทศอยู่ในที่หนาวได้ แต่คนไม่ค่อยชอบ ต่อมามีการพัฒนาหลายอย่าง เช่นเอายีนของคนไปผสมกับหนูทำให้หนูโตเร็วขึ้น เลยเกิดความคิดว่าจะผลิตหมูให้โตเร็วเหมือนหนูเลยเอายีนของคนไปใส่ในหมู ปรากฏว่าหมูโตเร็วมากจนเดินไม่ได้ โชคดีที่นโยบายนี้ล้มเลิกไปไม่เช่นนั้นเราคงได้กินหมูที่มียีนของคนอยู่ในนั้น ตรงนี้เรายังไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าเรากินต่อเนื่องกันไประยะหนึ่ง

บทเรียนที่น่าสนใจในกรณีคล้ายกัน โจนเล่าย้อนถึงกรณีของสารกำจัดศัตรูพืชที่รู้จักกันดีอย่าง "ดีดีที" (ไดคลอโรไดฟีนิลไตรคลอโรอีเทน) ที่คิดค้นขึ้นมาเมื่อปี 1874 และมีการโฆษณาว่าเป็นสารที่มหัศจรรย์ที่สุดในโลก เพราะสามารถฆ่าแมลงได้ทุกชนิด แต่ไม่เป็นพิษกับคน

ตอนนั้นทุกประเทศนำดีดีทีมาใช้ฉีดฆ่ายุงลาย ประเทศสหรัฐอเมริกาใช้ฉีดพ่นจากเครื่องบินเพื่อฆ่าด้วงสนในอเมริกาเหนือ 40 ปีต่อมา จึงมีการค้นพบว่าดีดีทีทำให้เกิดความผิดปกติในทารกแรกเกิด ในป่าสนอเมริกาเหนือเกิดกบมีขา 5-6 ขา กวางเป็นมะเร็งทั้งที่สัตว์ไม่เคยเป็นมะเร็งเลย ยังพบอีกว่าดีดีทีมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งและเบาหวานในคนและสัตว์ ทำให้มีการประกาศให้ดีดีทีเป็นสารที่ผิดกฎหมายทั่วโลก

"วันนี้อาหารจีเอ็มโอเป็นพิษกับแมลงทุกชนิดแต่ไม่เป็นพิษกับคน เช่นกัน จะเชื่อหรือไม่ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละคน" โจนตั้งข้อสังเกตชวนคิด


นักสะสมเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่นคนดังเล่าให้ฟังอีกว่า ปัจจุบันพืชจีเอ็มโอที่รู้จักกันมากที่สุดคือ "ถั่วเหลือง" กับ "ข้าวโพด" ซึ่งเกิดจากการผสมกับถั่วบราซิลที่เป็นไม้ใหญ่ มีคุณสมบัติต้านยาฆ่าหญ้าราวด์อัพ หรือต้านไกลโฟเสตได้

วิธีการคือปลูกพืชจีเอ็มโอแล้วปล่อยให้หญ้าขึ้นสักพักก็ฉีดยาฆ่าหญ้าให้ตาย ต่อมาก็พบว่ามีหนอนมีแมลงมาเจาะเมล็ดเลยเอายีนจากเชื้อโรคตัวหนึ่งที่เป็นแบททีเรียที่เรียกว่า บาซิลลัสทูริงเยนซิส หรือบีที สำหรับฆ่าแมลง ซึ่งมีพิษแรงมากมาใส่ในถั่วเหลืองและข้าวโพดเพื่อให้ทุกอณูของของเมล็ดมีพิษต่อแมลงจะได้ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง

"มีคำถามว่าแมลงกินแล้วตาย แล้วคนล่ะ?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่