แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรกลุ่มสมุนไพรบ้านดงบัง จ.ปราจีนบุรี

              คุณสุภาวดี คูณสุข (คุณปุ๋ย) ผู้สืบทอดรุ่นที่ 2 ต่อจากคุณสมัย คูณสุข (ผู้ก่อตั้ง) ได้ให้สัมภาษณ์ว่ากลุ่มสมุนไพรบ้านดงบังเริ่มทำจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ก่อนที่จะทำสวนสมุนไพร เริ่มต้นมาจากการทำนาข้าวซึ่งรายได้พอมีพอกินเท่านั้นไม่ได้ร่ำรวยอะไร แต่คนในกลุ่มอยากจะร่ำรวยจึงมองหาอาชีพอื่น จึงนำเข้าไผ่ตงหวาน หน่อไม้เข้ามาในพื้นที่โดยปลูกไผ่ตงหวานตามคันนา ซึ่งหน่อไม้ขายได้ในราคาสูงจึงคิดอยากปรับพื้นที่นาข้าวเป็นสวน แต่ไม่มีทุนจึงไปกู้ยืมเงินที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) โดยคิดทำเป็นสวนหน่อไม้อย่างเดียว แต่โชคไม่เข้าข้างเพราะไผ่เป็นพืชตระกูลหญ้าที่เวลาออกดอกแล้วจะตาย โชคร้ายได้ต้นกล้าที่อายุ 2-3 ปี ซึ้งใกล้หมดอายุแล้ว ทำให้ล้มไปอีกรอบหนึ่งจึงมองหาอาชีพอื่นเพื่อเอาตัวรอด

คุณสุภาวดี คูณสุข (พี่ปุ๋ย ผู้สืบทอดรุ่นที่ 2)

คุณลุงสมัย คูณสุข (ผู้ก่อตั้งกลุ่มสมุนไพรบ้านดงบัง)
           พื้นที่ของกลุ่มอยู่ใกล้บริเวณตีนเขาใหญ่ มีชาวบ้านในพื้นที่เอาต้นกล้าไม้ดอกไม้ประดับมาเพาะใส่ถุงขาย ซึ่งราคาดีจึงนำใส่ถุงเพาะชำจำหน่ายตามสวนจตุจักรในกรุงเทพฯ แต่พอคนทำกันเยอะๆทำให้ราคาไม้ดอกไม้ประดับตกต่ำลงเรื่อยๆ และพื้นที่ของกลุ่มยังอยู่ไกลจากถนนเส้นหลัก ทำให้พ่อค้าคนกลางกดราคาของไม้ดอกไม้ประดับ จึงทำให้ต้องหาทางเอาตัวรอดเพราะไม่มีเงินใช้คืนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ทางธนาคารจึงแนะนำให้ไปดูงานที่จังหวัดพิษณุโลก ปลูกฝรั่งขี้นก

ภาพทางเข้ากลุ่มสมุนไพรบ้านดงบัง
            หลังจากนั้นทางกลุ่มได้ทราบจากทางธนาคารธกส.ว่าโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรเอาสมุนไพรมาวิจัยมาทำเป็นยา ซึ่งทางโรงพยาบาลมีแค่องค์ความรู้ทำให้ทางกลุ่มสนใจที่จะปลูกสมุนไพรให้ โดยทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เป็นตัวกลางว่าทางกลุ่มจะขอเป็นผู้ปลูกสมุนไพรให้ หลังจากนั้นทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ก็นัดประชุมแจ้งถึงกติกาและกฎเกณฑ์ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ประชุมประมาณ 3-4 ครั้ง เหลือคนที่จะทำเพียง 12 ครัวเรือนเท่านั้น เพราะชาวบ้านที่ถอนตัวไปคิดว่าถ้าต้องพักดิน 1 ปี และไม่ใช้สารเคมีในการเพาะปลูกผลผลิตจะไม่งอกงาม กลัวจะได้ไม่คุ้มเสียก็เลยถอนตัวออกไป หลังจากที่ทางกลุ่มสมุนไพรบ้านดงบังประสบความสำเร็จแล้วก็มีชาวบ้านสนใจเข้ากลุ่มเพิ่มแต่ทางกลุ่มไม่รับ เพราะว่าที่ทำกันมาทำเป็นครอบครัว ลำบากมาด้วยกันเกือบ 20 ปี การที่จะรับคนเพิ่มจึงต้องคำนึงถึงสมาชิกเดิมเพื่อไม่ให้มีผลกระทบในอนาคต

ภาพแปลงเพาะปลูกสมุนไพร

ภาพขั้นตอนการเก็บสมุนไพรมาล้างทำความสะอาด

ภาพขั้นตอนการหั่นสมุนไพร

ภาพการตากแห้งสมุนไพร

ภาพโรงตากแห้ง อบแห้ง

คุณทิพาพร คูณศรี (ป้าเถิน ประธานกลุ่มสมุนไพรบ้านดงบัง)

ภาพขั้นตอนการอบแห้งสมุนไพร

ภาพขั้นตอนการบรรจุลงถุงเพื่อส่งออกให้โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
              ทั้งนี้ยังมีจังหวัดอื่นเข้ามาศึกษาดูงานสวนสมุนไพรบ้านดงบังเพื่อนำเป็นต้นแบบอีกด้วย ทางกลุ่มยินดีที่จะให้คำแนะนำตั้งแต่ขั้นตอนการเริ่มต้นวิธีการเตรียมดิน การเพาะต้นกล้า การทำน้ำหมักชีวภาพ การแปรรูป เป็นต้น และนอกจากนี้ทางกลุ่มสมุนไพรบ้านดงบังยังมีการส่งออกสมุนไพรที่แปรรูปแล้ว ส่งออกไปยังประเทศออสเตรียอีกด้วย โดยรายได้นั้นจะเข้าที่กลุ่มและกลุ่มก็กระจายรายได้ให้แก่ชาวบ้าน ในด้านสุขภาพผู้คนในกลุ่มมีสุขภาพที่แข็งแรงดีเพราะไม่ได้รับสารเคมีจากยาฆ่าแมลงเหมือนการเพาะปลูกอื่นๆ อาจมีป่วยบ้างตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ แต่ก็นำสมุนไพรที่ปลูกไว้มาใช้รักษาตัวเองเบื้องต้นได้ 
วิธีปลูกพืชแบบเกษตรอินทรีย์
การเลือกพื้นที่
1. ควรเลือกพื้นที่เหมาะสม โดยอยู่ห่างโรงงาน ห่างแปลงปลูกที่ใช้สารเคมี มีแหล่งน้ำสะอาด ไม่มีสารพิษเจือปน
2. ศึกษาประวัติพื้นที่ เช่น เคยปลูกพืชอะไร การใช้ปุ๋ยและสารเคมี ย้อนหลังอย่างน้อย 3  ปี
3. เลือกปลูกพืชให้เหมาะกับดิน โดยให้พิจารณาว่าดินมีทั้งดินร่วน ดินเหนียว หน้าตื้น หน้าดินลึก ดินเป็นกรด ดินเป็นด่าง ดินเค็ม เป็นต้น จึงควรพิจารณาเลือกปลูกพืชที่ขึ้นอยู่เดิม
4.สังเกตจากพืชที่ขึ้นอยู่เดิม เก็บตัวอย่างดิน น้ำ ไปทำการวิเคราะห์
การวางแผนจัดการ
1.วางแผนป้องกันสารพิษจากภายนอก ทั้งทางน้ำและทางอากาศ การป้องกันทางน้ำโดนขุดคูรอบแปลง การป้องกันทางอากาศโดยปลูกพืชกันชน ทั้งไม้ทรงสูง ทั้งไม้ทรงสูง ทรงสูงปานกลางต้นเตี้ย บนคันกั้นน้ำรอบแปลง
2.วางแผนป้องกันภายในจัดระบบการระบายน้ำ การเก็บรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ และการเข้าออกไร่นา
3.วางแผนระบบการปลูกพืช เลือกฤดูปลูกที่เหมาะสมใช้พันธุ์พืชที่ต้านทานโรค-แมลง พืชบำรุงดิน พืชไล่แมลง
การเลือกพันธุ์ปลูก
1.คำนึงถึงสภาพดิน สภาพภูมิอากาศ ความต้านทานต่อ โรคแมลง และวัชพืช ความหลากหลายของชนิดพืชในแปลง
2.ไม่ใช้พืชจีเอ็มโอ (พืชที่มาจาการตัดต่อสารพันธุกรรม)
3.ควรเป็นเมล็ดพันธุ์พืชที่มาจาการปลูกแบบอินทรีย์                                                                                                 การเลือกพันธุ์ปลูก
1.คำนึงถึงสภาพดิน สภาพภูมิอากาศ ความต้านทานต่อ โรคแมลง และวัชพืช ความหลากหลายของชนิดพืชในแปลง
2.ไม่ใช้พืชจีเอ็มโอ (พืชที่มาจาการตัดต่อสารพันธุกรรม)
3.ควรเป็นเมล็ดพันธุ์พืชที่มาจาการปลูกแบบอินทรีย์                                                                                                 การปรับปรุงบำรุงดิน  
1.เลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง (ห้ามตัดไม้ทำลายป่า)
2.ถ้าดินเป็นกรดจัดใส่หินปูนบดลดความเป็นกรด
3.ปลูกพืชตระกูลถั่วและไถกลบสำหรับทำปุ๋ยพืชสด ได้แก่ โสน ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ถั่วมะแฮะ เป็นต้น (โสนควรปลูกในนา ถั่วต่าง ๆ ควรปลูกในไร่)
4.ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษซากพืช เพื่อช่วยปรับโครงสร้างดิน และให้ธาตุอาหารพืช
5.ดินขาดฟอสฟอรัสให้ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต
6.ดินขาดโพแทสเซียม ให้ใช้ปุ๋ยมูลค้างคาว เกลือโพแทสเซียมธรรมชาติ และขี้เถ้าถ่าน  ที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดคงจะเก็บตัวอย่างดินและส่งวิเคราะห์  โดยติดต่อสอบถามข้อมูลการวิเคราะห์ตัวอย่างดินและการเก็บตัวอย่างดินที่ถูกต้องที่หมอดินประจำตำบลของท่าน
เกษตรอินทรีย์ ปลูกอย่างถูกวิธีเพิ่มผลผลิต  บทความจากหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ ฉบับวันที่ 9 เมษายน  2553 ปีที่ 40  ฉบับที่14,436
 
ความคิดของผู้ให้สัมภาษณ์ที่คิดว่าทำไมผู้อื่นจึงไม่ทำสวนสมุนไพร? เพราะการจัดการยาก อย่างเช่นถ้ามีพื้นที่เยอะ 1 ไร่หรือ 10 ไร่ จะลำบากเพราะไม่ใช้สารเคมียาฆ่าแมลง ต้องใช้แรงงานคนเพื่อกำจัดวัชพืชเท่านั้น ไม่อย่างนั้นวัชพืชจะไปแย่งสารอาหารจากต้นสมุนไพร เนื่องจากในปัจจุบันแรงงานที่เป็นคนไทยค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานต่างด้าวที่เยอะ ที่ต้องการเข้ามาทำงาน
คุณสุภาวดี คูณสุข (พี่ปุ๋ย ผู้สืบทอดรุ่นที่ 2)ผู้ให้สัมภาษณ์


ภาพตัวอย่างสมุนไพรที่ถูกแปรรูปแล้ว และวางขายในร้านขายยาของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

เป็นอย่างไรบ้างคะ น่าไปเที่ยวชมไหมเอ่ย หากต้องการไปสามารถติดต่อได้ที่
ข้อมูลการติดต่อ
ที่อยู่
หมู่ 6 ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมืองปราจีนบุรี ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี 25000
 เบอร์ติดต่อ
087-0875039,089-2692643,087-6008842

เวลาทำการ
วันอาทิตย์
: 08:00 - 17:00
วันจันทร์
: 08:00 - 17:00
วันอังคาร
: 08:00 - 17:00
วันพุธ
: 08:00 - 17:00
วันพฤหัสบดี
: 08:00 - 17:00
วันศุกร์
: 08:00 - 17:00
วันเสาร์
: 08:00 - 17:00
หมายเหตุเวลาทำการ : ทุกวัน

กลุ่มนักท่องเที่ยว
• กลุ่มครอบครัว
• กลุ่มผู้สูงอายุ
• กลุ่มวัยทำงาน
• กลุ่มนักเรียนนักศึกษา / เยาวชน / วัยรุ่น
• กลุ่ม Health & Wellness
• กลุ่ม MICE / ศึกษาดูงาน
• กลุ่มวิถีชีวิต / ชุมชน / วิถีเกษตร

การเดินทาง
• มอเตอร์ไซด์
• รถโดยสารประจำทาง
• รถไฟ
• รถยนต์

#เข้าชมฟรีนะคะ เพี้ยนยิ้ม

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่