"ปลูกพืช GMO ดีต่อสิ่งแวดล้อม"
คลิปรายการ Sci Find ตอนที่ 11 เสร็จพอดีก่อนที่ผมจะไปดีเบตเรื่องการทดลองปลูกพืชไร่จีเอ็มโอ ในรายการ "เถียงให้รู้เรื่อง" ทางช่อง ThaiPBS คืนนี้
เนื้อหาจะต่อเนื่องจากรายการตอนที่แล้วที่พูดว่า อาหารจีเอ็มโอไม่ได้อันตรายอย่างที่กลัวกัน ... คราวนี้เรามาตอนปัญหาไขข้อข้องใจต่อว่า การปลูกพืช GMO นั้นก็ไม่ได้ผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอย่างที่กลัวกัน และจริงๆ มันกลับดีต่อสิ่งแวดล้อมเสียด้วยซ้ำ
ในขณะเดียวกัน คนที่กังวลกับข่าวต่างประเทศว่ามีการฟ้องร้องกับระหว่างเกษตรกรกับบริษัทเมล็ดพันธุ์ ความจริงแล้ว ศาลพบว่าเกษตรกรรายนั้นเค้าลักลอบปลูกจริงๆ ไม่ได้เป็นการที่ละอองเรณูมันปลิวมาลงไร่เค้าแต่อย่างไร (บ้านเราเอง ก็ไม่มีกฎหมายห้ามการปลูกพืชจีเอ็มโดยไม่ได้รับอนุญาตเช่นนี้ด้วย)
วิทยากรในตอนนี้คือ ดร.ลูกแก้ว Anongpat Suttangkakul อ.ดร.อนงค์ภัทร สุทธางคกูล จากภาควิชาพันธุ์ศาสตร์ ม.เกษตรฯ พร้อมพิธีกรน่ารักๆ ที่ลีลาไม่เหมือนใคร ติณณา ติณณา ลีลาพฤทธิ์
ถ้าชอบช่วยกดไลค์ในยูทูปด้วยนะครับ
----------------
ปลูกพืช GMO ดีต่อสิ่งแวดล้อม
ข้อมูลโดย ดร.อนงค์ภัทร สุทธางคกูล
ภาควิชาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Q - ปลูกพืช GMO ดีและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร
A - พืช GMO ช่วยให้เกษตรกรต่อสู้กับข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ เช่น การปลูกพืช GMO ที่ต้านทานแมลงศัตรูพืช จะทำให้ใช้ยาฆ่าแมลงในปริมาณที่น้อยลง โดยไม่ฆ่าแมลงที่มีประโยชน์ และยังทำให้ได้ผลผลิตมากกว่าเดิม โดยไม่ต้องรุกล้ำทำลายพื้นที่ป่าไม้เพื่อการเกษตร ปัจจุบันจึงมีนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เริ่มหันมาสนับสนุนการเพาะปลูกพืช GMO มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นความหวังที่จะทำให้เรารับมือกับการเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณของประชากรทั้งโลกได้ ทั้งยังช่วยทำให้สุขภาพของเกษตรกรดีขึ้น ลดผลกระทบจากการเกษตรต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยลง และยังช่วยอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพได้อีกด้วย
Q - พืช GMO จะไปปนเปื้อนกับพืชที่อยู่ในไร่ข้างเคียงได้หรือไม่
A - เราสามารถเพาะปลูกพืชไร่ต่างชนิดกันโดยจัดการไม่ให้มาผสมปนเปกัน ตามแนวทาง ที่เรียกว่า "แนวปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกัน" เพื่อป้องกันไม่มีการถ่ายละอองเรณู ข้ามจากพืช GMO ไปยังพืชไร่ธรรมดาหรือพืชเกษตรอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น ประเทศสเปนที่ประสบผลสำเร็จ ในการเพาะปลูกข้าวโพดบีที อยู่ข้างเคียงกับข้าวโพด พันธุ์ธรรมดากว่า 6 แสนไร่
ส่วนในกรณีของ Percy Schmeiser เกษตรกรชาวแคนาดา ที่ถูกฟ้องว่าลักลอบใช้ เมล็ดพันธุ์คาโนลา GMO ของบริษัทมอนซานโต โดยนาย Schmeiser อ้างว่ามีละอองเรณู ของต้นคาโนลา GMO ปลิวมาลงในไร่คาโนลาพันธุ์ธรรมดาของเขา แต่ศาลได้พบว่าไร่ต้นคาโนลา ของนาย Schmeiser มีต้นที่เป็นพันธุ์GMO อยู่ถึง 95% ซึ่งไม่อาจจะเกิดขึ้นเองได้จากการที่ ละอองเกสรปลิวมาตามแรงลม จึงได้พิพากษาตัดสินว่านาย Scmeiser ได้กระทำผิดกฎหมาย คุ้มครองพันธุ์พืชควบคุม
Q - การปลูกพืช GMO เหมาะสมเฉพาะกับเกษตรกรรายใหญ่เท่านั้นจริงหรือ
A - ไม่จริง ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อัตราการเพิ่มขึ้นของพื้นที่เพาะ ปลูกพืชGMO ของประเทศกำลังพัฒนาสูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วกว่า 2 เท่าตัว และยังพบว่า เกษตรกรทั้งในประเทศอุตสาหกรรมและประเทศกำลังพัฒนา ล้วนแล้วแต่ได้รับผลประโยชน์ เป็นเงินรายได้ที่สูงขึ้น เนื่องจากใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช น้อยลงและได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น โดยที่จำนวนเกษตรกรมากกว่า 90% ของเกษตรกรทั่วโลกที่เพาะปลูกพืช GMO เป็นเกษตรกรรายย่อยในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเพาะปลูกเป็นพื้นที่ขนาดเล็กๆ ไม่เกิน 65 ไร่
--------------------------
คลิปรายการตอนที่แล้ว "อาหารจีเอ็มโอ ไม่ได้อันตราย"
รายการ Sci Find ตอนที่ 11 "ปลูกพืช GMO ดีต่อสิ่งแวดล้อม"
คลิปรายการ Sci Find ตอนที่ 11 เสร็จพอดีก่อนที่ผมจะไปดีเบตเรื่องการทดลองปลูกพืชไร่จีเอ็มโอ ในรายการ "เถียงให้รู้เรื่อง" ทางช่อง ThaiPBS คืนนี้
เนื้อหาจะต่อเนื่องจากรายการตอนที่แล้วที่พูดว่า อาหารจีเอ็มโอไม่ได้อันตรายอย่างที่กลัวกัน ... คราวนี้เรามาตอนปัญหาไขข้อข้องใจต่อว่า การปลูกพืช GMO นั้นก็ไม่ได้ผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอย่างที่กลัวกัน และจริงๆ มันกลับดีต่อสิ่งแวดล้อมเสียด้วยซ้ำ
ในขณะเดียวกัน คนที่กังวลกับข่าวต่างประเทศว่ามีการฟ้องร้องกับระหว่างเกษตรกรกับบริษัทเมล็ดพันธุ์ ความจริงแล้ว ศาลพบว่าเกษตรกรรายนั้นเค้าลักลอบปลูกจริงๆ ไม่ได้เป็นการที่ละอองเรณูมันปลิวมาลงไร่เค้าแต่อย่างไร (บ้านเราเอง ก็ไม่มีกฎหมายห้ามการปลูกพืชจีเอ็มโดยไม่ได้รับอนุญาตเช่นนี้ด้วย)
วิทยากรในตอนนี้คือ ดร.ลูกแก้ว Anongpat Suttangkakul อ.ดร.อนงค์ภัทร สุทธางคกูล จากภาควิชาพันธุ์ศาสตร์ ม.เกษตรฯ พร้อมพิธีกรน่ารักๆ ที่ลีลาไม่เหมือนใคร ติณณา ติณณา ลีลาพฤทธิ์
ถ้าชอบช่วยกดไลค์ในยูทูปด้วยนะครับ
----------------
ปลูกพืช GMO ดีต่อสิ่งแวดล้อม
ข้อมูลโดย ดร.อนงค์ภัทร สุทธางคกูล
ภาควิชาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Q - ปลูกพืช GMO ดีและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร
A - พืช GMO ช่วยให้เกษตรกรต่อสู้กับข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ เช่น การปลูกพืช GMO ที่ต้านทานแมลงศัตรูพืช จะทำให้ใช้ยาฆ่าแมลงในปริมาณที่น้อยลง โดยไม่ฆ่าแมลงที่มีประโยชน์ และยังทำให้ได้ผลผลิตมากกว่าเดิม โดยไม่ต้องรุกล้ำทำลายพื้นที่ป่าไม้เพื่อการเกษตร ปัจจุบันจึงมีนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เริ่มหันมาสนับสนุนการเพาะปลูกพืช GMO มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นความหวังที่จะทำให้เรารับมือกับการเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณของประชากรทั้งโลกได้ ทั้งยังช่วยทำให้สุขภาพของเกษตรกรดีขึ้น ลดผลกระทบจากการเกษตรต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยลง และยังช่วยอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพได้อีกด้วย
Q - พืช GMO จะไปปนเปื้อนกับพืชที่อยู่ในไร่ข้างเคียงได้หรือไม่
A - เราสามารถเพาะปลูกพืชไร่ต่างชนิดกันโดยจัดการไม่ให้มาผสมปนเปกัน ตามแนวทาง ที่เรียกว่า "แนวปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกัน" เพื่อป้องกันไม่มีการถ่ายละอองเรณู ข้ามจากพืช GMO ไปยังพืชไร่ธรรมดาหรือพืชเกษตรอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น ประเทศสเปนที่ประสบผลสำเร็จ ในการเพาะปลูกข้าวโพดบีที อยู่ข้างเคียงกับข้าวโพด พันธุ์ธรรมดากว่า 6 แสนไร่
ส่วนในกรณีของ Percy Schmeiser เกษตรกรชาวแคนาดา ที่ถูกฟ้องว่าลักลอบใช้ เมล็ดพันธุ์คาโนลา GMO ของบริษัทมอนซานโต โดยนาย Schmeiser อ้างว่ามีละอองเรณู ของต้นคาโนลา GMO ปลิวมาลงในไร่คาโนลาพันธุ์ธรรมดาของเขา แต่ศาลได้พบว่าไร่ต้นคาโนลา ของนาย Schmeiser มีต้นที่เป็นพันธุ์GMO อยู่ถึง 95% ซึ่งไม่อาจจะเกิดขึ้นเองได้จากการที่ ละอองเกสรปลิวมาตามแรงลม จึงได้พิพากษาตัดสินว่านาย Scmeiser ได้กระทำผิดกฎหมาย คุ้มครองพันธุ์พืชควบคุม
Q - การปลูกพืช GMO เหมาะสมเฉพาะกับเกษตรกรรายใหญ่เท่านั้นจริงหรือ
A - ไม่จริง ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อัตราการเพิ่มขึ้นของพื้นที่เพาะ ปลูกพืชGMO ของประเทศกำลังพัฒนาสูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วกว่า 2 เท่าตัว และยังพบว่า เกษตรกรทั้งในประเทศอุตสาหกรรมและประเทศกำลังพัฒนา ล้วนแล้วแต่ได้รับผลประโยชน์ เป็นเงินรายได้ที่สูงขึ้น เนื่องจากใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช น้อยลงและได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น โดยที่จำนวนเกษตรกรมากกว่า 90% ของเกษตรกรทั่วโลกที่เพาะปลูกพืช GMO เป็นเกษตรกรรายย่อยในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเพาะปลูกเป็นพื้นที่ขนาดเล็กๆ ไม่เกิน 65 ไร่
--------------------------
คลิปรายการตอนที่แล้ว "อาหารจีเอ็มโอ ไม่ได้อันตราย"