วิเคราะห์การเมือง
ทั้งๆ ที่ไม่ว่า พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ไม่ว่า
นายภาณุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการศอ.บต.มีบทสรุปตรงกันกรณีสถานการณ์ 17 จุด 7
จังหวัดภาคใต้ตอนบนว่า
มิได้เป็นเรื่องการขยาย “พื้นที่” ในการ “ปฏิบัติการ”
แต่น่าสังเกตว่า บทเรียนซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่เกิดเหตุ 7
จังหวัดภาคใต้ตอนบนนำมาศึกษาและวิเคราะห์คือ
1 เหตุวางระเบิดในกทม.เมื่อปี 2556 และ 1 เหตุวางระเบิดในสุราษฎร์ธานีเมื่อปี 2558
เหตุวางระเบิดในกทม.เมื่อปี 2556 เกิดขึ้นบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง
เหตุวางระเบิดในสุราษฎร์ธานีเมื่อปี 2558 เกิดขึ้นทั้งในตัวเมืองสุราษฎร์ธานี
และบนเกาะสมุย
ลักษณะ “ร่วม” ก็คือ เป็นปฏิบัติการที่มีลักษณะคล้ายกัน
เบื้องต้นปรากฏการวางเพลิงในจุด 1 จากนั้น จึงตามมาด้วยความพยายามวางระเบิด
ในอีกจุด 1 ดำเนินไปอย่างประสานและร่วมมือกัน
คล้ายๆ กับที่เกิดขึ้น 17 จุด 7 จังหวัด
ความสำคัญของเหตุวางเพลิง เหตุระเบิด ไม่ว่าจะที่กทม.เมื่อปี 2556 ไม่ว่าจะ
สุราษฎร์ธานีเมื่อปี 2558 คือมีตัวละครละม้ายเหมือนกัน
1 เป็นตัวละครจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
1 วัตถุประกอบระเบิดสัมพันธ์กับวัตถุประกอบระเบิดซึ่งใช้กันอยู่เป็นประจำในพื้นที่ 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้
ไม่ว่าจะมองว่าเป็น “ปฏิบัติการ” ไม่ว่าจะมองว่าเป็น “รับจ้าง”
เพียงแต่ความเชื่อที่ว่ากทม.และสุราษฎร์ธานีมิใช่พื้นที่เป้าหมายอย่างแท้จริง
และนอกขอบเขตของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงไม่สรุปว่าเป็นฝีมือของ
ขบวนการอย่างแท้จริง หากสรุปว่าน่าจะเป็นการรับจ้างจากกลุ่มอื่นและมี
เป้าหมายในทางการเมืองอื่น
มิใช่เรื่องของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยตรง
อย่างไรก็ตาม หากตรวจสอบจากฐานข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญและคร่ำหวอด
ในพื้นที่ระดับ พล.อ.สำเร็จ ศรีหร่าย ก็พบเงื่อนปมบางประการอันไม่ควรมองข้าม
ท่านผู้นี้เคยเป็น “รองแม่ทัพภาคที่ 4”
ท่านระบุสภาพความเป็นจริงของขบวนการบีอาร์เอ็นที่ควรให้ความสนใจคือ
หากเป็นปฏิบัติการของบีอาร์เอ็นอย่างแท้จริง
“ผู้ปฏิบัติการจะต้องเป็นคนมลายูทั้งหมดเท่านั้น”
ความหมายก็คือ ขบวนการบีอาร์เอ็นคุมปฏิบัติการอย่างเบ็ดเสร็จ
เพราะขบวนการบีอาร์เอ็นไม่เปิดรับคนนอกเลย
จึงยากยิ่งที่จะดำเนินการในลักษณะ “รับจ้าง”
สถานการณ์ 17 จุด 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน จึงเป็นอีกสถานการณ์ 1
ของการก่อความไม่สงบ
เป็นสถานการณ์ที่ 1 ท้าทายต่อความมั่นคงและอำนาจอันเบ็ดเสร็จ
ที่คสช.ยึดกุมอย่างเหนียวแน่น และ 1 ท้าทายต่อความเชื่อที่ว่า
ขบวนการ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีขีดและศักยภาพเพียงใด
หากไม่ยอมรับย่อมนำไปสู่การวางแผนต่อสู้อย่างไม่เป็นไปตามความจริง
สภาพ ความจริง สถานการณ์ 17 จุด 7 จังหวัด กับ “ขบวนการ” .....ข่าวสดออนไลน์ ..../sao..เหลือ..noi
ทั้งๆ ที่ไม่ว่า พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ไม่ว่า
นายภาณุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการศอ.บต.มีบทสรุปตรงกันกรณีสถานการณ์ 17 จุด 7
จังหวัดภาคใต้ตอนบนว่า
มิได้เป็นเรื่องการขยาย “พื้นที่” ในการ “ปฏิบัติการ”
แต่น่าสังเกตว่า บทเรียนซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่เกิดเหตุ 7
จังหวัดภาคใต้ตอนบนนำมาศึกษาและวิเคราะห์คือ
1 เหตุวางระเบิดในกทม.เมื่อปี 2556 และ 1 เหตุวางระเบิดในสุราษฎร์ธานีเมื่อปี 2558
เหตุวางระเบิดในกทม.เมื่อปี 2556 เกิดขึ้นบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง
เหตุวางระเบิดในสุราษฎร์ธานีเมื่อปี 2558 เกิดขึ้นทั้งในตัวเมืองสุราษฎร์ธานี
และบนเกาะสมุย
ลักษณะ “ร่วม” ก็คือ เป็นปฏิบัติการที่มีลักษณะคล้ายกัน
เบื้องต้นปรากฏการวางเพลิงในจุด 1 จากนั้น จึงตามมาด้วยความพยายามวางระเบิด
ในอีกจุด 1 ดำเนินไปอย่างประสานและร่วมมือกัน
คล้ายๆ กับที่เกิดขึ้น 17 จุด 7 จังหวัด
ความสำคัญของเหตุวางเพลิง เหตุระเบิด ไม่ว่าจะที่กทม.เมื่อปี 2556 ไม่ว่าจะ
สุราษฎร์ธานีเมื่อปี 2558 คือมีตัวละครละม้ายเหมือนกัน
1 เป็นตัวละครจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
1 วัตถุประกอบระเบิดสัมพันธ์กับวัตถุประกอบระเบิดซึ่งใช้กันอยู่เป็นประจำในพื้นที่ 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้
ไม่ว่าจะมองว่าเป็น “ปฏิบัติการ” ไม่ว่าจะมองว่าเป็น “รับจ้าง”
เพียงแต่ความเชื่อที่ว่ากทม.และสุราษฎร์ธานีมิใช่พื้นที่เป้าหมายอย่างแท้จริง
และนอกขอบเขตของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงไม่สรุปว่าเป็นฝีมือของ
ขบวนการอย่างแท้จริง หากสรุปว่าน่าจะเป็นการรับจ้างจากกลุ่มอื่นและมี
เป้าหมายในทางการเมืองอื่น
มิใช่เรื่องของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยตรง
อย่างไรก็ตาม หากตรวจสอบจากฐานข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญและคร่ำหวอด
ในพื้นที่ระดับ พล.อ.สำเร็จ ศรีหร่าย ก็พบเงื่อนปมบางประการอันไม่ควรมองข้าม
ท่านผู้นี้เคยเป็น “รองแม่ทัพภาคที่ 4”
ท่านระบุสภาพความเป็นจริงของขบวนการบีอาร์เอ็นที่ควรให้ความสนใจคือ
หากเป็นปฏิบัติการของบีอาร์เอ็นอย่างแท้จริง
“ผู้ปฏิบัติการจะต้องเป็นคนมลายูทั้งหมดเท่านั้น”
ความหมายก็คือ ขบวนการบีอาร์เอ็นคุมปฏิบัติการอย่างเบ็ดเสร็จ
เพราะขบวนการบีอาร์เอ็นไม่เปิดรับคนนอกเลย
จึงยากยิ่งที่จะดำเนินการในลักษณะ “รับจ้าง”
สถานการณ์ 17 จุด 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน จึงเป็นอีกสถานการณ์ 1
ของการก่อความไม่สงบ
เป็นสถานการณ์ที่ 1 ท้าทายต่อความมั่นคงและอำนาจอันเบ็ดเสร็จ
ที่คสช.ยึดกุมอย่างเหนียวแน่น และ 1 ท้าทายต่อความเชื่อที่ว่า
ขบวนการ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีขีดและศักยภาพเพียงใด
หากไม่ยอมรับย่อมนำไปสู่การวางแผนต่อสู้อย่างไม่เป็นไปตามความจริง