ในที่สุด สถานการณ์วางเพลิง วางระเบิด 17 จุด ใน 7 จังหวัดภาคใต้
ซึ่งปรากฏขึ้นระหว่างวันที่ 11-12 สิงหาคม ก็เริ่มมีความแจ่มชัด
ถนนทุกสายมุ่งไปยัง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ไม่ว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ไม่ว่า พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
“พูด” ตรงกัน “ร้องเพลง” เดียวกัน
เพียงแต่ยืนยันว่า 1 เป็นการก่อวินาศกรรม มิได้เป็นการก่อการร้าย ขณะเดียวกัน
1 มิได้เป็นการขยายพื้นที่โดยกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
นั่นก็คือ มาแต่ “คน” มาแต่ “ระเบิด”
ในอีกด้านจึงเท่ากับอรรถาธิบายว่า เป็นเรื่องของ “ปัจเจก” มิได้เป็นเรื่องของ
“ขบวนการ” ไม่ว่าจะเป็นขบวนการพูโล ไม่ว่าจะเป็นขบวนการบีอาร์เอ็น
ทำไมต้องเน้นว่า “วินาศกรรม” มิใช่ “ก่อการร้าย”
น้ำเสียงตรงนี้ก็เหมือนกับสถานการณ์วางเพลิง วางระเบิดที่สุราษฎร์ธานีเมื่อปี 2558 บนพื้นฐาน
1 มิได้เป็นการประกาศหรือแสดงตัว และ 1 มิได้เป็นการขยายพื้นที่ปฏิบัติการ
บทสรุปเช่นนี้มาจาก “หลักฐาน” มาจาก “ความเป็นจริง”
เบื้องต้นจากสถานการณ์จังหวัดตรังอาจเกิดความไขว้เขวเพราะมองแต่จุด
จุดเดียวมิได้มองทั่วทั้งป่าและเจาะลงไปในต้นไม้แต่ละต้น
แต่เมื่อจับเอามา “ประสาน” และ “เชื่อมโยง”
เบาะแสที่ภูเก็ต เบาะแสที่พังงา เบาะแสที่สุราษฎร์ธานี เบาะแสที่ตรัง
เบาะแสที่นครศรีธรรมราช เบาะแสที่กระบี่ เบาะแสที่หัวหิน
1 ลายเซ็นชี้ไปยัง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ยิ่งกว่านั้น 1 ไม่ว่าจะจากการตรวจสอบวิธีการจุดชนวน
ไม่ว่าจะข้อสังเกตโดยผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือยี่ห้อซัมซุง ฮีโร่
ซื้อหามาได้จาก “มาเลเซีย” เท่านั้น ไม่มีแหล่งอื่น
เมื่อนำเอา “หลักฐาน” จากดีเอ็นเอที่ปรากฏในตัวระเบิดไปตรวจสอบกับ
ดีเอ็นเอของผู้ต้องสงสัยในอดีต ไม่ว่าจะจากกรณี อ.ตากใบ จ.นราธิวาส
ไม่ว่าจะเมื่อมีการมอบตัว ณ ค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี อ่านออกมาได้ตรงกัน
สามารถโยงยาวไปถึงการประท้วงครั้งใหญ่หลังปล้นปืนที่เจาะไอร้อง นราธิวาส
และการประท้วง ณ อ.ตากใบ นราธิวาส เมื่อปี 2547
มือระเบิดมีความเป็นมาอย่างไร เด่นชัด
ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นผ่านกระบวนการในทาง “นิติวิทยาศาสตร์”
สะท้อนความร่วมมืออย่างใกล้ชิด แนบแน่นจาก 2 ฝ่าย
1 ฝ่ายตำรวจ 1 ฝ่ายทหาร
ในเบื้องต้นอาจจะแลดูสะเปะสะปะไปบ้าง เห็นได้จากการชี้เบาะแสไปยัง
“หน่วยพิทักษ์ความปลอดภัยเฉพาะกิจ” เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ที่
อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช
แต่ความจริงกลับปรากฏว่าเป็นการหารือเรื่อง “กฐินพระราชทาน”
ในเบื้องต้นอาจจะแลดูอึกทึกครึกโครมไปบ้างเมื่อมีการจับ “นักเคลื่อนไหว”
ไม่ว่าจะที่ตรัง ไม่ว่าจะที่นครศรีธรรมราช ไม่ว่าจะที่ราชบุรี ไม่ว่าจะที่อ่างทอง
แต่ตำรวจยืนยันว่าไม่น่าจะเกี่ยวกับ “ระเบิด”
“ผู้ต้องสงสัยอันเกี่ยวกับระเบิดและการวางเพลิงมีเพียงคนเดียวเท่านั้น
คือ นายศักรินทร์ คฤหัสถ์ เป็นการจับตามหมายจับของศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช
และการใช้อำนาจตาม ม.44”
เป็นแถลงจาก พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา
คราวนี้ก็ต้องให้เวลาไม่ว่าจะเป็น 1 เจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่ว่าจะเป็น
1 เจ้าหน้าที่ทหารว่าจะสามารถสอบสวนและขยายผลอย่างไร
มีความเชื่อมโยงระหว่าง “หนุ่มสันกำแพง” กับ “หนุ่มมุสลิม” หรือไม่
ความเชื่อมโยงบนพื้นฐานของพยานและหลักฐานซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ทั้ง
ต่อศาลและต่อสาธารณะต่างหากที่ทรงความหมายเป็นอย่างสูง
สูงเพราะเป็น “ความจริง” และมิได้ “มโน”
กรอบแห่งรูปคดีและสถานการณ์ วางเพลิง วางระเบิด 17 จุด
ใน 7 จังหวัดทางภาคใต้จึงเริ่มมีความแจ่มชัด
ความแจ่มชัดนี้มาจากกระบวนการสอบสวน สืบสวน ของเจ้าหน้าที่
“ตำรวจ” และการแถลงอย่างเป็นระบบของเจ้าหน้าที่ “ตำรวจ”
มีแต่ยืนอยู่กับ “ความจริง” เท่านั้น ทุกอย่างจึงจะ “โปร่งใส”
http://www.matichon.co.th/news/252909
แนวโน้ม ระเบิด เอนไป ชายแดน ภาคใต้ หลักฐาน ตำรวจ ..... มติชนออนไลน์ .../sao..เหลือ..noi
ในที่สุด สถานการณ์วางเพลิง วางระเบิด 17 จุด ใน 7 จังหวัดภาคใต้
ซึ่งปรากฏขึ้นระหว่างวันที่ 11-12 สิงหาคม ก็เริ่มมีความแจ่มชัด
ถนนทุกสายมุ่งไปยัง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ไม่ว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ไม่ว่า พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
“พูด” ตรงกัน “ร้องเพลง” เดียวกัน
เพียงแต่ยืนยันว่า 1 เป็นการก่อวินาศกรรม มิได้เป็นการก่อการร้าย ขณะเดียวกัน
1 มิได้เป็นการขยายพื้นที่โดยกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
นั่นก็คือ มาแต่ “คน” มาแต่ “ระเบิด”
ในอีกด้านจึงเท่ากับอรรถาธิบายว่า เป็นเรื่องของ “ปัจเจก” มิได้เป็นเรื่องของ
“ขบวนการ” ไม่ว่าจะเป็นขบวนการพูโล ไม่ว่าจะเป็นขบวนการบีอาร์เอ็น
ทำไมต้องเน้นว่า “วินาศกรรม” มิใช่ “ก่อการร้าย”
น้ำเสียงตรงนี้ก็เหมือนกับสถานการณ์วางเพลิง วางระเบิดที่สุราษฎร์ธานีเมื่อปี 2558 บนพื้นฐาน
1 มิได้เป็นการประกาศหรือแสดงตัว และ 1 มิได้เป็นการขยายพื้นที่ปฏิบัติการ
บทสรุปเช่นนี้มาจาก “หลักฐาน” มาจาก “ความเป็นจริง”
เบื้องต้นจากสถานการณ์จังหวัดตรังอาจเกิดความไขว้เขวเพราะมองแต่จุด
จุดเดียวมิได้มองทั่วทั้งป่าและเจาะลงไปในต้นไม้แต่ละต้น
แต่เมื่อจับเอามา “ประสาน” และ “เชื่อมโยง”
เบาะแสที่ภูเก็ต เบาะแสที่พังงา เบาะแสที่สุราษฎร์ธานี เบาะแสที่ตรัง
เบาะแสที่นครศรีธรรมราช เบาะแสที่กระบี่ เบาะแสที่หัวหิน
1 ลายเซ็นชี้ไปยัง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ยิ่งกว่านั้น 1 ไม่ว่าจะจากการตรวจสอบวิธีการจุดชนวน
ไม่ว่าจะข้อสังเกตโดยผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือยี่ห้อซัมซุง ฮีโร่
ซื้อหามาได้จาก “มาเลเซีย” เท่านั้น ไม่มีแหล่งอื่น
เมื่อนำเอา “หลักฐาน” จากดีเอ็นเอที่ปรากฏในตัวระเบิดไปตรวจสอบกับ
ดีเอ็นเอของผู้ต้องสงสัยในอดีต ไม่ว่าจะจากกรณี อ.ตากใบ จ.นราธิวาส
ไม่ว่าจะเมื่อมีการมอบตัว ณ ค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี อ่านออกมาได้ตรงกัน
สามารถโยงยาวไปถึงการประท้วงครั้งใหญ่หลังปล้นปืนที่เจาะไอร้อง นราธิวาส
และการประท้วง ณ อ.ตากใบ นราธิวาส เมื่อปี 2547
มือระเบิดมีความเป็นมาอย่างไร เด่นชัด
ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นผ่านกระบวนการในทาง “นิติวิทยาศาสตร์”
สะท้อนความร่วมมืออย่างใกล้ชิด แนบแน่นจาก 2 ฝ่าย
1 ฝ่ายตำรวจ 1 ฝ่ายทหาร
ในเบื้องต้นอาจจะแลดูสะเปะสะปะไปบ้าง เห็นได้จากการชี้เบาะแสไปยัง
“หน่วยพิทักษ์ความปลอดภัยเฉพาะกิจ” เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ที่
อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช
แต่ความจริงกลับปรากฏว่าเป็นการหารือเรื่อง “กฐินพระราชทาน”
ในเบื้องต้นอาจจะแลดูอึกทึกครึกโครมไปบ้างเมื่อมีการจับ “นักเคลื่อนไหว”
ไม่ว่าจะที่ตรัง ไม่ว่าจะที่นครศรีธรรมราช ไม่ว่าจะที่ราชบุรี ไม่ว่าจะที่อ่างทอง
แต่ตำรวจยืนยันว่าไม่น่าจะเกี่ยวกับ “ระเบิด”
“ผู้ต้องสงสัยอันเกี่ยวกับระเบิดและการวางเพลิงมีเพียงคนเดียวเท่านั้น
คือ นายศักรินทร์ คฤหัสถ์ เป็นการจับตามหมายจับของศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช
และการใช้อำนาจตาม ม.44”
เป็นแถลงจาก พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา
คราวนี้ก็ต้องให้เวลาไม่ว่าจะเป็น 1 เจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่ว่าจะเป็น
1 เจ้าหน้าที่ทหารว่าจะสามารถสอบสวนและขยายผลอย่างไร
มีความเชื่อมโยงระหว่าง “หนุ่มสันกำแพง” กับ “หนุ่มมุสลิม” หรือไม่
ความเชื่อมโยงบนพื้นฐานของพยานและหลักฐานซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ทั้ง
ต่อศาลและต่อสาธารณะต่างหากที่ทรงความหมายเป็นอย่างสูง
สูงเพราะเป็น “ความจริง” และมิได้ “มโน”
กรอบแห่งรูปคดีและสถานการณ์ วางเพลิง วางระเบิด 17 จุด
ใน 7 จังหวัดทางภาคใต้จึงเริ่มมีความแจ่มชัด
ความแจ่มชัดนี้มาจากกระบวนการสอบสวน สืบสวน ของเจ้าหน้าที่
“ตำรวจ” และการแถลงอย่างเป็นระบบของเจ้าหน้าที่ “ตำรวจ”
มีแต่ยืนอยู่กับ “ความจริง” เท่านั้น ทุกอย่างจึงจะ “โปร่งใส”
http://www.matichon.co.th/news/252909