สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 14
ยุคนั้น หนึ่งในสิบมหาเศรษฐีโลก ก็คือเผ่า ศรียานนท์
หลังสฤษดิ์ยึดอำนาจ เผ่าก็เข้าพบสฤษดิ์ตามคำสั่ง ไปถึง ก็บอกสฤษดิ์ว่า "อั๊วมาแล้ว จะเอาไง"
สฤษดิ์บอกเผ่าก็มีทางเลือกสองทาง
หนึ่ง ถ้าอยู่ไทย ไม่ตายก็ติดคุก สอง ไปต่างประเทศ
เผ่าเลือกไปต่างประเทศ (ไปเสียชีวิตที่สวิสเซอร์แลนด์ในปี 2503 อายุ 51 ปี)
สฤษดิ์ ยึดอำนาจจากจอมพลแปลก ปลายปี 2500
ตั้งพจน์ สารสิน เป็นนายกฯในต้นปี 2501 จนถึงต้อนปี 2502 สฤษดิ์ก็ขึ้นเป็นนายกฯเอง
สฤษดิ์ ครองอำนาจถึงปลายปี 2506 ก็ป่วยตาย (อายุ 55 ปี)
หลังจากนั้น ก็มีเรื่องความรวยปรากฎ เพราะสารพัดเมีย ลูก ๆ แย่งสมบัติกัน
จนถนอม ที่สืบทอดอำนาจต่อจากสฤษดิ์ต้องสั่งยึดทรัพย์สฤษดิ์
ว่าก็ว่า ก็ยึดมากโข แต่ก็แค่เสี้ยวของที่โกงประเทศไป เพื่อหยุดกระแสโกงกินที่จะกระทบถึงตัวเองด้วย
ไม่ผิดหรอกครับ ที่มีคำพูดว่า การรัฐประหารไม่เคยทำให้ประเทศดีขึ้น
มีแต่ทำให้นายพลรวยขึ้น
หลังสฤษดิ์ยึดอำนาจ เผ่าก็เข้าพบสฤษดิ์ตามคำสั่ง ไปถึง ก็บอกสฤษดิ์ว่า "อั๊วมาแล้ว จะเอาไง"
สฤษดิ์บอกเผ่าก็มีทางเลือกสองทาง
หนึ่ง ถ้าอยู่ไทย ไม่ตายก็ติดคุก สอง ไปต่างประเทศ
เผ่าเลือกไปต่างประเทศ (ไปเสียชีวิตที่สวิสเซอร์แลนด์ในปี 2503 อายุ 51 ปี)
สฤษดิ์ ยึดอำนาจจากจอมพลแปลก ปลายปี 2500
ตั้งพจน์ สารสิน เป็นนายกฯในต้นปี 2501 จนถึงต้อนปี 2502 สฤษดิ์ก็ขึ้นเป็นนายกฯเอง
สฤษดิ์ ครองอำนาจถึงปลายปี 2506 ก็ป่วยตาย (อายุ 55 ปี)
หลังจากนั้น ก็มีเรื่องความรวยปรากฎ เพราะสารพัดเมีย ลูก ๆ แย่งสมบัติกัน
จนถนอม ที่สืบทอดอำนาจต่อจากสฤษดิ์ต้องสั่งยึดทรัพย์สฤษดิ์
ว่าก็ว่า ก็ยึดมากโข แต่ก็แค่เสี้ยวของที่โกงประเทศไป เพื่อหยุดกระแสโกงกินที่จะกระทบถึงตัวเองด้วย
ไม่ผิดหรอกครับ ที่มีคำพูดว่า การรัฐประหารไม่เคยทำให้ประเทศดีขึ้น
มีแต่ทำให้นายพลรวยขึ้น
ความคิดเห็นที่ 11
เห็นสิ่งที่เกิดขี้นในประเทศ ในระยะหลายปีนี้
ทำให้ผมอดคิดย้อนไปไม่ได้ ว่าแท้จริงแล้ว การเลือกตั้ง ในปี 2500 ครั้งนั้นสกปรกจริงหรือไม่?
เสียงส่วนใหญ่ของประชาชนได้ถูกบิดเบือนไปจริงหรือ?
หรือแค่ซ้ำรอยเดิมๆ
หรือนักศึกษา ที่ออกมาประท้วงการเลือกตั้งครานั้น ไม่ต่างอะไรกับสลิ่มหรือเหลืองสมัยนี้?
รับไม่ได้กับการเลือกตั้งที่ว่าสกปรก ออกมาประท้วงกันวุ่นวาย
พอได้รัฐบาลเผด็จการสฤษดิ์แทน เลือดรักชาติ ประชาธิปไตย ไม่พลุ่งพล่านกันแล้ว?
ทำให้ผมอดคิดย้อนไปไม่ได้ ว่าแท้จริงแล้ว การเลือกตั้ง ในปี 2500 ครั้งนั้นสกปรกจริงหรือไม่?
เสียงส่วนใหญ่ของประชาชนได้ถูกบิดเบือนไปจริงหรือ?
หรือแค่ซ้ำรอยเดิมๆ
หรือนักศึกษา ที่ออกมาประท้วงการเลือกตั้งครานั้น ไม่ต่างอะไรกับสลิ่มหรือเหลืองสมัยนี้?
รับไม่ได้กับการเลือกตั้งที่ว่าสกปรก ออกมาประท้วงกันวุ่นวาย
พอได้รัฐบาลเผด็จการสฤษดิ์แทน เลือดรักชาติ ประชาธิปไตย ไม่พลุ่งพล่านกันแล้ว?
ความคิดเห็นที่ 3
ต้องรู้ภูมิหลังจากการเมืองในสมัยนั้นด้วยครับ พลังอะไรกำลังสู้กับพลังอะไร
สิ่งเหล่านี้โรงเรียนไม่สอนครับ ถ้าอยากรู้ต้องหาศึกษาเอาเอง
- จอมพล ป. เป็นนายก แต่ไม่ได้มีกำลังในมือแล้ว การรัฐประหารปี 2490-91 ปิดฉากบทบาทของคณะราษฎร ดูเหมือนว่า จอมพล ป.เป็นคณะราษฎรคนเดียวที่ยังมีอำนาจอยู่ แต่ก็ด้วยสถานะที่เปลี่ยนไป จอมพล ป.ไม่ได้คุมกำลังแล้ว แต่ศักยภาพทางการรบอยู่ที่ สฤษดิ์ (ทหาร) และเผ่า (ตำรวจ) ทหารและตำรวจสมัยนั้นได้รับการสนับสนุนอาวุธหนักจากสหรัฐทั้งคู่ (เตรียมสู้คอมมิวนิสต์) จอมพล ป. จึงเหมือนเป็นคนกลางที่คานอำนาจระหว่าง 2 กำลัง ซึ่งช่วงปลายๆรัฐบาล ดูเหมือนว่าจะเอียงไปทางเผ่ามากกว่า
ในบทความกล่าวว่าจอมพล ป. ตั้งสฤษดิ์เป็นผู้บัญชาการฝ่ายทหาร ถูกต้องเลยครับ และมีเหตุการณ์ต่อจากนั้นอีก คือสฤษดิ์ไปขึ้นเวทีนักศึกษา ปราศรัยว่าการเลือกตั้งมีการทุจริตจริง จากผู้ร้ายฝ่ายรัฐบาลกลายเป็นวีรบุรุษประชาธิปไตยได้ในพริบตา ต่อมาสฤษดิ์ก็นำการรัฐประหาร จากการเลือกตั้ง (ที่ถูกกล่าวหาว่าสกปรก) ไปสู่ระบอบเผด็จการ ที่ไร้การเลือกตั้ง ไร้รัฐธรรมนูญยาวนานกว่า 10 ปี
หลังจากนั้นไม่กี่ปี จอมพลสฤษดิ์เสียชีวิตในตำแหน่ง บรรดาภรรเมียถึงทำให้เรื่องแดงว่าสฤษดิ์รวยเป็นพันล้าน ลองนึกถึงค่าของเงินพันล้านสมัยนั้น มันจะเทียบเป็นกี่พันกี่หมื่นล้านในปัจจุบัน มีวิธีไหนที่ ทหาร จะได้เงินนี้มาโดยสุจริต เรื่องของวีรบุรุษก็จบลงด้วยประการฉะนี้ ส่วนจอมพล ป. ผมไม่คุ้นว่าแกรวยนะ
สิ่งเหล่านี้โรงเรียนไม่สอนครับ ถ้าอยากรู้ต้องหาศึกษาเอาเอง
- จอมพล ป. เป็นนายก แต่ไม่ได้มีกำลังในมือแล้ว การรัฐประหารปี 2490-91 ปิดฉากบทบาทของคณะราษฎร ดูเหมือนว่า จอมพล ป.เป็นคณะราษฎรคนเดียวที่ยังมีอำนาจอยู่ แต่ก็ด้วยสถานะที่เปลี่ยนไป จอมพล ป.ไม่ได้คุมกำลังแล้ว แต่ศักยภาพทางการรบอยู่ที่ สฤษดิ์ (ทหาร) และเผ่า (ตำรวจ) ทหารและตำรวจสมัยนั้นได้รับการสนับสนุนอาวุธหนักจากสหรัฐทั้งคู่ (เตรียมสู้คอมมิวนิสต์) จอมพล ป. จึงเหมือนเป็นคนกลางที่คานอำนาจระหว่าง 2 กำลัง ซึ่งช่วงปลายๆรัฐบาล ดูเหมือนว่าจะเอียงไปทางเผ่ามากกว่า
ในบทความกล่าวว่าจอมพล ป. ตั้งสฤษดิ์เป็นผู้บัญชาการฝ่ายทหาร ถูกต้องเลยครับ และมีเหตุการณ์ต่อจากนั้นอีก คือสฤษดิ์ไปขึ้นเวทีนักศึกษา ปราศรัยว่าการเลือกตั้งมีการทุจริตจริง จากผู้ร้ายฝ่ายรัฐบาลกลายเป็นวีรบุรุษประชาธิปไตยได้ในพริบตา ต่อมาสฤษดิ์ก็นำการรัฐประหาร จากการเลือกตั้ง (ที่ถูกกล่าวหาว่าสกปรก) ไปสู่ระบอบเผด็จการ ที่ไร้การเลือกตั้ง ไร้รัฐธรรมนูญยาวนานกว่า 10 ปี
หลังจากนั้นไม่กี่ปี จอมพลสฤษดิ์เสียชีวิตในตำแหน่ง บรรดาภรรเมียถึงทำให้เรื่องแดงว่าสฤษดิ์รวยเป็นพันล้าน ลองนึกถึงค่าของเงินพันล้านสมัยนั้น มันจะเทียบเป็นกี่พันกี่หมื่นล้านในปัจจุบัน มีวิธีไหนที่ ทหาร จะได้เงินนี้มาโดยสุจริต เรื่องของวีรบุรุษก็จบลงด้วยประการฉะนี้ ส่วนจอมพล ป. ผมไม่คุ้นว่าแกรวยนะ
แสดงความคิดเห็น
การเลือกตั้งสกปรก เกร็ดประวัติศาสตร์เล็กๆจากละครขมิ้นกับปูน
หลังจากได้ชมละครโทรทัศน์เรื่องขมิ้นกับปูนทำให้มีความอยากรู้ว่าการเลือกตั้งที่กล่าวถึงในละคร หรือในนวนิยาย ขมิ้นกับปูนของ จุลลดา ภักดีภูมินทร์ก็ดีนั้นหมายถึงการเลือกตั้งสกปรก 26 กุมถาพันธ์ 2500 อย่างที่เข้าใจหรือไม่เพราะในละครได้พูดถึงการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรที่จะให้คุณพระบุตรชายของพระยาอภิบาลบำรุงลงเลือกตั้งด้วยและเมื่อเลือกตั้งแพ้หรือสอบตก ปวีณาหลานสาวของเจ้าคุณอภิบาลได้ออกไปประท้วงด้วยร่วมกับบรรดานิสิตนักศึกษาประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งในครั้งนั้นเพราะว่าการเลือกตั้งมีความไม่โปร่งใส อันนำมาซึ่งความสงสัยต่อคนทั่วไปว่ามีการทุจริตมีไพ่ไฟหรือไม่ จะมาดูสิว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในครั้นนั้นจนนำไปสู่การเลือกตั้งที่หลายคนมองว่าสกปรกนั้นมีที่มาอย่างไรและบทสรุปสุดท้ายนั้นลงเอยอย่างไร
ตามข้อมูลทั่วไปที่ปรากฏนั้นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เกิดขึ้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 นั้นเป็นการเลือกตั้งทั่วไปที่เกิดขึ้นครั้งที่9 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งหลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดตามวาระ ซึ่งอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญพ.ศ.2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2495 โดยรัฐบาลจอมพลแปลกได้ประการให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันดังกล่าว ก่อนหน้าที่จะเลือกตั้งจอมพลแปลกได้ประการจะให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ ถวายเป็นพุทธบูชาเนื่องในโอกาสครบกึ่งพุทธกาลแต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง
การเลือกครั้งนี้ได้สร้างความตื่นตัวให้แก่ประชาชนไม่น้อยเกิดการสื่อสารจากมวลชนอย่างกว้างขวาง ส่วนหนึ่งนั้นเป็นผลมาจากการเดินทางเยือนต่างประเทศของจอมพลแปลก โดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐอเมริกาปีพ.ศ.2498 แล้วประทับใจในการปกครองแบบรัฐสภาที่มีความเป็นประชาธิปไตยของโลกเสรีจึงต้องการให้ประเทศเป็นเสรีมากขึ้น การพยายามเปิดกว้างทางการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง มีการพบผู้สื่อข่าวของรัฐบาล การเปิดให้มีการ “ไฮปาร์ค” ที่สนามหลวงเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง การพูดแบบไฮปาร์คนั้นมีต้นแบบมาจากลอนดอน อังกฤษ ซึ่งจัดทำขึ้นที่สวนสาธารณะสามารถทำได้ตราบใดที่ไม่มีการหมิ่นประมาทหรือ ยุยงทำให้ประชาชนกลายเป็นกบฎ รอง ศยามานนท์เล่าไว้อย่างน่าสนใจว่าการไฮปาร์คที่ลอนดอนนั้นเป็นการพูดอยู่ในขอบข่ายของกฎหมาย เช่น เมื่อพูดถึงสมาชิกสภาสามัญเมื่อเลือกตั้งจะมาเอาอกเอาใจประชาชน แต่เมื่อได้เป็นสมาชิกแล้วก็จะทำตัวเหินห่างประชาชน เป็นต้น ผิดกับการไฮปาร์คที่สนามหลวง กลับกลายเป็นการโจมตีรัฐบาลบ้าง เป็นการสาดโคลนทางการเมือง บางวันเกิดเหตุการณ์วุ่นวายถึงกับนองเลือดเอาก้อนหินก้อนอิฐปาใส่ผู้คนบนหลังคารถยนต์ ยิ่งไปกว่านั้นคือแทงกัน
เมื่อใกล้วันเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรรัฐบาลของจอมพลแปลก พิบูลสงครามได้จัดการตราพระราชบัญญัติพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2498 อนุญาตให้ประชาชนชาวไทยรวบรวมกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองได้ จากการจดตั้งพรรคการเมืองในครั้งนั้นมีมากถึง 30 พรรคการเมือง โดยมีพรรคที่ใหญ่คือพรรคเสรีมนังคศิลาซึ่งมีจอมพลแปลก พิบูลสงครามเป็นหัวหน้าพรรคและพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์เป็นเลขาธิการกล่าวได้ว่าเป็นพรรคการเมืองของคณะรัฐประหาร นอกจากพรรคการเมืองนี้ยังมีพรรคประชาธิปัตย์มี นายควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าและนายใหญ่ ศวิตชาติเป็นเลขาธิการพรรค
วันเลือกตั้งก็มาถึงการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งรวมเขตของแต่ละจังหวัด โดยพรรคเสรีมนังคศิลาชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้ 160 คน สมาชิกพรรคเสรีมนังคศิลาได้รับเลือกเข้าไปในสภาในจำนวนผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 83 คน เป็นเสียงข้างมากในสภา มีพรรคประชาธิปัตย์ได้ไป 28 คน และพรรคอื่นลดลั้นกันไป
แต่......ประชาชนกลับประณามการเลือกตั้งครั้งนี้ว่าเป็นการเลือกตั้งสกปรก ไม่บริสุทธิ์บ้าง ไม่โปร่งใสบ้าง อาจจะเพราะการนับคะแนนที่ล่าช้าในจังหวัดพระนคร ต้องใช้เวลากันไปสองวันสองคืน มีไฟดับตอนกลางคืนก็มีสิ่งที่เรียกว่าไพ่ไฟ (บัตรเลือกตั้งปลอมโผล่มา) ย้อนกลับไปก่อนการเลือกตั้งทั่วไปจะเกิดขึ้นมีการร้องเรียนการทุจริตเกิดขึ้นโดยมีนายใหญ่ ศวิตชาติผู้รับสมัครเลือกตั้งฟ้องร้องพระรามราชภักดีปลัดกระทรวงมหาดไทยขณะนั้นไปปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบวางตัวไปเป็นกลางการเลือกตั้งจากการหาเสียงให้ที่ประชุมใหญ่ข้าราชการกำนันผู้ใหญ่บ้านที่จังหวัดนครสวรรค์ว่า “บ้านเมืองจะเจริญได้ท่านต้องเลือกพรรคเสรีมนังคศิลา” มีการคุกคามผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์เอาอุจจาระไปป้ายตามประตูบ้าน แจกใบปลิวประณามผู้สมัครของพรรค เป็นต้น แต่ปัญหาใหญ่ ณ ตอนนั้นน่าจะเป็นการทุจริตที่เกิดขึ้นมากกว่าที่ประชาชนยอมรับไม่ได้ และยิ่งข่าวไพ่ไฟเกลื่อนยิ่งทำให้ยอมรับการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ได้
เมื่อผลการเลือกตั้งออกปรากฏว่าประชาชนไม่ยอมรับ โดยเฉพาะในหมู่นิสิตนักศึกษา ได้มีการรวมตัวกันของนิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาลัยเทคนิครวมทั้งประชาชนที่ไม่เห็นด้วยออกมาประท้วง
รัฐบาลออกแถลงการณ์โดยสรุปได้ว่ามีคณะบุคคลได้รับการสนับสนุนจากต่างชาติก่อความไม่สงบเพื่อฉวยโอกาสยึดประเทศจนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในแถลงการณ์ฉบับที่สามนี้เองที่คณะรัฐมนตรีให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ผู้บัญชาการฝ่ายทหารรับผิดชอบโดยมีเป้าหมายป้องกันการเดินขบวนของนักศึกษาและประชาชน
ผลสำคัญจากการโกงการเลือกตั้งที่ได้ชื่อว่าการเลือกตั้งสกปรก คือการประท้วงจากเหล่าผู้ไม่เห็นด้วยกระตุ้นให้เกิดความแตกแยกภายในกลุ่มผู้มีอำนาจทางการเมืองจนท้ายที่สุดทำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยกลุ่มนายทหารถายใต้การนำของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ใช้กำลังทหารเข้ายึดอำนาจรัฐบาลในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2500 ล้มการเลือกตั้งนอกอำนาจระบอบประชาธิปไตยทำให้ประเทศไทยอยู่ภายใต้การปกครองแบบนี้ไปอีกหลายสิบปี
จนเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516
อ้างอิงจาก ชาติชาย มุกสง
รอง ศยามานนท์