คอมมิวนิสต์ในประเทศไทย
ประเทศสยามเริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์ตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 7 โดยแก้ไขกฎหมายลักษณะอาญาให้ "การสั่งสอนทฤษฎีการเมืองหรือเศรษฐกิจเพื่อให้บังเกิดความเกลียดชังดูหมิ่นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือเกิดความเกลียดชังระหว่างชนชั้น" เป็นความผิด ปัญหาภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ค่อยรุนแรงขึ้นเป็นลำดับและหมดไปแล้วในปัจจุบัน หลังการยกเลิกกฎหมายเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์ใน พ.ศ. 2543
ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 มาตรา 104 โดย พระราชบัญญัติแก้ไขกฎหมายลักษณอาญา พ.ศ. 2470 ให้เพิ่ม "การสั่งสอนทฤษฎีการเมืองหรือเศรษฐกิจเพื่อให้บังเกิดความเกลียดชังดูหมิ่นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือเกิดความเกลียดชังระหว่างชนชั้น" เป็นความผิด มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งต่อมาได้ถูกยกเลิกไปโดยการประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499
"สมุดปกเหลือง" พ.ศ. 2476-2489
15 มีนาคม พ.ศ. 2476 สมัยรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ปรีดี พนมยงค์ หนึ่งในคณะราษฎร ได้เสนอเค้าโครงเศรษฐกิจที่มีการปฏิรูปที่ดินและรัฐสวัสดิการแก่ประชาชน หรือที่เรียกกันว่า "สมุดปกเหลือง" มีผู้วิจารณ์อย่างกว้างขวางและกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ เกิดความแตกแยกในสภา รัฐบาลจึงกำหนดให้ปิดสภา งดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา และยังได้มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์ขึ้นเป็นฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476 จนปรีดีต้องลี้ภัยออกนอกประเทศเมื่อ 12 เมษายน พ.ศ. 2476[1] ภายหลังรัฐประหารโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2476 จึงได้เชิญปรีดีกลับมา ตั้งกรรมการสอบสวน และให้ปรีดีพ้นผิด ปรีดีปฏิเสธเสมอว่าตนเองไม่ใช่คอมมิวนิสต์แต่เป็น "radical socialist" (นักสังคมนิยมหัวรุนแรง)
ได้มีการปรับแก้กฎหมายคอมมิวนิสต์ฉบับนี้อีกครั้งในปี พ.ศ. 2478 และได้ยกเลิกไปในสมัยรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เมื่อ 29 ตุลาคม 2489[2]
วันเสียงปืนแตก
วันเสียงปืนแตก คือ วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2508[3] ซึ่งเป็นวันที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยใช้อาวุธโจมตีกองกำลังรัฐบาลไทยเป็นครั้งแรก กองกำลังของพรรคได้เรียกตนเองว่า กองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย (ทปท.) เหตุเกิดที่ บ้านนาบัว ตำบลเรณูนคร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ทั้งนี้ได้ประกาศยุทธศาสตร์ "ต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ ใช้ชนบทล้อมเมือง และยึดเมือง" หลังจากวันเสียงปืนแตก พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยก็ต่อสู้ด้วยอาวุธกับรัฐบาลไทยมาตลอด จนกระทั่งปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลยื่นข้อเสนอและเจรจา เลิกต่อสู้กันด้วยอาวุธ ให้มาต่อสู้กันทางรัฐสภาแทน[4][5][6]
เป็นบทความบางช่วงบางตอนจาก
https://th.m.wikipedia.org/wiki/คอมมิวนิสต์ในประเทศไทย
ประวัติศาสตร์ ย้อนกลับไปแก้ไขไม่ได้
แต่การศึกษาประวัติศาสตร์ ย่อมทำให้เข้าใจสถาณการณ์ ปัจจุบันได้ดีขึ้นเสมอ
75 ปีผ่านไปประวัติศาสตร์ย่อมซ้ำรอย.
ประเทศสยามเริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์ตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 7 โดยแก้ไขกฎหมายลักษณะอาญาให้ "การสั่งสอนทฤษฎีการเมืองหรือเศรษฐกิจเพื่อให้บังเกิดความเกลียดชังดูหมิ่นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือเกิดความเกลียดชังระหว่างชนชั้น" เป็นความผิด ปัญหาภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ค่อยรุนแรงขึ้นเป็นลำดับและหมดไปแล้วในปัจจุบัน หลังการยกเลิกกฎหมายเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์ใน พ.ศ. 2543
ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 มาตรา 104 โดย พระราชบัญญัติแก้ไขกฎหมายลักษณอาญา พ.ศ. 2470 ให้เพิ่ม "การสั่งสอนทฤษฎีการเมืองหรือเศรษฐกิจเพื่อให้บังเกิดความเกลียดชังดูหมิ่นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือเกิดความเกลียดชังระหว่างชนชั้น" เป็นความผิด มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งต่อมาได้ถูกยกเลิกไปโดยการประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499
"สมุดปกเหลือง" พ.ศ. 2476-2489
15 มีนาคม พ.ศ. 2476 สมัยรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ปรีดี พนมยงค์ หนึ่งในคณะราษฎร ได้เสนอเค้าโครงเศรษฐกิจที่มีการปฏิรูปที่ดินและรัฐสวัสดิการแก่ประชาชน หรือที่เรียกกันว่า "สมุดปกเหลือง" มีผู้วิจารณ์อย่างกว้างขวางและกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ เกิดความแตกแยกในสภา รัฐบาลจึงกำหนดให้ปิดสภา งดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา และยังได้มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์ขึ้นเป็นฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476 จนปรีดีต้องลี้ภัยออกนอกประเทศเมื่อ 12 เมษายน พ.ศ. 2476[1] ภายหลังรัฐประหารโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2476 จึงได้เชิญปรีดีกลับมา ตั้งกรรมการสอบสวน และให้ปรีดีพ้นผิด ปรีดีปฏิเสธเสมอว่าตนเองไม่ใช่คอมมิวนิสต์แต่เป็น "radical socialist" (นักสังคมนิยมหัวรุนแรง)
ได้มีการปรับแก้กฎหมายคอมมิวนิสต์ฉบับนี้อีกครั้งในปี พ.ศ. 2478 และได้ยกเลิกไปในสมัยรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เมื่อ 29 ตุลาคม 2489[2]
วันเสียงปืนแตก
วันเสียงปืนแตก คือ วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2508[3] ซึ่งเป็นวันที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยใช้อาวุธโจมตีกองกำลังรัฐบาลไทยเป็นครั้งแรก กองกำลังของพรรคได้เรียกตนเองว่า กองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย (ทปท.) เหตุเกิดที่ บ้านนาบัว ตำบลเรณูนคร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ทั้งนี้ได้ประกาศยุทธศาสตร์ "ต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ ใช้ชนบทล้อมเมือง และยึดเมือง" หลังจากวันเสียงปืนแตก พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยก็ต่อสู้ด้วยอาวุธกับรัฐบาลไทยมาตลอด จนกระทั่งปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลยื่นข้อเสนอและเจรจา เลิกต่อสู้กันด้วยอาวุธ ให้มาต่อสู้กันทางรัฐสภาแทน[4][5][6]
เป็นบทความบางช่วงบางตอนจาก
https://th.m.wikipedia.org/wiki/คอมมิวนิสต์ในประเทศไทย
ประวัติศาสตร์ ย้อนกลับไปแก้ไขไม่ได้
แต่การศึกษาประวัติศาสตร์ ย่อมทำให้เข้าใจสถาณการณ์ ปัจจุบันได้ดีขึ้นเสมอ