ยาวมากนะคะ ถ้าขี้เกียจอ่าน ผ่านไปเลยค่ะ ไม่ว่ากัน ^^
ชอบเรื่องนี้ และชอบบทละครมาก คิดได้หลายประเด็นเลยเขียนออกมาค่ะ
จากที่เคยตั้งกระทู้เปรียบเทียบบทประพันธ์ต้นฉบับกับบทละครโทรทัศน์ ว่าด้วยเรื่องของการตีความคาร์แรคเตอร์ และความสัมพันธ์ของตัวละคร ว่ามีจุดที่เหมือน จุดที่ต่างในประเด็นอะไรบ้าง และประเด็นเหล่านั้น ส่งผลต่อการดำเนินเรื่อง และการนำผู้ชมไปสู่บทสรุปอย่างไรที่ต่างจากนิยาย
http://ppantip.com/topic/35421900
ถึงวันนี้บทละครโทรทัศน์มีให้อ่านจนจบเรื่องโดยสมบูรณ์แล้ว เลยอยากจะลองนำมาวิเคราะห์กันอีกสักครั้ง ว่าบทละครหาเหตุผลและหาทางออกให้กับตัวละครแต่ละตัวอย่างไรบ้าง เพื่อทำให้เรื่องราวสมบูรณ์ที่สุด
คุณอุบล
อันนี้เคลียร์มากๆว่าทีมเขียนบทให้ความสำคัญกับตัวละครนี้มากที่สุด เพราะเป็นตัวเดินเรื่อง เรื่องราวทั้งหมดถูกเล่ามาจากทางฝั่งคุณอุบล จึงเอาคุณอุบลขึ้นต้น แล้วพัฒนาตัวละครนี้จนสมบูรณ์ที่สุด โดยนำตัวละครอื่นและเหตุการณ์แวดล้อมอื่นๆมาสนับสนุนคุณอุบล จนทำให้ปมความแค้นและแรงผลักดันที่ต้องการแก้แค้นของคุณอุบล มีน้ำหนักและสมเหตุสมผลยิ่งกว่าในนิยาย
ในความเข้าใจของอุบล “พระอรรคฆ่าอุบลอย่างเหี้ยมโหด ไม่สมควรให้อภัย ต้องมาชดใช้ให้กับทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำไว้กับเธอ เขาฆ่าเมียตัวเองได้อย่างเลือดเย็น เพราะ…”
1. พระอรรคไม่ได้รักอุบลจริง ได้มาแล้วก็ไม่ดูแลถนอมน้ำใจ สุดท้ายก็เบื่อและทิ้งขว้าง
เพื่อให้ได้ความรู้สึกนี้ของอุบล ทีมบทจึงวางคาร์แรคเตอร์ของพระอรรค ให้เป็นผู้ชายที่เด็ดขาด ดุ มีความอดทนต่ำ ถนัดออกคำสั่งมากกว่าอธิบาย ไม่ชอบเรื่องที่อ่อนไหว ไม่ชอบการแสดงความอ่อนแอ ไม่ว่าจะรัก จะสงสารเห็นใจ สิ่งที่รู้สึกกับสิ่งที่แสดงออกตรงกันข้ามเสมอ ผู้เขียนบทวางคาร์แรคเตอร์นี้ให้กับคุณพระเพื่อส่งเสริมเหตุผลของอุบลข้างต้น ว่าคุณพระไม่รักตัวเองจริง สิ่งที่อุบลเห็น (และคนทั่วไปเห็น) คือ คุณพระหงุดหงิดง่ายเมื่อยู่กับเธอ เธอไม่ค่อยจะทำอะไรได้ถูกใจคุณพระ ความเป็นห่วงของเธอ ความรักความเอาใจใส่ของเธอที่มีต่อคุณพระ หลายครั้งถูกมองว่าเป็นเรื่องน่ารำคาญ ยิ่งในช่วงหลังที่โหมงานขุดอุโมงค์ และมีผู้หญิงอื่นเข้ามา คุณพระไม่มีเวลาให้เธอเลย และยิ่งอารมณ์เสียกับเธอบ่อยขึ้น จนอาจจะมองได้ว่าคุณพระจืดจางความรักที่มีต่อเธอแล้ว คนรักกันจะฆ่ากันได้หรือ ดังนั้นต้องไม่รักสิจึงฆ่า นี่คือความเข้าใจของอุบล
2. พระอรรคมีคนอื่น รักผู้หญิงอื่นยิ่งกว่าเมีย จนถึงขั้นจะกำจัดเธอเพื่อไปอยู่กับผู้หญิงคนนั้น
ตัวละครทิพย์ในแบบของละคร ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเสริมเหตุผลของอุบลในข้อนี้เช่นกัน ทิพย์ถูกเขียนบทให้ภักดีต่อคุณพระ สนิทกันมาแต่เล็กแต่น้อย จนกระทั่งคุณพระแต่งงาน ทิพย์ก็ยังมีบทบาทอยู่ในชีวิตของคุณพระและอุบล ไม่ว่าคุณพระจะทำอะไร ทิพย์มักจะได้มีส่วนร่วมเป็นคู่คิดเสมอ ในขณะที่อุบลถูกกันออกจากทุกเรื่อง ความสัมพันธ์แบบนี้เองที่ทำให้เกิดเรื่องเข้าใจผิด ในเมื่อทิพย์นั้นรักคุณพระ ซึ่งอุบลก็คงจะดูออก พอมาบวกกับพฤติกรรมที่ให้ความสนิทสนมของคุณพระ เปรียบเทียบกับพฤติกรรมที่ติดจะเย็นชา ห่างเหินที่มีต่อเธอซึ่งเป็นเมีย ก็จึงทำให้เกิดความคลางแคลงสงสัยในความสัมพันธ์ของทั้งคู่ จนมาถึงจุดไคล์แมกซ์ของเรื่องที่คุณพระมาพาอุบลไปฆ่าให้เฝ้าสมบัติ แต่อุบลเข้าใจผิดว่าจะกำจัดเธอ เพื่อไปเสวยสุขกับทิพย์ จึงยิ่งทวีความแค้นมาจากข้อแรก ฆ่าเพราะไม่รักก็ว่าเลวร้ายพอแล้ว แต่ฆ่าเพราะจะกำจัดเสี้ยนหนามขวางทางรักใหม่ มันเลวยิ่งกว่า
3. แม้ในชาติใหม่ยังติดตามมาคู่กัน
ทิพอาภาในชาตินี้เป็นคู่หมั้นกับอัคนี ไม่เฉพาะทิพอาภาที่รักอัคนี แต่อัคนีก็ปฏิบัติตนต่อทิพอาภาเฉกเช่นคู่รัก ยิ่งตอกย้ำความเชื่อให้อุบลเห็นว่า เขารักกันมาก เป็นชู้กัน ลวงเธอไปฆ่า เพื่อหวังจะเสวยสุขด้วยกัน แม้จะตายตกตามกันไปในชาติก่อน ยังตามมารักกันต่อในชาตินี้ ดังนั้นอุบลจึงมีเหตุผลที่จะโกรธแค้นคนทั้งสองไปพร้อมๆกัน พฤติกรรมของสโรชินี ในการพูดประชดประชัน เหยียดหยามดูถูกทั้งอัคนีและทิพอาภา กิริยาที่แสดงออกทุกอย่าง จึงเข้าใจได้ทั้งหมด และมีเหตุผลที่จะลากเอาทิพอาภาเข้ามาร่วมในการพิพากษาครั้งนี้ด้วย เนื่องจากเธอก็เป็นจำเลยคนหนึ่ง ที่สมรู้ร่วมคิดกับพระอรรค ลวงอุบลไปฆ่าด้วยเช่นกัน
ทั้งหมดนี้ทำให้อุบลมีความชอบธรรมทุกประการ ที่จะเป็นวิญญาณที่อาฆาตพยาบาท ขอโอกาสจากพระยายม ให้มีกายทิพย์เป็นมนุษย์ในนามสโรชินี เพื่อมาฟื้นความทรงจำให้กับอัคนี ให้สำนึกรู้ในความผิดที่ทำต่อเธอเอาไว้ในอดีต พร้อมกับแก้แค้นทิพอาภาไปพร้อมๆกัน แต่เมื่ออัคนีได้เฉลยความจริงในตอนท้ายว่าอุบลเข้าใจผิดเรื่องพระะอรรคกับทิพย์ อุบลจึงได้ให้อภัยอัคนีในที่สุด บทของอุบลทำให้ตัวละครนี้เป็นตัวละครที่มีเหตุผล มีที่มาที่ไปที่หนักแน่น ทำให้คนดูร่วมรู้สึกไปกับตัวละครนี้ในทุกฉากทุกตอน เรียกได้ว่าสำหรับละครพิษสวาท 2559 อุบล และสโรชินี เป็นตัวละครที่สมบูรณ์ที่สุดค่ะ
พิษสวาท วิเคราะห์บทละครโทรทัศน์ การให้เหตุผลและหาทางออกให้ตัวละคร (สปอยล์ทุกสิ่งทุกอย่างค่ะ)
ชอบเรื่องนี้ และชอบบทละครมาก คิดได้หลายประเด็นเลยเขียนออกมาค่ะ
จากที่เคยตั้งกระทู้เปรียบเทียบบทประพันธ์ต้นฉบับกับบทละครโทรทัศน์ ว่าด้วยเรื่องของการตีความคาร์แรคเตอร์ และความสัมพันธ์ของตัวละคร ว่ามีจุดที่เหมือน จุดที่ต่างในประเด็นอะไรบ้าง และประเด็นเหล่านั้น ส่งผลต่อการดำเนินเรื่อง และการนำผู้ชมไปสู่บทสรุปอย่างไรที่ต่างจากนิยาย
http://ppantip.com/topic/35421900
ถึงวันนี้บทละครโทรทัศน์มีให้อ่านจนจบเรื่องโดยสมบูรณ์แล้ว เลยอยากจะลองนำมาวิเคราะห์กันอีกสักครั้ง ว่าบทละครหาเหตุผลและหาทางออกให้กับตัวละครแต่ละตัวอย่างไรบ้าง เพื่อทำให้เรื่องราวสมบูรณ์ที่สุด
คุณอุบล
อันนี้เคลียร์มากๆว่าทีมเขียนบทให้ความสำคัญกับตัวละครนี้มากที่สุด เพราะเป็นตัวเดินเรื่อง เรื่องราวทั้งหมดถูกเล่ามาจากทางฝั่งคุณอุบล จึงเอาคุณอุบลขึ้นต้น แล้วพัฒนาตัวละครนี้จนสมบูรณ์ที่สุด โดยนำตัวละครอื่นและเหตุการณ์แวดล้อมอื่นๆมาสนับสนุนคุณอุบล จนทำให้ปมความแค้นและแรงผลักดันที่ต้องการแก้แค้นของคุณอุบล มีน้ำหนักและสมเหตุสมผลยิ่งกว่าในนิยาย
ในความเข้าใจของอุบล “พระอรรคฆ่าอุบลอย่างเหี้ยมโหด ไม่สมควรให้อภัย ต้องมาชดใช้ให้กับทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำไว้กับเธอ เขาฆ่าเมียตัวเองได้อย่างเลือดเย็น เพราะ…”
1. พระอรรคไม่ได้รักอุบลจริง ได้มาแล้วก็ไม่ดูแลถนอมน้ำใจ สุดท้ายก็เบื่อและทิ้งขว้าง
เพื่อให้ได้ความรู้สึกนี้ของอุบล ทีมบทจึงวางคาร์แรคเตอร์ของพระอรรค ให้เป็นผู้ชายที่เด็ดขาด ดุ มีความอดทนต่ำ ถนัดออกคำสั่งมากกว่าอธิบาย ไม่ชอบเรื่องที่อ่อนไหว ไม่ชอบการแสดงความอ่อนแอ ไม่ว่าจะรัก จะสงสารเห็นใจ สิ่งที่รู้สึกกับสิ่งที่แสดงออกตรงกันข้ามเสมอ ผู้เขียนบทวางคาร์แรคเตอร์นี้ให้กับคุณพระเพื่อส่งเสริมเหตุผลของอุบลข้างต้น ว่าคุณพระไม่รักตัวเองจริง สิ่งที่อุบลเห็น (และคนทั่วไปเห็น) คือ คุณพระหงุดหงิดง่ายเมื่อยู่กับเธอ เธอไม่ค่อยจะทำอะไรได้ถูกใจคุณพระ ความเป็นห่วงของเธอ ความรักความเอาใจใส่ของเธอที่มีต่อคุณพระ หลายครั้งถูกมองว่าเป็นเรื่องน่ารำคาญ ยิ่งในช่วงหลังที่โหมงานขุดอุโมงค์ และมีผู้หญิงอื่นเข้ามา คุณพระไม่มีเวลาให้เธอเลย และยิ่งอารมณ์เสียกับเธอบ่อยขึ้น จนอาจจะมองได้ว่าคุณพระจืดจางความรักที่มีต่อเธอแล้ว คนรักกันจะฆ่ากันได้หรือ ดังนั้นต้องไม่รักสิจึงฆ่า นี่คือความเข้าใจของอุบล
2. พระอรรคมีคนอื่น รักผู้หญิงอื่นยิ่งกว่าเมีย จนถึงขั้นจะกำจัดเธอเพื่อไปอยู่กับผู้หญิงคนนั้น
ตัวละครทิพย์ในแบบของละคร ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเสริมเหตุผลของอุบลในข้อนี้เช่นกัน ทิพย์ถูกเขียนบทให้ภักดีต่อคุณพระ สนิทกันมาแต่เล็กแต่น้อย จนกระทั่งคุณพระแต่งงาน ทิพย์ก็ยังมีบทบาทอยู่ในชีวิตของคุณพระและอุบล ไม่ว่าคุณพระจะทำอะไร ทิพย์มักจะได้มีส่วนร่วมเป็นคู่คิดเสมอ ในขณะที่อุบลถูกกันออกจากทุกเรื่อง ความสัมพันธ์แบบนี้เองที่ทำให้เกิดเรื่องเข้าใจผิด ในเมื่อทิพย์นั้นรักคุณพระ ซึ่งอุบลก็คงจะดูออก พอมาบวกกับพฤติกรรมที่ให้ความสนิทสนมของคุณพระ เปรียบเทียบกับพฤติกรรมที่ติดจะเย็นชา ห่างเหินที่มีต่อเธอซึ่งเป็นเมีย ก็จึงทำให้เกิดความคลางแคลงสงสัยในความสัมพันธ์ของทั้งคู่ จนมาถึงจุดไคล์แมกซ์ของเรื่องที่คุณพระมาพาอุบลไปฆ่าให้เฝ้าสมบัติ แต่อุบลเข้าใจผิดว่าจะกำจัดเธอ เพื่อไปเสวยสุขกับทิพย์ จึงยิ่งทวีความแค้นมาจากข้อแรก ฆ่าเพราะไม่รักก็ว่าเลวร้ายพอแล้ว แต่ฆ่าเพราะจะกำจัดเสี้ยนหนามขวางทางรักใหม่ มันเลวยิ่งกว่า
3. แม้ในชาติใหม่ยังติดตามมาคู่กัน
ทิพอาภาในชาตินี้เป็นคู่หมั้นกับอัคนี ไม่เฉพาะทิพอาภาที่รักอัคนี แต่อัคนีก็ปฏิบัติตนต่อทิพอาภาเฉกเช่นคู่รัก ยิ่งตอกย้ำความเชื่อให้อุบลเห็นว่า เขารักกันมาก เป็นชู้กัน ลวงเธอไปฆ่า เพื่อหวังจะเสวยสุขด้วยกัน แม้จะตายตกตามกันไปในชาติก่อน ยังตามมารักกันต่อในชาตินี้ ดังนั้นอุบลจึงมีเหตุผลที่จะโกรธแค้นคนทั้งสองไปพร้อมๆกัน พฤติกรรมของสโรชินี ในการพูดประชดประชัน เหยียดหยามดูถูกทั้งอัคนีและทิพอาภา กิริยาที่แสดงออกทุกอย่าง จึงเข้าใจได้ทั้งหมด และมีเหตุผลที่จะลากเอาทิพอาภาเข้ามาร่วมในการพิพากษาครั้งนี้ด้วย เนื่องจากเธอก็เป็นจำเลยคนหนึ่ง ที่สมรู้ร่วมคิดกับพระอรรค ลวงอุบลไปฆ่าด้วยเช่นกัน
ทั้งหมดนี้ทำให้อุบลมีความชอบธรรมทุกประการ ที่จะเป็นวิญญาณที่อาฆาตพยาบาท ขอโอกาสจากพระยายม ให้มีกายทิพย์เป็นมนุษย์ในนามสโรชินี เพื่อมาฟื้นความทรงจำให้กับอัคนี ให้สำนึกรู้ในความผิดที่ทำต่อเธอเอาไว้ในอดีต พร้อมกับแก้แค้นทิพอาภาไปพร้อมๆกัน แต่เมื่ออัคนีได้เฉลยความจริงในตอนท้ายว่าอุบลเข้าใจผิดเรื่องพระะอรรคกับทิพย์ อุบลจึงได้ให้อภัยอัคนีในที่สุด บทของอุบลทำให้ตัวละครนี้เป็นตัวละครที่มีเหตุผล มีที่มาที่ไปที่หนักแน่น ทำให้คนดูร่วมรู้สึกไปกับตัวละครนี้ในทุกฉากทุกตอน เรียกได้ว่าสำหรับละครพิษสวาท 2559 อุบล และสโรชินี เป็นตัวละครที่สมบูรณ์ที่สุดค่ะ