เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา แสดงโดยชอบอย่างไร .. ?

กระทู้คำถาม
เห็นกระทู้+ความคิดเห็น ในทำนองว่า ด่าพระอยู่นะ ด่าพระไม่ดีนะ ระวังจะตกนรก บราๆ ๆ
แน่นอนถ้าพิจารณาถึงอาการ "ด่า" ไม่ดีแน่ เพราะทันทีที่ด่าหรือคิดที่จะด่า จิตต้องประกอบไปด้วยอกุศล มันผิดที่ตรงนี้แล้ว โดยไม่ต้องไปดูปลายทางเลยว่าที่ด่านั้นเป็นใคร ..
พระทุศีลในสมัยพุทธกาลก็มีปรากฎอยู่ แล้วส่วนหนึ่งก็เป็นฆารวาสนี่แหละที่เอามาแฉ
โดยในพระไตรปิฏกปรากฎคำเหล่านี้อยู่มาก "เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา"

ถามว่าถ้าเราเห็นใครทำผิดและเรารู้ว่าสิ่งนั้นผิดหรือยิ่งไปกว่านั้นคือรู้ด้วยว่าที่ถูกควรเป็นอย่างไรด้วย
สมมติคนที่ทำผิดเป็นเพื่อนเรา เราจะชี้ให้เขาเห็นถึงความผิดที่ทำอยู่เตือนถึงโทษของมัน หรือเราจะปล่อยไปตามยถากรรม .. การกระทำอย่างไหนจึงเรียกว่าเป็นกัลยาณมิตร ..
"เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา" เป็นการแสดงถึงความหวังดีต่อผู้ที่ทำผิดเอง ชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่ทำอยู่นั้นผิดที่ตรงไหนให้โทษอย่างไร รวมถึงพูดให้กว้างขวางออกไป เพื่อไม่ให้คนอื่นที่ไม่รู้มาเข้าใจผิดๆตามกัน

ในสมัยพุทธกาลเมื่อฆารวาสเห็นภิกษุกระทำผิดพระวินัยกระทำสิ่งที่ไม่ควร ฆารวาสต่างเพ็งโทษรู้เลยว่านี่เป็นสิ่งที่ไม่สมควร ติเตียนบอกให้รู้ว่านี่ไม่สมควรนะ แล้วก็โพทนาด้วยให้รู้ทั่วๆกันไป เพราะอาจจะมีผู้ที่เข้าใจผิดเห็นดีเห็นงามตามไปเพราะความไม่รู้ก็ได้ ..

ต่อไปอย่าด่านะ ก็ฆารวาสในสมัยพุทธกาลทำให้ดูเป็นตัวอย่างแล้วนิ เมื่อเห็นภิกษุทำสิ่งที่ไม่ควรและเรารู้ว่าสิ่งนั้นไม่ควร [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ พวกเขา  "เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา"

คำถามคือ ---> เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา แสดงโดยชอบอย่างไร .. ?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่