เครดิต ชมรมบ้านธัมมะ
------
https://www.facebook.com/dhammahomefellowship/?fref=nf
-------
'เพ่งโทษ' คือ เมื่อเห็นถึงความประพฤติใดที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง ก็กล่าวให้เข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่ถูกต้องตามพระวินัย นำมาซึ่งโทษแก่พระศาสนาและภิกษุผู้ประพฤติไม่ดี...
------
...'ติเตียน' คือ ตำหนิ เพื่อเตือนให้เกิดสติ สำนึก ระลึกได้ว่า กำลังประพฤติสิ่งที่ผิด เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง และพ้นจากโทษนั้น...
-----
.
..'โพนทะนา' คือ พูดให้กว้างขวางออกไป กระจายข่าวให้แพร่สะพัดไปในที่ทุกสถาน ให้ทราบโดยทั่วกัน โดยชี้แจงให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องว่า สิ่งใดผิด สิ่งใดถูก เพื่อที่จะช่วยกันดำรงรักษาความถูกต้องต่อไป...
.
..ทั้งหมดเป็นหน้าที่ของพุทธบริษัทที่จะต้องช่วยกันดำรงรักษาพระธรรมวินัย ไม่ละเลย เพิกเฉย โดยเห็นว่าไม่ใช่หน้าที่ หรือ เกรงกลัวเพราะเข้าใจผิดว่า คฤหัสถ์ไม่ควรตำหนิพระภิกษุบุคคลแม้ว่าจะประพฤติผิด เพราะแท้ที่จริงแล้ว การตำหนิดังกล่าวไม่ใช่การตำหนิความเป็นพระภิกษุ แต่ตำหนิความประพฤติที่ไม่ใช่ภิกษุ ซึ่งมีในภิกษุบุคคลนั้น ด้วยกุศลจิตที่ปรารถนาดีให้ท่านมีความเข้าใจที่ถูกต้องและแก้ไข อย่างสุภาพ ตามกาลเทศะ ตามความเหมาะสม ต่างจากการกล่าวร้ายด้วยอกุศลจิตที่มุ่งประทุษร้ายผู้อื่นให้เสียหาย เดือดร้อน ความผิดย่อมไม่มีอย่างแน่นอนกับการกล่าวให้ได้เข้าใจถูก เห็นถูก ตามพระธรรมวินัย..
### เพ่งโทษ ...ติเตียน...โพนทะนา..."ในแบบชาวพุทธ" ###
------
https://www.facebook.com/dhammahomefellowship/?fref=nf
-------
'เพ่งโทษ' คือ เมื่อเห็นถึงความประพฤติใดที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง ก็กล่าวให้เข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่ถูกต้องตามพระวินัย นำมาซึ่งโทษแก่พระศาสนาและภิกษุผู้ประพฤติไม่ดี...
------
...'ติเตียน' คือ ตำหนิ เพื่อเตือนให้เกิดสติ สำนึก ระลึกได้ว่า กำลังประพฤติสิ่งที่ผิด เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง และพ้นจากโทษนั้น...
-----
...'โพนทะนา' คือ พูดให้กว้างขวางออกไป กระจายข่าวให้แพร่สะพัดไปในที่ทุกสถาน ให้ทราบโดยทั่วกัน โดยชี้แจงให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องว่า สิ่งใดผิด สิ่งใดถูก เพื่อที่จะช่วยกันดำรงรักษาความถูกต้องต่อไป...
...ทั้งหมดเป็นหน้าที่ของพุทธบริษัทที่จะต้องช่วยกันดำรงรักษาพระธรรมวินัย ไม่ละเลย เพิกเฉย โดยเห็นว่าไม่ใช่หน้าที่ หรือ เกรงกลัวเพราะเข้าใจผิดว่า คฤหัสถ์ไม่ควรตำหนิพระภิกษุบุคคลแม้ว่าจะประพฤติผิด เพราะแท้ที่จริงแล้ว การตำหนิดังกล่าวไม่ใช่การตำหนิความเป็นพระภิกษุ แต่ตำหนิความประพฤติที่ไม่ใช่ภิกษุ ซึ่งมีในภิกษุบุคคลนั้น ด้วยกุศลจิตที่ปรารถนาดีให้ท่านมีความเข้าใจที่ถูกต้องและแก้ไข อย่างสุภาพ ตามกาลเทศะ ตามความเหมาะสม ต่างจากการกล่าวร้ายด้วยอกุศลจิตที่มุ่งประทุษร้ายผู้อื่นให้เสียหาย เดือดร้อน ความผิดย่อมไม่มีอย่างแน่นอนกับการกล่าวให้ได้เข้าใจถูก เห็นถูก ตามพระธรรมวินัย..