คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
- การบอกให้ผู้อื่นได้เสียเงินทอง เช่นบอกให้คนนี้ ให้เงินคนนั้น หรือ บอกว่าเอาเงินให้คนนั้นเพื่อชดใช้กรรม โดยที่เงินเหล่านั้น ไม่ได้มีการถวายแก่ภิกษุแต่อย่างใด และภิกษุไม่มีส่วนได้เสีย อันนี้อาบัติหรือไม่
ประเด็นเรื่อง
1. บอกให้คนนี้ ให้เงินคนนั้น ภิกษุไม่มีส่วนได้เสีย - อันนี้ไม่มีอาบัติ
แต่ถ้า
2. บอกให้คนนี้ ให้เงินคนนั้น ให้คนนั้นเพื่อชดใช้กรรม ภิกษุไม่มีส่วนได้เสีย - อันนี้ต้องดูคำพูดโดยรวมหรือบริบทของประโยคนั้นๆ
ประเด็นอยู่ที่ ให้คนนั้นเพื่อชดใช้กรรม คือถ้าเป็นคำพูดเพื่อบอกให้รู้ว่า พระเองมีญาณยั่งรู้กรรม หรือมีจุตูปปาตญาณ เป็นต้น อันนี้ล่อแหลมต่อการอวดอุตริมนสธรรม
กรณีอย่างนี้ไม่เป็นอาบัติ พระบอกให้ นาย ก เอาเงินให้ โยมแม่ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าเป็นเรื่องตอบแทนคุณหรืออาจจะมีนัยยะว่า ชดใช้กรรมที่บุพการีก็ได้ นั้นหมายถึง พระไม่ต้องมีญาณยั้งรู้ก็เป็นที่แน่นอนได้ว่า นาย ก เป็นหนี้บุพการีของตนเองอยู่ อันนี้ไม่มีอาบัติ
แต่หาก บอกไปเพื่อมุ่งผลการอวดอุตริมนสธรรม โดยบอกให้เอาเงิน ให้คนนี้ ให้เงินคนนั้นเพื่อชดใช้กรรม ปัญหาตามมาคือ พระรูปนั้นๆ รู้ว่าใครมีกรรมอย่างไรกับโยมคนนี้ ได้อย่างไร อันนี้ล่อแหลม ต่อการอวดอุตริมนสธรรม หากไม่มีในตน เจตนาโกหกเพื่อลาภ สักการะ เป็น ปาราชิก
ยกเว้นภิกษุบ้า หรือเสียสติคุมตัวเองไม่ได้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 455
พระปฐมบัญญัติ
๔. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตริมนุสธรรม
อันเป็นความรู้ ความเห็น อย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้า
มาในตนว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ ครั้นสมัยอื่น
แต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม เป็น
อันต้องอาบัติแล้ว มุ่งความหมดจด จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่าน
ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น
ได้พูดพล่อย ๆ เป็นเท็จเปล่า ๆ แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาส
มิได้.
ประเด็นเรื่อง
1. บอกให้คนนี้ ให้เงินคนนั้น ภิกษุไม่มีส่วนได้เสีย - อันนี้ไม่มีอาบัติ
แต่ถ้า
2. บอกให้คนนี้ ให้เงินคนนั้น ให้คนนั้นเพื่อชดใช้กรรม ภิกษุไม่มีส่วนได้เสีย - อันนี้ต้องดูคำพูดโดยรวมหรือบริบทของประโยคนั้นๆ
ประเด็นอยู่ที่ ให้คนนั้นเพื่อชดใช้กรรม คือถ้าเป็นคำพูดเพื่อบอกให้รู้ว่า พระเองมีญาณยั่งรู้กรรม หรือมีจุตูปปาตญาณ เป็นต้น อันนี้ล่อแหลมต่อการอวดอุตริมนสธรรม
กรณีอย่างนี้ไม่เป็นอาบัติ พระบอกให้ นาย ก เอาเงินให้ โยมแม่ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าเป็นเรื่องตอบแทนคุณหรืออาจจะมีนัยยะว่า ชดใช้กรรมที่บุพการีก็ได้ นั้นหมายถึง พระไม่ต้องมีญาณยั้งรู้ก็เป็นที่แน่นอนได้ว่า นาย ก เป็นหนี้บุพการีของตนเองอยู่ อันนี้ไม่มีอาบัติ
แต่หาก บอกไปเพื่อมุ่งผลการอวดอุตริมนสธรรม โดยบอกให้เอาเงิน ให้คนนี้ ให้เงินคนนั้นเพื่อชดใช้กรรม ปัญหาตามมาคือ พระรูปนั้นๆ รู้ว่าใครมีกรรมอย่างไรกับโยมคนนี้ ได้อย่างไร อันนี้ล่อแหลม ต่อการอวดอุตริมนสธรรม หากไม่มีในตน เจตนาโกหกเพื่อลาภ สักการะ เป็น ปาราชิก
ยกเว้นภิกษุบ้า หรือเสียสติคุมตัวเองไม่ได้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 455
พระปฐมบัญญัติ
๔. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตริมนุสธรรม
อันเป็นความรู้ ความเห็น อย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้า
มาในตนว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ ครั้นสมัยอื่น
แต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม เป็น
อันต้องอาบัติแล้ว มุ่งความหมดจด จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่าน
ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น
ได้พูดพล่อย ๆ เป็นเท็จเปล่า ๆ แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาส
มิได้.
แสดงความคิดเห็น
พระวินัยเรื่องพยานเวลาภิกษุ อยู่ในที่เดียวกับอุบาสิกา กับเรื่องการบอกให้เงินทอง
- หากภิกษุอยู่ใกล้อุบาสิกาในที่ลับตา หรือภิกษุพักอยู่กับอุบาสก แล้วต้องมีพยาน จะอาบัติในกรณีไหนบ้าง
- การบอกให้ผู้อื่นได้เสียเงินทอง เช่นบอกให้คนนี้ ให้เงินคนนั้น หรือ บอกว่าเอาเงินให้คนนั้นเพื่อชดใช้กรรม โดยที่เงินเหล่านั้น ไม่ได้มีการถวายแก่ภิกษุแต่อย่างใด และภิกษุไม่มีส่วนได้เสีย อันนี้อาบัติหรือไม่
บทที่กล่าวเกี่ยวกับเรื่องด้านบนนี้ อยู่ในเล่มที่เท่าไหร่ บทที่เท่าไหร่ครับ
ขอรบกวนท่านผู้มีภูมิช่วยชี้แจงแถลงไขหน่อยครับ