ปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับเขตแดนทางทะเลของประเทศในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก ถือเป็นปัญหาหนึ่งที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาคนี้ โดยตลอดห้วงที่ผ่านเราจะเห็นข่าวเกี่ยวกับการเผชิญหน้าทางทหารของกำลังทางเรือของประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกและในทะเลจีนใต้อยู่เป็นประจำซึ่งมีสาเหตุพื้นฐานความขัดแย้งมาจากเรื่องเขตแดนทางทะเลและการอ้างสิทธิเหนือเกาะต่างๆ โดยความขัดแย้งนี้มักจะนำไปสู่ปัญหาการเมืองภายในของประเทศคู่กรณีโดยเฉพาะในเรื่องการปลุกกระแสชาตินิยมขึ้นบางครั้งก็เกิดความรุนแรงจนกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ปัญหาเหล่านี้มีทั้งที่สามารถเจรจาตกลงแบ่งเขตแดนกันได้ หรือตกลงร่วมกันให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วม หรือบางกรณีก็นำขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ(ศาลโลก)
บทความนี้จะยกตัวอย่างความขัดแย้งเกี่ยวกับอาณาเขตทางทะเลในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านตลอดจนวิเคราะห์กุศโลบายของแต่ละประเทศในระหว่างที่ยังตกลงเรื่องแบ่งเขตแดนกันยังไม่ได้
ความขัดแย้งเกี่ยวกับเขตแดนทางทะเลส่วนใหญ่เกิดจากการอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะหรือเกาะและพื้นที่ทางทะเลที่ต่างอ้างสิทธิด้วยเหตุผลที่มาแตกต่างกันของแต่ละประเทศ โดยพื้นที่เหล่านั้นมักตั้งอยู่ในจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์หรือไม่ก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ในที่นี้ขอยกตัวอย่างความขัดแย้งที่เกิดจากการอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะ/เกาะของประเทศในภูมิภาคที่ทำให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศตามมา พอสังเขปดังนี้
ปัญหาความขัดแย้งเหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์นี้นับว่าเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาคนี้เป็นอย่างมากเนื่องจากที่ตั้งเป็นทางผ่านของเส้นทางคมนาคมหลักในทะเลจีนใต้ ประเทศที่อ้างสิทธิพยายามหาทางแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยการแสวงประโยชน์ร่วมกันซึ่งมีปฎิญญาต่างๆเกิดขึ้นหลายครั้งแต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร
ตัวอย่างความขัดแย้งเรื่องเขตแดนทางทะเลในภูมิภาคที่มีข้อยุติแล้ว
ปัญหาเกาะลิกิตันและสิปาดัง (Ligitan and Sipadan) ระหว่างมาเลเซีย-อินโดนีเซีย
รูป ที่ตั้งเกาะลิกิตันและสิปาดัง (Ligitan and Sipadan)
เกาะสองเกาะนี้ตั้งอยูในทะเลสุราเวสี หรือ ซีเลเบส ที่มาเลเซียและอินโดนีเซียต่างอ้างสิทธิว่าเป็นของตนเองโดยได้อ้างว่าสมัยที่มาเลเซียยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษและอินโดนีเซียเป็นอาณานิคมของฮอลแลนด์ซึ่งต่างฝ่ายต่างอ้างสนธิสัญญาที่ต่างกันระหว่างอังกฤษกับฮอลลแลนด์เนื่องจากมีอยู่หลายฉบับ ปัญหาความขัดแย้งนี้ไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ทำให้มีเรื่องกระทบกระทั่งกันทางทหารบ่อยครั้งจนกระทั่งได้นำเรื่องขึ้นสู่ศาลศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice; ICJ) หรือศาลโลกให้ตัดสิน
และเมื่อ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๕ (ค.ศ.๒๐๐๒) ศาลโลกตัดสินให้มาเลเซียได้ครอบครองเกาะทั้งสองเกาะซึ่งในคำตัดสินของศาลนี้มีสิ่งที่น่าสนใจคือศาลให้ความสำคัญกับการที่มาเลเซียได้สร้างกระโจมไฟบนเกาะสิปาดันในปี ค.ศ. ๑๙๖๒ และบนเกาะลิกิตันในปี ค.ศ.๑๙๖๓ โดยศาลถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงอำนาจของรัฐบนพื้นที่นั้น หลังจากศาลโลกตัดสินกรณีของเกาะแล้วทั้งสองประเทศนี้ก็ยังมีปัญหากันมาอีกอย่างต่อเนื่องเพราะศาลไม่ได้ตัดสินเรื่องเขตทางทะเลบริเวณนั้น เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อยู่ในระยะความกว้างของเขต EEZ ของทั้งสองประเทศ ซึ่งปัจจุบันยังเป็นปัญหาความขัดแย้งกันอยู่ในพื้นที่ทางทะเลที่เรียกว่า Ambalat
ปัญหาการอ้างสิทธิเหนือเกาะปูเลา บาตู ปูเตะห์(Pulau Batu Puteh)ระหว่างมาเลเซีย-สิงคโปร์
รูป ที่ตั้งเกาะปูเลา บาตู ปูเตะห์( Pulau Batu Puteh) และกระโจมไฟฮอร์สเบิร์ก (Horse burgh)
หากกล่าวถึงเกาะปูเลา บาตู ปูเตะห์( Pulau Batu Puteh) พวกเราอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูนักแต่ถ้าพูดถึงกระโจมไฟฮอร์สเบิร์ก( Horse burgh) ทหารเรือหลายคนต้องรู้จักดีและเคยเห็นมาแล้วเพราะเป็นที่หมายในการเดินเรือที่สำคัญ เกาะนี้สิงคโปร์เรียกว่าเกาะเปดรา บรังกา ขณะที่มาเลเซียใช้ชื่อว่า เกาะปูเลา บาตู ปูเต๊ะ มีพื้นที่แค่ครึ่งหนึ่งของสนามฟุตบอลตั้งอยู่ในบริเวณช่องแคบสิงคโปร์ ติดกับช่องแคบมะละกา ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าที่สำคัญของโลก เกาะแห่งนี้แต่เดิมเป็นของรัฐสุลต่านแห่งยะโฮร์ รัฐหนึ่งของมาเลเซีย
ตลอดห้วงเวลาที่ผ่านมาทั้งสองประเทศต่างอ้างสิทธิเหนือเกาะนี้ซึ่งได้พยายามเจรจากันแต่หาข้อยุติไม่ได้ จึงนำเรื่องขึ้นสูศาลโลก และเมื่อ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ศาลโลกได้ตัดสินให้สิงคโปร์เป็นฝ่ายชนะมาเลเซีย ซึ่งคำตัดสินของศาลโลกนี้มีข้อสังเกตุคือศาลได้พิจารณาว่าสิงคโปร์เป็นผู้ดูแลประภาคาร และกระโจมไฟฮอร์สเบิร์กมาอย่างต่อเนืองเป็นเวลากว่า ๑๓๐ ปี โดยที่ฝ่ายมาเลเซียไม่เคยทักท้วงอะไร ในขณะที่มาเลเซียได้อ้างหลักฐานทางประวัติศาสตร์เพราะเคยเป็นเขตของรัฐยะโฮ แต่ศาลให้น้ำหนักเหตุผลของสิงคโปร์มากกว่า
ปัญหาอาณาเขตทางทะเลของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
ปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับอาณาเขตทางทะเลของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเกิดจากการประกาศเขตทางทะเลของแต่ละประเทศที่ติดกันซึ่งเราคุ้นเคยกับคำว่า “พื้นที่เหลื่อมทับ”หรือ “พื้นที่ทับซ้อน” ซึ่งหากจะเรียกให้ถูกต้องควรเรียกว่าพื้นที่ที่อ้างสิทธิทับซ้อนกัน (Overlapping Claim Areas) อย่างไรก็ตามทั้งสามคำเหล่านี้เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปแล้วจึงขอใช้รวมๆกันไป สำหรับพื้นที่ที่อ้างสิทธิทับซ้อนกันของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมีทั้งที่เจรจาตกลงแบ่งเขตกันได้ และยังตกลงกันไม่ได้ทั้งด้านอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน[6] ดังนี้
รูป พื้นที่เหลื่อมทับทางทะเลของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
ด้านอ่าวไทย
ไทย-กัมพูชาพื้นที่ที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลเกิดจากการประกาศเขตไหล่ทวีปของสองประเทศในปี ๒๕๑๕(กัมพูชา)และ ๒๗๑๖(ไทย) ทำให้เกิดพื้นที่ทับซ้อนกันประมาณ ๒๖,๔๐๐ ตารางกิโลเมตร ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการเจรจาแก้ปัญหาและยังส่งผลให้เกิดปัญหาการเมืองภายในของทั้งสองประเทศซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว
ไทย-เวียดนาม พื้นที่ที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลก็เกิดจากการประกาศเขตไหล่ทวีปของทั้งสองประเทศเช่นกัน โดยเวียดนามประกาศในปี ๒๕๑๔ และไทยในปี ๒๕๑๖ มีพื้นที่ทับซ้อนประมาณ ๑๓,๒๙๐ ตารางกิโลเมตร แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองประเทศสามารถบรรลุข้อตกลงในการเจรจาแบ่งเขตแดนกันได้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐
ไทย-มาเลเซีย ปัญหาเขตแดนทางทะเลของไทยกับมาเลเซียมีมาตั้งแต่ปี ๒๔๕๒ (สมัยนั้นมาเลเซียยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ)ต่อเนื่องมาจนกระทั่งไทยประกาศเขตไหล่ทวีปในปี ๒๕๑๖ ทำให้เกิดพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกันทางทะเลรวมประมาณ ๗,๒๕๐ ตารางกิโลเมตร ซึ่งทั้งสองประเทศสามารถบรรลุข้อตกลงที่จะใช้ประโยชน์ร่วมกันโดยกำหนดเป็นพื้นที่พัฒนาร่วม (Joint Developing Area; JDA) โดยได้จัดทำบันทึกความเข้าใจกันเมื่อปี ๒๕๒๖
ด้านทะเลอันดามัน
ไทย-อินเดีย-อินโดนีเซีย-มาเลเซียไม่มีปัญหาพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกันในด้านทะเลอันดามันเนื่องจากได้ทำความตกลงกันได้ระหว่างการเจรจาแบ่งเขตไหล่วีป และหลักเขตแดน
ไทย-พม่า การแบ่งเขตทางทะเลนอกชายฝั่งระหว่างไทยกับพม่าไม่มีปัญหา แต่บริเวณใกล้ฝั่งตั้งแต่ด้านเหนือเกาะสุรินทร์ไปถึงแม่น้ำกระบุรียังคงเป็นปัญหากันอยู่ ซึ่งเกิดจากความไม่ชัดเจนสนธิสัญญาระหว่างไทย-อังกฤษ พ.ศ. ๒๔๑๑ ที่ไม่ได้ระบุพิกัดตำบลที่และชื่อเกาะทำให้เกิดปัญหาการอ้างสิทธิเหนือเกาะหลาม เกาะคัน เกาะขี้นก ทั้งนี้พม่าอ้างแผนที่เดินเรือของอังกฤษปี พ.ศ. ๒๔๙๑ กำหนดอาณาเขตทางทะเลครอบคลุมสามเกาะนี้ ส่วนไทยอ้างหลักฐานทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ ปัจจุบันทั้งไทยและพม่ายังคงอ้างสิทธิเหนือเกาะทั้งสามเกาะนี้
วิเคราะห็นโยบายและการดำเนินการของแต่ละประเทศ
จากตัวอย่างปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นและวิธีการแก้ปัญหาของแต่ละประเทศที่กล่าวมาแล้วนั้นจะเห็นว่ามีอยู่ ๒ ส่วนคือส่วนที่สามารถแก้ปัญหาไปแล้วกับส่วนที่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ โดยส่วนที่สามารถแก้ปัญหาไปได้แล้วสามารถระบุวิธีการดำเนินการได้ ๓ วิธีหลักๆ คือ การเจรจาตกลงแบ่งเขตกัน เช่นระหว่างไทย-อินเดีย-อินโดนีเซีย การแสวงประโยชน์ร่วมกันหรือพื้นที่พัฒนาร่วม เช่น ระหว่างไทย-มาเลเซีย หรือในหมู่เกาะสแปรตลีย์ที่กำลังพยายามดำเนินการ และการนำปัญหาขึ้นสู่ศาลโลก เช่น กรณีของลิกิตันและสิปาดังระหว่างมาเลเซีย-อินโดนีเซีย และเกาะปูเลา บาตู ปูเตะห์/กระโจมไฟฮอร์สเบิร์ก ระหว่างมาเลเซีย-สิงคโปร์ สำหรับในส่วนที่เหลือคือยังไม่สามารถตกลงกันได้โดยมีทั้งอยู่ระหว่างการเจรจาและยังไม่มีการเจรจากัน
สิ่งที่น่าสนใจในการศึกษาจากตัวอย่างกรณีความขัดแย้งการอ้างสิทธิทางทะเลคือกุศโลบายของแต่ละประเทศที่ได้ดำเนินการในระหว่างที่ยังหาข้อยุติไม่ได้นั้นจะเห็นว่าวิธีการหนึ่งที่แต่ละประเทศได้พยายามดำเนินการเหมือนกันคือ การแสดงสิทธิในการครอบครองและใช้ประโยชน์เพื่อแสดงให้ชาวโลกได้เห็นว่าพื้นที่นั้นๆเป็นของตนเอง เช่น การสร้างสิ่งปลูกสร้าง การส่งกำลังทหารหรือประชาชนเข้าไปอาศัย และการสร้างประภาคาร หรือกระโจมไฟ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินการเหล่านี้จะเห็นผลเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนจากการตัดสินของศาลโลกในกรณีของลิกิตันและสิปาดังระหว่างมาเลเซีย-อินโดนีเซีย และเกาะปูเลา บาตู ปูเตะห์/กระโจมไฟฮอร์สเบิร์ก ระหว่างมาเลเซีย-สิงคโปร์ ที่ศาลได้นำประเด็นเหล่านี้มาประกอบการพิจารณาว่าประเทศเหล่านั้นได้ดำเนินการแสดงสิทธิอธิปไตยเหนือพื้นที่นั้นอย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งศาลให้ความสำคัญมากกว่าการอ้างที่มาของการครอบครองและหลักฐานทางประวัติศาสตร์เสียอีก
ข้อเสนอแนะนโยบายเกี่ยวกับปัญหาพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลของไทย
ปัญหาพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลของไทยกับเพื่อนบ้านที่ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ คือ พื้นที่
ทับซ้อน ๒๖,๔๐๐ ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทยกับกัมพูชา และการอ้างกรรมสิทธิเหนือ เกาะหลาม เกาะคัน และเกาะขี้นก ระหว่างไทยกับพม่า ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหาเหล่านี้ก็สามารถดำเนินการได้ทั้ง ๓ วิธี คือ การเจรจาตกลงกันแบ่งเขตกัน การพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน หรือ การนำเรื่องขึ้นสู่ศาลโลก อย่างไรก็ตามการดำเนินการทั้งสามวิธีนั้นคงจะต้องใช้เวลายาวนาน ดังนั้นประเทศไทยควรศึกษาปัญหาความขัดแย้งของประเทศต่างๆเป็นกรณีศึกษาเพื่อนำมาประกอบการกำหนดนโยบายและท่าทีของประเทศรวมทั้งการดำเนินการในระหว่างที่ยังหาข้อยุติในการแก้ปัญหาเหล่านั้น ซึ่งจากตัวอย่างที่กล่าวมาแล้วสิ่งที่ไทยควรจะต้องดำเนินการคือการแสดงสิทธิการครอบครองและใช้ประโยชน์พื้นที่อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม เช่น
ปัญหาการอ้างสิทธิบนเกาะหลาม เกาะคัน และเกาะขี้นก ระหว่างไทย-พม่า ถึงแม้ว่าเป็นการยากที่จะส่งกำลังหรือประชาชนขึ้นไปอาศัยบนเกาะเพราะมีข้อจำกัดเรื่องสภาพภูมิประเทศ แต่ก็สามารถที่จะติดตั้งหรือสร้างสิ่งปลูกสร้างบางอย่างเป็นสัญญลักษณ์ เช่น Markers เพื่อแสดงว่าไทยได้ใช้ประโยชน์และครอบครองเกาะเหล่านี้ตลอดจนดำเนินกรรมวิธีต่างๆไว้ในรูปแบบเอกสาร สิ่งพิมพ์ หรือแผนที่ที่แสดงว่าเกาะนี้เป็นของไทย
สำหรับพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชานั้น เนื่องจากผู้คนทั่วไปให้ความสนใจและมีการวิพากษ์วิจารณ์กันตามสื่อต่างๆทั้งที่อยู่บนพื้นฐานของความจริงหรือปรุงแต่งเรื่องราวเพื่อทำลายกัน จึงควรที่จะให้มีผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้โดยเฉพาะ ทำการศึกษา ติดตาม เพื่อเสนอแนะในระดับนโยบายพร้อมกับการทำงานในเชิงรุก
ในด้านสื่อต่างๆทั้งในและนอกประเทศอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ส่วนการดำเนินการระยะสั้นขณะนี้คือการแสดงสิทธิในพื้นที่พร้อมกับเผยแพร่ผ่านสื่อต่างให้คนทั่วไปรับทราบ ทั้งนี้การทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยยึดผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง
ปัญหาเขตแดนทางทะเลของประเทศในภูมิภาค และของไทยกับแนวทางการดำเนิการด้านนโยบาย
บทความนี้จะยกตัวอย่างความขัดแย้งเกี่ยวกับอาณาเขตทางทะเลในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านตลอดจนวิเคราะห์กุศโลบายของแต่ละประเทศในระหว่างที่ยังตกลงเรื่องแบ่งเขตแดนกันยังไม่ได้
ความขัดแย้งเกี่ยวกับเขตแดนทางทะเลส่วนใหญ่เกิดจากการอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะหรือเกาะและพื้นที่ทางทะเลที่ต่างอ้างสิทธิด้วยเหตุผลที่มาแตกต่างกันของแต่ละประเทศ โดยพื้นที่เหล่านั้นมักตั้งอยู่ในจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์หรือไม่ก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ในที่นี้ขอยกตัวอย่างความขัดแย้งที่เกิดจากการอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะ/เกาะของประเทศในภูมิภาคที่ทำให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศตามมา พอสังเขปดังนี้
ปัญหาความขัดแย้งเหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์นี้นับว่าเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาคนี้เป็นอย่างมากเนื่องจากที่ตั้งเป็นทางผ่านของเส้นทางคมนาคมหลักในทะเลจีนใต้ ประเทศที่อ้างสิทธิพยายามหาทางแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยการแสวงประโยชน์ร่วมกันซึ่งมีปฎิญญาต่างๆเกิดขึ้นหลายครั้งแต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร
ตัวอย่างความขัดแย้งเรื่องเขตแดนทางทะเลในภูมิภาคที่มีข้อยุติแล้ว
ปัญหาเกาะลิกิตันและสิปาดัง (Ligitan and Sipadan) ระหว่างมาเลเซีย-อินโดนีเซีย
รูป ที่ตั้งเกาะลิกิตันและสิปาดัง (Ligitan and Sipadan)
เกาะสองเกาะนี้ตั้งอยูในทะเลสุราเวสี หรือ ซีเลเบส ที่มาเลเซียและอินโดนีเซียต่างอ้างสิทธิว่าเป็นของตนเองโดยได้อ้างว่าสมัยที่มาเลเซียยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษและอินโดนีเซียเป็นอาณานิคมของฮอลแลนด์ซึ่งต่างฝ่ายต่างอ้างสนธิสัญญาที่ต่างกันระหว่างอังกฤษกับฮอลลแลนด์เนื่องจากมีอยู่หลายฉบับ ปัญหาความขัดแย้งนี้ไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ทำให้มีเรื่องกระทบกระทั่งกันทางทหารบ่อยครั้งจนกระทั่งได้นำเรื่องขึ้นสู่ศาลศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice; ICJ) หรือศาลโลกให้ตัดสิน
และเมื่อ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๕ (ค.ศ.๒๐๐๒) ศาลโลกตัดสินให้มาเลเซียได้ครอบครองเกาะทั้งสองเกาะซึ่งในคำตัดสินของศาลนี้มีสิ่งที่น่าสนใจคือศาลให้ความสำคัญกับการที่มาเลเซียได้สร้างกระโจมไฟบนเกาะสิปาดันในปี ค.ศ. ๑๙๖๒ และบนเกาะลิกิตันในปี ค.ศ.๑๙๖๓ โดยศาลถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงอำนาจของรัฐบนพื้นที่นั้น หลังจากศาลโลกตัดสินกรณีของเกาะแล้วทั้งสองประเทศนี้ก็ยังมีปัญหากันมาอีกอย่างต่อเนื่องเพราะศาลไม่ได้ตัดสินเรื่องเขตทางทะเลบริเวณนั้น เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อยู่ในระยะความกว้างของเขต EEZ ของทั้งสองประเทศ ซึ่งปัจจุบันยังเป็นปัญหาความขัดแย้งกันอยู่ในพื้นที่ทางทะเลที่เรียกว่า Ambalat
ปัญหาการอ้างสิทธิเหนือเกาะปูเลา บาตู ปูเตะห์(Pulau Batu Puteh)ระหว่างมาเลเซีย-สิงคโปร์
รูป ที่ตั้งเกาะปูเลา บาตู ปูเตะห์( Pulau Batu Puteh) และกระโจมไฟฮอร์สเบิร์ก (Horse burgh)
หากกล่าวถึงเกาะปูเลา บาตู ปูเตะห์( Pulau Batu Puteh) พวกเราอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูนักแต่ถ้าพูดถึงกระโจมไฟฮอร์สเบิร์ก( Horse burgh) ทหารเรือหลายคนต้องรู้จักดีและเคยเห็นมาแล้วเพราะเป็นที่หมายในการเดินเรือที่สำคัญ เกาะนี้สิงคโปร์เรียกว่าเกาะเปดรา บรังกา ขณะที่มาเลเซียใช้ชื่อว่า เกาะปูเลา บาตู ปูเต๊ะ มีพื้นที่แค่ครึ่งหนึ่งของสนามฟุตบอลตั้งอยู่ในบริเวณช่องแคบสิงคโปร์ ติดกับช่องแคบมะละกา ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าที่สำคัญของโลก เกาะแห่งนี้แต่เดิมเป็นของรัฐสุลต่านแห่งยะโฮร์ รัฐหนึ่งของมาเลเซีย
ตลอดห้วงเวลาที่ผ่านมาทั้งสองประเทศต่างอ้างสิทธิเหนือเกาะนี้ซึ่งได้พยายามเจรจากันแต่หาข้อยุติไม่ได้ จึงนำเรื่องขึ้นสูศาลโลก และเมื่อ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ศาลโลกได้ตัดสินให้สิงคโปร์เป็นฝ่ายชนะมาเลเซีย ซึ่งคำตัดสินของศาลโลกนี้มีข้อสังเกตุคือศาลได้พิจารณาว่าสิงคโปร์เป็นผู้ดูแลประภาคาร และกระโจมไฟฮอร์สเบิร์กมาอย่างต่อเนืองเป็นเวลากว่า ๑๓๐ ปี โดยที่ฝ่ายมาเลเซียไม่เคยทักท้วงอะไร ในขณะที่มาเลเซียได้อ้างหลักฐานทางประวัติศาสตร์เพราะเคยเป็นเขตของรัฐยะโฮ แต่ศาลให้น้ำหนักเหตุผลของสิงคโปร์มากกว่า
ปัญหาอาณาเขตทางทะเลของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
ปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับอาณาเขตทางทะเลของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเกิดจากการประกาศเขตทางทะเลของแต่ละประเทศที่ติดกันซึ่งเราคุ้นเคยกับคำว่า “พื้นที่เหลื่อมทับ”หรือ “พื้นที่ทับซ้อน” ซึ่งหากจะเรียกให้ถูกต้องควรเรียกว่าพื้นที่ที่อ้างสิทธิทับซ้อนกัน (Overlapping Claim Areas) อย่างไรก็ตามทั้งสามคำเหล่านี้เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปแล้วจึงขอใช้รวมๆกันไป สำหรับพื้นที่ที่อ้างสิทธิทับซ้อนกันของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมีทั้งที่เจรจาตกลงแบ่งเขตกันได้ และยังตกลงกันไม่ได้ทั้งด้านอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน[6] ดังนี้
รูป พื้นที่เหลื่อมทับทางทะเลของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
ด้านอ่าวไทย
ไทย-กัมพูชาพื้นที่ที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลเกิดจากการประกาศเขตไหล่ทวีปของสองประเทศในปี ๒๕๑๕(กัมพูชา)และ ๒๗๑๖(ไทย) ทำให้เกิดพื้นที่ทับซ้อนกันประมาณ ๒๖,๔๐๐ ตารางกิโลเมตร ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการเจรจาแก้ปัญหาและยังส่งผลให้เกิดปัญหาการเมืองภายในของทั้งสองประเทศซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว
ไทย-เวียดนาม พื้นที่ที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลก็เกิดจากการประกาศเขตไหล่ทวีปของทั้งสองประเทศเช่นกัน โดยเวียดนามประกาศในปี ๒๕๑๔ และไทยในปี ๒๕๑๖ มีพื้นที่ทับซ้อนประมาณ ๑๓,๒๙๐ ตารางกิโลเมตร แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองประเทศสามารถบรรลุข้อตกลงในการเจรจาแบ่งเขตแดนกันได้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐
ไทย-มาเลเซีย ปัญหาเขตแดนทางทะเลของไทยกับมาเลเซียมีมาตั้งแต่ปี ๒๔๕๒ (สมัยนั้นมาเลเซียยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ)ต่อเนื่องมาจนกระทั่งไทยประกาศเขตไหล่ทวีปในปี ๒๕๑๖ ทำให้เกิดพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกันทางทะเลรวมประมาณ ๗,๒๕๐ ตารางกิโลเมตร ซึ่งทั้งสองประเทศสามารถบรรลุข้อตกลงที่จะใช้ประโยชน์ร่วมกันโดยกำหนดเป็นพื้นที่พัฒนาร่วม (Joint Developing Area; JDA) โดยได้จัดทำบันทึกความเข้าใจกันเมื่อปี ๒๕๒๖
ด้านทะเลอันดามัน
ไทย-อินเดีย-อินโดนีเซีย-มาเลเซียไม่มีปัญหาพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกันในด้านทะเลอันดามันเนื่องจากได้ทำความตกลงกันได้ระหว่างการเจรจาแบ่งเขตไหล่วีป และหลักเขตแดน
ไทย-พม่า การแบ่งเขตทางทะเลนอกชายฝั่งระหว่างไทยกับพม่าไม่มีปัญหา แต่บริเวณใกล้ฝั่งตั้งแต่ด้านเหนือเกาะสุรินทร์ไปถึงแม่น้ำกระบุรียังคงเป็นปัญหากันอยู่ ซึ่งเกิดจากความไม่ชัดเจนสนธิสัญญาระหว่างไทย-อังกฤษ พ.ศ. ๒๔๑๑ ที่ไม่ได้ระบุพิกัดตำบลที่และชื่อเกาะทำให้เกิดปัญหาการอ้างสิทธิเหนือเกาะหลาม เกาะคัน เกาะขี้นก ทั้งนี้พม่าอ้างแผนที่เดินเรือของอังกฤษปี พ.ศ. ๒๔๙๑ กำหนดอาณาเขตทางทะเลครอบคลุมสามเกาะนี้ ส่วนไทยอ้างหลักฐานทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ ปัจจุบันทั้งไทยและพม่ายังคงอ้างสิทธิเหนือเกาะทั้งสามเกาะนี้
วิเคราะห็นโยบายและการดำเนินการของแต่ละประเทศ
จากตัวอย่างปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นและวิธีการแก้ปัญหาของแต่ละประเทศที่กล่าวมาแล้วนั้นจะเห็นว่ามีอยู่ ๒ ส่วนคือส่วนที่สามารถแก้ปัญหาไปแล้วกับส่วนที่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ โดยส่วนที่สามารถแก้ปัญหาไปได้แล้วสามารถระบุวิธีการดำเนินการได้ ๓ วิธีหลักๆ คือ การเจรจาตกลงแบ่งเขตกัน เช่นระหว่างไทย-อินเดีย-อินโดนีเซีย การแสวงประโยชน์ร่วมกันหรือพื้นที่พัฒนาร่วม เช่น ระหว่างไทย-มาเลเซีย หรือในหมู่เกาะสแปรตลีย์ที่กำลังพยายามดำเนินการ และการนำปัญหาขึ้นสู่ศาลโลก เช่น กรณีของลิกิตันและสิปาดังระหว่างมาเลเซีย-อินโดนีเซีย และเกาะปูเลา บาตู ปูเตะห์/กระโจมไฟฮอร์สเบิร์ก ระหว่างมาเลเซีย-สิงคโปร์ สำหรับในส่วนที่เหลือคือยังไม่สามารถตกลงกันได้โดยมีทั้งอยู่ระหว่างการเจรจาและยังไม่มีการเจรจากัน
สิ่งที่น่าสนใจในการศึกษาจากตัวอย่างกรณีความขัดแย้งการอ้างสิทธิทางทะเลคือกุศโลบายของแต่ละประเทศที่ได้ดำเนินการในระหว่างที่ยังหาข้อยุติไม่ได้นั้นจะเห็นว่าวิธีการหนึ่งที่แต่ละประเทศได้พยายามดำเนินการเหมือนกันคือ การแสดงสิทธิในการครอบครองและใช้ประโยชน์เพื่อแสดงให้ชาวโลกได้เห็นว่าพื้นที่นั้นๆเป็นของตนเอง เช่น การสร้างสิ่งปลูกสร้าง การส่งกำลังทหารหรือประชาชนเข้าไปอาศัย และการสร้างประภาคาร หรือกระโจมไฟ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินการเหล่านี้จะเห็นผลเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนจากการตัดสินของศาลโลกในกรณีของลิกิตันและสิปาดังระหว่างมาเลเซีย-อินโดนีเซีย และเกาะปูเลา บาตู ปูเตะห์/กระโจมไฟฮอร์สเบิร์ก ระหว่างมาเลเซีย-สิงคโปร์ ที่ศาลได้นำประเด็นเหล่านี้มาประกอบการพิจารณาว่าประเทศเหล่านั้นได้ดำเนินการแสดงสิทธิอธิปไตยเหนือพื้นที่นั้นอย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งศาลให้ความสำคัญมากกว่าการอ้างที่มาของการครอบครองและหลักฐานทางประวัติศาสตร์เสียอีก
ข้อเสนอแนะนโยบายเกี่ยวกับปัญหาพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลของไทย
ปัญหาพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลของไทยกับเพื่อนบ้านที่ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ คือ พื้นที่
ทับซ้อน ๒๖,๔๐๐ ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทยกับกัมพูชา และการอ้างกรรมสิทธิเหนือ เกาะหลาม เกาะคัน และเกาะขี้นก ระหว่างไทยกับพม่า ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหาเหล่านี้ก็สามารถดำเนินการได้ทั้ง ๓ วิธี คือ การเจรจาตกลงกันแบ่งเขตกัน การพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน หรือ การนำเรื่องขึ้นสู่ศาลโลก อย่างไรก็ตามการดำเนินการทั้งสามวิธีนั้นคงจะต้องใช้เวลายาวนาน ดังนั้นประเทศไทยควรศึกษาปัญหาความขัดแย้งของประเทศต่างๆเป็นกรณีศึกษาเพื่อนำมาประกอบการกำหนดนโยบายและท่าทีของประเทศรวมทั้งการดำเนินการในระหว่างที่ยังหาข้อยุติในการแก้ปัญหาเหล่านั้น ซึ่งจากตัวอย่างที่กล่าวมาแล้วสิ่งที่ไทยควรจะต้องดำเนินการคือการแสดงสิทธิการครอบครองและใช้ประโยชน์พื้นที่อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม เช่น
ปัญหาการอ้างสิทธิบนเกาะหลาม เกาะคัน และเกาะขี้นก ระหว่างไทย-พม่า ถึงแม้ว่าเป็นการยากที่จะส่งกำลังหรือประชาชนขึ้นไปอาศัยบนเกาะเพราะมีข้อจำกัดเรื่องสภาพภูมิประเทศ แต่ก็สามารถที่จะติดตั้งหรือสร้างสิ่งปลูกสร้างบางอย่างเป็นสัญญลักษณ์ เช่น Markers เพื่อแสดงว่าไทยได้ใช้ประโยชน์และครอบครองเกาะเหล่านี้ตลอดจนดำเนินกรรมวิธีต่างๆไว้ในรูปแบบเอกสาร สิ่งพิมพ์ หรือแผนที่ที่แสดงว่าเกาะนี้เป็นของไทย
สำหรับพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชานั้น เนื่องจากผู้คนทั่วไปให้ความสนใจและมีการวิพากษ์วิจารณ์กันตามสื่อต่างๆทั้งที่อยู่บนพื้นฐานของความจริงหรือปรุงแต่งเรื่องราวเพื่อทำลายกัน จึงควรที่จะให้มีผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้โดยเฉพาะ ทำการศึกษา ติดตาม เพื่อเสนอแนะในระดับนโยบายพร้อมกับการทำงานในเชิงรุก
ในด้านสื่อต่างๆทั้งในและนอกประเทศอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ส่วนการดำเนินการระยะสั้นขณะนี้คือการแสดงสิทธิในพื้นที่พร้อมกับเผยแพร่ผ่านสื่อต่างให้คนทั่วไปรับทราบ ทั้งนี้การทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยยึดผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง