ขอต่อจากเมื่อวานนะครับ
http://ppantip.com/topic/30393524
ประเทศไทยได้มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีป ด้านอ่าวไทย ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ตามเส้นนี้
ซึ่งผมพยายามหาข้อมูลว่า การลากเส้นที่ตั้งฉากกับพื้นที่ (จากในรูป ก็เส้นที่แบ่งไทยกับมาเลเซีย) มีหลักเกณฑ์อย่างไร แต่ก็หาไม่เจอ ใครพอช่วยอธิบายได้ จะขอบคุณมากนะครับ
ที่แน่ ๆ การลากเส้นนี้ มีการทับซ้อนกับประเทศเพื่อนบ้านแน่ ๆ ยกกรณีเส้นนี้ เมื่อไทยลากลักษณะนี้ มาเลเซียก็ลากอีกเส้นนึง ทำให้เกิดพื้นที่ทับซ้อนขึ้นมา
แต่เป็นว่าการลากเส้นของสองชาติที่ทับซ้อนกัน ก็ทำให้เกิดพื้นที่ทับซ้อน ที่ต้องมาเจรจากัน
ก็ไปเจอบทความนึง ที่พออธิบายที่มาของการขีดเส้นพื้นที่ JDA ไทย-มาเลเซีย
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=95771
ก็เป็นว่าขอหยุดเรื่อง ไทย - มาเลเซีย ไว้ตรงนี้ ถ้ามีความรู้ใหม่ อาจจะย้อนมาว่ากันใหม่ แต่ที่แน่ ๆ ตอนนี้ไทยกับมาเลเซีย ก็ได้แบ่งผลประโยชน์กันแล้ว
ต่อไปก็ขอไปดูการลากเส้นของกัมพูชาบ้าง
ทางกัมพูชาได้มีประกาศกฤษฎีกากำหนดทะเลอาณาเขตของกัมพูชา ในวันที่ 12 กันยายน 2515
ซึ่งจากรูป เส้นที่ขนานกับแผ่นดิน ก็คงเหมือนกับไทยลาก คือวัดออกจากไหล่ทวีปไปตามระยะทาง แต่มีเส้นอยู่สองส่วน คือเส้นที่ลากจากเส้นแบ่งแดน ไทยกัมพูชา (จากจุด A) ไปกลางทะเล และจากจุด B เส้นแบ่งแดนกัมพูชา เวียดนาม ออกไปกลางทะเล อันนี้ ก็ไม่เข้าใจว่ากัมพูชามีวิธีการลากยังไง
แต่พอเข้าใจได้ว่า เป็นเพราะกัมพูชามีเกาะกลางทะเล ก็เลยลากเส้นเชื่อมเพื่อล้อมเกาะ ให้อยู่ในทะเลอาณาเขตของประเทศ
แต่ก็ยังไม่เข้าใจวิธีการลาก ที่ลากเส้นผ่านเกาะกูดไปครึ่งเกาะ และลากล้อมเอาเกาะ Cửa Dương, Phú Quốc ประเทศเวียดนาม ไปไว้ในเขตด้วย (ชื่อนี้ผมก็อปปี้จาก google map นะครับ อ่านไม่ออกเหมือนกันว่าชื่ออะไร)
แต่เมื่อสองประเทศตกลงกัน จากที่กัมพูชาลากไปอ้อมโลก ก็สรุปว่า ใช้การลากเส้นจากจุด B อ้อมเกาะ Cửa Dương, Phú Quốc แล้วพุ่งไปหาจุดกึ่งกลางเส้นระยะห่าง ระหว่างเกาะไว(poulo wei : กัมพูชา) และเกาะปันจู(Thổ Châu : เวียดนาม) (คร่าว ๆ ตามรูป)
ซึ่งทำให้เส้นแบ่งระหว่างสองประเทศมีเป็นแบบในรูปพื้นที่ทับซ้อน
ซึ่งดูแล้วทั้งสองประเทศ ก็คงลากเส้นอ้างอิงคนละแนวทาง แต่สุดท้าย เส้นที่สรุปกันได้ ก็ดูแล้วน่าจะเป็นการแบ่งครึ่งที่เท่าเทียมกันดี
พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ในอ่าวไทย (2)
http://ppantip.com/topic/30393524
ประเทศไทยได้มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีป ด้านอ่าวไทย ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ตามเส้นนี้
ซึ่งผมพยายามหาข้อมูลว่า การลากเส้นที่ตั้งฉากกับพื้นที่ (จากในรูป ก็เส้นที่แบ่งไทยกับมาเลเซีย) มีหลักเกณฑ์อย่างไร แต่ก็หาไม่เจอ ใครพอช่วยอธิบายได้ จะขอบคุณมากนะครับ
ที่แน่ ๆ การลากเส้นนี้ มีการทับซ้อนกับประเทศเพื่อนบ้านแน่ ๆ ยกกรณีเส้นนี้ เมื่อไทยลากลักษณะนี้ มาเลเซียก็ลากอีกเส้นนึง ทำให้เกิดพื้นที่ทับซ้อนขึ้นมา
แต่เป็นว่าการลากเส้นของสองชาติที่ทับซ้อนกัน ก็ทำให้เกิดพื้นที่ทับซ้อน ที่ต้องมาเจรจากัน
ก็ไปเจอบทความนึง ที่พออธิบายที่มาของการขีดเส้นพื้นที่ JDA ไทย-มาเลเซีย
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=95771
ก็เป็นว่าขอหยุดเรื่อง ไทย - มาเลเซีย ไว้ตรงนี้ ถ้ามีความรู้ใหม่ อาจจะย้อนมาว่ากันใหม่ แต่ที่แน่ ๆ ตอนนี้ไทยกับมาเลเซีย ก็ได้แบ่งผลประโยชน์กันแล้ว
ต่อไปก็ขอไปดูการลากเส้นของกัมพูชาบ้าง
ทางกัมพูชาได้มีประกาศกฤษฎีกากำหนดทะเลอาณาเขตของกัมพูชา ในวันที่ 12 กันยายน 2515
ซึ่งจากรูป เส้นที่ขนานกับแผ่นดิน ก็คงเหมือนกับไทยลาก คือวัดออกจากไหล่ทวีปไปตามระยะทาง แต่มีเส้นอยู่สองส่วน คือเส้นที่ลากจากเส้นแบ่งแดน ไทยกัมพูชา (จากจุด A) ไปกลางทะเล และจากจุด B เส้นแบ่งแดนกัมพูชา เวียดนาม ออกไปกลางทะเล อันนี้ ก็ไม่เข้าใจว่ากัมพูชามีวิธีการลากยังไง
แต่พอเข้าใจได้ว่า เป็นเพราะกัมพูชามีเกาะกลางทะเล ก็เลยลากเส้นเชื่อมเพื่อล้อมเกาะ ให้อยู่ในทะเลอาณาเขตของประเทศ
แต่ก็ยังไม่เข้าใจวิธีการลาก ที่ลากเส้นผ่านเกาะกูดไปครึ่งเกาะ และลากล้อมเอาเกาะ Cửa Dương, Phú Quốc ประเทศเวียดนาม ไปไว้ในเขตด้วย (ชื่อนี้ผมก็อปปี้จาก google map นะครับ อ่านไม่ออกเหมือนกันว่าชื่ออะไร)
แต่เมื่อสองประเทศตกลงกัน จากที่กัมพูชาลากไปอ้อมโลก ก็สรุปว่า ใช้การลากเส้นจากจุด B อ้อมเกาะ Cửa Dương, Phú Quốc แล้วพุ่งไปหาจุดกึ่งกลางเส้นระยะห่าง ระหว่างเกาะไว(poulo wei : กัมพูชา) และเกาะปันจู(Thổ Châu : เวียดนาม) (คร่าว ๆ ตามรูป)
ซึ่งทำให้เส้นแบ่งระหว่างสองประเทศมีเป็นแบบในรูปพื้นที่ทับซ้อน
ซึ่งดูแล้วทั้งสองประเทศ ก็คงลากเส้นอ้างอิงคนละแนวทาง แต่สุดท้าย เส้นที่สรุปกันได้ ก็ดูแล้วน่าจะเป็นการแบ่งครึ่งที่เท่าเทียมกันดี