ในอดีตเกาะไซปรัสอยู่ภายใต้การครอบครองของจักรวรรดิออตโตมัน แต่หลังปี พ.ศ.2421 เกาะไซปรัสเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมอังกฤษ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาะไซปรัสเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ ขณะที่ตุรกีอ้างกรรมสิทธิเหนือเกาะแห่งนี้ ส่วนกรีซก็อ้างกรรมสิทธิเช่นเดียวกัน เนื่องจากประชากรกว่าร้อยละ 70 เป็นชาวไซปรัสเชื้อสายกรีซ
เกาะไซปรัสบรรลุข้อตกลงลอนดอนและซูริช (London and Zurich Agreements) ระหว่างอังกฤษ, กรีซ และตุรกี จนประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2503
มาคาริออส ได้รับการสถานปนาเป็นประธานาธิบดีคนแรกของไซปรัส แม้ไซปรัสจะเป็นเอกราช แต่กรีซและตุรกียังคงพยายามแทรกแซงการเมืองภายในของตุรกีตลอดเวลา
หลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2503 เซมัล กอร์เซล ได้รับการสถาปนาเป็นประธานประเทศ และควบตำแหน่งนายกรัฐมนตรี, ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ต่อมา เซมัล กอร์เซล แต่งตั้ง รากิบ กูมูสปาลา ผู้บัญชาการแห่งกองทัพที่ 3 (Third Army) ที่มีส่วนร่วมในการรัฐประหารเป็นผู้บัญชาการทหารบก
2 เดือนต่อมา รากิบ กูมูสปาลา ลาออกจากตำแหน่ง และก่อตั้งพรรคยุติธรรม (Justice Party) เพื่อเตรียมการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี โดยได้รับการสนับสนุนจาก เซมัล กอร์เซล
ปี พ.ศ.2504 เซมัล กอร์เซล เริ่มมีอาการอัมพาตบางส่วน แต่ยังเดินหน้าจัดให้มีการลงประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในเดือนตุลาคม
รัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้มีจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญ และมีการรื้อฟื้นสภาร่วมแห่งชาติตุรกี (Grand National Assembly of Turkey: สภาร่วม 2 สภาคือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีอำนาจแต่งตั้งประธานาธิบดี) ซึ่งต่อมาที่ประชุมแห่งนี้ได้มีการรับรองการเป็นประธานาธิบดีของ เซมัล กอร์เซล อย่างเป็นทางการ
1 เดือนต่อมามีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี แต่ รากิบ กูมูสปาลา พ่ายแพ้การเลือกตั้งต่อ มุตาฟา อิสเม็ต อินโนนู จากพรรคสาธารณรัฐประชาชน (Republican People's Party)
ปี พ.ศ.2507 สุไลมาน เดมิเรล ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคยุติธรรมต่อจาก รากิบ กูมูสปาลา ซึ่งเสียชีวิตอย่างปริศนาในเดือนมิถุนายน และสามารถชนะการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ.2508
ปี พ.ศ.2509 อาการอัมพาตของ เซมัล กอร์เซล ทรุดลงอย่างรวดเร็ว ต่อมาอเมริกาเสนอที่จะรับตัวเขาเข้ารับการรักษาที่ศูนย์การแพทย์ทหารวอเตอร์รีด ยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นของอเมริกากับ เซมัล กอร์เซล
อาการของ เซมัล กอร์เซล ทรุดลงอย่างหนัก รัฐบาลของ สุไลมาน เดมิเรล จึงตัดสินใจพาเขากลับตุรกีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2509
4 วันต่อมารัฐสภาลงมติให้ เซมัล กอร์เซล พ้นสภาพประธานาธิบดี และสภาร่วมแห่งชาติตุรกีลงมติแต่งตั้ง เคฟเด็ท ซูเนย์ ขึ้นเป็นประธานาธิบดี
เซมัล กอร์เซล เสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2509 รัฐบาลของ สุไลมาน เดมิเรล จัดรัฐพิธีศพให้เขาอย่างสมเกียรติ
ปี พ.ศ.2510 พ.อ.จอร์จ ปาปาโดเปาลอส (กรีซ) ก่อการรัฐประหาร และยึดอำนาจจากกษัตริย์คอนสแตนตินที่ 2 ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองของกรีซเป็นสาธารณรัฐกรีซ
ความสัมพันธ์ระหว่างกรีซและตุรกีเลวร้ายลงทันที หลังจากที่กรีซส่งทหารเข้าสู่เกาะไซปรัส และบีบให้ประธานาธิบดี มาคาริออส ยอมรับการเป็นดินแดนของกรีซ ตุรกีส่งกองทัพเข้าสู่เกาะไซปรัสเพื่อขับไล่กองทัพกรีซ
ช่วงปี พ.ศ.2511-2514 ตุรกีเผชิญหน้ากับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ การว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ผู้นำแรงงานและนักศึกษาฝ่ายซ้ายที่ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์จัดการประท้วงและนัดหยุดงานบ่อยครั้ง มีการลอบวางระเบิด, การปล้นสะดมร้านค้า และการเรียกค่าไถ่นักธุรกิจ รวมทั้งการลอบสังหารทางการเมือง
แม้ว่า สุไลมาน เดมิเรล ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นครั้ง 2 ในปี 2512 แต่ความระส่ำระสายกลับเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การผ่านร่างกฎหมายของรัฐสภาต้องหยุดชะงัก
ปี พ.ศ.2514 มหาวิทยาลัยหลายแห่งถูกสั่งปิด นักศึกษาที่ฝักใฝ่ลัทธิฟาสซิสต์ใหม่ (Neo-fascist: ลัทธิชาตินิยมที่มีความเชื่อว่า ชาติพันธุ์ของตนเองสูงกว่าชาติพันธุ์อื่น และต้องกำจัดชาติพันธุ์อื่นที่ด้อยกว่าให้หมดสิ้น) ปล้นธนาคาร และเรียกค่าไถ่ชาวอเมริกัน รวมทั้งการทำลายแหล่งผลประโยชน์ของอเมริกา การหยุดงานประท้วงเพิ่มมากขึ้น มีการลอบวางระเบิดหน่วยงานรัฐหลายแห่ง
12 มีนาคม 2514 นายพล เมมดัฮ ทักมัก ผู้บัญชาการทหารบกเข้าพบ สุไลมาน เดมิเรล และยื่น "หนังสือคำขาด" โดยมีเนื้อหาส่วนหนึ่งระบุว่า
"อนาธิปไตย, การเข่นฆ่าประชาชนด้วยกันเองจากความขัดแย้ง และความวุ่นวายทางสังคมและเศรษฐกิจ หากสิ่งเหล่านี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข กองทัพจะใช้กำลังเองตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด"
3 ชั่วโมงหลังการเจรจา สุไลมาน เดมิเรล ประกาศลาออก นักการเมืองหลายฝ่ายประนามการพยายามแทรกแซงการเมืองของทหารในครั้งนั้น
19 มีนาคม 2514 รัฐบาลลงมติเลือก ศ.นิฮาม อิริม ซึ่งไม่สังกัดพรรคการเมืองใดขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
27 เมษายน 2514 รัฐบาลประกาศกฎอัยการศึก 11 จังหวัดจาก 67 จังหวัด และมีการจับกุมนักศึกษา, นักวิชาการ, นักเขียน, สมาชิกสหภาพแรงงาน และนักการเมืองหลายร้อยคน
การรัฐประหารในครั้งนั้นถูกขนานนามว่า "การรัฐประหารด้วยการยื่นหนังสือคำขาด (Coup by Memorandum)" หรือ "การรัฐประหารเงียบ (Silent Military Coup)" เพราะทหารไม่มีการเคลื่อนยุทโธปกรณ์ หรือการสังหารแต่อย่างใด มีเพียงการยื่นคำขาดโดยตรงถึงนายกรัฐมนตรี
หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดทหารจึงเลือกที่จะยื่นคำขาดหลังจากที่ผู้ประท้วงเริ่มเบนเป้าหมายมายังผลประโยชน์ของอเมริกา
ขณะที่บางส่วนเชื่อว่า ทหารไม่พอใจต่อกรณีความขัดแย้งเกาะไซปรัสที่ สุไลมาน เดมิเรล มีท่าทีประนีประนอมต่อกรีซ
ใครอยู่เบื้องหลังการรัฐประหารตุรกี (3)
ในอดีตเกาะไซปรัสอยู่ภายใต้การครอบครองของจักรวรรดิออตโตมัน แต่หลังปี พ.ศ.2421 เกาะไซปรัสเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมอังกฤษ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาะไซปรัสเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ ขณะที่ตุรกีอ้างกรรมสิทธิเหนือเกาะแห่งนี้ ส่วนกรีซก็อ้างกรรมสิทธิเช่นเดียวกัน เนื่องจากประชากรกว่าร้อยละ 70 เป็นชาวไซปรัสเชื้อสายกรีซ
เกาะไซปรัสบรรลุข้อตกลงลอนดอนและซูริช (London and Zurich Agreements) ระหว่างอังกฤษ, กรีซ และตุรกี จนประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2503
มาคาริออส ได้รับการสถานปนาเป็นประธานาธิบดีคนแรกของไซปรัส แม้ไซปรัสจะเป็นเอกราช แต่กรีซและตุรกียังคงพยายามแทรกแซงการเมืองภายในของตุรกีตลอดเวลา
หลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2503 เซมัล กอร์เซล ได้รับการสถาปนาเป็นประธานประเทศ และควบตำแหน่งนายกรัฐมนตรี, ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ต่อมา เซมัล กอร์เซล แต่งตั้ง รากิบ กูมูสปาลา ผู้บัญชาการแห่งกองทัพที่ 3 (Third Army) ที่มีส่วนร่วมในการรัฐประหารเป็นผู้บัญชาการทหารบก
2 เดือนต่อมา รากิบ กูมูสปาลา ลาออกจากตำแหน่ง และก่อตั้งพรรคยุติธรรม (Justice Party) เพื่อเตรียมการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี โดยได้รับการสนับสนุนจาก เซมัล กอร์เซล
ปี พ.ศ.2504 เซมัล กอร์เซล เริ่มมีอาการอัมพาตบางส่วน แต่ยังเดินหน้าจัดให้มีการลงประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในเดือนตุลาคม
รัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้มีจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญ และมีการรื้อฟื้นสภาร่วมแห่งชาติตุรกี (Grand National Assembly of Turkey: สภาร่วม 2 สภาคือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีอำนาจแต่งตั้งประธานาธิบดี) ซึ่งต่อมาที่ประชุมแห่งนี้ได้มีการรับรองการเป็นประธานาธิบดีของ เซมัล กอร์เซล อย่างเป็นทางการ
1 เดือนต่อมามีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี แต่ รากิบ กูมูสปาลา พ่ายแพ้การเลือกตั้งต่อ มุตาฟา อิสเม็ต อินโนนู จากพรรคสาธารณรัฐประชาชน (Republican People's Party)
ปี พ.ศ.2507 สุไลมาน เดมิเรล ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคยุติธรรมต่อจาก รากิบ กูมูสปาลา ซึ่งเสียชีวิตอย่างปริศนาในเดือนมิถุนายน และสามารถชนะการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ.2508
ปี พ.ศ.2509 อาการอัมพาตของ เซมัล กอร์เซล ทรุดลงอย่างรวดเร็ว ต่อมาอเมริกาเสนอที่จะรับตัวเขาเข้ารับการรักษาที่ศูนย์การแพทย์ทหารวอเตอร์รีด ยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นของอเมริกากับ เซมัล กอร์เซล
อาการของ เซมัล กอร์เซล ทรุดลงอย่างหนัก รัฐบาลของ สุไลมาน เดมิเรล จึงตัดสินใจพาเขากลับตุรกีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2509
4 วันต่อมารัฐสภาลงมติให้ เซมัล กอร์เซล พ้นสภาพประธานาธิบดี และสภาร่วมแห่งชาติตุรกีลงมติแต่งตั้ง เคฟเด็ท ซูเนย์ ขึ้นเป็นประธานาธิบดี
เซมัล กอร์เซล เสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2509 รัฐบาลของ สุไลมาน เดมิเรล จัดรัฐพิธีศพให้เขาอย่างสมเกียรติ
ปี พ.ศ.2510 พ.อ.จอร์จ ปาปาโดเปาลอส (กรีซ) ก่อการรัฐประหาร และยึดอำนาจจากกษัตริย์คอนสแตนตินที่ 2 ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองของกรีซเป็นสาธารณรัฐกรีซ
ความสัมพันธ์ระหว่างกรีซและตุรกีเลวร้ายลงทันที หลังจากที่กรีซส่งทหารเข้าสู่เกาะไซปรัส และบีบให้ประธานาธิบดี มาคาริออส ยอมรับการเป็นดินแดนของกรีซ ตุรกีส่งกองทัพเข้าสู่เกาะไซปรัสเพื่อขับไล่กองทัพกรีซ
ช่วงปี พ.ศ.2511-2514 ตุรกีเผชิญหน้ากับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ การว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ผู้นำแรงงานและนักศึกษาฝ่ายซ้ายที่ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์จัดการประท้วงและนัดหยุดงานบ่อยครั้ง มีการลอบวางระเบิด, การปล้นสะดมร้านค้า และการเรียกค่าไถ่นักธุรกิจ รวมทั้งการลอบสังหารทางการเมือง
แม้ว่า สุไลมาน เดมิเรล ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นครั้ง 2 ในปี 2512 แต่ความระส่ำระสายกลับเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การผ่านร่างกฎหมายของรัฐสภาต้องหยุดชะงัก
ปี พ.ศ.2514 มหาวิทยาลัยหลายแห่งถูกสั่งปิด นักศึกษาที่ฝักใฝ่ลัทธิฟาสซิสต์ใหม่ (Neo-fascist: ลัทธิชาตินิยมที่มีความเชื่อว่า ชาติพันธุ์ของตนเองสูงกว่าชาติพันธุ์อื่น และต้องกำจัดชาติพันธุ์อื่นที่ด้อยกว่าให้หมดสิ้น) ปล้นธนาคาร และเรียกค่าไถ่ชาวอเมริกัน รวมทั้งการทำลายแหล่งผลประโยชน์ของอเมริกา การหยุดงานประท้วงเพิ่มมากขึ้น มีการลอบวางระเบิดหน่วยงานรัฐหลายแห่ง
12 มีนาคม 2514 นายพล เมมดัฮ ทักมัก ผู้บัญชาการทหารบกเข้าพบ สุไลมาน เดมิเรล และยื่น "หนังสือคำขาด" โดยมีเนื้อหาส่วนหนึ่งระบุว่า
"อนาธิปไตย, การเข่นฆ่าประชาชนด้วยกันเองจากความขัดแย้ง และความวุ่นวายทางสังคมและเศรษฐกิจ หากสิ่งเหล่านี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข กองทัพจะใช้กำลังเองตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด"
3 ชั่วโมงหลังการเจรจา สุไลมาน เดมิเรล ประกาศลาออก นักการเมืองหลายฝ่ายประนามการพยายามแทรกแซงการเมืองของทหารในครั้งนั้น
19 มีนาคม 2514 รัฐบาลลงมติเลือก ศ.นิฮาม อิริม ซึ่งไม่สังกัดพรรคการเมืองใดขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
27 เมษายน 2514 รัฐบาลประกาศกฎอัยการศึก 11 จังหวัดจาก 67 จังหวัด และมีการจับกุมนักศึกษา, นักวิชาการ, นักเขียน, สมาชิกสหภาพแรงงาน และนักการเมืองหลายร้อยคน
การรัฐประหารในครั้งนั้นถูกขนานนามว่า "การรัฐประหารด้วยการยื่นหนังสือคำขาด (Coup by Memorandum)" หรือ "การรัฐประหารเงียบ (Silent Military Coup)" เพราะทหารไม่มีการเคลื่อนยุทโธปกรณ์ หรือการสังหารแต่อย่างใด มีเพียงการยื่นคำขาดโดยตรงถึงนายกรัฐมนตรี
หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดทหารจึงเลือกที่จะยื่นคำขาดหลังจากที่ผู้ประท้วงเริ่มเบนเป้าหมายมายังผลประโยชน์ของอเมริกา
ขณะที่บางส่วนเชื่อว่า ทหารไม่พอใจต่อกรณีความขัดแย้งเกาะไซปรัสที่ สุไลมาน เดมิเรล มีท่าทีประนีประนอมต่อกรีซ