หลังการรัฐประหารด้วยการยื่นหนังสือคำขาดในปี พ.ศ.2514 สุไลมาน เดมิเรล ผันตนเองไปเป็นผู้นำฝ่ายค้าน
การเมืองตุรกีประกอบด้วยพรรคการเมืองหลายพรรค ส่วนใหญ่เป็นพรรคการเมืองขนาดเล็ก ส่งผลให้ต้องจัดตั้งรัฐบาลผสมที่ขาดเสถียรภาพ
2 พรรคใหญ่คือ พรรคยุติธรรมที่นำโดย สุไลมาน เดมิเรล ซึ่งมีท่าทีประนีประนอม กับพรรคสาธารณรัฐประชาชนที่นำโดย บูเลน อีเซวิท ซึ่งมีท่าทีแข็งกร้าวต่างผลัดกันแพ้-ชนะในการเลือกตั้ง
ช่วงปี พ.ศ.2518-2523 สุไลมาน เดมิเรล ได้เป็นนายกรัฐมนตรี 3 ครั้ง (พ.ศ.2518-2520, 2520-2521 และ 2522-2523) ขณะที่ บูเลน อีเซวิท ได้เป็นนายกรัฐมนตรี 2 ครั้ง (พ.ศ.2520 และ 2521-2522)
ช่วงปี พ.ศ.2521-2522 อิหร่านเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางการเมือง ต่อมา รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ผู้นำศาสนาอิหร่านก่อการปฏิวัติ และขับไล่พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี จนต้องลี้ภัยไปอยู่อเมริกา อิหร่านเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสาธารณรัฐอิสลาม
อเมริกาคว่ำบาตรอิหร่าน ความกลัวแผ่ขยายไปทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว กระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก
ตุรกีเกิดการแตกแยกทางความคิดอย่างรุนแรงระหว่างฝ่ายซ้ายที่ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ และฝ่ายขวาที่ฝักใฝ่ลัทธิฟาสซิสต์ใหม่
ทั้ง 2 ฝ่ายมีการปะทะ และลอบสังหารหลายครั้งจนมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 5,000 คน และบาดเจ็บหลายพันคน
21 ธันวาคม 2522 นายพล คีนัน อีฟเรน ผู้บัญชาการทหารบกส่งหนังสือคำขาดถึง สุไลมาน เดมิเรล (นายกรัฐมนตรี) และ บูเลน อีเซวิท (ผู้นำฝ่ายค้าน) ผ่านทางประธานาธิบดี ฟาริ ซาบิท โครูเติร์ก โดยขู่การทำรัฐประหารเพื่อยุติความขัดแย้งทางสังคม และความไร้เสถียรภาพของรัฐสภา แต่ทั้ง 2 กลับเพิกเฉย
กองทัพวางแผนก่อรัฐประหารหลายครั้ง แต่ต้องเลื่อนออกไป เนื่องจากรอผลการลงประชามติไม่ไว้วางใจ สุไลมาน เดมิเรล ในวันที่ 6 สิงหาคม 2523 ซึ่งผลปรากฎว่า สุไลมาน เดมิเรล ผ่านมาลงประชามติไม่ไว้วางใจ
12 กันยายน 2523 คีนัน อีฟเรน ก่อการรัฐประหาร มีการประกาศกฏอัยการศึก, ยกเลิกรัฐสภา, พักการใช้รัฐธรรมนูญ และห้ามพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรม
คณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Council) ควบคุมการปกครอง ส่งผลให้ตุรกีไม่มีประธานาธิบดีนานกว่า 2 ปี (พ.ศ.2523-2525)
ขณะที่นายพล บูเลท อูลูซู ผู้บัญชาการทหารเรือได้รับการสถาปนาเป็นนายกรัฐมนตรี
การรัฐประหารครั้งนั้นเป็นการรัฐประหารที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ตุรกี มีผู้ถูกจับกุมมากกว่า 500,000 คน
ผู้ถูกจับกุมส่วนใหญ่เป็นสมาชิกขององค์กรหมาป่าเทา (Grey Wolves) และพรรคขบวนการชาตินิยม (Nationalist Movement Party) ซึ่งฝักใฝ่ลัทธิฟาสซิสต์ใหม่ และองค์กรเส้นทางปฏิรูป (Devrimci Yol) ซึ่งฝักใฝ่คอมมิวนิสต์
ขณะที่ประชาชนหลายพันคนหายสาบสูญ และกว่า 100 คนถูกสังหารระหว่างการหลบหนีหรือจับกุม
ผู้ถูกจับกุมกว่า 230,000 คนถูกสอบสวนในศาลทหาร ซึ่งเสียชีวิตในระหว่างถูกคุมขังกว่า 200 คนจากความอดอยากและการทำร้ายร่างกาย และถูกประหารชีวิต 50 คน
ประชาชนกว่า 1.6 ล้านคนถูกขึ้นบัญชีดำ มีการปลดครูกว่า 3,000 คน, นักวิชาการกว่า 100 คน และผู้พิพากษากว่า 40 คน
สุไลมาน เดมิเรล, บูเลน อีเซวิท และนักการเมืองอีก 240 คนถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง 10 ปี และยุบพรรคการเมืองหลายพรรค
การรัฐประหารครั้งนั้น แม้ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า อเมริกามีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่ แต่สื่อมวลชนอเมริกันบางแห่งรายงานว่า คืนวันที่ 11 กันยายน 2523 กระทรวงการต่างประเทศอเมริกาโทรศัพท์แจ้งเตือนสถานทูตของตนในกรุงอังการา (เมืองหลวงของตุรกี) ก่อนการรัฐประหารเพียงไม่กี่ชั่วโมง
ใครอยู่เบื้องหลังการรัฐประหารตุรกี (4)
หลังการรัฐประหารด้วยการยื่นหนังสือคำขาดในปี พ.ศ.2514 สุไลมาน เดมิเรล ผันตนเองไปเป็นผู้นำฝ่ายค้าน
การเมืองตุรกีประกอบด้วยพรรคการเมืองหลายพรรค ส่วนใหญ่เป็นพรรคการเมืองขนาดเล็ก ส่งผลให้ต้องจัดตั้งรัฐบาลผสมที่ขาดเสถียรภาพ
2 พรรคใหญ่คือ พรรคยุติธรรมที่นำโดย สุไลมาน เดมิเรล ซึ่งมีท่าทีประนีประนอม กับพรรคสาธารณรัฐประชาชนที่นำโดย บูเลน อีเซวิท ซึ่งมีท่าทีแข็งกร้าวต่างผลัดกันแพ้-ชนะในการเลือกตั้ง
ช่วงปี พ.ศ.2518-2523 สุไลมาน เดมิเรล ได้เป็นนายกรัฐมนตรี 3 ครั้ง (พ.ศ.2518-2520, 2520-2521 และ 2522-2523) ขณะที่ บูเลน อีเซวิท ได้เป็นนายกรัฐมนตรี 2 ครั้ง (พ.ศ.2520 และ 2521-2522)
ช่วงปี พ.ศ.2521-2522 อิหร่านเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางการเมือง ต่อมา รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ผู้นำศาสนาอิหร่านก่อการปฏิวัติ และขับไล่พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี จนต้องลี้ภัยไปอยู่อเมริกา อิหร่านเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสาธารณรัฐอิสลาม
อเมริกาคว่ำบาตรอิหร่าน ความกลัวแผ่ขยายไปทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว กระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก
ตุรกีเกิดการแตกแยกทางความคิดอย่างรุนแรงระหว่างฝ่ายซ้ายที่ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ และฝ่ายขวาที่ฝักใฝ่ลัทธิฟาสซิสต์ใหม่
ทั้ง 2 ฝ่ายมีการปะทะ และลอบสังหารหลายครั้งจนมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 5,000 คน และบาดเจ็บหลายพันคน
21 ธันวาคม 2522 นายพล คีนัน อีฟเรน ผู้บัญชาการทหารบกส่งหนังสือคำขาดถึง สุไลมาน เดมิเรล (นายกรัฐมนตรี) และ บูเลน อีเซวิท (ผู้นำฝ่ายค้าน) ผ่านทางประธานาธิบดี ฟาริ ซาบิท โครูเติร์ก โดยขู่การทำรัฐประหารเพื่อยุติความขัดแย้งทางสังคม และความไร้เสถียรภาพของรัฐสภา แต่ทั้ง 2 กลับเพิกเฉย
กองทัพวางแผนก่อรัฐประหารหลายครั้ง แต่ต้องเลื่อนออกไป เนื่องจากรอผลการลงประชามติไม่ไว้วางใจ สุไลมาน เดมิเรล ในวันที่ 6 สิงหาคม 2523 ซึ่งผลปรากฎว่า สุไลมาน เดมิเรล ผ่านมาลงประชามติไม่ไว้วางใจ
12 กันยายน 2523 คีนัน อีฟเรน ก่อการรัฐประหาร มีการประกาศกฏอัยการศึก, ยกเลิกรัฐสภา, พักการใช้รัฐธรรมนูญ และห้ามพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรม
คณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Council) ควบคุมการปกครอง ส่งผลให้ตุรกีไม่มีประธานาธิบดีนานกว่า 2 ปี (พ.ศ.2523-2525)
ขณะที่นายพล บูเลท อูลูซู ผู้บัญชาการทหารเรือได้รับการสถาปนาเป็นนายกรัฐมนตรี
การรัฐประหารครั้งนั้นเป็นการรัฐประหารที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ตุรกี มีผู้ถูกจับกุมมากกว่า 500,000 คน
ผู้ถูกจับกุมส่วนใหญ่เป็นสมาชิกขององค์กรหมาป่าเทา (Grey Wolves) และพรรคขบวนการชาตินิยม (Nationalist Movement Party) ซึ่งฝักใฝ่ลัทธิฟาสซิสต์ใหม่ และองค์กรเส้นทางปฏิรูป (Devrimci Yol) ซึ่งฝักใฝ่คอมมิวนิสต์
ขณะที่ประชาชนหลายพันคนหายสาบสูญ และกว่า 100 คนถูกสังหารระหว่างการหลบหนีหรือจับกุม
ผู้ถูกจับกุมกว่า 230,000 คนถูกสอบสวนในศาลทหาร ซึ่งเสียชีวิตในระหว่างถูกคุมขังกว่า 200 คนจากความอดอยากและการทำร้ายร่างกาย และถูกประหารชีวิต 50 คน
ประชาชนกว่า 1.6 ล้านคนถูกขึ้นบัญชีดำ มีการปลดครูกว่า 3,000 คน, นักวิชาการกว่า 100 คน และผู้พิพากษากว่า 40 คน
สุไลมาน เดมิเรล, บูเลน อีเซวิท และนักการเมืองอีก 240 คนถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง 10 ปี และยุบพรรคการเมืองหลายพรรค
การรัฐประหารครั้งนั้น แม้ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า อเมริกามีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่ แต่สื่อมวลชนอเมริกันบางแห่งรายงานว่า คืนวันที่ 11 กันยายน 2523 กระทรวงการต่างประเทศอเมริกาโทรศัพท์แจ้งเตือนสถานทูตของตนในกรุงอังการา (เมืองหลวงของตุรกี) ก่อนการรัฐประหารเพียงไม่กี่ชั่วโมง