หลังการสถาปนาเป็นสาธารณรัฐตุรกีในปี พ.ศ.2466 ตุรกีใช้ระบอบกึ่งประธานาธิบดี (Semi-Presidential) โดยประธานาธิบดีดำรงสถานะเป็น "ประมุข" ของประเทศ ขณะที่นายกรัฐมนตรีดำรงสถานะ "หัวหน้ารัฐบาล" ด้วยโครงสร้างนี้เราจึงเห็นนายกรัฐมนตรีมีบทบาทในการบริหารประเทศมากกว่าประธานาธิบดี
หากคุณนึกไม่ออก ผมขอยกตัวอย่างประเทศไทยที่มีกษัตริย์เป็น "ประมุข" ของประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็น "หัวหน้ารัฐบาล" นายกรัฐมนตรีจึงมีอำนาจบริหารประเทศผ่านการรับรองของกษัตริย์
ประธานาธิบดีมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ส่วนนายกรัฐมนตรีมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 5 ปีเช่นเดียวกัน
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เศรษฐกิจยุโรปได้รับความบอบช้ำจากสงครามอย่างหนัก จนเป็นเหตุให้สหภาพโซเวียตถือโอกาสแย่งชิงมวลชนเพื่อแผ่ขยายลัทธิคอมมิวนิสต์เข้าไปในยุโรป
ในช่วงสงครามเย็นตุรกีถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดจุดหนึ่งที่ฝ่ายประชาธิปไตย และฝ่ายคอมมิวนิสต์พยายามช่วงชิงดินแดนแห่งนี้มาเป็นฝ่ายของตนเอง
ปี พ.ศ.2489 กรีซเผชิญกับสงครามกลางเมือง โดยฝ่ายที่ฝักใฝ่ประชาธิปไตย และฝ่ายที่ฝักใฝ่คอมมิวนิวส์ทำสงครามกัน แต่เนื่องจากยุโรปตะวันตกบอบช้ำเกินกว่าที่ปกป้องตุรกีและกรีซได้ กรีซจึงต้องต่อสู้เพียงลำพัง
ปี พ.ศ.2490 อเมริกาภายใต้ประธานาธิบดี แฮร์รี เอส. ทรูแมน เสนอลัทธิทรูแมน (Truman Doctrine) เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและการทหารแก่กรีซและตุรกี เพื่อปกป้องทั้ง 2 ประเทศจากการแผ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียต และสามารถดึงทั้ง 2 ประเทศเข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO ในปี พ.ศ.2495
ปี พ.ศ.2491 นายพล จอร์จ แคตเลตต์ มาร์แชลล์ ของอเมริกาเสนอแผนมาร์แชลล์ (Marshall Plan) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจยุโรปตะวันตกหลังสงคราม โดยการอัดฉีดเงินช่วยเหลือทั้งเงินกู้และเงินให้เปล่าจำนวน 12,000 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ (เทียบเท่ากับ 120,000 ล้านดอลล่าห์สหรัฐในปัจจุบัน) ตลอดช่วงระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ.2491-2494) จนสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจของยุโรปตะวันตกขึ้นมาได้อีกครั้ง
หลังการสิ้นสุดของลัทธิทรูแมน และแผนมาร์แชลล์ อเมริกายังคงมีอิทธิพลอย่างมากในตุรกี สร้างความกังวลให้กับหลายฝ่าย โดยเฉพาะนักการเมืองตุรกีหลายคนเชื่อว่า อเมริกาพยายามที่จะครอบงำตุรกี
ปี พ.ศ. 2502 นายกรัฐมนตรี อัดนาน เมนเดเรส ของตุรกีเดินทางเยือนอังกฤษด้วยสายการบินตุรกีแอร์ไลน์
ก่อนที่เครื่องบินจะลงจอดที่ท่าอากาศยานลอนดอนแกตวิกในกรุงลอนดอนเพียงไม่นาน เครื่องบินประสบอุบัติเหตุกระแทกรันเวย์จนระเบิด ส่งผลให้มีผู้โดยสาร 9 คนจาก 16 คน และลูกเรือ 5 คนจาก 8 คนเสียชีวิต
อัดนาน เมนเดเรส ถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเดอะ ลอนดอน คลินิค จนรอดชีวิตมาได้อย่างหวุดหวิด
อุบัติเหตุครั้งนั้นหลายฝ่ายเชื่อว่า อเมริกาเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง เนื่องจาก อัดนาน เมนเดเรส เป็นนักการเมืองที่มีแนวคิดต่อต้านอเมริกา
ปี พ.ศ. 2503 อัดนาน เมนเดเรส มีแผนที่จะเดินทางเยือนกรุงมอสโคว์ของสหภาพโซเวียตเพื่อกระชับความสัมพันธ์ สิ่งนี้สร้างความระแวงให้กับอเมริกาอย่างมาก
27 พฤษภาคม 2503 คณะรัฐประหารนำโดยนายพล เซมัล กอร์เซล ผู้บัญชาการทหารบก และนายพลอีก 37 คนยึดอำนาจ และจับกุมตัว อัดนาน เมนเดเรส และประธานาธิบดี จาลัล บายัล
เซมัล กอร์เซล ได้รับการสถาปนาเป็นประธานประเทศ (Head of State) ตุรกี และควบตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
การรัฐประหารครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต 57 คน มีการปลดผู้บัญการทหาร 235 คน, ทหารกว่า 3,000 คน, ผู้พิพากษาและอัยการกว่า 500 คน และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยกว่า 1,400 คน
ปี พ.ศ. 2504 ศาลทหารพิพากษาประหารชีวิต อัดนาน เมนเดเรส และนักการเมืองอีก 15 คนในข้อหามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สังหารหมู่อิสตันบูล (Istanbul pogrom: การสังหารหมู่ชาวกรีซที่อาศัยอยู่ในอิสตันบูลในเดือนกันยายน 2498 จากความเกลียดชังทางเชื้อชาติ) และยักยอกเงินจากกองทุนรัฐบาล
แม้พวกเขาจะร้องขอการอภัยโทษจากประธานประเทศ, ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคเนดี้ (อเมริกา) และสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (อังกฤษ) แต่ก็ไม่เป็นผล พวกเขาถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2504
การรัฐประหารครั้งนั้นหลายฝ่ายเชื่อว่าอเมริกาเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง เนื่องจากหลังจากที่ เซมัล กอร์เซล ได้รับการสถาปนาเป็นประธานประเทศไม่นานก็บรรลุข้อตกลงลับกับอเมริกาในการติดตั้งขีปนาวุธ PGM-19 Jupiter ในตุรกีจนเกือบนำไปสู่สงครามนิวเคลียร์ในวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบาในปี พ.ศ. 2504
ใครอยู่เบื้องหลังการรัฐประหารตุรกี (2)
หลังการสถาปนาเป็นสาธารณรัฐตุรกีในปี พ.ศ.2466 ตุรกีใช้ระบอบกึ่งประธานาธิบดี (Semi-Presidential) โดยประธานาธิบดีดำรงสถานะเป็น "ประมุข" ของประเทศ ขณะที่นายกรัฐมนตรีดำรงสถานะ "หัวหน้ารัฐบาล" ด้วยโครงสร้างนี้เราจึงเห็นนายกรัฐมนตรีมีบทบาทในการบริหารประเทศมากกว่าประธานาธิบดี
หากคุณนึกไม่ออก ผมขอยกตัวอย่างประเทศไทยที่มีกษัตริย์เป็น "ประมุข" ของประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็น "หัวหน้ารัฐบาล" นายกรัฐมนตรีจึงมีอำนาจบริหารประเทศผ่านการรับรองของกษัตริย์
ประธานาธิบดีมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ส่วนนายกรัฐมนตรีมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 5 ปีเช่นเดียวกัน
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เศรษฐกิจยุโรปได้รับความบอบช้ำจากสงครามอย่างหนัก จนเป็นเหตุให้สหภาพโซเวียตถือโอกาสแย่งชิงมวลชนเพื่อแผ่ขยายลัทธิคอมมิวนิสต์เข้าไปในยุโรป
ในช่วงสงครามเย็นตุรกีถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดจุดหนึ่งที่ฝ่ายประชาธิปไตย และฝ่ายคอมมิวนิสต์พยายามช่วงชิงดินแดนแห่งนี้มาเป็นฝ่ายของตนเอง
ปี พ.ศ.2489 กรีซเผชิญกับสงครามกลางเมือง โดยฝ่ายที่ฝักใฝ่ประชาธิปไตย และฝ่ายที่ฝักใฝ่คอมมิวนิวส์ทำสงครามกัน แต่เนื่องจากยุโรปตะวันตกบอบช้ำเกินกว่าที่ปกป้องตุรกีและกรีซได้ กรีซจึงต้องต่อสู้เพียงลำพัง
ปี พ.ศ.2490 อเมริกาภายใต้ประธานาธิบดี แฮร์รี เอส. ทรูแมน เสนอลัทธิทรูแมน (Truman Doctrine) เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและการทหารแก่กรีซและตุรกี เพื่อปกป้องทั้ง 2 ประเทศจากการแผ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียต และสามารถดึงทั้ง 2 ประเทศเข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO ในปี พ.ศ.2495
ปี พ.ศ.2491 นายพล จอร์จ แคตเลตต์ มาร์แชลล์ ของอเมริกาเสนอแผนมาร์แชลล์ (Marshall Plan) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจยุโรปตะวันตกหลังสงคราม โดยการอัดฉีดเงินช่วยเหลือทั้งเงินกู้และเงินให้เปล่าจำนวน 12,000 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ (เทียบเท่ากับ 120,000 ล้านดอลล่าห์สหรัฐในปัจจุบัน) ตลอดช่วงระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ.2491-2494) จนสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจของยุโรปตะวันตกขึ้นมาได้อีกครั้ง
หลังการสิ้นสุดของลัทธิทรูแมน และแผนมาร์แชลล์ อเมริกายังคงมีอิทธิพลอย่างมากในตุรกี สร้างความกังวลให้กับหลายฝ่าย โดยเฉพาะนักการเมืองตุรกีหลายคนเชื่อว่า อเมริกาพยายามที่จะครอบงำตุรกี
ปี พ.ศ. 2502 นายกรัฐมนตรี อัดนาน เมนเดเรส ของตุรกีเดินทางเยือนอังกฤษด้วยสายการบินตุรกีแอร์ไลน์
ก่อนที่เครื่องบินจะลงจอดที่ท่าอากาศยานลอนดอนแกตวิกในกรุงลอนดอนเพียงไม่นาน เครื่องบินประสบอุบัติเหตุกระแทกรันเวย์จนระเบิด ส่งผลให้มีผู้โดยสาร 9 คนจาก 16 คน และลูกเรือ 5 คนจาก 8 คนเสียชีวิต
อัดนาน เมนเดเรส ถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเดอะ ลอนดอน คลินิค จนรอดชีวิตมาได้อย่างหวุดหวิด
อุบัติเหตุครั้งนั้นหลายฝ่ายเชื่อว่า อเมริกาเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง เนื่องจาก อัดนาน เมนเดเรส เป็นนักการเมืองที่มีแนวคิดต่อต้านอเมริกา
ปี พ.ศ. 2503 อัดนาน เมนเดเรส มีแผนที่จะเดินทางเยือนกรุงมอสโคว์ของสหภาพโซเวียตเพื่อกระชับความสัมพันธ์ สิ่งนี้สร้างความระแวงให้กับอเมริกาอย่างมาก
27 พฤษภาคม 2503 คณะรัฐประหารนำโดยนายพล เซมัล กอร์เซล ผู้บัญชาการทหารบก และนายพลอีก 37 คนยึดอำนาจ และจับกุมตัว อัดนาน เมนเดเรส และประธานาธิบดี จาลัล บายัล
เซมัล กอร์เซล ได้รับการสถาปนาเป็นประธานประเทศ (Head of State) ตุรกี และควบตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
การรัฐประหารครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต 57 คน มีการปลดผู้บัญการทหาร 235 คน, ทหารกว่า 3,000 คน, ผู้พิพากษาและอัยการกว่า 500 คน และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยกว่า 1,400 คน
ปี พ.ศ. 2504 ศาลทหารพิพากษาประหารชีวิต อัดนาน เมนเดเรส และนักการเมืองอีก 15 คนในข้อหามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สังหารหมู่อิสตันบูล (Istanbul pogrom: การสังหารหมู่ชาวกรีซที่อาศัยอยู่ในอิสตันบูลในเดือนกันยายน 2498 จากความเกลียดชังทางเชื้อชาติ) และยักยอกเงินจากกองทุนรัฐบาล
แม้พวกเขาจะร้องขอการอภัยโทษจากประธานประเทศ, ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคเนดี้ (อเมริกา) และสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (อังกฤษ) แต่ก็ไม่เป็นผล พวกเขาถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2504
การรัฐประหารครั้งนั้นหลายฝ่ายเชื่อว่าอเมริกาเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง เนื่องจากหลังจากที่ เซมัล กอร์เซล ได้รับการสถาปนาเป็นประธานประเทศไม่นานก็บรรลุข้อตกลงลับกับอเมริกาในการติดตั้งขีปนาวุธ PGM-19 Jupiter ในตุรกีจนเกือบนำไปสู่สงครามนิวเคลียร์ในวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบาในปี พ.ศ. 2504