'สวัสดีค่ะ’ นะคะ ☺ วันนี้เราจะมาขอแชร์ข้อมูลและส่งต่อข้อมูลในเรื่องของการท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี
ทริปนี้เราได้รับสิทธิได้เข้าร่วมทริป จากการ่วมสนุกตอบคำถาม จาก 'สองคืน สามวัน อัศจรรย์เมืองกาญจน์'
ซึ่งการท่องเที่ยวครั้งนี้ก็ต้องขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, www.pantip.cpm, และ หนุ่มสาวทัวร์ มากๆนะคะ
ที่จัดกิจกรรมดีๆแบบนี้ ^^
เส้นทางมีทั้งหมด 5 เส้นทางนะคะ .. เราเลือกไปเส้นทางที่ 1
มีรายละเอียดดังนี้ค่ะ
- ชมอุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทเมืองสิงห์
- นั่งรถไฟ ณ สถานีรถไฟท่ากิเลน ไปยังสถานีถ้ำกระแซะ
- ชมถ้ำกระแซ และโค้งมรณะของเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์
- ชมพิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด พิพิธภัณฑ์แห่งความทรงจํา ของการสร้างทางรถไฟ
- กิจกรรม Tree Top Adventure ณ โฮมพุเตย รีสอร์ท
- สักการะพระพทุธรูป 5 สี (พระเจ้า 5 พระองค์) ณ วัดหาดงิ้ว
- แวะชมโครงการแหล่งท่องเที่ยวย้อนยุค มัลลิกา รศ.124
อาจจะมีหลายๆกระทู้ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางต่างๆแล้ว .. กระทู้ของเราเลยขอเน้นสถานที่ท่องเที่ยวแนวประวัติศาสตร์นะคะ
ด้วยความที่ชอบประวัติซศาสตร์เป็นพิเศษ
เริ่มกันที่ "อุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทเมืองสิงห์"
อุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทเมืองสิงห์ ตั้งอยู่ที่ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี .. ในส่วนของพื้นที่โบราณสถานจะมีเนื้อที่ทั้งหมด 641 ไร่
เสียค่าธรรมเนียมการเข้าชม คนละ 5 บาท
คลิปนี้เราตั้งใจทำมากกก ><
ซึ่งก่อนที่เราจะไปชมตัวปราสาท .. เราก็เข้าไปรับฟังการบรรยายข้อมูลต่างๆกับเจ้าหน้าที่ของทางอุทยานกันก่อน
ที่นี่เรียกว่า "อาคารจัดแสดงศิลปะโบราณวัตุ" ซึ่งรูปเคารพในที่นี้ส่วนมากจะเป็นรูปจำลอง
ก่อนเข้าไปที่ส่วนจัดแสดง(จำลอง) ทางเข้าก็จะเจอ 'ปติมากรรมรูปครุฑ' อยู่ข้างหน้า
ความหมายของปราสาทครุฑ น่าจะหมายถึง เป็นสัญลักษณ์ของเมืองที่กษัตริย์มาประทับอยู่ด้วย
แหล่งที่มา :
http://www.oknation.net/blog/voranai/2007/06/25/entry-1
ในส่วนของที่จัดแสดงจะเป็นปติมากรรจำลองจากของจริง
'หุ่นจำลองพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี '
ประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมีเป็นรูปแบบของประติมากรรมสำคัญที่จัดเป็นลักษณะเฉพาะ
เนื่องในศาสนาพุทธนิกายมหายานลัทธิโลเกศวรที่แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่ว่า
“พระองค์เป็นประหนึ่งวิญญาณของจักรวาลที่ได้เปล่งประกายสารัตถะแห่งการช่วยเหลือสัตว์โลกให้หลุดพ้นจากภาวะทั้งปวง
และความรอบรู้ชั้นสูงสุดยอดที่จะเผยแผ่ให้คงอยู่ได้ยาวนานตลอดไปด้วยจำนวนมากมายที่มีอยู่ของบรรดาพระพุทธองค์
ทั้งหลายอันอยู่รอบพระวรกาย”
แหล่งที่มา :
https://www.facebook.com/notes/kanok-limbipichai-love-king/พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี/288263721201824/
จะเห็นว่าฐานของรูปจำลองนี้จะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับผังเมือง .. ส่วนด้านหน้าที่มีทางไหลของน้ำมนต์
จะเป็นส่วนที่ให้น้ำที่มาจากการบูชาไหลลงมา ในส่วนนี้เราไม่แน่ใจว่าไหลลงมาใช้อาบหรือใช้ดื่มนะคะ
(รบกวนผู้รู้มาให้คำตอบเพิ่มเติมค่ะ)
โบราณวัตถุต่างๆ
พบที่เป็นเครื่องปั้นดินเผาทั้งที่เป็นภาชนะดินเผาประเภทเนื้อดินได้แก่ ตะคัน ผอบ หม้อ และภาชนะดินเผาประเภทเคลือบ
ทั้งแบบ สุโขทัย แบบเขมร เครื่องถ้วยเวียดนาม และเครื่องถ้วยจีน โบราณวัตถุประเภทอื่นๆ ที่พบได้แก่ แท่นหินบด พร้อมสากบด
ขวานหินขัด ลูกปัดหินอะเกต ลูกปัดหินคาร์นีเลียน ลูกปัดแก้ว ส่วนที่เป็นโลหะที่พบได้แก่เศียรนาคสำริด ซึ่งเป็นเครื่องประดับราชรถ
หรือราชยานคานหามแหวนทองคำ เหล็กยึด และเหล็กสกัดที่ใช้ในการก่อสร้าง
แหล่งที่มา :
http://www.muangsinghp.com/artifacts-exhibitions.html
ในส่วนของตัวปราสาทจะเป็นพุทธสถานซึ่งเป็นศิลปะแบบขอมบายน จะเป็นการสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่7
มีอายุ 800 ปีมาแล้ว มีการสร้างก่อนสุโขทัย 100 ปี
ส่วนของวัสดุในการก่อนสร้างตัวปราสาท จะเป็นวัสดุจากท้องถิ่น ซึ่งเรียกว่า 'ก้อนหินศิลาแลง'
ซึ่งแตกต่างจาก ปราสาทหินพิมาย หรือ ปราสาทหินพนมรุ้ง ก้อนหินศิลาแลง ไม่สามารถแกะสลักให้เป็นรูปต่างๆได้
เนื่องจากห้องหินจะมีการร่อน การขนย้านหินก็คือขนมาตามแม่น้ำแควน้อยหรือใช้สัตว์ใหญ่ลาก แต่ถ้าขนมาตามแม่น้ำแควน้ำ
ก็จะขนลำบากเพราะว่าเป็นการขนทวนน้ำขึ้นมา
ในส่วนของการซ่อมแซมตัวปราสาทนั้น ทางกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ
ในปี 2541 ก็ได้มีงบประมาณมาเพื่อทำการซ่อมแซม การซ่อมแซมนั้นใช้เวลาไปทั้งหมด 13 ปี
โดยเปิดให้เข้าชมครั้งแรกเมื่อ วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2530
ทางเข้าด้านหน้าจะมีแอ่งน้ำเล็ก เพื่อนใช้ล้างเท้าก่อนเดินเข้าพุทธสถาน เพราะมีความเชื่อว่าพุทธสถานมีความศักสิทธิ์
จึงต้องล้างเท้าก่อนเข้าพุทธสถาน
รูที่เห็นใหญ่คือ รูที่เค้าใช้เครื่องมือตอกเข้าไปเพื่อยกหรือลากหินมาสร้างตัวปราสาท เนื่องจากแหล่งหินที่นำมาสร้าง
จะอยู่ห่างจากปราสาท 40 กิโลเมตร (อยู่ที่ทุ่งนาคราช อ.เมือง จ.กาญจนบุรี)
บันไดทางขึ้นจะเป็นบันไดทางขึ้นเล็กๆแคบๆ ซึ่งจะต้องก้าวขึ้นในท่าที่ถูกต้อง คือต้องเอียงตัวแล้วก้าวขึ้นไป
จากที่วิทยากรบรรยาย เค้าบอกว่าที่สร้างบันไดแคบๆเพราะว่า ชุดของผู้ที่ได้รับอนุญาตเข้าไปในพุทธศาถานเป็นชุดที่ปล่อยชายลงมา
จึงต้องขึ้นพุทธสถานด้วยความเรียบร้อย
สีขาวๆนี้คือปูนขาว ที่ใช้ฉาบหินศิลาแลง
ปริศนาภาพสลักโกลนบนผนังศิลาแลง ระเบียงคดด้านทิศเหนือ เป็นภาพพระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร 4 กร ทำไมถึงมาอยู่ตรงนี้
บ้างก็ว่า เป็นจุดที่ตั้งของห้องพราหมณ์ทำพิธี บ้างก็ว่า เป็นรูปที่ตั้งใจจะสร้าง ให้เหมือนที่ปราสาทบันทายฉมาร์คือมีหลายองค์
เรียงรายโดยรอบ แต่หินศิลาแลงมันหยาบ การจะมานั่งปั้นรูปปูนปั้นทับทั้งองค์ช่างปั้นปูนคงไม่อยากทำ เพราะงานเขาก็ยังไม่เสร็จจึงทำได้องค์เดียวแล้วเลิก
แหล่งที่มา :
http://www.oknation.net/blog/voranai/2007/06/25/entry-1
โบราณสถานหมายเลข 2
เป็นฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าซ้อนกัน 2 ชั้น ซึ่งตรงกลางใช้ดินลูกรังหรือศิลาแลงเม็ดเล็กๆ อัดแน่น ก่อสร้างด้วยศิลาแลง
แล้วประดับด้วยลายปูนปั้นถัดจากลานเป็นแนวระเบียงคดและเป็นโคปุระด้านหน้า หรือด้านทิศตะวันออก มีทางขึ้น 4 ทิศ
ถัดจากโคปุระด้านหน้าออกไป 7 เมตร เป็นกลุ่มอาคาร 6 หลัง ตั้งรวมกันเป็นกลุ่มห่างจากโคปุระด้านหน้าค่อนข้างมาก
ประกอบด้วยปราสาทประธานอยู่ตรงกลาง ด้านข้างเป็นโคปุระด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ ด้านหลังเป็นโคปุระด้านทิศตะวันตก
ซุ้มทิศมุมตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน มีระเบียงคดและทางเดินเชื่อมต่อกัน
จากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข 2 นี้ได้พบแท่นฐานประติมากรรมหินทรายเป็นจำนวนมากตั้งอยู่ในโคปุระ
และตามแนวระเบียงคดและที่ซุ้มทิศ นอกจากนี้ยังพบประติมากรรมหินทรายรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระพุทธรูปนาคปรก
นางปรัชญาปารมิตา พระพิมพ์ดินเผาจำนวนมาก
ลักษณะตัวอาคารของโบราณสถานหมายเลข ๒ มีลักษณะไม่สมดุลกัน ไม่ว่าจะเป็นฐานของโคปุระด้านทิศตะวันออก
ซึ่งแต่ละด้านย่อมุมไม่เท่ากัน หรือฐานของแนวระเบียงด้านทิศใต้ที่ไม่อยู่ในลักษณะของเส้นตรงเหมือนกับฐาน
ของแนวแนวระเบียงคดด้านทิศเหนือ หรือที่โคปุระด้านทิศเหนือที่มีทางขึ้นด้านข้างแต่กลับไม่พบที่โคปุระด้านทิศใต้
สิ่งเหล่านี้อาจจะแสดงให้เห็นว่าโบราณสถานหมายเลข 2 นี้อาจจะยังสร้างไม่เสร็จ หรือมีการก่อสร้างเพิ่มเติมจนทำให้อาคารมีลักษณะดังกล่าว
แหล้งที่มา :
http://www.muangsinghp.com/archaeological-site-2.html
ปล. ปราสาทนี้เราไม่ได้เข้าไปชมแบบลึกๆเลยไม่ค่อยได้ข้อมูลมากนะคะ
วิทยากรบอกว่า ที่นี่เค้าต้องรักษาต้นไม้ใหญ่ๆพวกนี้ไว้ค่ะ เพราะว่ารากของต้นไม้พวกนี้มันชอนไชเข้าไปที่ปราสาท
ถ้าต้นไม้ล้ม นั่นหมายถึงตัวปราสาทก็อาจจะล้มหรือได้รับความเสียหายตามไปด้วยค่ะ
โครงกระดูกอายุ ก่อนประวัติศาสตร์ 2000 ปี
โครงกระดูดหมายเลข 2
โครงกระดูกนี้มีอายุประมาณ 30-35 ปี เป็นเพศหญิง (ดูได้จากเครื่องประดับ) .. สิง่ของที่พบก็จะมีภาชนะดินเผาแบบเรียบสีดำ
มีลักษณะคล้ายครกตั้งใจทุบให้แตก ภาชนะดินเผาแบบเรียบเคลือบน้ำดินสีแดง และพบขวสนสำริดขนาดเมล็ดแบบมีบ้อง
ขวานสำริดนี้พบว่ามีรอยประทับของเมล็ดข้าวด้วย
โครงกระดูกหมายเลข 4
โครงกระดูกนี้มีอายุประมาณ 20-30 ปี สิ่งที่พบร่วมกับโครงกระดูกนี้มีทั้งภาชนะสำริด ที่เหนือศรีษะและบริเวณหัวเข่ารวม 2 ใบ
ภาชนะบริเวณปลายเท้า จำนวน 3 ใบ เครื่องมือเหล็ก เครื่องประดับต่างๆ เช่น กำไลสำริด กำไลเปลือกหอย และลูกปัด
หายๆคนอาจจะสงสัยว่า เอ๊ะ ! ทำไมคนในปัจจุบันอายุ 15-16 ปี ฟันกรามถึงขึ้นหมดแล้ว .. จากที่ฟังวิทยากรบรรยายท่านบอกว่า
มันเปลี่ยนแปลงไปตามวิวัฒนาการของมนุษย์ คนเราในปัจจุบันนี้โตไว มีทั้งอาหาร แร่ธาตุ บำรุงเยอะแยะไปหมด จึงทำให้ร่างกาย
ของคนในปัจจุบันโตไวกว่าคนในยุคก่อน บริเวณที่ขุดค้นพบนี้ ไม่ไช่บริเวณที่เค้ามาฝังศพกันเป็นประจำนะคะ
จากการสัณนิษฐานควาดว่าน่าจะเป็นคนที่เดินทางผ่านไปมามากกว่าค่ะเพราะว่าบริเวณนั้นไม่เจอโครงกระดูกอื่นๆเลยค่ะ
[SR] กาญจนบุรี กับ ฉัน ตอน ในมุมจากหน้าประวัติศาสตร์
ทริปนี้เราได้รับสิทธิได้เข้าร่วมทริป จากการ่วมสนุกตอบคำถาม จาก 'สองคืน สามวัน อัศจรรย์เมืองกาญจน์'
ซึ่งการท่องเที่ยวครั้งนี้ก็ต้องขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, www.pantip.cpm, และ หนุ่มสาวทัวร์ มากๆนะคะ
ที่จัดกิจกรรมดีๆแบบนี้ ^^
เส้นทางมีทั้งหมด 5 เส้นทางนะคะ .. เราเลือกไปเส้นทางที่ 1
มีรายละเอียดดังนี้ค่ะ
- ชมอุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทเมืองสิงห์
- นั่งรถไฟ ณ สถานีรถไฟท่ากิเลน ไปยังสถานีถ้ำกระแซะ
- ชมถ้ำกระแซ และโค้งมรณะของเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์
- ชมพิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด พิพิธภัณฑ์แห่งความทรงจํา ของการสร้างทางรถไฟ
- กิจกรรม Tree Top Adventure ณ โฮมพุเตย รีสอร์ท
- สักการะพระพทุธรูป 5 สี (พระเจ้า 5 พระองค์) ณ วัดหาดงิ้ว
- แวะชมโครงการแหล่งท่องเที่ยวย้อนยุค มัลลิกา รศ.124
อาจจะมีหลายๆกระทู้ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางต่างๆแล้ว .. กระทู้ของเราเลยขอเน้นสถานที่ท่องเที่ยวแนวประวัติศาสตร์นะคะ
ด้วยความที่ชอบประวัติซศาสตร์เป็นพิเศษ
เริ่มกันที่ "อุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทเมืองสิงห์"
อุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทเมืองสิงห์ ตั้งอยู่ที่ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี .. ในส่วนของพื้นที่โบราณสถานจะมีเนื้อที่ทั้งหมด 641 ไร่
เสียค่าธรรมเนียมการเข้าชม คนละ 5 บาท
คลิปนี้เราตั้งใจทำมากกก ><
ซึ่งก่อนที่เราจะไปชมตัวปราสาท .. เราก็เข้าไปรับฟังการบรรยายข้อมูลต่างๆกับเจ้าหน้าที่ของทางอุทยานกันก่อน
ที่นี่เรียกว่า "อาคารจัดแสดงศิลปะโบราณวัตุ" ซึ่งรูปเคารพในที่นี้ส่วนมากจะเป็นรูปจำลอง
ก่อนเข้าไปที่ส่วนจัดแสดง(จำลอง) ทางเข้าก็จะเจอ 'ปติมากรรมรูปครุฑ' อยู่ข้างหน้า
ความหมายของปราสาทครุฑ น่าจะหมายถึง เป็นสัญลักษณ์ของเมืองที่กษัตริย์มาประทับอยู่ด้วย
แหล่งที่มา : http://www.oknation.net/blog/voranai/2007/06/25/entry-1
ในส่วนของที่จัดแสดงจะเป็นปติมากรรจำลองจากของจริง
'หุ่นจำลองพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี '
ประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมีเป็นรูปแบบของประติมากรรมสำคัญที่จัดเป็นลักษณะเฉพาะ
เนื่องในศาสนาพุทธนิกายมหายานลัทธิโลเกศวรที่แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่ว่า
“พระองค์เป็นประหนึ่งวิญญาณของจักรวาลที่ได้เปล่งประกายสารัตถะแห่งการช่วยเหลือสัตว์โลกให้หลุดพ้นจากภาวะทั้งปวง
และความรอบรู้ชั้นสูงสุดยอดที่จะเผยแผ่ให้คงอยู่ได้ยาวนานตลอดไปด้วยจำนวนมากมายที่มีอยู่ของบรรดาพระพุทธองค์
ทั้งหลายอันอยู่รอบพระวรกาย”
แหล่งที่มา : https://www.facebook.com/notes/kanok-limbipichai-love-king/พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี/288263721201824/
จะเห็นว่าฐานของรูปจำลองนี้จะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับผังเมือง .. ส่วนด้านหน้าที่มีทางไหลของน้ำมนต์
จะเป็นส่วนที่ให้น้ำที่มาจากการบูชาไหลลงมา ในส่วนนี้เราไม่แน่ใจว่าไหลลงมาใช้อาบหรือใช้ดื่มนะคะ
(รบกวนผู้รู้มาให้คำตอบเพิ่มเติมค่ะ)
โบราณวัตถุต่างๆ
พบที่เป็นเครื่องปั้นดินเผาทั้งที่เป็นภาชนะดินเผาประเภทเนื้อดินได้แก่ ตะคัน ผอบ หม้อ และภาชนะดินเผาประเภทเคลือบ
ทั้งแบบ สุโขทัย แบบเขมร เครื่องถ้วยเวียดนาม และเครื่องถ้วยจีน โบราณวัตถุประเภทอื่นๆ ที่พบได้แก่ แท่นหินบด พร้อมสากบด
ขวานหินขัด ลูกปัดหินอะเกต ลูกปัดหินคาร์นีเลียน ลูกปัดแก้ว ส่วนที่เป็นโลหะที่พบได้แก่เศียรนาคสำริด ซึ่งเป็นเครื่องประดับราชรถ
หรือราชยานคานหามแหวนทองคำ เหล็กยึด และเหล็กสกัดที่ใช้ในการก่อสร้าง
แหล่งที่มา : http://www.muangsinghp.com/artifacts-exhibitions.html
ในส่วนของตัวปราสาทจะเป็นพุทธสถานซึ่งเป็นศิลปะแบบขอมบายน จะเป็นการสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่7
มีอายุ 800 ปีมาแล้ว มีการสร้างก่อนสุโขทัย 100 ปี
ส่วนของวัสดุในการก่อนสร้างตัวปราสาท จะเป็นวัสดุจากท้องถิ่น ซึ่งเรียกว่า 'ก้อนหินศิลาแลง'
ซึ่งแตกต่างจาก ปราสาทหินพิมาย หรือ ปราสาทหินพนมรุ้ง ก้อนหินศิลาแลง ไม่สามารถแกะสลักให้เป็นรูปต่างๆได้
เนื่องจากห้องหินจะมีการร่อน การขนย้านหินก็คือขนมาตามแม่น้ำแควน้อยหรือใช้สัตว์ใหญ่ลาก แต่ถ้าขนมาตามแม่น้ำแควน้ำ
ก็จะขนลำบากเพราะว่าเป็นการขนทวนน้ำขึ้นมา
ในส่วนของการซ่อมแซมตัวปราสาทนั้น ทางกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ
ในปี 2541 ก็ได้มีงบประมาณมาเพื่อทำการซ่อมแซม การซ่อมแซมนั้นใช้เวลาไปทั้งหมด 13 ปี
โดยเปิดให้เข้าชมครั้งแรกเมื่อ วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2530
ทางเข้าด้านหน้าจะมีแอ่งน้ำเล็ก เพื่อนใช้ล้างเท้าก่อนเดินเข้าพุทธสถาน เพราะมีความเชื่อว่าพุทธสถานมีความศักสิทธิ์
จึงต้องล้างเท้าก่อนเข้าพุทธสถาน
รูที่เห็นใหญ่คือ รูที่เค้าใช้เครื่องมือตอกเข้าไปเพื่อยกหรือลากหินมาสร้างตัวปราสาท เนื่องจากแหล่งหินที่นำมาสร้าง
จะอยู่ห่างจากปราสาท 40 กิโลเมตร (อยู่ที่ทุ่งนาคราช อ.เมือง จ.กาญจนบุรี)
บันไดทางขึ้นจะเป็นบันไดทางขึ้นเล็กๆแคบๆ ซึ่งจะต้องก้าวขึ้นในท่าที่ถูกต้อง คือต้องเอียงตัวแล้วก้าวขึ้นไป
จากที่วิทยากรบรรยาย เค้าบอกว่าที่สร้างบันไดแคบๆเพราะว่า ชุดของผู้ที่ได้รับอนุญาตเข้าไปในพุทธศาถานเป็นชุดที่ปล่อยชายลงมา
จึงต้องขึ้นพุทธสถานด้วยความเรียบร้อย
สีขาวๆนี้คือปูนขาว ที่ใช้ฉาบหินศิลาแลง
ปริศนาภาพสลักโกลนบนผนังศิลาแลง ระเบียงคดด้านทิศเหนือ เป็นภาพพระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร 4 กร ทำไมถึงมาอยู่ตรงนี้
บ้างก็ว่า เป็นจุดที่ตั้งของห้องพราหมณ์ทำพิธี บ้างก็ว่า เป็นรูปที่ตั้งใจจะสร้าง ให้เหมือนที่ปราสาทบันทายฉมาร์คือมีหลายองค์
เรียงรายโดยรอบ แต่หินศิลาแลงมันหยาบ การจะมานั่งปั้นรูปปูนปั้นทับทั้งองค์ช่างปั้นปูนคงไม่อยากทำ เพราะงานเขาก็ยังไม่เสร็จจึงทำได้องค์เดียวแล้วเลิก
แหล่งที่มา : http://www.oknation.net/blog/voranai/2007/06/25/entry-1
โบราณสถานหมายเลข 2
เป็นฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าซ้อนกัน 2 ชั้น ซึ่งตรงกลางใช้ดินลูกรังหรือศิลาแลงเม็ดเล็กๆ อัดแน่น ก่อสร้างด้วยศิลาแลง
แล้วประดับด้วยลายปูนปั้นถัดจากลานเป็นแนวระเบียงคดและเป็นโคปุระด้านหน้า หรือด้านทิศตะวันออก มีทางขึ้น 4 ทิศ
ถัดจากโคปุระด้านหน้าออกไป 7 เมตร เป็นกลุ่มอาคาร 6 หลัง ตั้งรวมกันเป็นกลุ่มห่างจากโคปุระด้านหน้าค่อนข้างมาก
ประกอบด้วยปราสาทประธานอยู่ตรงกลาง ด้านข้างเป็นโคปุระด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ ด้านหลังเป็นโคปุระด้านทิศตะวันตก
ซุ้มทิศมุมตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน มีระเบียงคดและทางเดินเชื่อมต่อกัน
จากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข 2 นี้ได้พบแท่นฐานประติมากรรมหินทรายเป็นจำนวนมากตั้งอยู่ในโคปุระ
และตามแนวระเบียงคดและที่ซุ้มทิศ นอกจากนี้ยังพบประติมากรรมหินทรายรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระพุทธรูปนาคปรก
นางปรัชญาปารมิตา พระพิมพ์ดินเผาจำนวนมาก
ลักษณะตัวอาคารของโบราณสถานหมายเลข ๒ มีลักษณะไม่สมดุลกัน ไม่ว่าจะเป็นฐานของโคปุระด้านทิศตะวันออก
ซึ่งแต่ละด้านย่อมุมไม่เท่ากัน หรือฐานของแนวระเบียงด้านทิศใต้ที่ไม่อยู่ในลักษณะของเส้นตรงเหมือนกับฐาน
ของแนวแนวระเบียงคดด้านทิศเหนือ หรือที่โคปุระด้านทิศเหนือที่มีทางขึ้นด้านข้างแต่กลับไม่พบที่โคปุระด้านทิศใต้
สิ่งเหล่านี้อาจจะแสดงให้เห็นว่าโบราณสถานหมายเลข 2 นี้อาจจะยังสร้างไม่เสร็จ หรือมีการก่อสร้างเพิ่มเติมจนทำให้อาคารมีลักษณะดังกล่าว
แหล้งที่มา : http://www.muangsinghp.com/archaeological-site-2.html
ปล. ปราสาทนี้เราไม่ได้เข้าไปชมแบบลึกๆเลยไม่ค่อยได้ข้อมูลมากนะคะ
วิทยากรบอกว่า ที่นี่เค้าต้องรักษาต้นไม้ใหญ่ๆพวกนี้ไว้ค่ะ เพราะว่ารากของต้นไม้พวกนี้มันชอนไชเข้าไปที่ปราสาท
ถ้าต้นไม้ล้ม นั่นหมายถึงตัวปราสาทก็อาจจะล้มหรือได้รับความเสียหายตามไปด้วยค่ะ
โครงกระดูกอายุ ก่อนประวัติศาสตร์ 2000 ปี
โครงกระดูดหมายเลข 2
โครงกระดูกนี้มีอายุประมาณ 30-35 ปี เป็นเพศหญิง (ดูได้จากเครื่องประดับ) .. สิง่ของที่พบก็จะมีภาชนะดินเผาแบบเรียบสีดำ
มีลักษณะคล้ายครกตั้งใจทุบให้แตก ภาชนะดินเผาแบบเรียบเคลือบน้ำดินสีแดง และพบขวสนสำริดขนาดเมล็ดแบบมีบ้อง
ขวานสำริดนี้พบว่ามีรอยประทับของเมล็ดข้าวด้วย
โครงกระดูกหมายเลข 4
โครงกระดูกนี้มีอายุประมาณ 20-30 ปี สิ่งที่พบร่วมกับโครงกระดูกนี้มีทั้งภาชนะสำริด ที่เหนือศรีษะและบริเวณหัวเข่ารวม 2 ใบ
ภาชนะบริเวณปลายเท้า จำนวน 3 ใบ เครื่องมือเหล็ก เครื่องประดับต่างๆ เช่น กำไลสำริด กำไลเปลือกหอย และลูกปัด
หายๆคนอาจจะสงสัยว่า เอ๊ะ ! ทำไมคนในปัจจุบันอายุ 15-16 ปี ฟันกรามถึงขึ้นหมดแล้ว .. จากที่ฟังวิทยากรบรรยายท่านบอกว่า
มันเปลี่ยนแปลงไปตามวิวัฒนาการของมนุษย์ คนเราในปัจจุบันนี้โตไว มีทั้งอาหาร แร่ธาตุ บำรุงเยอะแยะไปหมด จึงทำให้ร่างกาย
ของคนในปัจจุบันโตไวกว่าคนในยุคก่อน บริเวณที่ขุดค้นพบนี้ ไม่ไช่บริเวณที่เค้ามาฝังศพกันเป็นประจำนะคะ
จากการสัณนิษฐานควาดว่าน่าจะเป็นคนที่เดินทางผ่านไปมามากกว่าค่ะเพราะว่าบริเวณนั้นไม่เจอโครงกระดูกอื่นๆเลยค่ะ
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น