รักษาไว้ไม่ให้อันตรธาน - การพิจารณาศรัทธาล้ำปัญญาหรือไม่?

ขอโอกาสขออนุญาต อธิบายเรื่องการตรวจสอบว่าเราอยู่ในอาการของศรัทธาล้ำปัญญาหรือไม่? โดยจะประกอบพระสูตรแทรกเข้าไป และจะบอกถึงวิธีประยุกต์ใช้ได้อย่างไร...

การจะสำรวจใจตัวเองว่าเป็นผู้มีศรัทธามากไปจนขาดปัญญาหรือเปล่านั้น ขอแนะนำวิธีให้ทำการตรวจสอบอย่างเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้

๑. หาเรื่องที่กำลังศรัทธา : อันดับแรกเราจะต้องดูให้รู้เสียก่อนว่า เรากำลังศรัทธาในเรื่องอะไรอยู่ หรือกำลังศรัทธาใครอยู่ และดูว่าเราศรัทธาอย่างไร หลังจากศรัทธาแล้ว เราได้มีพฤติกรรมพูด ทำ คิดที่แสดงออกมาอย่างไร เพราะหากไม่รู้แล้ว ก็ยากที่จะนำไปตรวจสอบว่าเป็นการศรัทธามากไปจนขาดปัญญาหรือไม่? เหมือนกับเราต้องการที่จะแก้ไขปัญหาอะไรสักอย่างหนึ่ง เราจะต้องรู้เสียก่อนว่าอาการของปัญหาเป็นอย่างไร และหัวข้อปัญหานั้นคืออะไร

๒. ตรวจสอบเรื่องที่ศรัทธา :  ข้อนี้เป็นขั้นตอนสืบเนื่องจากข้อแรก โดยหลังจากทำข้อแรก "หาเรื่องที่กำลังศรัทธา" เรียบร้อยแล้ว เราก็นำเรื่องที่กำลังศรัทธา บุคคลที่เราศรัทธา พฤติกรรมการพูด ทำ คิดที่แสดงออกมาหลังจากเกิดศรัทธาแล้วประการต่างๆ มาตรวจสอบเทียบเคียงกับพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนเอาไว้ ซึ่งเมื่อตรวจสอบเทียบเคียงแล้ว เรื่องที่เรากำลังศรัทธาอยู่ ไม่ตรงกับพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า หรือบุคคลที่กำลังศรัทธาไม่ตรงกับบุคคลที่ควรศรัทธา หรือพฤติกรรมทางกาย วาจา ใจ การพูด การทำ การคิดที่แสดงออกมาเป็นไปในทางที่ไม่เหมาะไม่ควร เกินเลยไป นั่นแสดงว่าเรากำลังศรัทธามากเกินไปจนขาดปัญญาเสียแล้ว

๓. แก้ไขเรื่องที่ศรัทธา : ข้อนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย หลังจากเราตรวจสอบเทียบเคียงเสร็จแล้ว และรู้ว่าเรากำลังศรัทธาในเรื่องที่ไม่ควรศรัทธาอยู่ หรือเรากำลังศรัทธาบุคคลที่ไม่ควรอยู่ หรือเรากำลังกระทำพฤติกรรมทางกาย วาจา ใจ การพูด การทำ การคิดที่ไม่เหมาะไม่ควรเกินเลยไป เราก็ทำการแก้ไขเสียให้ถูกต้อง โดย

- หากเราศรัทธาเรื่องที่ไม่ควรศรัทธา : ให้เราเลิกศรัทธาเรื่องดังกล่าวเสียด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ให้หมั่นทบทวนถึงพระธรรมวินัยที่ได้บอกว่าทำไมเรื่องนี้ถึงไม่ควรศรัทธา, ไปเข้าหานั่งใกล้บุคคลที่นำไปในเรื่องที่ควรศรัทธาแทน,  ไปพูด-ทำ-คิดในแง่มุมของเรื่องที่ควรศรัทธาแทน เป็นต้น

- หากเราศรัทธาบุคคลที่ไม่ควรศรัทธา : ให้เราเลิกศรัทธาบุคคลนั้นๆ เสีย เช่น อาจจะห่างๆ ไป ไม่ยุ่งเกี่ยวหากไม่จำเป็นจริงๆ และหากจำเป็นต้องยุ่งเกี่ยวก็ควรจะควบคุมกาย วาจา ใจให้ดี เป็นต้น

- หากเรามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเกินเลยไป : ให้เราเลิกพฤติกรรมที่เกินเลยไปเสีย หันมาทำพฤติกรรมที่เหมาะสมแทน เช่น ทำทานโดยไม่ให้เกิดการเบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น, ทำทานโดยอธิษฐานพระนิพพาน เพื่อละกิเลส ไม่ใช่เพื่อลาภยศ สรรเสริญ เป็นต้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่