ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์
มหาวิทยาลัยเกียวโต
ในที่สุด รัฐบาลตุรกีก็สามารถควบคุมสถานการณ์วิกฤตการเมือง และดำเนินการจับกุมกลุ่มที่พยายามทำรัฐประหารเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาได้เป็นผลสำเร็จ ผลจากการรัฐประหารครั้งนี้ได้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 250 คน โดยที่ 104 คน ในนั้นเป็นทหารในฝ่ายที่ทำรัฐประหาร ส่วนที่เหลือเป็นจำนวนผู้เสียชีวิตของพลเรือนและข้าราชการตำรวจ นายกรัฐมนตรี Binali Yildirim แถลงว่าขณะนี้ ได้มีการจับกุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำรัฐประหารเกือบ 3,000 คน ขณะที่ประธานาธิบดีเรเซผ เทย์ยิบ เออร์โดกัน ได้ระบุว่าการทำรัฐประหารว่ามีนายเฟตหุลาห์ กุเลน เป็นผู้ชักใยอยู่เบื้องหลัง นายกุเลนเป็นนักบวชชาวตุรกีที่อยู่ในระหว่างการลี้ภัยในสหรัฐอเมริกา เออร์โดกันยังได้เรียกร้องให้สหรัฐฯ ส่งตัวนายกุเลนมายังตุรกี แต่นายกุเลนปฏิเสธว่าไม่มีส่วนรู้เห็นกับการทำรัฐประหารทั้งสิ้น
ส่วนฝ่ายที่ต่อต้านรัฐประหารนั้น นอกไปจากรัฐบาลแล้ว ก็ยังมีผู้นำทางทหารบางคนและนักการเมือง รัฐสภาจัดการประชุมสมัยพิเศษ เพื่อประท้วงการทำรัฐประหาร และได้ข้อสรุปว่า ผู้กระทำความผิดในกรณีนี้จะต้องได้รับโทษอย่างรุนแรง ฝ่ายประธานาธิบดีเออร์โดกันได้เรียกร้องให้ประชาชนออกมาสนับสนุนรัฐบาลและขับไล่ผู้ก่อรัฐประหาร ฝูงชนได้นัดพบและเริ่มการประท้วงที่จตุรัสทักสิม กลุ่มผู้ประท้วงแสดงความโกรธแค้นต่อการเข้าแทรกแซงทางการเมืองของกองทัพ หลายคนอาจไม่พอใจต่อความเป็นธรรมาภิบาลภายใต้รัฐบาลเออร์โดกัน แต่พวกเขาก็ไม่เห็นด้วยที่จะมีการล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยวิธีการที่ผิดกฏหมายและไม่ขอบธรรมเช่นนี้
จากเหตุการณ์ครั้งนี้ เราจะมีวิธีวิเคราะห์การทำรัฐประหารในตุรกีอย่างไร หากมองจากทางฝ่านเออร์โดกัน จะเห็นว่าขณะนี้รัฐบาลได้พุ่งเป้าไปที่นายกุเลน แม้ว่าโดยก่อนหน้านี้ นายกุเลนได้เคยเป็นพันธมิตรทางการเมืองที่สำคัญของเออร์โดกันมาก่อน แต่ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นศัตรูทางการเมือง จึงเป็นเรื่องไม่ยากที่รัฐบาลจะสรุปถึงความเกี่ยวโยงของการทำรัฐประหารไปสู่นายกุเลน
นอกเหนือไปจากความขัดแย้งระหว่างเออร์โดกันกับกุเลนแล้ว การรัฐประหารที่ล้มเหลวครั้งนี้ยังชี้ถึงความแตกแยกหรือการขาดเอกภาพในกองทัพตุรกีด้วย เราต้องทราบด้วยว่า กองทัพตุรกีถือเป็นกองทัพที่ใหญ่เป็นอันดับสองในองค์การนาโต้ (North Atlantic Treaty Organisation) กลุ่มทหารที่ทำรัฐประหารสามารถใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ระดับสูงในการปฏิบัติการ แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของข้าราชการทหารระดับสูงในการล้มล้างรัฐบาลเออร์โดกัน ดังนั้น จึงคาดการณ์ได้ว่า หลังจากการทำรัฐประหารครั้งนี้ จะมีความพยายามในการ “ล้างบาง” กลุ่มที่ไม่ยอมสวามิภักดิ์ต่อรัฐบาลนายเออร์โดกันอย่างแน่นอน
แม้ว่าการรัฐประหารจะไม่ใช่เรื่องใหม่ในตุรกี แต่ในรอบ 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้เกิดรัฐประหาร 4 ครั้ง ครั้งสุดท้ายได้เกิดขึ้นในทศวรรษที่ 1990 ในส่วนของรัฐบาลเออร์โดกันนั้น แม้จะมีความเป็นเผด็จการมากขึ้น แต่นโยบายของการสร้างตุรกีตามแนวทางอิสลามและการที่รัฐบาลต้องการมีอำนาจเหนือกองทัพ ดูจะเป็นไปด้วยดี จึงไม่มีใครคาดว่าจะเกิดรัฐประหารขึ้น นี่ไม่นับรวมการที่เออร์โดกันยังได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งทุกครั้งตั้งแต่ปี 2002 (เช่นเดียวกับฝ่ายทักษิณที่ชนะการเลือกตั้งทุกครั้งตั้งแต่ปี 2001) จึงยังคงได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนพอควร บวกกับการที่เศรษฐกิจภายใต้ระบอบเออร์โดกันเป็นไปด้วยดี จนทำให้นักวิจารณ์รัฐบาลหลายคนสรุปว่า เออร์โดกันอาจจะเป็นปีศาจที่เลวร้ายน้อยกว่ารัฐบาลทหารในอดีต
หลังจากรัฐประหารครั้งนี้ จะยิ่งทำให้เออร์โดกันมีอำนาจทางการเมืองมากขึ้น และอาจมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อมอบอำนาจพิเศษแก่ประธานาธิบดีในการบริหารวิกฤตการณ์อย่างเช่นครั้งที่ผ่านมา มองย้อนหลังหลับไป ต้องนับว่าเออร์โดกันเป็นผู้นำที่เล่นการเมืองได้อย่างมีไหวพริบ สร้างทั้งมิตรและกำหนดโฉมหน้าศัตรู เล่นทั้งบทผู้ชนะและเหยื่อทางการเมือง สร้างพื้นที่ให้กลุ่มจารีตนิยมแต่ก็เอากลุ่มคนพวกนี้มาอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลได้
และในขณะที่แสดงบทบาท "เหยื่อทางการเมือง" ที่ต้องต่อสู้กับศัตรูรายรอบทั้งจากพรรคฝ่ายค้าน ประเทศตะวันตกบางประเทศ และจากฝ่ายกุเลน ดังนั้น แต่ในสายตาผู้สนับสนุนเออร์โดกัน ชัยชนะเหนือรัฐประหารครั้งนี้ยืนยันว่า รัฐบาลได้รับอาณัติจากประชาชนอย่างแท้จริง จึงยิ่งมีความชอบธรรมในการกำจัดศัตรูทางการเมืองต่อไป
เป้าหมายต่อไปของการกำจัดศัตรูทางการเมืองของนายเออร์โดกันจึงอยู่ที่กองทัพและฝ่ายของนายกุเลน ดังที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากการจับกุมนายทหารระดับสูง การเรียกร้องให้สหรัฐฯ ส่งตัวนายกุเลนมารับโทษด้วยแล้ว ตอนนี้ รัฐบาลอาจกำลังจ้องกำจัดฝ่ายค้านด้วย โดยเฉพาะอดีตพรรคแรงงานเคริ์ด (ที่ถูกสั่งให้ยุบไปแล้ว) ด้วยข้อหาของการสนับสนุนการก่อการร้ายและมีการกระทำกระด้างกระเดี่องต่อรัฐตุรกี (ที่มีส่วนเกี่ยวโยงกับซีเรียด้วย)
คาดว่าการปราบปรามพรรคฝ่ายค้านนี้ จะส่งผลต่อการที่รัฐบาลเข้าควบคุมสื่อที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเออร์โดกันด้วย เราจึงอาจคาดการณ์ได้ว่า เสรีภาพของสื่อตุรกีคงจะย่ำแย่ลงกว่าในช่วงก่อนเหตุการณ์รัฐประหาร นอกจากนี้ เออร์โดกันจะยังเดินหน้ากำจัดศัตรูในฝ่ายตุลาการด้วย ผู้พิพากษากว่า 2,700 คนถูกปลดออกจากหน้าที่ ตุรกีหลังจากทำรัฐประหารจึงเต็มไปด้วยเรื่องของการล้างแค้นทางการเมือง แม้จะเป็นเรื่องดีที่ประชาชนออกมาต่อต้านรัฐบาล
แนวโน้มการเมืองตุรกีหลังจากนี้จึงอาจไม่สวยหรู แต่หากว่าผู้นำตุรกียุติการล้างแค้นทางการเมือง โดยใช้โอกาสนี้ลบความแตกแยกของสังคม ก็อาจจะเป็นโอกาสที่ดีให้ระบอบประชาธิปไตยในตุรกีได้เติบโต และถึงแม้ว่าสังคมไทยจะไม่มีสภาพเงื่อนไขเหมือนตุรกี แต่ก็อาจเรียนรู้จากบทเรียนทางการเมืองครั้งสำคัญนี้ได้เช่นเดียวกัน
JJNY : ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์: ทำความเข้าใจกับรัฐประหารตุรกี
มหาวิทยาลัยเกียวโต
ในที่สุด รัฐบาลตุรกีก็สามารถควบคุมสถานการณ์วิกฤตการเมือง และดำเนินการจับกุมกลุ่มที่พยายามทำรัฐประหารเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาได้เป็นผลสำเร็จ ผลจากการรัฐประหารครั้งนี้ได้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 250 คน โดยที่ 104 คน ในนั้นเป็นทหารในฝ่ายที่ทำรัฐประหาร ส่วนที่เหลือเป็นจำนวนผู้เสียชีวิตของพลเรือนและข้าราชการตำรวจ นายกรัฐมนตรี Binali Yildirim แถลงว่าขณะนี้ ได้มีการจับกุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำรัฐประหารเกือบ 3,000 คน ขณะที่ประธานาธิบดีเรเซผ เทย์ยิบ เออร์โดกัน ได้ระบุว่าการทำรัฐประหารว่ามีนายเฟตหุลาห์ กุเลน เป็นผู้ชักใยอยู่เบื้องหลัง นายกุเลนเป็นนักบวชชาวตุรกีที่อยู่ในระหว่างการลี้ภัยในสหรัฐอเมริกา เออร์โดกันยังได้เรียกร้องให้สหรัฐฯ ส่งตัวนายกุเลนมายังตุรกี แต่นายกุเลนปฏิเสธว่าไม่มีส่วนรู้เห็นกับการทำรัฐประหารทั้งสิ้น
ส่วนฝ่ายที่ต่อต้านรัฐประหารนั้น นอกไปจากรัฐบาลแล้ว ก็ยังมีผู้นำทางทหารบางคนและนักการเมือง รัฐสภาจัดการประชุมสมัยพิเศษ เพื่อประท้วงการทำรัฐประหาร และได้ข้อสรุปว่า ผู้กระทำความผิดในกรณีนี้จะต้องได้รับโทษอย่างรุนแรง ฝ่ายประธานาธิบดีเออร์โดกันได้เรียกร้องให้ประชาชนออกมาสนับสนุนรัฐบาลและขับไล่ผู้ก่อรัฐประหาร ฝูงชนได้นัดพบและเริ่มการประท้วงที่จตุรัสทักสิม กลุ่มผู้ประท้วงแสดงความโกรธแค้นต่อการเข้าแทรกแซงทางการเมืองของกองทัพ หลายคนอาจไม่พอใจต่อความเป็นธรรมาภิบาลภายใต้รัฐบาลเออร์โดกัน แต่พวกเขาก็ไม่เห็นด้วยที่จะมีการล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยวิธีการที่ผิดกฏหมายและไม่ขอบธรรมเช่นนี้
จากเหตุการณ์ครั้งนี้ เราจะมีวิธีวิเคราะห์การทำรัฐประหารในตุรกีอย่างไร หากมองจากทางฝ่านเออร์โดกัน จะเห็นว่าขณะนี้รัฐบาลได้พุ่งเป้าไปที่นายกุเลน แม้ว่าโดยก่อนหน้านี้ นายกุเลนได้เคยเป็นพันธมิตรทางการเมืองที่สำคัญของเออร์โดกันมาก่อน แต่ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นศัตรูทางการเมือง จึงเป็นเรื่องไม่ยากที่รัฐบาลจะสรุปถึงความเกี่ยวโยงของการทำรัฐประหารไปสู่นายกุเลน
นอกเหนือไปจากความขัดแย้งระหว่างเออร์โดกันกับกุเลนแล้ว การรัฐประหารที่ล้มเหลวครั้งนี้ยังชี้ถึงความแตกแยกหรือการขาดเอกภาพในกองทัพตุรกีด้วย เราต้องทราบด้วยว่า กองทัพตุรกีถือเป็นกองทัพที่ใหญ่เป็นอันดับสองในองค์การนาโต้ (North Atlantic Treaty Organisation) กลุ่มทหารที่ทำรัฐประหารสามารถใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ระดับสูงในการปฏิบัติการ แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของข้าราชการทหารระดับสูงในการล้มล้างรัฐบาลเออร์โดกัน ดังนั้น จึงคาดการณ์ได้ว่า หลังจากการทำรัฐประหารครั้งนี้ จะมีความพยายามในการ “ล้างบาง” กลุ่มที่ไม่ยอมสวามิภักดิ์ต่อรัฐบาลนายเออร์โดกันอย่างแน่นอน
แม้ว่าการรัฐประหารจะไม่ใช่เรื่องใหม่ในตุรกี แต่ในรอบ 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้เกิดรัฐประหาร 4 ครั้ง ครั้งสุดท้ายได้เกิดขึ้นในทศวรรษที่ 1990 ในส่วนของรัฐบาลเออร์โดกันนั้น แม้จะมีความเป็นเผด็จการมากขึ้น แต่นโยบายของการสร้างตุรกีตามแนวทางอิสลามและการที่รัฐบาลต้องการมีอำนาจเหนือกองทัพ ดูจะเป็นไปด้วยดี จึงไม่มีใครคาดว่าจะเกิดรัฐประหารขึ้น นี่ไม่นับรวมการที่เออร์โดกันยังได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งทุกครั้งตั้งแต่ปี 2002 (เช่นเดียวกับฝ่ายทักษิณที่ชนะการเลือกตั้งทุกครั้งตั้งแต่ปี 2001) จึงยังคงได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนพอควร บวกกับการที่เศรษฐกิจภายใต้ระบอบเออร์โดกันเป็นไปด้วยดี จนทำให้นักวิจารณ์รัฐบาลหลายคนสรุปว่า เออร์โดกันอาจจะเป็นปีศาจที่เลวร้ายน้อยกว่ารัฐบาลทหารในอดีต
หลังจากรัฐประหารครั้งนี้ จะยิ่งทำให้เออร์โดกันมีอำนาจทางการเมืองมากขึ้น และอาจมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อมอบอำนาจพิเศษแก่ประธานาธิบดีในการบริหารวิกฤตการณ์อย่างเช่นครั้งที่ผ่านมา มองย้อนหลังหลับไป ต้องนับว่าเออร์โดกันเป็นผู้นำที่เล่นการเมืองได้อย่างมีไหวพริบ สร้างทั้งมิตรและกำหนดโฉมหน้าศัตรู เล่นทั้งบทผู้ชนะและเหยื่อทางการเมือง สร้างพื้นที่ให้กลุ่มจารีตนิยมแต่ก็เอากลุ่มคนพวกนี้มาอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลได้
และในขณะที่แสดงบทบาท "เหยื่อทางการเมือง" ที่ต้องต่อสู้กับศัตรูรายรอบทั้งจากพรรคฝ่ายค้าน ประเทศตะวันตกบางประเทศ และจากฝ่ายกุเลน ดังนั้น แต่ในสายตาผู้สนับสนุนเออร์โดกัน ชัยชนะเหนือรัฐประหารครั้งนี้ยืนยันว่า รัฐบาลได้รับอาณัติจากประชาชนอย่างแท้จริง จึงยิ่งมีความชอบธรรมในการกำจัดศัตรูทางการเมืองต่อไป
เป้าหมายต่อไปของการกำจัดศัตรูทางการเมืองของนายเออร์โดกันจึงอยู่ที่กองทัพและฝ่ายของนายกุเลน ดังที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากการจับกุมนายทหารระดับสูง การเรียกร้องให้สหรัฐฯ ส่งตัวนายกุเลนมารับโทษด้วยแล้ว ตอนนี้ รัฐบาลอาจกำลังจ้องกำจัดฝ่ายค้านด้วย โดยเฉพาะอดีตพรรคแรงงานเคริ์ด (ที่ถูกสั่งให้ยุบไปแล้ว) ด้วยข้อหาของการสนับสนุนการก่อการร้ายและมีการกระทำกระด้างกระเดี่องต่อรัฐตุรกี (ที่มีส่วนเกี่ยวโยงกับซีเรียด้วย)
คาดว่าการปราบปรามพรรคฝ่ายค้านนี้ จะส่งผลต่อการที่รัฐบาลเข้าควบคุมสื่อที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเออร์โดกันด้วย เราจึงอาจคาดการณ์ได้ว่า เสรีภาพของสื่อตุรกีคงจะย่ำแย่ลงกว่าในช่วงก่อนเหตุการณ์รัฐประหาร นอกจากนี้ เออร์โดกันจะยังเดินหน้ากำจัดศัตรูในฝ่ายตุลาการด้วย ผู้พิพากษากว่า 2,700 คนถูกปลดออกจากหน้าที่ ตุรกีหลังจากทำรัฐประหารจึงเต็มไปด้วยเรื่องของการล้างแค้นทางการเมือง แม้จะเป็นเรื่องดีที่ประชาชนออกมาต่อต้านรัฐบาล
แนวโน้มการเมืองตุรกีหลังจากนี้จึงอาจไม่สวยหรู แต่หากว่าผู้นำตุรกียุติการล้างแค้นทางการเมือง โดยใช้โอกาสนี้ลบความแตกแยกของสังคม ก็อาจจะเป็นโอกาสที่ดีให้ระบอบประชาธิปไตยในตุรกีได้เติบโต และถึงแม้ว่าสังคมไทยจะไม่มีสภาพเงื่อนไขเหมือนตุรกี แต่ก็อาจเรียนรู้จากบทเรียนทางการเมืองครั้งสำคัญนี้ได้เช่นเดียวกัน