ข่าวร้ายทางเศรษฐกิจและการลงทุนที่รุมล้อมตลาดหุ้นในช่วงนี้ มีทั้งข่าวร้ายจากทวีปยุโรป กรณีวิกฤติด้านการเงินของประเทศกรีซ ข่าวร้ายในทวีปเอเชีย กรณีตลาดหุ้นจีนตกแบบถล่มทลาย รวมทั้งข่าวร้ายเกี่ยวกับเศรษฐกิจภายในประเทศของเราที่ไม่กระเตื้องขึ้นอย่างที่หลายๆ ฝ่ายคาดหวัง ส่งผลให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไม่คึกคัก เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่เกิดความวิตกกังวล
แต่สภาวะเศรษฐกิจและสภาวะตลาดหุ้นที่นักลงทุนวิตกกังวลอยู่นั้น ถือว่าเป็น “ภาพใหญ่” เกินไปที่จะประเมินได้ว่ามันส่งผลกระทบต่อการลงทุนของตัวเราเองมากน้อยเพียงใด เพราะฉะนั้นควรโฟกัสไปยัง “ภาพที่เล็กลง” ซึ่งก็คือ “กิจการ” ที่เราเข้าไปลงทุน ว่ายังสามารถดำเนินงานไปได้ด้วยดีอยู่หรือไม่? ได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด? และมีแนวโน้มอย่างไรในอนาคต? บางทีเราอาจจะพบว่าเรื่องร้ายๆ ที่มากับข่าวนั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญกับกิจการที่เราลงทุนอยู่แต่อย่างใด
“เซอร์ จอห์น เทมเพิลตัน” ได้ให้ข้อคิดไว้ว่า “นักลงทุนหลายต่อหลายคนพุ่งเป้าไปที่แนวโน้มตลาดหรือมุมมองทางเศรษฐกิจมากจนเกินไปจนลืมไปว่า หุ้นบางตัวสามารถเพิ่มสูงขึ้นได้แม้ตลาดจะอยู่ในสภาวะตลาดหมี ขณะเดียวกันราคาหุ้นบางตัวก็อาจจะตกต่ำลง แม้ว่ามันจะเป็นตลาดกระทิงก็ตาม ตลาดหุ้นและภาวะเศรษฐกิจไม่จำเป็นต้องไปในทิศทางเดียวกันเสมอไป…ดังนั้นจงเลือกซื้อหุ้นรายตัว แทนที่จะซื้อแนวโน้มตลาดหรือมุมมองทางด้านเศรษฐกิจ”
“วอร์เรน บัฟเฟตต์” มีความเห็นในแนวทางเดียวกันว่า “หากเราพบกิจการที่เราพึงพอใจ สภาวะของตลาดจะไม่มีผลกระทบอะไรต่อการตัดสินใจของเรา เราจะตัดสินซื้อหุ้นเป็นกิจการๆไป เราไม่เสียเวลาคิดเกี่ยวกับปัจจัยของเศรษฐศาสตร์มหภาค”
“ปีเตอร์ ลินซ์” กล่าวว่า “ผมไม่เชื่อในการทำนายตลาด ผมเชื่อในการซื้อหุ้นที่ดีเยี่ยมโดยเฉพาะบริษัทที่มีราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน และ/หรือ หุ้นที่ไม่ได้รับความสนใจตามที่มันควรจะเป็น” พร้อมทั้งแนะนำว่า “นักลงทุนไม่ต้องไปสนใจการขึ้นลงของตลาด แต่ให้ใช้เหตุผลในการซื้อขายเท่านั้น จำไว้เสมอว่า กำไรขาดทุนที่จะได้รับ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจโดยรวม แต่จะขึ้นอยู่กับปัจจัยเฉพาะของธุรกิจที่บริษัทดำเนินการอยู่ ดังนั้นไม่ต้องไปสนใจการขึ้นลงของตลาดหุ้น”
“ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร” ก็เคยให้คำแนะนำไว้เช่นกันว่า “ให้ความสำคัญกับตัวกิจการหรือตัวหุ้นมากกว่าสภาพตลาดหรือเศรษฐกิจโดยทั่วไป เพราะถึงแม้ว่าสภาพทางเศรษฐกิจอาจจะไม่ดี แต่ตัวบริษัทก็อาจจะดีได้ นอกจากนั้น ถึงกิจการอาจจะไม่ดีนักแต่ราคาหุ้นก็อาจจะต่ำกว่าพื้นฐานมาก ดังนั้นอย่าให้ภาพของตลาดหรือเศรษฐกิจมาหันเหการตัดสินใจซื้อหุ้นของเรา”
จะเห็นได้ว่า ในมุมมองของบรรดาสุดยอดนักลงทุนนั้น “พื้นฐานของกิจการ” คือสิ่งที่พวกเขาสนใจและให้ความสำคัญ ตราบใดที่กิจการยังสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี ต่อให้มี “ข่าวร้าย” เกี่ยวกับสภาวะของตลาดหุ้นหรือเศรษฐกิจอย่างไร ก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องวิตกกังวล
ปล..... เป็นบทความเก่าของ “ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร” ซึ่งยังคงมีความทันสมัยอยู่เสมอ ซึ่งตรงกับที่ผมคิดว่า ข่าวดี หรือ ข่าวร้ายในตลาด มันก็แค่
ข่าว ซึ๋งส่วนใหญ่ไม่ได้ส่งผลอะไรกับหุ้น มากกว่าส่งผลทางอารมณ์ของ นลท. หุ้นตัวเดียวออกได้หลายข่าวร้ายและข่าวดีในวันเดียว สิ่งที่สำคัญ
มากกว่าใส่ใจข่าว คือการบริหารหน้าตักและวินัยในการลงทุนมากกว่าครับ
" แค่ข่าวร้าย " โดย “ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร”
ข่าวร้ายทางเศรษฐกิจและการลงทุนที่รุมล้อมตลาดหุ้นในช่วงนี้ มีทั้งข่าวร้ายจากทวีปยุโรป กรณีวิกฤติด้านการเงินของประเทศกรีซ ข่าวร้ายในทวีปเอเชีย กรณีตลาดหุ้นจีนตกแบบถล่มทลาย รวมทั้งข่าวร้ายเกี่ยวกับเศรษฐกิจภายในประเทศของเราที่ไม่กระเตื้องขึ้นอย่างที่หลายๆ ฝ่ายคาดหวัง ส่งผลให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไม่คึกคัก เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่เกิดความวิตกกังวล
แต่สภาวะเศรษฐกิจและสภาวะตลาดหุ้นที่นักลงทุนวิตกกังวลอยู่นั้น ถือว่าเป็น “ภาพใหญ่” เกินไปที่จะประเมินได้ว่ามันส่งผลกระทบต่อการลงทุนของตัวเราเองมากน้อยเพียงใด เพราะฉะนั้นควรโฟกัสไปยัง “ภาพที่เล็กลง” ซึ่งก็คือ “กิจการ” ที่เราเข้าไปลงทุน ว่ายังสามารถดำเนินงานไปได้ด้วยดีอยู่หรือไม่? ได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด? และมีแนวโน้มอย่างไรในอนาคต? บางทีเราอาจจะพบว่าเรื่องร้ายๆ ที่มากับข่าวนั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญกับกิจการที่เราลงทุนอยู่แต่อย่างใด
“เซอร์ จอห์น เทมเพิลตัน” ได้ให้ข้อคิดไว้ว่า “นักลงทุนหลายต่อหลายคนพุ่งเป้าไปที่แนวโน้มตลาดหรือมุมมองทางเศรษฐกิจมากจนเกินไปจนลืมไปว่า หุ้นบางตัวสามารถเพิ่มสูงขึ้นได้แม้ตลาดจะอยู่ในสภาวะตลาดหมี ขณะเดียวกันราคาหุ้นบางตัวก็อาจจะตกต่ำลง แม้ว่ามันจะเป็นตลาดกระทิงก็ตาม ตลาดหุ้นและภาวะเศรษฐกิจไม่จำเป็นต้องไปในทิศทางเดียวกันเสมอไป…ดังนั้นจงเลือกซื้อหุ้นรายตัว แทนที่จะซื้อแนวโน้มตลาดหรือมุมมองทางด้านเศรษฐกิจ”
“วอร์เรน บัฟเฟตต์” มีความเห็นในแนวทางเดียวกันว่า “หากเราพบกิจการที่เราพึงพอใจ สภาวะของตลาดจะไม่มีผลกระทบอะไรต่อการตัดสินใจของเรา เราจะตัดสินซื้อหุ้นเป็นกิจการๆไป เราไม่เสียเวลาคิดเกี่ยวกับปัจจัยของเศรษฐศาสตร์มหภาค”
“ปีเตอร์ ลินซ์” กล่าวว่า “ผมไม่เชื่อในการทำนายตลาด ผมเชื่อในการซื้อหุ้นที่ดีเยี่ยมโดยเฉพาะบริษัทที่มีราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน และ/หรือ หุ้นที่ไม่ได้รับความสนใจตามที่มันควรจะเป็น” พร้อมทั้งแนะนำว่า “นักลงทุนไม่ต้องไปสนใจการขึ้นลงของตลาด แต่ให้ใช้เหตุผลในการซื้อขายเท่านั้น จำไว้เสมอว่า กำไรขาดทุนที่จะได้รับ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจโดยรวม แต่จะขึ้นอยู่กับปัจจัยเฉพาะของธุรกิจที่บริษัทดำเนินการอยู่ ดังนั้นไม่ต้องไปสนใจการขึ้นลงของตลาดหุ้น”
“ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร” ก็เคยให้คำแนะนำไว้เช่นกันว่า “ให้ความสำคัญกับตัวกิจการหรือตัวหุ้นมากกว่าสภาพตลาดหรือเศรษฐกิจโดยทั่วไป เพราะถึงแม้ว่าสภาพทางเศรษฐกิจอาจจะไม่ดี แต่ตัวบริษัทก็อาจจะดีได้ นอกจากนั้น ถึงกิจการอาจจะไม่ดีนักแต่ราคาหุ้นก็อาจจะต่ำกว่าพื้นฐานมาก ดังนั้นอย่าให้ภาพของตลาดหรือเศรษฐกิจมาหันเหการตัดสินใจซื้อหุ้นของเรา”
จะเห็นได้ว่า ในมุมมองของบรรดาสุดยอดนักลงทุนนั้น “พื้นฐานของกิจการ” คือสิ่งที่พวกเขาสนใจและให้ความสำคัญ ตราบใดที่กิจการยังสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี ต่อให้มี “ข่าวร้าย” เกี่ยวกับสภาวะของตลาดหุ้นหรือเศรษฐกิจอย่างไร ก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องวิตกกังวล
ปล..... เป็นบทความเก่าของ “ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร” ซึ่งยังคงมีความทันสมัยอยู่เสมอ ซึ่งตรงกับที่ผมคิดว่า ข่าวดี หรือ ข่าวร้ายในตลาด มันก็แค่
ข่าว ซึ๋งส่วนใหญ่ไม่ได้ส่งผลอะไรกับหุ้น มากกว่าส่งผลทางอารมณ์ของ นลท. หุ้นตัวเดียวออกได้หลายข่าวร้ายและข่าวดีในวันเดียว สิ่งที่สำคัญ
มากกว่าใส่ใจข่าว คือการบริหารหน้าตักและวินัยในการลงทุนมากกว่าครับ