ที่มา :
http://www.matichon.co.th/news/195754
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพิพัฒน์ กระแจะจันทร์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ซึ่งอยู่ระหว่างลงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ ได้เผยแพร่ข้อความในเฟซบุ๊ก โดยกล่าวถึงเนื้อหาการบรรยายของนาย Jonathan Freyer นักวิชาการชื่อดัง ในหัวข้อเกี่ยวกับ “เมืองยุคหลังสมัยใหม่” โดยส่วนหนึ่งของเนื้อหากล่าวถึงกรุงเทพมหานคร ว่าจัดเป็นเมืองขนาดใหญ่ แต่ในแง่ผังเมืองและการจัดการถือว่าล้าหลังมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
นอกจากนี้ ยังมีการสรุปถึงเหตุผลต่างๆหลายประการ เช่น ความไม่พยายามในการรวมระบบขนส่งให้เป็นหนึ่งเดียว , การไม่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เกิดประโยชน์ในการทำงานจากที่พัก , การที่กรุงเทพมีประชากรมากเกินไป เพราะผู้คนจากทั่วสาริศหลั่งไหลมาหาความเจริญ เป็นต้น
เนื้อหามีดังนี้
เลคเชอร์เรื่องเมืองยุคหลังสมัยใหม่ วันนี้มีการพูดถึงกรุงเทพฯ คือกรุงเทพฯ นี่จัดเป็นเมืองขนาดใหญ่ (mega city) ก็จริง แต่ในแง่ของผังเมืองและการจัดการถือว่าล้าหลังมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เพราะอะไร
หนึ่ง ไม่มีการพยายามรวมระบบการขนส่งให้กลายเป็นหนึ่งเดียว (Integrated transportation) ทำให้การขนส่งขาดความสะดวก ขาดการเชื่อมต่อที่ดี (จากรถเมบไปรถไฟไปเรือ) แถมรถติด…. (อันนี้คือสาเหตุลึกๆ ที่ผมคิดว่าบีบีซีอยากให้คนส่งภาพถ่ายเข้าไปเพื่อสะท้อนปัญหา)
ที่สำคัญด้วยคือ คนในกรุงเทพฯ เรียกได้ว่ารอรถเมลโดยไร้จุดหมายปลายทาง ซึ่งหมายความว่ากำลังเสียโอกาสและเงินในธุรกิจไปอย่างมหาศาล
สอง ไม่มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เกิดประโยชน์ทำให้คนต้องออกจากบ้านเพื่อไป ทำงาน (ต่างจากมาเลเซียที่มี Cyberjaya เมืองแห่งอนาคตทีคนทำงานอยู่กับห้องพักได้โดยไม่จำเป็นมากนักที่จะต้องไป บริษัท) (คิดว่าจะแก้ปัญหารถติดได้มากแค่ไหน จะทำให้คนในครอบครัวอยู่ด้วยกันได้มากแค่ไหน)
สาม ผู้คนจากทั่วสารทิศหลั่งไหลเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเสพความเจริญและโอกาสของชีวิต ซึ่งทำให้กรุงเทพฯ มีประชากรมากเกินไป (overpopulation) จนทำให้เต็มไปด้วยขยะ มลพิษ และอื่นๆ
สี่ ขาดการวางผังเมืองที่ดี ทำให้เมืองเป็นพื้นที่ของอาชญากรรม แทบไม่มีพื้นที่สีเขียว (ถึงมีก็กลายเป็นของนายทุนในไม่ช้า และ….สกปรก) ซึ่งทำให้เมืองไม่น่าอยู่
เรื่องพวกนี้ยังไม่นับรวมว่านอกจากคนบริหารเมืองขาดวิสัยทัศน์แล้ว ยังขาดความเข้าใจต่อเมืองในอนาคตทั้งๆ ที่มีตัวอย่างให้เรียนรู้ได้จากทั่วโลก
อ.ธรรมศาสตร์เผย นักวิชาการต่างชาติ จวก “ผังเมืองกรุงเทพฯ” ล้าหลังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพิพัฒน์ กระแจะจันทร์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ซึ่งอยู่ระหว่างลงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ ได้เผยแพร่ข้อความในเฟซบุ๊ก โดยกล่าวถึงเนื้อหาการบรรยายของนาย Jonathan Freyer นักวิชาการชื่อดัง ในหัวข้อเกี่ยวกับ “เมืองยุคหลังสมัยใหม่” โดยส่วนหนึ่งของเนื้อหากล่าวถึงกรุงเทพมหานคร ว่าจัดเป็นเมืองขนาดใหญ่ แต่ในแง่ผังเมืองและการจัดการถือว่าล้าหลังมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
นอกจากนี้ ยังมีการสรุปถึงเหตุผลต่างๆหลายประการ เช่น ความไม่พยายามในการรวมระบบขนส่งให้เป็นหนึ่งเดียว , การไม่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เกิดประโยชน์ในการทำงานจากที่พัก , การที่กรุงเทพมีประชากรมากเกินไป เพราะผู้คนจากทั่วสาริศหลั่งไหลมาหาความเจริญ เป็นต้น
เนื้อหามีดังนี้
เลคเชอร์เรื่องเมืองยุคหลังสมัยใหม่ วันนี้มีการพูดถึงกรุงเทพฯ คือกรุงเทพฯ นี่จัดเป็นเมืองขนาดใหญ่ (mega city) ก็จริง แต่ในแง่ของผังเมืองและการจัดการถือว่าล้าหลังมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เพราะอะไร
หนึ่ง ไม่มีการพยายามรวมระบบการขนส่งให้กลายเป็นหนึ่งเดียว (Integrated transportation) ทำให้การขนส่งขาดความสะดวก ขาดการเชื่อมต่อที่ดี (จากรถเมบไปรถไฟไปเรือ) แถมรถติด…. (อันนี้คือสาเหตุลึกๆ ที่ผมคิดว่าบีบีซีอยากให้คนส่งภาพถ่ายเข้าไปเพื่อสะท้อนปัญหา)
ที่สำคัญด้วยคือ คนในกรุงเทพฯ เรียกได้ว่ารอรถเมลโดยไร้จุดหมายปลายทาง ซึ่งหมายความว่ากำลังเสียโอกาสและเงินในธุรกิจไปอย่างมหาศาล
สอง ไม่มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เกิดประโยชน์ทำให้คนต้องออกจากบ้านเพื่อไป ทำงาน (ต่างจากมาเลเซียที่มี Cyberjaya เมืองแห่งอนาคตทีคนทำงานอยู่กับห้องพักได้โดยไม่จำเป็นมากนักที่จะต้องไป บริษัท) (คิดว่าจะแก้ปัญหารถติดได้มากแค่ไหน จะทำให้คนในครอบครัวอยู่ด้วยกันได้มากแค่ไหน)
สาม ผู้คนจากทั่วสารทิศหลั่งไหลเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเสพความเจริญและโอกาสของชีวิต ซึ่งทำให้กรุงเทพฯ มีประชากรมากเกินไป (overpopulation) จนทำให้เต็มไปด้วยขยะ มลพิษ และอื่นๆ
สี่ ขาดการวางผังเมืองที่ดี ทำให้เมืองเป็นพื้นที่ของอาชญากรรม แทบไม่มีพื้นที่สีเขียว (ถึงมีก็กลายเป็นของนายทุนในไม่ช้า และ….สกปรก) ซึ่งทำให้เมืองไม่น่าอยู่
เรื่องพวกนี้ยังไม่นับรวมว่านอกจากคนบริหารเมืองขาดวิสัยทัศน์แล้ว ยังขาดความเข้าใจต่อเมืองในอนาคตทั้งๆ ที่มีตัวอย่างให้เรียนรู้ได้จากทั่วโลก