ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา (Developing country) แต่ทำไมสัดส่วนผู้สูงอายุ/ประชากร จึงมากกว่าประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน

ประเทศไทยไทยซึ่งเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา (Developing country) แตกต่างจากประเทศที่กำลังพัฒนาทั่วไปโดยเฉพาะเรื่องสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุและคนทำงาน [ตัดเนื้อหามาจากข่าว] ซึ่งจากการคาดการณ์ของนายอูริค ซาเกา ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ "ไทยยังต้องเตรียมรับมือสังคมผู้สูงอายุที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นถึง 7.5 ล้านคนในปีนี้ หรือคิดเป็น 11% ของประชากรทั้งประเทศ และในอีก 24 ปีข้างหน้า ประชากรไทยที่มีอายุเกิน 65 ปี จะมีถึง 27 ล้านคน หรือมากกว่า 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งสวนทางกับจำนวนประชากรวัยทำงานที่จะลดจาก 49 ล้านคนเหลือ 40.5 ล้านคน โดยไทยจะมีประชากรในวัยทำงานลดลงมากกว่าประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออก" [จากสำนักข่าว บีบีซีไทย - BBC Thai]

มาเข้าประเด็นคำถามที่พูดถึงเลยนะครับ
1. ปัจจัยอะไรที่ทำให้ไทยเป็นเช่นนั้น ? [กล่าวคือแตกต่างจากประเทศที่กำลังพัฒนาด้วยกัน]
2. อะไรจะเป็นผลเกิดขึ้นในอนาคต หากประเทศที่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ในระดับแบบไทยต้องเผชิญปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ?
3. ประเทศแบบไทยที่เจอปัญหานี้และมีขีดจำกัดหรือปัจจัยเดียวกันกับไทยมีประเทศไหนบ้าง ?
4. รัฐบาลปัจจุบัน หรืออนาคต จะรับมืออย่างไร (กับแรงงานที่ลดลง , ผู้สูงอายุที่มากขึ้น)

ร่วมกันแสดงความเห็นนะครับ ผมสงสัยมาเป็นระยะหนึ่งแล้วจนกระทั่งเห็นข่าวของ บีบีซีไทย - BBC Thai วันนี้ [29 มิถุนายน 2559] จึงมาตั้งกระทู้ถามครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่