*** เอไอเอส ยันสัญญาเช่าทีโอที จบก่อน 30 มิ.ย.
ด้านนายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ในฐานะบริษัทแม่ของบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) ผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ได้นำคณะผู้บริหาร มาชำระค่าธรรมเนียมคลื่นความถี่ 900 MHz งวด แรกจำนวน 8,040 ล้านบาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% อีกจำนวน 562.80 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น จำนวน 8,602.80 ล้านบาท พร้อมกันนี้ได้นำหนังสือค้ำประกันทางการเงิน (แบงก์การันตี) ในส่วนที่เหลือ 72,346.98 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) มามอบให้สำนักงาน กสทช. ด้วย โดยมี นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ และน.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกสทช.เป็นผู้รับมอบ ทั้งนี้ภายหลังการชำระเงินสำนักงานฯได้เรียกประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค) ในบ่ายวันเดียวกัน เพื่อให้สามารถออกใบอนุญาต ประกอบกิจการโทรคมนาคมคลื่นความถี่ 900 MHz ในวันที่ 1 ก.ค. 2559 และจะหมดอายุใบอนุญาตวันที่ 30 มิ.ย. 2574
นายสมชัย กล่าวว่า ขณะนี้มีลูกค้าใช้งานระบบ 2G คลื่น 900 MHz ค้างในระบบจำนวน 3.7 แสนเลขหมาย ซึ่งต้องปล่อยให้ซิมดับ ทางบริษัทไม่สามาถทำเรื่องโอนย้ายเบอร์มาที่ AWNได้แบบอัตโนมัติต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจ ส่วนลูกค้าAWNที่ใช้คลื่น 2100 MHz เครื่อง 2G จำนวน 6 ล้านเลขหมาย นั้น การมีคลื่น 900 MHz ก็จะทำให้บริษัทสามารถให้บริการลูกค้าต่อได้
'ลูกค้าที่ค้างในคลื่น 900 MHz ระบบ 2G เดิมของ ทีโอที จำนวน 6 ล้านเลขหมายที่ยังใช้เครื่อง 2G นั้น AWNได้เตรียมการทำสัญญาเช่าเสาและอุปกรณ์กับ ทีโอที บนคลื่น 900 MHz เรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะสามารถสรุปกันได้ก่อนวันที่ 30 มิถุนายน 2559 โดยมีค่าเช่าประมาณ 166ล้านบาทต่อเดือนหรือ 2 พันล้านบาทต่อปี ส่วนเรื่องสัญญา 2100 MHz ของทีโอที ที่จะทำสัญญากับเอไอเอส ในรูปแบบเดียวกับ บีเอฟเคที นั้น เราต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการ'
ขณะที่นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. กล่าวว่า จำนวนลูกค้า 2G คลื่น 900 MHz ที่เหลืออยู่ก็ต้องปล่อยให้ซิมดับ เป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นเบอร์ที่ไม่มีการใช้งานแล้ว สำหรับการชำระเงินประมูลงวดที่สอง จะชำระจำนวน 4,020 ล้านบาท พร้อมภาษีมูลค่าเพิ่ม 281.40 ล้านบาท และหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินเพื่อค้ำประกันการชำระเงินประมูลคลื่นความถี่งวดที่สามภายใน 15 วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต โดยสำนักงาน กสทช. จะคืนหนังสือค้ำประกันที่ได้นำส่งงวดที่หนึ่งภายใน 15 วัน
http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9590000064581
1 กคนี้ AIS 900MHz 2G สัญญาณใหม่ ลูกค้า 6 ล้าน ใช้ต่อได้ เผย! เช่าเสา TOT ไว้เรียบร้อยแล้ว
ด้านนายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ในฐานะบริษัทแม่ของบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) ผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ได้นำคณะผู้บริหาร มาชำระค่าธรรมเนียมคลื่นความถี่ 900 MHz งวด แรกจำนวน 8,040 ล้านบาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% อีกจำนวน 562.80 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น จำนวน 8,602.80 ล้านบาท พร้อมกันนี้ได้นำหนังสือค้ำประกันทางการเงิน (แบงก์การันตี) ในส่วนที่เหลือ 72,346.98 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) มามอบให้สำนักงาน กสทช. ด้วย โดยมี นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ และน.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกสทช.เป็นผู้รับมอบ ทั้งนี้ภายหลังการชำระเงินสำนักงานฯได้เรียกประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค) ในบ่ายวันเดียวกัน เพื่อให้สามารถออกใบอนุญาต ประกอบกิจการโทรคมนาคมคลื่นความถี่ 900 MHz ในวันที่ 1 ก.ค. 2559 และจะหมดอายุใบอนุญาตวันที่ 30 มิ.ย. 2574
นายสมชัย กล่าวว่า ขณะนี้มีลูกค้าใช้งานระบบ 2G คลื่น 900 MHz ค้างในระบบจำนวน 3.7 แสนเลขหมาย ซึ่งต้องปล่อยให้ซิมดับ ทางบริษัทไม่สามาถทำเรื่องโอนย้ายเบอร์มาที่ AWNได้แบบอัตโนมัติต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจ ส่วนลูกค้าAWNที่ใช้คลื่น 2100 MHz เครื่อง 2G จำนวน 6 ล้านเลขหมาย นั้น การมีคลื่น 900 MHz ก็จะทำให้บริษัทสามารถให้บริการลูกค้าต่อได้
'ลูกค้าที่ค้างในคลื่น 900 MHz ระบบ 2G เดิมของ ทีโอที จำนวน 6 ล้านเลขหมายที่ยังใช้เครื่อง 2G นั้น AWNได้เตรียมการทำสัญญาเช่าเสาและอุปกรณ์กับ ทีโอที บนคลื่น 900 MHz เรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะสามารถสรุปกันได้ก่อนวันที่ 30 มิถุนายน 2559 โดยมีค่าเช่าประมาณ 166ล้านบาทต่อเดือนหรือ 2 พันล้านบาทต่อปี ส่วนเรื่องสัญญา 2100 MHz ของทีโอที ที่จะทำสัญญากับเอไอเอส ในรูปแบบเดียวกับ บีเอฟเคที นั้น เราต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการ'
ขณะที่นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. กล่าวว่า จำนวนลูกค้า 2G คลื่น 900 MHz ที่เหลืออยู่ก็ต้องปล่อยให้ซิมดับ เป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นเบอร์ที่ไม่มีการใช้งานแล้ว สำหรับการชำระเงินประมูลงวดที่สอง จะชำระจำนวน 4,020 ล้านบาท พร้อมภาษีมูลค่าเพิ่ม 281.40 ล้านบาท และหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินเพื่อค้ำประกันการชำระเงินประมูลคลื่นความถี่งวดที่สามภายใน 15 วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต โดยสำนักงาน กสทช. จะคืนหนังสือค้ำประกันที่ได้นำส่งงวดที่หนึ่งภายใน 15 วัน
http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9590000064581