ชัดแล้ว.!! การประมูลคลื่น 900 MHz ที่มีเพียงบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด หรือ DTN บริษัทในเครือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC เข้าร่วมประมูลเพียงรายเดียว แต่ถูกตั้งข้อสังเกตว่างานนี้ จะเป็น “ทุกขลาภ” หรือไม่..!?
ด้วยราคาประมูลคลื่น 900 ที่ 5 MHz ที่ DTAC กำลังจะคว้าไปนั้น คาดว่าจะสูงถึง 38,064 ล้านบาท (ราคาเริ่มต้นประมูล 37,988 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 76 ล้านบาท) ถือเป็นต้นทุนสูง โดยมีเงื่อนไขการชำระเงิน งวดแรก 4,020 ล้านบาท งวด 2 และ 3 งวดละ 2,010 ล้านบาท งวด 4 ที่เหลือทั้งหมดและเมื่อรวมกับเงินลงทุนในการขยายโครงข่าย คาดว่าต้องใช้เงินกว่า 50,000 ล้านบาทเลยทีเดียว
ตอกย้ำด้วยงบไตรมาส 3/61 ที่พลิกมา ขาดทุนสุทธิ 921 ล้านบาท ปรับลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 600 ล้านบาท หากดูไส้ในงบการเงินพบว่า DTAC มีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อยู่ที่ 1,828 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 193% จากไตรมาสเดียวกันปีก่อนและเพิ่มขึ้น 27% จากไตรมาสก่อน เพราะมีค่าใช้จ่ายการโรมมิ่ง 4G บนโครงข่ายคลื่นความถี่ 2300 MHz ที่จ่ายให้กับทีโอที
ขณะที่ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายของต้นทุนการให้บริการอยู่ที่ 7,856 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 14% จากไตรมาสก่อน อันเป็นผลจากการลงทุนโครงข่าย รวมทั้งมีรายการพิเศษจากค่าตัดจำหน่ายที่เป็นผลจากการระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ ในเสาโทรคมนาคมกับกสท. เป็นเงิน 14,464 ล้านบาท
และที่น่าใจหาย..!! เกิดปรากฏการณ์ลูกค้าไหลออก (ลูกค้าย้ายไปอยู่ค่ายคู่แข่ง) โดยพบว่า จำนวนลูกค้า DTAC ลดลงถึง 313,000 เลขหมาย โดยมีลูกค้ารวมอยู่ที่ 21.3 ล้านเลขหมาย จากลูกค้าระบบเติมเงินที่มีอยู่ 15.3 ล้านเลขหมาย ลดลง 404,000 เลขหมาย ส่วนลูกค้ารายเดือน แม้เพิ่มขึ้นกว่า 92,000 เลขหมาย ทำให้มีลูกค้ารายเดือนรวมกว่า 6 ล้านเลขหมาย แต่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าไตรมาส 2/61 ที่เพิ่มขึ้น 154,000 เลขหมาย สาเหตุเป็นเพราะความไม่แน่นอน เรื่องการหมดอายุสัญญาสัมปทานนั่นเอง
ยิ่งตอกย้ำว่า…ระยะสั้น DTAC อาจเป็นหุ้นที่ไม่สดใสมากนัก..!!
แต่หากมองระยะยาว จะเป็นผลดี เนื่องจากเงื่อนไขการประมูลคลื่น 900 MHz (ที่เอื้อให้ DTAC สุด ๆ) ยังอนุญาตให้ DTAC ใช้คลื่น 850 MHz ต่อไปได้อีก 2 ปี ซึ่งคลื่น 850 MHz และคลื่น 900 MHz เป็นคลื่นเดียวกัน แต่อุปกรณ์รับส่งสัญญาณเป็นคนละระบบ ทำให้ DTAC ยังให้บริการ 850 MHz ลูกค้าเดิมต่อไปได้อีก 2 ปี และค่อย ๆ ทยอยติดตั้งอุปกรณ์รับส่งคลื่น 900 MHz ในปีที่ 2 ช่วยให้ลูกค้าใช้งานคลื่น 850 MHz ได้ต่อเนื่อง
ที่สำคัญ…หลังหมดการเยียวยาคลื่น 1800 MHz และ 850 MHz ตั้งแต่ 16 ธ.ค.นี้เป็นต้นไป ส่วนแบ่งรายได้ที่ให้ภาครัฐจะลดลงจากปีนี้ราว 9% เหลือ 4% เพราะไม่ต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้ CAT ที่ 30% อีกต่อไป (รับรายได้ไปเต็ม ๆ)
ส่วนจำนวนคลื่นและพื้นที่การให้บริการ เริ่มทัดเทียมคู่แข่ง จึงคาดว่า DTAC จะกลับมามีกำไรไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ตั้งแต่ไตรมาส 4/61 เพราะไม่มีการตั้งตัดจำหน่ายสินทรัพย์สัมปทานราวไตรมาสละ 4,000 ล้านบาทอีกต่อไป โดยคาดกำไรปี 2562 จะเติบโตเกือบ 3 เท่าตัวเลยทีเดียว
ขณะที่บุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการ DTAC ออกมานั่งยันยืนยันว่า “ครั้งนี้เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับกลยุทธ์ DTAC ระยะยาว เพื่อยกระดับคุณภาพโครงข่าย สู่การสร้างความมั่นใจในการให้บริการอย่างต่อเนื่อง แก่ลูกค้า DTAC ทั่วประเทศ”
แต่จะเชื่อ “เสี่ยบุญชัย” ได้มากน้อยแค่ไหน อันนี้ต้องดูกันยาว ๆ..!?
ที่มา ข่าวหุ้น
DTAC สั้นร้าย…ยาวดี
ด้วยราคาประมูลคลื่น 900 ที่ 5 MHz ที่ DTAC กำลังจะคว้าไปนั้น คาดว่าจะสูงถึง 38,064 ล้านบาท (ราคาเริ่มต้นประมูล 37,988 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 76 ล้านบาท) ถือเป็นต้นทุนสูง โดยมีเงื่อนไขการชำระเงิน งวดแรก 4,020 ล้านบาท งวด 2 และ 3 งวดละ 2,010 ล้านบาท งวด 4 ที่เหลือทั้งหมดและเมื่อรวมกับเงินลงทุนในการขยายโครงข่าย คาดว่าต้องใช้เงินกว่า 50,000 ล้านบาทเลยทีเดียว
ตอกย้ำด้วยงบไตรมาส 3/61 ที่พลิกมา ขาดทุนสุทธิ 921 ล้านบาท ปรับลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 600 ล้านบาท หากดูไส้ในงบการเงินพบว่า DTAC มีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อยู่ที่ 1,828 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 193% จากไตรมาสเดียวกันปีก่อนและเพิ่มขึ้น 27% จากไตรมาสก่อน เพราะมีค่าใช้จ่ายการโรมมิ่ง 4G บนโครงข่ายคลื่นความถี่ 2300 MHz ที่จ่ายให้กับทีโอที
ขณะที่ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายของต้นทุนการให้บริการอยู่ที่ 7,856 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 14% จากไตรมาสก่อน อันเป็นผลจากการลงทุนโครงข่าย รวมทั้งมีรายการพิเศษจากค่าตัดจำหน่ายที่เป็นผลจากการระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ ในเสาโทรคมนาคมกับกสท. เป็นเงิน 14,464 ล้านบาท
และที่น่าใจหาย..!! เกิดปรากฏการณ์ลูกค้าไหลออก (ลูกค้าย้ายไปอยู่ค่ายคู่แข่ง) โดยพบว่า จำนวนลูกค้า DTAC ลดลงถึง 313,000 เลขหมาย โดยมีลูกค้ารวมอยู่ที่ 21.3 ล้านเลขหมาย จากลูกค้าระบบเติมเงินที่มีอยู่ 15.3 ล้านเลขหมาย ลดลง 404,000 เลขหมาย ส่วนลูกค้ารายเดือน แม้เพิ่มขึ้นกว่า 92,000 เลขหมาย ทำให้มีลูกค้ารายเดือนรวมกว่า 6 ล้านเลขหมาย แต่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าไตรมาส 2/61 ที่เพิ่มขึ้น 154,000 เลขหมาย สาเหตุเป็นเพราะความไม่แน่นอน เรื่องการหมดอายุสัญญาสัมปทานนั่นเอง
ยิ่งตอกย้ำว่า…ระยะสั้น DTAC อาจเป็นหุ้นที่ไม่สดใสมากนัก..!!
แต่หากมองระยะยาว จะเป็นผลดี เนื่องจากเงื่อนไขการประมูลคลื่น 900 MHz (ที่เอื้อให้ DTAC สุด ๆ) ยังอนุญาตให้ DTAC ใช้คลื่น 850 MHz ต่อไปได้อีก 2 ปี ซึ่งคลื่น 850 MHz และคลื่น 900 MHz เป็นคลื่นเดียวกัน แต่อุปกรณ์รับส่งสัญญาณเป็นคนละระบบ ทำให้ DTAC ยังให้บริการ 850 MHz ลูกค้าเดิมต่อไปได้อีก 2 ปี และค่อย ๆ ทยอยติดตั้งอุปกรณ์รับส่งคลื่น 900 MHz ในปีที่ 2 ช่วยให้ลูกค้าใช้งานคลื่น 850 MHz ได้ต่อเนื่อง
ที่สำคัญ…หลังหมดการเยียวยาคลื่น 1800 MHz และ 850 MHz ตั้งแต่ 16 ธ.ค.นี้เป็นต้นไป ส่วนแบ่งรายได้ที่ให้ภาครัฐจะลดลงจากปีนี้ราว 9% เหลือ 4% เพราะไม่ต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้ CAT ที่ 30% อีกต่อไป (รับรายได้ไปเต็ม ๆ)
ส่วนจำนวนคลื่นและพื้นที่การให้บริการ เริ่มทัดเทียมคู่แข่ง จึงคาดว่า DTAC จะกลับมามีกำไรไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ตั้งแต่ไตรมาส 4/61 เพราะไม่มีการตั้งตัดจำหน่ายสินทรัพย์สัมปทานราวไตรมาสละ 4,000 ล้านบาทอีกต่อไป โดยคาดกำไรปี 2562 จะเติบโตเกือบ 3 เท่าตัวเลยทีเดียว
ขณะที่บุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการ DTAC ออกมานั่งยันยืนยันว่า “ครั้งนี้เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับกลยุทธ์ DTAC ระยะยาว เพื่อยกระดับคุณภาพโครงข่าย สู่การสร้างความมั่นใจในการให้บริการอย่างต่อเนื่อง แก่ลูกค้า DTAC ทั่วประเทศ”
แต่จะเชื่อ “เสี่ยบุญชัย” ได้มากน้อยแค่ไหน อันนี้ต้องดูกันยาว ๆ..!?
ที่มา ข่าวหุ้น