พลิกความคาดหมายอย่างมากสำหรับการประมูลครั้งนี้ อนาคตของกลุ่มจะเป็นอย่างไร
1. AIS
- จากการให้สัมภาษณ์ดูเหมือนจะทิ้ง 2g ไปแล้วอย่างแน่นอน ซึ่งเป้าหมายคงไม่ทิ้งลูกค้าไปเลยแต่จะพยายามดันเข้ามาใน 3g ให้มากที่สุดโดยน่าจะมีโปรดีๆ สำหรับลูกค้าที่ต้องการมือถือ โดยน่าจะเน้น LAVA มือถือของตัวเองเป็นหลัก
- AIS มีลูกค้า 44 ล้านเลขหมายในปัจจุบัน มีกำไรในปี 57 36033 ล้านบาท
- การชำระเงินคลื่ร 1800 MHz จ่ายงวดแรก 50% 20493 ล้านบาท และงวดที่ 2 อีก 25 %ภายในปีที่ 2 จำนวน 10246.5 ล้านบาทและงวดที่ 3 ภายใน 3 ปีเท่ากับงวดที่ 2
-จะเห็นว่าคลื่น 1800 MHz ที่ได้มาไม่ได้จะมาเป็นภาระให้กับ AIS เลย เพราะจากกำไรสะสมและเงิดสดหมุนเวีนก็สามารถจ่ายได้สบายๆ ภายใน 3 ปี แต่ประเด็นคือ AIS มองว่าคลื่น 2g จะล้าหลังเหมือนกับคลื่น 1g ในอดีต เพราะคนจะหันมาใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้นและการใช้อินเตอร์เน็ตในการคุยสื่อสารกันมากกว่า( เช่น โทรผ่านไลน์ หรือแชทของเฟสบุค) ดังนั้นเงินที่เหลือน่าจะนำไปลงทุนเสาสัญญาณให้มากขึ้นเพื่อรองรับคลื่นความถี่สูงๆ จะเป็นประโยชน์ในเกมอนาคต ที่จะมี 5g ตามมาอีก
2. DTAC
- ค่ายนี้เป็นค่ายที่คาดเดายากที่สุด แต่ก็คิดว่าอาจจะมาแนวทางเดียวกับ AIS แต่ยังไม่ทิ้ง 2G ซะทีเดียว จากการมีคลื่น 850 MHz อยู่ในมือ
- ในระยะสั้นอาจจะเสียภาพลักษณ์ในมุมมองนักลงทุน จากการแพ้ประมูลทั้งสองครั้ง แต่ถ้าบริษัทยังแกร่งก็อาจไม่กระทบกระเทือนลูกค้า เพราะเริ่มใช้งาน 4g ไปแล้วดังนั้นจึงมีฐานลูกค้าอยู่จำนวนหนึ่ง
- Dtac มีลูกค้า 28 ล้านเลขหมาย กำไรจากปี 57 10728 ล้านบาท โดยมีผู้ใช้ 4G อยู่ 1.6 ล้านราย
-ประเด็นความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นคือการประมูลคลื่นที่จะหมดสัญญาในอีก 3 ปีข้างหน้า จะเพิ่มความเสี่ยงให้กับ Dtac แต่จากการประมูล 900 MHz ทำให้พอทราบว่ามีทุนอยู่ไปม่ต่ำกว่า 75000 ล้านบาท และครั้งหน้าจะมีเงินที่มากกว่านี้ในการชิงศึก
- ส่วนประเด็นที่ว่า dtac จะออกจากวงการ คงเป็นไปได้ลำบาก เพราะถึงจะมีการแข็งขันที่ดุเดือด แต่ก็ยังทำกำไรได้มากกว่าอันดับ 3 ถึง 7 เท่า ในจำนวนลูกค้าที่มากกว่าแค่ 4 ล้านเลขหมาย ซึ่งผมมองว่ามีการจัดการที่ดีกว่ามาก
3. True
- ค่ายนี้เดินหน้าไม่ถอย ไม่ว่าจะมีคลื่นอะไรออกมาประมูลเก็บทุกคลื่นไม่เหลือ ซึ่งต้องการก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 2 และต้องการต่อสู้ในศึก big data ในอนาคตอย่างเต็มตัว โดยครอบครองตคลื่นมากที่สุดในทุกค่ายคือ 850, 900, 1800 และ 2100 มีแบนวิธรวมกัน 55 MHz
- true มีลูกค้าจำนวน 24 ล้านเลขหมาย กำไรปี 57 1425 ล้านบาท
- การจ่ายค่าคลื่น 1800 MHz ในงวดแรกคือ 19896 ล้านบาท และในปีที่2 อีก 9948 ล้านบาท ปีที่ 3 อีก 9948 ล้านบาท
การจ่ายค่าคลื่น 900 MHz ในงวดแรกคือ 8040 ล้านบาท ปีที่ 2 4020 ล้านบาท ปีที่ 3 4020 ล้านบาทและปีที่4 จ่ายที่เหลือทั้งหมด 60218 ล้านบาท
ยังไม่รวมค่าติดตั้งเสาและสัญญาณเพิ่มอีกจำนวนมาก
- การเข้ามาของ jas จะเป็นการเข้ามาชนโดยตรงกับ true อย่างแน่นอนจากธุรกิจบรอดแบรนที่มีอยู่เหมือนกัน แต่จากหนี้ที่ก่อในวันนี้จะเห็นได้ว่า true จะหมดประสิทธิภาพในการแข่งขันในอีก 3 ปีข้างหน้าอย่างมาก แต่จากคลื่นที่มีอยู่ก็สามารถใช้ได้อย่างเต็มที่ก็จะเกิดผลอย่างแน่นอน
4. JAS
- ค่ายน้องใหม่ที่เข้ามาด้วยความยากลำบาก การตั้งใจจะเข้าครั้งนี้ได้มีการเตรียมเงินไว้แล้วในส่วนของ JAS และ JASIF ไว้แล้ว แต่อย่างไรก็ตามคงต้องหาพันธมิตรเข้ามาร่วมทุนอย่างแน่นอน
- การจ่ายค่าคลื่น 900 MHz ในงวดแรกคือ 8040 ล้านบาท ปีที่ 2 4020 ล้านบาท ปีที่ 3 4020 ล้านบาทและปีที่4 จ่ายที่เหลือทั้งหมด 59574 ล้านบาท
- การเข้ามาครั้งนี้ JAS วางเป้าหมายที่ลูกค้า 2 ล้านเลขหมายก่อนเป็นอันดับแรก โดยจะใช้ทั้งฐานลูกค้าบรอดแบรนเดิมและลูกค้าใหม่ คงต้องดูกันต่อไปว่า JAS จะสามารถทำได้ดีแค่ไหนในธุรกิจนี้ เพราะคนที่เคยเข้ามาก็ล้มหายตายจากไปหลายรายแล้วเหมือนกัน
จากการวิเคราะห์ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า True กับ JAS มีหนี้ก้อนโตที่ต้องจ่าย และหนี้ก้อนใหญ่ก็รออยู่อีกก้อนสุดท้ายในงวดที่ 4 ดังนั้นการประมูลคลื่นที่จะหมดลงของ Dtac จึงมีความสามารถในการแข่งขันกับ AIS และ Dtac ที่น้อยลงมาก แต่อย่างไรก็ตามศึกครั้งนี้จะทำให้กลุ่มสื่อสารลดความน่าสนใจในการลงทุนไปมาก เพราะการแข่งขันที่ดุเดือนในอนาคตอาจกระทบต่อรายได้ที่จะเข้ามา ถ้าชอบบทความนี้ ขอให้ช่วยกดไลค์ กดแชร์เพจเพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้เขียนได้มีผลงานต่อไป ขอบคุณทุกท่านที่ทนอ่านจนจบครับ
ติดตามเพจได้ที่
https://www.facebook.com/Investment-for-student-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99-1519848498288167/
หรือกดค้นหา Investment for student - ตัวอ่อนนักลงทุน
อนาคตข้างหน้าของกลุ่มสื่อสาร
1. AIS
- จากการให้สัมภาษณ์ดูเหมือนจะทิ้ง 2g ไปแล้วอย่างแน่นอน ซึ่งเป้าหมายคงไม่ทิ้งลูกค้าไปเลยแต่จะพยายามดันเข้ามาใน 3g ให้มากที่สุดโดยน่าจะมีโปรดีๆ สำหรับลูกค้าที่ต้องการมือถือ โดยน่าจะเน้น LAVA มือถือของตัวเองเป็นหลัก
- AIS มีลูกค้า 44 ล้านเลขหมายในปัจจุบัน มีกำไรในปี 57 36033 ล้านบาท
- การชำระเงินคลื่ร 1800 MHz จ่ายงวดแรก 50% 20493 ล้านบาท และงวดที่ 2 อีก 25 %ภายในปีที่ 2 จำนวน 10246.5 ล้านบาทและงวดที่ 3 ภายใน 3 ปีเท่ากับงวดที่ 2
-จะเห็นว่าคลื่น 1800 MHz ที่ได้มาไม่ได้จะมาเป็นภาระให้กับ AIS เลย เพราะจากกำไรสะสมและเงิดสดหมุนเวีนก็สามารถจ่ายได้สบายๆ ภายใน 3 ปี แต่ประเด็นคือ AIS มองว่าคลื่น 2g จะล้าหลังเหมือนกับคลื่น 1g ในอดีต เพราะคนจะหันมาใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้นและการใช้อินเตอร์เน็ตในการคุยสื่อสารกันมากกว่า( เช่น โทรผ่านไลน์ หรือแชทของเฟสบุค) ดังนั้นเงินที่เหลือน่าจะนำไปลงทุนเสาสัญญาณให้มากขึ้นเพื่อรองรับคลื่นความถี่สูงๆ จะเป็นประโยชน์ในเกมอนาคต ที่จะมี 5g ตามมาอีก
2. DTAC
- ค่ายนี้เป็นค่ายที่คาดเดายากที่สุด แต่ก็คิดว่าอาจจะมาแนวทางเดียวกับ AIS แต่ยังไม่ทิ้ง 2G ซะทีเดียว จากการมีคลื่น 850 MHz อยู่ในมือ
- ในระยะสั้นอาจจะเสียภาพลักษณ์ในมุมมองนักลงทุน จากการแพ้ประมูลทั้งสองครั้ง แต่ถ้าบริษัทยังแกร่งก็อาจไม่กระทบกระเทือนลูกค้า เพราะเริ่มใช้งาน 4g ไปแล้วดังนั้นจึงมีฐานลูกค้าอยู่จำนวนหนึ่ง
- Dtac มีลูกค้า 28 ล้านเลขหมาย กำไรจากปี 57 10728 ล้านบาท โดยมีผู้ใช้ 4G อยู่ 1.6 ล้านราย
-ประเด็นความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นคือการประมูลคลื่นที่จะหมดสัญญาในอีก 3 ปีข้างหน้า จะเพิ่มความเสี่ยงให้กับ Dtac แต่จากการประมูล 900 MHz ทำให้พอทราบว่ามีทุนอยู่ไปม่ต่ำกว่า 75000 ล้านบาท และครั้งหน้าจะมีเงินที่มากกว่านี้ในการชิงศึก
- ส่วนประเด็นที่ว่า dtac จะออกจากวงการ คงเป็นไปได้ลำบาก เพราะถึงจะมีการแข็งขันที่ดุเดือด แต่ก็ยังทำกำไรได้มากกว่าอันดับ 3 ถึง 7 เท่า ในจำนวนลูกค้าที่มากกว่าแค่ 4 ล้านเลขหมาย ซึ่งผมมองว่ามีการจัดการที่ดีกว่ามาก
3. True
- ค่ายนี้เดินหน้าไม่ถอย ไม่ว่าจะมีคลื่นอะไรออกมาประมูลเก็บทุกคลื่นไม่เหลือ ซึ่งต้องการก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 2 และต้องการต่อสู้ในศึก big data ในอนาคตอย่างเต็มตัว โดยครอบครองตคลื่นมากที่สุดในทุกค่ายคือ 850, 900, 1800 และ 2100 มีแบนวิธรวมกัน 55 MHz
- true มีลูกค้าจำนวน 24 ล้านเลขหมาย กำไรปี 57 1425 ล้านบาท
- การจ่ายค่าคลื่น 1800 MHz ในงวดแรกคือ 19896 ล้านบาท และในปีที่2 อีก 9948 ล้านบาท ปีที่ 3 อีก 9948 ล้านบาท
การจ่ายค่าคลื่น 900 MHz ในงวดแรกคือ 8040 ล้านบาท ปีที่ 2 4020 ล้านบาท ปีที่ 3 4020 ล้านบาทและปีที่4 จ่ายที่เหลือทั้งหมด 60218 ล้านบาท
ยังไม่รวมค่าติดตั้งเสาและสัญญาณเพิ่มอีกจำนวนมาก
- การเข้ามาของ jas จะเป็นการเข้ามาชนโดยตรงกับ true อย่างแน่นอนจากธุรกิจบรอดแบรนที่มีอยู่เหมือนกัน แต่จากหนี้ที่ก่อในวันนี้จะเห็นได้ว่า true จะหมดประสิทธิภาพในการแข่งขันในอีก 3 ปีข้างหน้าอย่างมาก แต่จากคลื่นที่มีอยู่ก็สามารถใช้ได้อย่างเต็มที่ก็จะเกิดผลอย่างแน่นอน
4. JAS
- ค่ายน้องใหม่ที่เข้ามาด้วยความยากลำบาก การตั้งใจจะเข้าครั้งนี้ได้มีการเตรียมเงินไว้แล้วในส่วนของ JAS และ JASIF ไว้แล้ว แต่อย่างไรก็ตามคงต้องหาพันธมิตรเข้ามาร่วมทุนอย่างแน่นอน
- การจ่ายค่าคลื่น 900 MHz ในงวดแรกคือ 8040 ล้านบาท ปีที่ 2 4020 ล้านบาท ปีที่ 3 4020 ล้านบาทและปีที่4 จ่ายที่เหลือทั้งหมด 59574 ล้านบาท
- การเข้ามาครั้งนี้ JAS วางเป้าหมายที่ลูกค้า 2 ล้านเลขหมายก่อนเป็นอันดับแรก โดยจะใช้ทั้งฐานลูกค้าบรอดแบรนเดิมและลูกค้าใหม่ คงต้องดูกันต่อไปว่า JAS จะสามารถทำได้ดีแค่ไหนในธุรกิจนี้ เพราะคนที่เคยเข้ามาก็ล้มหายตายจากไปหลายรายแล้วเหมือนกัน
จากการวิเคราะห์ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า True กับ JAS มีหนี้ก้อนโตที่ต้องจ่าย และหนี้ก้อนใหญ่ก็รออยู่อีกก้อนสุดท้ายในงวดที่ 4 ดังนั้นการประมูลคลื่นที่จะหมดลงของ Dtac จึงมีความสามารถในการแข่งขันกับ AIS และ Dtac ที่น้อยลงมาก แต่อย่างไรก็ตามศึกครั้งนี้จะทำให้กลุ่มสื่อสารลดความน่าสนใจในการลงทุนไปมาก เพราะการแข่งขันที่ดุเดือนในอนาคตอาจกระทบต่อรายได้ที่จะเข้ามา ถ้าชอบบทความนี้ ขอให้ช่วยกดไลค์ กดแชร์เพจเพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้เขียนได้มีผลงานต่อไป ขอบคุณทุกท่านที่ทนอ่านจนจบครับ
ติดตามเพจได้ที่ https://www.facebook.com/Investment-for-student-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99-1519848498288167/
หรือกดค้นหา Investment for student - ตัวอ่อนนักลงทุน