เริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้งในกลุ่มสื่อสารเมื่อใกล้กำหนดการจ่ายเงินประมูลคลื่น 900 MHz ซึ่งในที่สุด TRUE ก็ตัดสินใจจ่ายไปเรียบร้อยแล้ว ยังเหลือ JAS ที่ยังคลุมเครือว่าจะจ่ายหรือไม่ (
https://www.beartai.com/news/itnews/88134) ซึ่งเมื่อ true จ่ายค่าประมูลคลื่นแล้ว ก็จะทำให้ลูกค้า AIS ซิมดับในคืนวันที่ 14 มีนาคม 2559 นี้
เหตุการณ์ที่ 1
'TRUE' อัด 'AIS' ใจดำ ไร้ธรรมาภิบาล-ทิ้งลูกค้าอย่างเลือดเย็นจี้ "กสทช." ลงดาบบริษัทข้ามชาติทำร้ายคนไทย
(
http://ppantip.com/topic/34897161)
true ออกมากล่าวโทษ AIS ว่าไม่มีธรรมมาภิบาลทิ้งลูกค้าให้ซิมดับ (เราจะไม่โยงว่า true, cpf และ cpall ที่มีเรื่องธรรมมาภิบาลอยู่เครือเดียวกัน) ซึ่งในช่วงแรก TRUE พยายามกดดันให้ กสทช. บังคับให้ AIS โอนย้ายลูกค้าในคลื่น 2G มาเพื่อป้องกันซิมดับ แต่ดูเหมือน กสทช กับ AIS นิ่งเฉยไม่ตอบรับข้อตกลง
เหตุการณ์ที่ 2
True เรียกร้องความเป็นธรรมหาก JAS ไม่จ่ายค่าประมูล และต้องการประมูลใหม่หากเกิดเหตุตามที่คาด แต่ดูเหมือน กสทช. ออกมาประกาศว่าจะริบเงินประกันและทำตามกฎที่ได้วางไว้ก่อนการประมูลโดยอาจแช่แข็งคลื่นไว้หรือประมูลใหม่ในราคาประมูลสุดท้ายของครั้งก่อน แต่ยังไม่มีความแน่นอนในเรื่องนี้
เหตุการณ์ที่ 3
AIS และ DTAC ยื่นเรื่องให้ กสทช ตรวจสอบจากกรณีที่ true ใช้ร้านสะดวกซื้อในการยื่นย้ายค่ายว่าอาจไม่ได้ทำตามข้อกำหนดที่ กสทช ได้ตั้งไว้
เหตุการณ์ที่ 4
true ยื่นมือเข้ามาช่วย AIS หลังจ่ายค่าประมูล บอกยินดีให้ AIS เช่าสัญญาณ 900 MHz เพื่อป้องกันซิมดับ และเห็นแก่ผู้ใช้บริการที่เดือดร้อน แต่ AIS ปฎิเสธเนื่องจากคลื่น 900 MHz ที่ true ได้ไปเป็นคลื่น lot2 ไม่ตรงกับที่ Ais ต้องการ ( true ไม่รู้เหรอว่า AIS ใช้ไม่ได้หรือแค่ถามตามมารยาท) แต่ AIS ยื่นเรื่องไปทาง กสทช ว่า ถ้า JAS จ่ายค่าประมูลก็ยินดีที่จะเช่าสัญญาณคลื่น 900 MHz lot1 หรือถ้า JAS ไม่จ่ายก็จะขอเช่าต่อจาก กสทช
เหตุการณ์ที่ 5
- AIS กับ DTAC จับมือร่วมใช้โครงข่ายสัญญาณด้วยกัน โดย AIS และ DTAC จะใช้โครงข่ายในฝ่ายที่ตนไม่มีเสาหรือสัญญาณเข้าไม่ถึงด้วยกัน เพื่อลดการลงทุนในโครงข่ายสัญญาณและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ 4G ให้มากขึ้นในทั้ง 2 เครือข่าย และวางแผนขยายความร่วมมือในด้านโครงข่ายในอนาคตร่วมกันเพื่อครอบคลุมพื้นที่และขยายความแรงของสัญญาณในอนาคตในคลื่น 2100 MHz
- รวมทั้ง Dtac กับ AIS ตกลงทำโรมมิ่งคลื่น 1800 MHz เพื่อรองรับลูกค้าคลื่น 2G ของ AIS หากเกิดซิมดับ ซึ่ง Dtac มีจำนวนคลื่นมากเป็นอันดับ 2 รองจาก true
*** มาถึงตอนนี้ คหสต เริ่มจะเห็นการแบ่งกลุ่มแบบลางๆ แล้ว
1. โดย AIS ยินดีจับมือกับ Dtac ทั้งในเรื่องแชร์คลื่นและโครงข่ายร่วมกัน รวมทั้งวางแผนพัฒนาโครงสร้างเครือข่ายในอนาคต ซึ่ง กสทช ก็เห็นด้วย เพราะจะลดการสร้างเสาสัญาณซ้ำซ้อนและเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม โดย TOT สนับสนุนโครงข่ายของ AIS อีกต่อหนึ่งและ cat สนับสนุน Dtac จึงสรุปกลุ่มที่ 1 มี AIS, DTAC และกองหลังเป็น TOT และ CAT ซึ่งทำให้ลดเงินในการสร้างโครงข่ายลง มีจำนวนลูกค้ามากเป็นอันดับ 1 และ 2 มีจำนวนคลื่นและความกว้างรวมกันมากเป็นอันดับ 1 และหนี้น้อยสุด
2 True มีจำนวนคลื่นที่หลากหลายและเป็นเจ้าของคลื่นเอง มีช่องทางจัดจำหน่ายและบริการที่หลากหลายทั้ง shop ของค่ายเอง และผ่านทาง cpall ร่วมทั้งงบที่เพิ่มได้ตลอดจากผู้ลงทุนและความช่วยเหลือในเครือ CP มีบริการทั้ง internet บ้านและกล่อง TV ซึ่งครอบคลุมด้านบริการทุกด้าน แต่หนี้ก็เยอะมากเช่นกัน
3. JAS ดูจะเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ที่ยังเอาแน่เอานอนไม่ได้ว่าจะจัดการกับคลื่นที่ได้มาอย่างไร จะจ่ายหรือกลับไปทำ internet บ้านที่ถนัดเช่นเดิม ซึ่งต้องยอมรับว่า internet เคลื่อนที่คืออนาคตที่กำลังจะมาถึง ดังนั้นถ้าอยากอยู่ในเกมนี้คงต้องพยายามก้าวเข้ามา ไม่งั้นจะเหมือนกับ cable TV ที่ตกอับเมื่อ TV digital เข้ามาแทนที่ในที่สุด
ขอบคุณทุกท่านที่ทนอ่านจนจบถ้าชอบบทความนี้ ขอให้ช่วยกดไลค์ กดแชร์เพจเพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้เขียนได้มีผลงานต่อไป
ติดตามเพจได้ที่
https://www.facebook.com/Investment-for-student-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99-1519848498288167/
หรือกดค้นหา Investment for student - ตัวอ่อนนักลงทุน
เขย่ากลุ่มใครเล่นฝ่ายไหน AIS, DTAC, TRUE และ JAS
เหตุการณ์ที่ 1
'TRUE' อัด 'AIS' ใจดำ ไร้ธรรมาภิบาล-ทิ้งลูกค้าอย่างเลือดเย็นจี้ "กสทช." ลงดาบบริษัทข้ามชาติทำร้ายคนไทย
(http://ppantip.com/topic/34897161)
true ออกมากล่าวโทษ AIS ว่าไม่มีธรรมมาภิบาลทิ้งลูกค้าให้ซิมดับ (เราจะไม่โยงว่า true, cpf และ cpall ที่มีเรื่องธรรมมาภิบาลอยู่เครือเดียวกัน) ซึ่งในช่วงแรก TRUE พยายามกดดันให้ กสทช. บังคับให้ AIS โอนย้ายลูกค้าในคลื่น 2G มาเพื่อป้องกันซิมดับ แต่ดูเหมือน กสทช กับ AIS นิ่งเฉยไม่ตอบรับข้อตกลง
เหตุการณ์ที่ 2
True เรียกร้องความเป็นธรรมหาก JAS ไม่จ่ายค่าประมูล และต้องการประมูลใหม่หากเกิดเหตุตามที่คาด แต่ดูเหมือน กสทช. ออกมาประกาศว่าจะริบเงินประกันและทำตามกฎที่ได้วางไว้ก่อนการประมูลโดยอาจแช่แข็งคลื่นไว้หรือประมูลใหม่ในราคาประมูลสุดท้ายของครั้งก่อน แต่ยังไม่มีความแน่นอนในเรื่องนี้
เหตุการณ์ที่ 3
AIS และ DTAC ยื่นเรื่องให้ กสทช ตรวจสอบจากกรณีที่ true ใช้ร้านสะดวกซื้อในการยื่นย้ายค่ายว่าอาจไม่ได้ทำตามข้อกำหนดที่ กสทช ได้ตั้งไว้
เหตุการณ์ที่ 4
true ยื่นมือเข้ามาช่วย AIS หลังจ่ายค่าประมูล บอกยินดีให้ AIS เช่าสัญญาณ 900 MHz เพื่อป้องกันซิมดับ และเห็นแก่ผู้ใช้บริการที่เดือดร้อน แต่ AIS ปฎิเสธเนื่องจากคลื่น 900 MHz ที่ true ได้ไปเป็นคลื่น lot2 ไม่ตรงกับที่ Ais ต้องการ ( true ไม่รู้เหรอว่า AIS ใช้ไม่ได้หรือแค่ถามตามมารยาท) แต่ AIS ยื่นเรื่องไปทาง กสทช ว่า ถ้า JAS จ่ายค่าประมูลก็ยินดีที่จะเช่าสัญญาณคลื่น 900 MHz lot1 หรือถ้า JAS ไม่จ่ายก็จะขอเช่าต่อจาก กสทช
เหตุการณ์ที่ 5
- AIS กับ DTAC จับมือร่วมใช้โครงข่ายสัญญาณด้วยกัน โดย AIS และ DTAC จะใช้โครงข่ายในฝ่ายที่ตนไม่มีเสาหรือสัญญาณเข้าไม่ถึงด้วยกัน เพื่อลดการลงทุนในโครงข่ายสัญญาณและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ 4G ให้มากขึ้นในทั้ง 2 เครือข่าย และวางแผนขยายความร่วมมือในด้านโครงข่ายในอนาคตร่วมกันเพื่อครอบคลุมพื้นที่และขยายความแรงของสัญญาณในอนาคตในคลื่น 2100 MHz
- รวมทั้ง Dtac กับ AIS ตกลงทำโรมมิ่งคลื่น 1800 MHz เพื่อรองรับลูกค้าคลื่น 2G ของ AIS หากเกิดซิมดับ ซึ่ง Dtac มีจำนวนคลื่นมากเป็นอันดับ 2 รองจาก true
*** มาถึงตอนนี้ คหสต เริ่มจะเห็นการแบ่งกลุ่มแบบลางๆ แล้ว
1. โดย AIS ยินดีจับมือกับ Dtac ทั้งในเรื่องแชร์คลื่นและโครงข่ายร่วมกัน รวมทั้งวางแผนพัฒนาโครงสร้างเครือข่ายในอนาคต ซึ่ง กสทช ก็เห็นด้วย เพราะจะลดการสร้างเสาสัญาณซ้ำซ้อนและเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม โดย TOT สนับสนุนโครงข่ายของ AIS อีกต่อหนึ่งและ cat สนับสนุน Dtac จึงสรุปกลุ่มที่ 1 มี AIS, DTAC และกองหลังเป็น TOT และ CAT ซึ่งทำให้ลดเงินในการสร้างโครงข่ายลง มีจำนวนลูกค้ามากเป็นอันดับ 1 และ 2 มีจำนวนคลื่นและความกว้างรวมกันมากเป็นอันดับ 1 และหนี้น้อยสุด
2 True มีจำนวนคลื่นที่หลากหลายและเป็นเจ้าของคลื่นเอง มีช่องทางจัดจำหน่ายและบริการที่หลากหลายทั้ง shop ของค่ายเอง และผ่านทาง cpall ร่วมทั้งงบที่เพิ่มได้ตลอดจากผู้ลงทุนและความช่วยเหลือในเครือ CP มีบริการทั้ง internet บ้านและกล่อง TV ซึ่งครอบคลุมด้านบริการทุกด้าน แต่หนี้ก็เยอะมากเช่นกัน
3. JAS ดูจะเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ที่ยังเอาแน่เอานอนไม่ได้ว่าจะจัดการกับคลื่นที่ได้มาอย่างไร จะจ่ายหรือกลับไปทำ internet บ้านที่ถนัดเช่นเดิม ซึ่งต้องยอมรับว่า internet เคลื่อนที่คืออนาคตที่กำลังจะมาถึง ดังนั้นถ้าอยากอยู่ในเกมนี้คงต้องพยายามก้าวเข้ามา ไม่งั้นจะเหมือนกับ cable TV ที่ตกอับเมื่อ TV digital เข้ามาแทนที่ในที่สุด
ขอบคุณทุกท่านที่ทนอ่านจนจบถ้าชอบบทความนี้ ขอให้ช่วยกดไลค์ กดแชร์เพจเพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้เขียนได้มีผลงานต่อไป
ติดตามเพจได้ที่ https://www.facebook.com/Investment-for-student-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99-1519848498288167/
หรือกดค้นหา Investment for student - ตัวอ่อนนักลงทุน