ทานคือการให้ เป็นธรรมะเบื้องต้นในพระพุทธศาสนา และชาวโลกก็ให้กันเป็นปกติ ทุกศาสนาก็สอนเรื่องการให้ทาน ดูไปแล้วการให้ทานเป็นเรื่องกลาง ๆ มีทั้งที่เป็นความดี และไม่ดี ทำให้การตัดสินว่า การกระทำนี้เป็นทานหรือไม่ และเป็นความดีหรือไม่ดี เป็นเรื่องยาก และเกิดความสับสน เช่น การแลกเปลี่ยน เอาข้าวไปแลกกับเนื้อสัตว์, เอาเสื้อผ้าไปแลกกับยารักษาโรคเป็นต้น หรือการให้เพื่อผลประโยชน์ ต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น เกษตรกรให้อาหารหมูที่เลี้ยงไว้เพื่อหวังว่า ให้มันกินเยอะ ๆ จะได้โตเร็ว ๆ และเมื่อโตได้ที่แล้ว ก็จะได้เชือด เอาเนื้อมากิน หรือแบ่งขาย ชายหนุ่มให้ของขวัญแก่หญิงสาว เพื่อความรัก พ่อค้าให้เงินข้าราชการเพื่อติดสินบนให้เอื้อผลประโยชน์ให้แก่ตนในการทำธุรกิจ การให้อย่างมีเงื่อนไข หรือสัญญาว่าจะให้ถ้า... เช่น แม่บอกว่าหากสอบเข้าโรงเรียนได้ จะซื้อคอมพิวเตอร์ให้เป็นรางวัล , ได้ก่อนจึงจะให้ เช่น การบนบานศาลกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เจ้าพ่อ เจ้าแม่ต่าง ๆ , การให้ก่อนเพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์พอใจ แล้วจะอำนวยผลให้ได้ดังปรารถนา เช่น บูชายัญ การบูชาเพื่ออ้อนวอนขอจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การให้เพื่อหวังผลในภายหน้าจากการกระทำของตนเอง แบบที่เห็นผลได้อย่างชัดเจนในปัจจุบัน อย่างการลงทุน เช่นการศึกษา ลงทุนทำการค้า หรือเห็นผลในอนาคตและยากแก่การพิสูจน์ เช่น การทำบุญหวังบุญ หรือหวังผล เพื่อจะได้รูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ หวังการได้เกิดในสุคติโลกสวรรค์ หรือแม้กระทั่งหวังการหมดกิเลส บรรลุมรรคผลนิพพาน การกระทำเหล่านี้เป็นทาน หรือไม่ เป็นความดีหรือไม่ แล้วทานในพระพุทธศาสนาคืออะไร
ทานในพระพุทธศาสนา ท่านหมายถึง ทานที่เป็นข้อแรกใน สัมมาทิฏฐิ และ สัมมาทิฏฐิ นี้เองก็เป็นข้อแรกของมรรคมี องค์ 8 ซึ่งเป็นวิธีการกำจัดทุกข์ การกล่าวว่าทานเป็นก้าวแรกของการสร้างความดีจึงไม่ผิด มรรค 8 ได้แก่สัมมาทิฏฐิ สัมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ จึงเท่ากับบังคับว่า ทานในพุทธศาสนา ต้องเป็นความดี เป็นกุศลเพียงอย่างเดียว เพราะถูกกำกับ ด้วยว่า ต้องไม่มี กายทุจริต วจีทุจริต และมิจฉาอาชีวะ แล้วก็ถือว่าเป็นทาน ซึ่งมีผลมาก และไม่ผิดอะไร เป็นทานที่พระพุทธองค์หมายถึง
การให้ทาน ยังไงก็ต้องหวังผล เพราะการกระทำทุกอย่างจะต้องมีเจตนา ถ้าไม่มีเจตนา ไม่ชื่อว่าเป็นการกระทำ เช่น การนอนละเมอ หรือ การกระทำของคนบ้า การให้ทานเป็นการกระทำ ซึ่งต้องมีความตั้งใจ หรือการหวังผลอย่างแน่นอน และไม่ผิด ในทางอภิธรรม ความอยากทำทาน จัดได้ว่าเป็นฉันทะ ฉันทะเจตสิก คือธรรมชาติที่ปรารถนาอารมณ์ ส่วน โลภเจตสิก หมายถึง ธรรมชาติที่มีความต้องการ และติดในกามคุณอารมณ์ ซึ่งฉันทะ และ โลภะ ต่างกันตรงจะติดในกามคุณอารมณ์ แต่ฉันทะไม่ติด เปรียบเหมือน ร่างกายไม่สบายจึงกินยา พอหายแล้วก็เลิกกินยาไม่ติดในรสยานั้น หรือ บุคคลข้ามน้ำด้วยเรือ เมื่อถึงฝั่งแล้วก็ทิ้งเรือ ไม่คิดจะเอาเรือไปด้วยเป็นต้น
การให้ทานจะหวังหรือไม่หวังผล ก็ย่อมต้องได้รับผลเสมอ เหมือนกับการปลูกต้นไม้ ใส่ปุ๋ยรดน้ำพรวนดิน ดูแลอย่างสม่ำเสมอ ถึงเวลาต้นไม้ก็ออกดอกออกผล ไม่ว่าจะต้องการหรือไม่ต้องการก็ตาม อานิสงส์ของการทำทาน มีในพระไตรปิฎกมากมาย โดยสรุป คือทำให้ได้รูปสมบัติ คุณสมบัติ และทรัพย์สมบัติ เมื่อละโลกแล้วก็ไปสู่สุคติโลกสวรรค์ เมื่อกลับเป็นมนุษย์ใหม่อีกครั้ง ก็จะมีความพร้อมในด้านต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น เกิดในครอบครัวสัมมาทิฏฐิ ครอบครัวมีทรัพย์มาก ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ครบ 32 ประการ เป็นปัจจัยในการ ทำความดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป และทำภาวนาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้งหมดกิเลส เป็นพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วแต่ความปรารถนาและกำลังบุญของแต่ละคน ทั้งนี้เจตนาเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในการทำให้ทานที่ ทำแล้วมีผลหรืออานิสงส์มากน้อยเพียงไร.
ทานสูตร ในอังคุตตรนิกาย
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=1340&Z=1436 ได้กล่าวถึงเจตนาที่ต่างกัน ทำให้ได้ไปเกิดบนสวรรค์ที่แตกต่างกัน อันเป็นผลของทาน ทีมีผลมาก แต่ยังไม่มีอานิสงส์มาก ทานที่มีอานิสงส์มาก จะต้องเป็นทาน ที่ทำเพื่อเป็นฐานในการทำภาวนา หรือคือทานที่มีเจตนาเพื่อการกำจัดกิเลสนั่นเอง จึงจะเป็นทานที่มีทั้งผลมาก และอานิสงส์มาก โดยในอรรถกถา ได้สรุปเจตนาในการทำทาน ซึ่งส่งผลที่แตกต่างกันดังนี้ ก็ควรรักษาใจทั้ง 3 ระยะคือ ก่อนให้ทานก็ดี ขณะทำทานก็เลื่อมใส และหลังจากทำทานก็เบิกบานใจ ไม่ให้ความเสียดาย หรือ ความตระหนี่เกิดขึ้นดังนั้น
(มมร. อ.อัง.สัต. 77/49/135)
ทานที่ ๑ ชื่อว่า ตณฺหุตฺตริยทานํ การให้อันยิ่งด้วยความอยาก.
ทานที่ ๒ ชื่อว่า วิตฺตีการทานํ ให้ด้วยความยำเกรง
ทานที่ ๓ ชื่อว่า หิโรตฺตปฺปทานํ ให้ด้วยละอายและเกรงกลัว
ทานที่ ๔ ชื่อว่า นิรวเสสทานํ ให้ด้วยไม่ให้เหลือเศษ
ทานที่ ๕ ชื่อว่า ทกฺขิเณยฺยทานํ ให้แก่พระทักขิเณยยบุคคล
ทานที่ ๖ ชื่อว่า โสมนสฺสูปวิจารทานํ ให้ด้วยอิงอาศัยโสมนัส
ทานที่ ๗ ชื่อว่า อลงฺการปริวารทานํ ให้เป็นเครื่องประดับ และเป็นบริวาร (แห่งจิต)
ประเด็นคือ ไม่ว่าจะทำทานด้วยอะไรก็ตาม จะข้าวซักทัพพี หรือ ถวายวัด ถวายอาคารสถานที่ ก็ควรมีเจตนา หรือควรหวังผล เพื่อพระนิพพาน ทานนั้นจึงจะมีทั้งผลมากและอานิสงส์มาก
การให้ธรรม หรือธรรมทานนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสรรเสริญว่าเป็นเลิศ เพราะทำให้ผู้รับเกิดปัญญา สามารถกำจัดกิเลสให้หมดไป บรรลุพระนิพพานซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิตมนุษย์ได้ ซึ่งถ้าผู้ให้เป็น พระพุทธเจ้า หรือพระอรหันต์ทั้งหลายซึ่งมีปัญญาสมบูรณ์อยู่แล้ว ก็เป็นการสงเคราะห์สรรพสัตว์ แต่หากเป็น บุคคลที่ยังไม่หมดกิเลส การให้ธรรมทานแก่ผู้อื่น เท่ากับได้ทบทวนธรรมะ ได้ตอกย้ำ ตามอานิสงส์ของการ ฟังธรรม สนทนาธรรม ซึ่งเท่ากับว่า ผู้ให้ก็ย่อมได้ปัญญา เพิ่มพูนยิ่ง ๆ ขึ้นเป็นลำดับเช่นเดียวกับผู้รับ
เมื่อมองอีกมุมหนึ่ง การให้อามิสทานก็ทำให้เกิดปัญญาได้ โดยให้ทานแก่ผู้มีศีล มีปัญญา หรือผู้ปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญา ซึ่งการให้แบบนี้ หากบวกกับความเคารพ ศรัทธา ตามหลักสัปปุริสทานแล้ว ทำให้การให้อามิสทานนี้ ทำให้เกิดปัญญาตามมาได้ เพราะผู้ทรงศีล หรือพระอริยบุคคลก็ดี ท่านจะโปรดผู้มีศรัทธาก่อน และหลีกเลี่ยงผู้ไม่มีศรัทธา ดังที่ปรากฏในกูฏทันตะสูตร ว่าพุทธยัญ มีผลมากกว่า ง่ายกว่า ประหยัดกว่า มหายัญ เพราะฉะนั้น จึงควรทำทานทั้งอามิสทาน และธรรมทาน เพราะทานทั้งสองอย่างนี้ หากตั้งเจตนาให้ถูก คือเพื่อ ปัญญาเพื่อมรรคผลนิพพานแล้ว ก็ล้วนแต่มีผลมาก มีอานิสงส์มากได้ทั้งสิ้น สรุปคือ ให้ทานหวังผลไม่ได้ผิดอะไร แต่การหวังผลที่ถูกต้องจะทำให้ ทานนั้นมีผลมากมีอานิสงส์มาก
ให้ทาน โดยหวังผลผิดหรือไม่
ทานในพระพุทธศาสนา ท่านหมายถึง ทานที่เป็นข้อแรกใน สัมมาทิฏฐิ และ สัมมาทิฏฐิ นี้เองก็เป็นข้อแรกของมรรคมี องค์ 8 ซึ่งเป็นวิธีการกำจัดทุกข์ การกล่าวว่าทานเป็นก้าวแรกของการสร้างความดีจึงไม่ผิด มรรค 8 ได้แก่สัมมาทิฏฐิ สัมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ จึงเท่ากับบังคับว่า ทานในพุทธศาสนา ต้องเป็นความดี เป็นกุศลเพียงอย่างเดียว เพราะถูกกำกับ ด้วยว่า ต้องไม่มี กายทุจริต วจีทุจริต และมิจฉาอาชีวะ แล้วก็ถือว่าเป็นทาน ซึ่งมีผลมาก และไม่ผิดอะไร เป็นทานที่พระพุทธองค์หมายถึง
การให้ทาน ยังไงก็ต้องหวังผล เพราะการกระทำทุกอย่างจะต้องมีเจตนา ถ้าไม่มีเจตนา ไม่ชื่อว่าเป็นการกระทำ เช่น การนอนละเมอ หรือ การกระทำของคนบ้า การให้ทานเป็นการกระทำ ซึ่งต้องมีความตั้งใจ หรือการหวังผลอย่างแน่นอน และไม่ผิด ในทางอภิธรรม ความอยากทำทาน จัดได้ว่าเป็นฉันทะ ฉันทะเจตสิก คือธรรมชาติที่ปรารถนาอารมณ์ ส่วน โลภเจตสิก หมายถึง ธรรมชาติที่มีความต้องการ และติดในกามคุณอารมณ์ ซึ่งฉันทะ และ โลภะ ต่างกันตรงจะติดในกามคุณอารมณ์ แต่ฉันทะไม่ติด เปรียบเหมือน ร่างกายไม่สบายจึงกินยา พอหายแล้วก็เลิกกินยาไม่ติดในรสยานั้น หรือ บุคคลข้ามน้ำด้วยเรือ เมื่อถึงฝั่งแล้วก็ทิ้งเรือ ไม่คิดจะเอาเรือไปด้วยเป็นต้น
การให้ทานจะหวังหรือไม่หวังผล ก็ย่อมต้องได้รับผลเสมอ เหมือนกับการปลูกต้นไม้ ใส่ปุ๋ยรดน้ำพรวนดิน ดูแลอย่างสม่ำเสมอ ถึงเวลาต้นไม้ก็ออกดอกออกผล ไม่ว่าจะต้องการหรือไม่ต้องการก็ตาม อานิสงส์ของการทำทาน มีในพระไตรปิฎกมากมาย โดยสรุป คือทำให้ได้รูปสมบัติ คุณสมบัติ และทรัพย์สมบัติ เมื่อละโลกแล้วก็ไปสู่สุคติโลกสวรรค์ เมื่อกลับเป็นมนุษย์ใหม่อีกครั้ง ก็จะมีความพร้อมในด้านต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น เกิดในครอบครัวสัมมาทิฏฐิ ครอบครัวมีทรัพย์มาก ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ครบ 32 ประการ เป็นปัจจัยในการ ทำความดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป และทำภาวนาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้งหมดกิเลส เป็นพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วแต่ความปรารถนาและกำลังบุญของแต่ละคน ทั้งนี้เจตนาเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในการทำให้ทานที่ ทำแล้วมีผลหรืออานิสงส์มากน้อยเพียงไร.
ทานสูตร ในอังคุตตรนิกาย http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=1340&Z=1436 ได้กล่าวถึงเจตนาที่ต่างกัน ทำให้ได้ไปเกิดบนสวรรค์ที่แตกต่างกัน อันเป็นผลของทาน ทีมีผลมาก แต่ยังไม่มีอานิสงส์มาก ทานที่มีอานิสงส์มาก จะต้องเป็นทาน ที่ทำเพื่อเป็นฐานในการทำภาวนา หรือคือทานที่มีเจตนาเพื่อการกำจัดกิเลสนั่นเอง จึงจะเป็นทานที่มีทั้งผลมาก และอานิสงส์มาก โดยในอรรถกถา ได้สรุปเจตนาในการทำทาน ซึ่งส่งผลที่แตกต่างกันดังนี้ ก็ควรรักษาใจทั้ง 3 ระยะคือ ก่อนให้ทานก็ดี ขณะทำทานก็เลื่อมใส และหลังจากทำทานก็เบิกบานใจ ไม่ให้ความเสียดาย หรือ ความตระหนี่เกิดขึ้นดังนั้น
(มมร. อ.อัง.สัต. 77/49/135)
ทานที่ ๑ ชื่อว่า ตณฺหุตฺตริยทานํ การให้อันยิ่งด้วยความอยาก.
ทานที่ ๒ ชื่อว่า วิตฺตีการทานํ ให้ด้วยความยำเกรง
ทานที่ ๓ ชื่อว่า หิโรตฺตปฺปทานํ ให้ด้วยละอายและเกรงกลัว
ทานที่ ๔ ชื่อว่า นิรวเสสทานํ ให้ด้วยไม่ให้เหลือเศษ
ทานที่ ๕ ชื่อว่า ทกฺขิเณยฺยทานํ ให้แก่พระทักขิเณยยบุคคล
ทานที่ ๖ ชื่อว่า โสมนสฺสูปวิจารทานํ ให้ด้วยอิงอาศัยโสมนัส
ทานที่ ๗ ชื่อว่า อลงฺการปริวารทานํ ให้เป็นเครื่องประดับ และเป็นบริวาร (แห่งจิต)
ประเด็นคือ ไม่ว่าจะทำทานด้วยอะไรก็ตาม จะข้าวซักทัพพี หรือ ถวายวัด ถวายอาคารสถานที่ ก็ควรมีเจตนา หรือควรหวังผล เพื่อพระนิพพาน ทานนั้นจึงจะมีทั้งผลมากและอานิสงส์มาก
การให้ธรรม หรือธรรมทานนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสรรเสริญว่าเป็นเลิศ เพราะทำให้ผู้รับเกิดปัญญา สามารถกำจัดกิเลสให้หมดไป บรรลุพระนิพพานซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิตมนุษย์ได้ ซึ่งถ้าผู้ให้เป็น พระพุทธเจ้า หรือพระอรหันต์ทั้งหลายซึ่งมีปัญญาสมบูรณ์อยู่แล้ว ก็เป็นการสงเคราะห์สรรพสัตว์ แต่หากเป็น บุคคลที่ยังไม่หมดกิเลส การให้ธรรมทานแก่ผู้อื่น เท่ากับได้ทบทวนธรรมะ ได้ตอกย้ำ ตามอานิสงส์ของการ ฟังธรรม สนทนาธรรม ซึ่งเท่ากับว่า ผู้ให้ก็ย่อมได้ปัญญา เพิ่มพูนยิ่ง ๆ ขึ้นเป็นลำดับเช่นเดียวกับผู้รับ
เมื่อมองอีกมุมหนึ่ง การให้อามิสทานก็ทำให้เกิดปัญญาได้ โดยให้ทานแก่ผู้มีศีล มีปัญญา หรือผู้ปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญา ซึ่งการให้แบบนี้ หากบวกกับความเคารพ ศรัทธา ตามหลักสัปปุริสทานแล้ว ทำให้การให้อามิสทานนี้ ทำให้เกิดปัญญาตามมาได้ เพราะผู้ทรงศีล หรือพระอริยบุคคลก็ดี ท่านจะโปรดผู้มีศรัทธาก่อน และหลีกเลี่ยงผู้ไม่มีศรัทธา ดังที่ปรากฏในกูฏทันตะสูตร ว่าพุทธยัญ มีผลมากกว่า ง่ายกว่า ประหยัดกว่า มหายัญ เพราะฉะนั้น จึงควรทำทานทั้งอามิสทาน และธรรมทาน เพราะทานทั้งสองอย่างนี้ หากตั้งเจตนาให้ถูก คือเพื่อ ปัญญาเพื่อมรรคผลนิพพานแล้ว ก็ล้วนแต่มีผลมาก มีอานิสงส์มากได้ทั้งสิ้น สรุปคือ ให้ทานหวังผลไม่ได้ผิดอะไร แต่การหวังผลที่ถูกต้องจะทำให้ ทานนั้นมีผลมากมีอานิสงส์มาก