เทคโนโลยีล้ำยุคไม่ได้ช่วยให้ชีวิตคนเมืองง่ายขึ้น และมีเวลาเหลือให้ละเลียดกับอะไรมากขึ้นเลย ยิ่งติดต่อกับคนที่อยู่อีกซีกโลกได้เร็วแค่ไหน เราก็รออะไรได้น้อยลง ทั้งที่มีพาหนะที่รวดเร็วมากกว่าอดีต เรากลับต้องเร่งรีบขึ้น เมื่อทุกอย่างรีบเร่งไปหมด เราก็หมดวันด้วยความอ่อนล้า และพยายามจะมีโอกาส slow life ให้มากขึ้น
ถ้ากาแฟเอสเปรสโซ (espresso ในภาษาอิตาลี) เป็นตัวแทนของความเร่งด่วนตามชื่อ (express มาจากรากศัพท์เดียวกัน) เครื่องดื่มอะไรจะเป็นตัวแทนของวิถีชีวิตแบบช้าๆ ล่ะ คงเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก "ชา" เพราะแค่เติมไม้โทตัวเดียวก็กลายเป็นช้าแล้ว สื้ดดดด เอ้า...เพลงมา!!! สิ้นสุดการสนทนา
ชามีต้นกำเนิดจากจีน เมื่อไปยังแดนอาทิตย์อุทัยก็ก่อให้เกิดพิธีชงชาที่สะท้อนความเรียบง่าย (แต่โคตรพิธีรีตองซะเหลือเกิน) ส่วนวัฒนธรรมการจิบชายามบ่ายของเมืองผู้ดี ก็ให้ความรู้สึกหรูหราฟู่ฟ่า
แต่ไม่ว่าจะชงชาสไตล์ไหน ก็จะมีจุดร่วมกันอยู่อย่างน้อยสองจุดคือ ความอบอุ่น เพราะการตั้งวงชงชานั้น มีมิติทางสังคม เป็นการที่เพื่อนฝูง มิตรสหายได้มาพบปะพูดคุยกัน สนทนากันไป จิบชาไป กินกับแกล้มไป ฟิน!
อีกข้อก็คือ ความเนิบช้า ไม่ว่าจะเป็นพิธีชงชาญี่ปุ่น ปาร์ตี้น้ำชายามบ่าย หรือการชงชาจีนเพื่อต้อนรับมิตรสหาย ก็ล้วนแล้วแต่กินเวลาทั้งนั้น ทุกอย่างมีรายละเอียดชวนให้คุณเพลิดเพลิน
ทั้งบรรดาอุปกรณ์สารพันในการชงชา รสและกลิ่นหอมของน้ำชา ตลอดจนบรรยากาศในการสังสรรค์ การเสพชาเป็นศิลปะที่มิอาจรีบเร่ง ค่อยบรรจงยกน้ำชาขึ้นสูดกลิ่นหอม ก่อนที่จะปล่อยให้น้ำชาไหลเลื่อนลงไปบนลิ้นเพื่อลิ้มรสละมุน และกลืนลงสู่ลำคอในที่สุด
คุณจะอยู่กับปัจจุบันขณะเท่านั้น และนี่คือวิถีแห่งชา วิถีแห่งความเนิบช้า ทว่าอบอุ่น
ในฐานะที่เป็นทาสชาผู้หนึ่ง เมื่อมีโอกาสได้ไปเที่ยวไต้หวันเป็นครั้งแรก เราจึงรู้สึกลิงโลดเหมือนปลากระดี่ได้น้ำ
ไต้หวันเป็นประเทศที่นำชาอูหลงจากฝูเจี้ยนมาขยายพันธุ์จนได้ชาเกาซานอูหลง (Gao Shan Wu Long Cha) หรือชาอูหลงภูเขาสูงที่มีกลิ่นและรสชาติเป็นเอกลักษณ์ คือกลิ่นหอมหวานเหมือนดอกไม้ผลไม้ สีน้ำชาเป็นสีเหลืองทองสว่าง รสชาจะนุ่มละมุนลิ้น ต่างจากชาอูหลงโดยมากในจีนที่จะมีกลิ่นควัน สีออกแดง และรสฝาดเข้ม
แม้จะต่างกันเพราะกรรมวิธีการผลิต แต่ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของแหล่งปลูกก็เป็นส่วนสำคัญมากที่ส่งผลให้ชาเกาซานอูหลงจากไต้หวันมีเอกลักษณ์ดังกล่าว ครั้งนี้เราจึงหมายมั่นปั้นมือที่จะไปชิมชาไต้หวันให้ถึงแหล่งปลูกเลยทีเดียว
เมื่อมาถึงไทเป พนักงานต้อนรับที่โฮสเทลก็แนะนำว่าให้ไปเยือน "เมาคง" ก่อน ใครที่เคยไปไทเปมาก่อนก็น่าจะรู้จัก เพราะไปง่าย แค่ลงรถไฟฟ้า MRT สถานี Taipei Zoo ก็จะมีรถกระเช้าให้นั่งต่อไปถึงเมาคงเลย (เมา แปลว่า แมว ส่วน คง คือ ท้องฟ้าอากาศ ที่นี่เลยมีรูปแมวน่ารักๆ เต็มไปหมด)
วันที่เรามาถึงเป็นวันสุดท้ายก่อนที่เขาจะปิดปรับปรุงรถกระเช้าประจำปี ก็คิดว่าจะได้นั่งส่งท้าย แต่ช่วงบ่ายพายุเข้า เจ้าหน้าที่บอกว่าต้องขอหยุดให้บริการแต่เพียงเท่านี้พร้อมคืนส่วนต่างจากบัตร Taipei Easy ให้ด้วย เซ็งไป สุดท้ายก็ได้นั่งรถเมล์สาย 15 ไปแทน
เมื่อมาถึงเมาคง ฝนก็เทกระหน่ำลงมา ว่าจะเดินสำรวจก่อน เลยต้องเปลี่ยนแผน หาร้านชานั่งด่วน เราได้ร้านนี้ ชื่อ "หงมู่อู" แปลว่า "ห้องไม้แดง" วิวสวยดี แต่จริงๆ ไม่ทันได้เลือกมากเพราะเปียกฝนแล้ว
สอบถามเจ้าของร้าน เขาแนะนำชาสองตัวที่เป็นจุดเด่นของที่เมาคง คือ "ชาเถี่ยกวานอิน (ทิกวนอิม)" และ "ชาเปาจ่ง" ตอนอยู่ไทยเคยชิมเถี่ยกวานอิน หรือชากวนอิมเหล็กหลายยี่ห้อแล้ว ยังไม่เคยชิมเปาจ่ง ก็เลยสั่งมาลองดู
เดี๋ยวเดียวพนักงานก็ยกอุปกรณ์ชง "กงฟูฉา" หรือชุดชงชาฝีมือมาวางบนโต๊ะ พร้อมกาต้มน้ำร้อนแบบโบราณ ดูคลาสสิคมากๆ พร้อมกันนั้นก็ได้อาหมวยมาสาธิตวิธีชงชากงฟูให้ดูเพลินดี
ชาเปาจ่งกลิ่นหอมเหมือนชาอูหลงสไตล์ไต้หวันทั่วไป รสชาติค่อนข้างอ่อน กระเดียดไปทางชาเขียว สำหรับเรารู้สึกเฉยๆ คิดว่าเถี่ยกวานอินดีกว่า แต่สำหรับมือใหม่ ชาเปาจ่งก็คงพอจะสร้างความประทับใจให้ได้ไม่น้อยเลย ใบชาแห้งที่เหลือจากการชงก็เก็บกลับมาด้วย เพราะเขาขายยกห่อแต่แรก
นี่คือวิวจากโต๊ะที่นั่ง เห็นตึกไทเป 101 อยู่ไกลๆ ดูสูงมากจริงๆ ร้านชาจีนในกรุงเทพฯ ก็พอมีอยู่ แต่จะหาร้านชาที่ขายทิวทัศน์แบบยอดดอยอย่างนี้ โดยที่ใช้เวลาเดินทางจากเมืองหลวงไม่นาน ก็เห็นจะมีแต่ที่ไต้หวันนี่แหละ
บรรยากาศภายในและบริเวณร้าน มีแปลงชาด้วยนะเนี่ย
หลังจากชำระหนี้สินเรียบร้อย ก็ออกเดินต่อ มาเจอไอติมชาเถี่ยกวานอิน กลิ่นชาชัดเจนมาก เปรียบกะไอติมรสชาต่างๆ ที่มีขายในไทยส่วนมากจะเป็นกลิ่นนมนำมาก่อนเลย บอกเลยว่าไต้หวันเป็นประเทศที่ชำนาญด้านชาจริงๆ นอกจากชาอูหลงแบบดั้งเดิมแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากชาอีกเพียบ รับรองว่าลองแล้วจะไม่เสียดาย
(มีต่อ)
[CR] ชิมชาชิลชิล ได้ฟีลที่ไต้หวัน
ถ้ากาแฟเอสเปรสโซ (espresso ในภาษาอิตาลี) เป็นตัวแทนของความเร่งด่วนตามชื่อ (express มาจากรากศัพท์เดียวกัน) เครื่องดื่มอะไรจะเป็นตัวแทนของวิถีชีวิตแบบช้าๆ ล่ะ คงเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก "ชา" เพราะแค่เติมไม้โทตัวเดียวก็กลายเป็นช้าแล้ว สื้ดดดด เอ้า...เพลงมา!!! สิ้นสุดการสนทนา
ชามีต้นกำเนิดจากจีน เมื่อไปยังแดนอาทิตย์อุทัยก็ก่อให้เกิดพิธีชงชาที่สะท้อนความเรียบง่าย (แต่โคตรพิธีรีตองซะเหลือเกิน) ส่วนวัฒนธรรมการจิบชายามบ่ายของเมืองผู้ดี ก็ให้ความรู้สึกหรูหราฟู่ฟ่า
แต่ไม่ว่าจะชงชาสไตล์ไหน ก็จะมีจุดร่วมกันอยู่อย่างน้อยสองจุดคือ ความอบอุ่น เพราะการตั้งวงชงชานั้น มีมิติทางสังคม เป็นการที่เพื่อนฝูง มิตรสหายได้มาพบปะพูดคุยกัน สนทนากันไป จิบชาไป กินกับแกล้มไป ฟิน!
อีกข้อก็คือ ความเนิบช้า ไม่ว่าจะเป็นพิธีชงชาญี่ปุ่น ปาร์ตี้น้ำชายามบ่าย หรือการชงชาจีนเพื่อต้อนรับมิตรสหาย ก็ล้วนแล้วแต่กินเวลาทั้งนั้น ทุกอย่างมีรายละเอียดชวนให้คุณเพลิดเพลิน
ทั้งบรรดาอุปกรณ์สารพันในการชงชา รสและกลิ่นหอมของน้ำชา ตลอดจนบรรยากาศในการสังสรรค์ การเสพชาเป็นศิลปะที่มิอาจรีบเร่ง ค่อยบรรจงยกน้ำชาขึ้นสูดกลิ่นหอม ก่อนที่จะปล่อยให้น้ำชาไหลเลื่อนลงไปบนลิ้นเพื่อลิ้มรสละมุน และกลืนลงสู่ลำคอในที่สุด
คุณจะอยู่กับปัจจุบันขณะเท่านั้น และนี่คือวิถีแห่งชา วิถีแห่งความเนิบช้า ทว่าอบอุ่น
ในฐานะที่เป็นทาสชาผู้หนึ่ง เมื่อมีโอกาสได้ไปเที่ยวไต้หวันเป็นครั้งแรก เราจึงรู้สึกลิงโลดเหมือนปลากระดี่ได้น้ำ
ไต้หวันเป็นประเทศที่นำชาอูหลงจากฝูเจี้ยนมาขยายพันธุ์จนได้ชาเกาซานอูหลง (Gao Shan Wu Long Cha) หรือชาอูหลงภูเขาสูงที่มีกลิ่นและรสชาติเป็นเอกลักษณ์ คือกลิ่นหอมหวานเหมือนดอกไม้ผลไม้ สีน้ำชาเป็นสีเหลืองทองสว่าง รสชาจะนุ่มละมุนลิ้น ต่างจากชาอูหลงโดยมากในจีนที่จะมีกลิ่นควัน สีออกแดง และรสฝาดเข้ม
แม้จะต่างกันเพราะกรรมวิธีการผลิต แต่ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของแหล่งปลูกก็เป็นส่วนสำคัญมากที่ส่งผลให้ชาเกาซานอูหลงจากไต้หวันมีเอกลักษณ์ดังกล่าว ครั้งนี้เราจึงหมายมั่นปั้นมือที่จะไปชิมชาไต้หวันให้ถึงแหล่งปลูกเลยทีเดียว
เมื่อมาถึงไทเป พนักงานต้อนรับที่โฮสเทลก็แนะนำว่าให้ไปเยือน "เมาคง" ก่อน ใครที่เคยไปไทเปมาก่อนก็น่าจะรู้จัก เพราะไปง่าย แค่ลงรถไฟฟ้า MRT สถานี Taipei Zoo ก็จะมีรถกระเช้าให้นั่งต่อไปถึงเมาคงเลย (เมา แปลว่า แมว ส่วน คง คือ ท้องฟ้าอากาศ ที่นี่เลยมีรูปแมวน่ารักๆ เต็มไปหมด)
วันที่เรามาถึงเป็นวันสุดท้ายก่อนที่เขาจะปิดปรับปรุงรถกระเช้าประจำปี ก็คิดว่าจะได้นั่งส่งท้าย แต่ช่วงบ่ายพายุเข้า เจ้าหน้าที่บอกว่าต้องขอหยุดให้บริการแต่เพียงเท่านี้พร้อมคืนส่วนต่างจากบัตร Taipei Easy ให้ด้วย เซ็งไป สุดท้ายก็ได้นั่งรถเมล์สาย 15 ไปแทน
เมื่อมาถึงเมาคง ฝนก็เทกระหน่ำลงมา ว่าจะเดินสำรวจก่อน เลยต้องเปลี่ยนแผน หาร้านชานั่งด่วน เราได้ร้านนี้ ชื่อ "หงมู่อู" แปลว่า "ห้องไม้แดง" วิวสวยดี แต่จริงๆ ไม่ทันได้เลือกมากเพราะเปียกฝนแล้ว
สอบถามเจ้าของร้าน เขาแนะนำชาสองตัวที่เป็นจุดเด่นของที่เมาคง คือ "ชาเถี่ยกวานอิน (ทิกวนอิม)" และ "ชาเปาจ่ง" ตอนอยู่ไทยเคยชิมเถี่ยกวานอิน หรือชากวนอิมเหล็กหลายยี่ห้อแล้ว ยังไม่เคยชิมเปาจ่ง ก็เลยสั่งมาลองดู
เดี๋ยวเดียวพนักงานก็ยกอุปกรณ์ชง "กงฟูฉา" หรือชุดชงชาฝีมือมาวางบนโต๊ะ พร้อมกาต้มน้ำร้อนแบบโบราณ ดูคลาสสิคมากๆ พร้อมกันนั้นก็ได้อาหมวยมาสาธิตวิธีชงชากงฟูให้ดูเพลินดี
ชาเปาจ่งกลิ่นหอมเหมือนชาอูหลงสไตล์ไต้หวันทั่วไป รสชาติค่อนข้างอ่อน กระเดียดไปทางชาเขียว สำหรับเรารู้สึกเฉยๆ คิดว่าเถี่ยกวานอินดีกว่า แต่สำหรับมือใหม่ ชาเปาจ่งก็คงพอจะสร้างความประทับใจให้ได้ไม่น้อยเลย ใบชาแห้งที่เหลือจากการชงก็เก็บกลับมาด้วย เพราะเขาขายยกห่อแต่แรก
นี่คือวิวจากโต๊ะที่นั่ง เห็นตึกไทเป 101 อยู่ไกลๆ ดูสูงมากจริงๆ ร้านชาจีนในกรุงเทพฯ ก็พอมีอยู่ แต่จะหาร้านชาที่ขายทิวทัศน์แบบยอดดอยอย่างนี้ โดยที่ใช้เวลาเดินทางจากเมืองหลวงไม่นาน ก็เห็นจะมีแต่ที่ไต้หวันนี่แหละ
บรรยากาศภายในและบริเวณร้าน มีแปลงชาด้วยนะเนี่ย
หลังจากชำระหนี้สินเรียบร้อย ก็ออกเดินต่อ มาเจอไอติมชาเถี่ยกวานอิน กลิ่นชาชัดเจนมาก เปรียบกะไอติมรสชาต่างๆ ที่มีขายในไทยส่วนมากจะเป็นกลิ่นนมนำมาก่อนเลย บอกเลยว่าไต้หวันเป็นประเทศที่ชำนาญด้านชาจริงๆ นอกจากชาอูหลงแบบดั้งเดิมแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากชาอีกเพียบ รับรองว่าลองแล้วจะไม่เสียดาย
(มีต่อ)