ข่าววันนี้ สส. หญิงถูกยิงและแทงที่อังกฤษพร้อมกับการตะโกนของฆาตกรว่า “อังกฤษต้องมาก่อน” อาจจะมีนัยยะทางการเมืองที่เกี่ยวโยงถึงการลงประชามติ ขณะนี้หน่วยสก็อตแลนด์ยาร์ดกับสอบสวนอยู่
แน่นอนว่าการจะอยู่หรือไปของอังกฤษในสหภาพยุโรป อาจจะส่งผลกระทบหลายด้านและอาจส่งแรงกระเพื่อมในระดับglobal ได้ระดับหนึ่งไม่ว่าจะด้านเศรษกิจ การเมืองระหว่างประเทศ(ในยุโรป) สิทธิมนุษยชน ส่วนอังกฤษจุดศูนย์กลางของแรงกระเพื่อมก็ย่อมเปลี่ยนแปลงในระดับสูง แม้ในขณะนี้การสำรวจโพลระกว่างจะอยู่หรือจะไปยังก้ำๆ กึ่งๆ ห่างกันแค่เส้นยาแดง
ที่อยากจะรายงานต่อไปนี้ไม่เกี่ยวกับรายละเอียด แต่อยากจะพูดถึงพฤติกรรมโดยส่วนรวมของคนอังกฤษและรัฐบาลอังกฤษต่อการประชาพิจารณ์ในฐานะที่ผมเองก็มีสิทธิ์หนึ่งเสียงในการโหวต leave or remainด้วย ทั้งนี้เืพื่อที่เพื่อนๆ พี่ๆ ในนี้จะได้เกิดข้อเปรียบเทียบกับการทำประชาพิจารณ์ที่จะเกิดขึ้นในเมืองไทยในเร็วๆ นี้ โดยหลักๆ พฤติกรรมของคนอังกฤษไม่ว่าจะต่อต้านหรือสนับสนุนนั้น รัฐบาลเขาถือว่าเป็นสิทธิ์ที่ไม่อาจจะก้าวก่ายได้เลย ใครมีไอเดียอะไรและอยากจะพูดอะไร......เวทีเปิดกว้าง ข้างๆ บ้านผมยังปักธงว่า Vote to Leave ส่วนบ้านถัดไปก็ปักธง Vote to Remain ผมยังไม่เห็นพี่ตะหานคนไหนมาด้อมๆ มองๆ แถวๆ บ้านผมเลย (ฮา)
ในแง่ประวัติศาสตร์...ชาวอังกฤษและรัฐบาลอังกฤษผ่านหนาวผ่านร้อนต่อเหตุการณ์ทางประชาธิปไตยมาอย่างยาวนานไม่ว่าจะเรื่อง ประท้วง ชุมนุม บอยคอต เผาอาคาร ลอบสังหาร สั่งฆ่า ฯลฯ แม้จะไม่สามารถเรียกได้ว่า “ตกผลึก” ในเรื่องเหล่านี้ แต่ก็สามารถกล่าวได้ว่า คุณภาพและสามัญสำนึกโดยทั่วไปคนอังกฤษต่อการออกไปใช้สิทธิ์ในการโหวตนั้นอยู่ในระดับสูงถึงสูงมากๆ สังเกตุได้ว่า การติดป้ายคัตเอ้าท์ใหญ่ๆ ตามมุมถนน ติดรูปผู้สมัคร การรณรงค์ต่างๆ การพิมพ์แผ่นโฆษณาชนิดเกลื่อนถนน หรือแม้แต่การร้องเพลงรณรงค์นั้นมีน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย รัฐบาลอังกฤษ(กกต.) หรือพรรคการเมืองต่างๆ ประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องการโฆษณา รณรงค์ ส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่าจิตสำนึกประชาธิปไตยเขาเลยระดับที่จะถูกเกลี้ยกล่อม ซื้อเสียง ชักจูงได้ ดังนั้นเมื่อถึงฤดูการการเลือกตั้ง “คืนหมาหอน” จึงไม่เกิดขึ้นในอังกฤษ
กระนั้น ชาวอังกฤษก็ไม่ได้ชะล่าในเรื่องการใช้สิทธิ์ สถานการศึกษาต่างๆ จะจัดกิจกรรมจำลองรูปแบบการเลือกตั้ง การทำประชาพิจารณ์ และเชื้อเชิญผู้แทนฯ ในเขตนั้นๆ มาสังเกตุการณ์และบรรยายตบท้ายด้วย ซึ่งค่าใช้จ่ายตรงนี้ก็เป็นงบประมาณของสถานศึกษาหรือแผนกด้านการกิจกรรมทางการเมืองนั้นๆ....ตรงนี้กกต. ที่เมืองไทยควรที่นำไปศึกษา(แต่ไม่จำเป็นต้องถึงขั้นบินไปดูงานก็ได้)
การมีจิตสำนึกและตระหนักถึงความสำคัญต่อประชาธิปไตยของคนอังกฤษนั้น ผมไม่เชื่อว่าจู่ๆ จะเกิดขึ้นมาเองเลย หากแต่เกิดจากการเพาะบ่มจากสถาบันทั้งครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และที่สำคัญคือรัฐบาลและฝ่ายค้านด้วย และเหนือสิ่งอื่นใด...การเชื่อและปลูกฝังว่าทุกคนมีหนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียงอย่างเท่าเทียมกันคือบันไดขั้นแรกเลย การเชื่อเช่นนี้จะสัมฤทธิ์ผลได้ก็ต่อเมื่อมี “ผู้ใหญ่” ทำเป็นตัวอย่างและสนับสนุนความเชื่อตรงนั้น “ผู้ใหญ่” ที่ว่านี้หมายถึงผู้ใหญ่ทั่วๆ ไปทั้งในเรื่องวัยวุฒิ และคุณวุฒิ พ่อแม่ คราบาอาจารย์ นักบวช สส. และรัฐบาล ในอังกฤษผมไม่เคยได้ยินคำว่า หนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียงของคนกรุงกับคนชนบทนั้นมีคุณภาพไม่เหมือนกันเลย ตัวผมเองเป็นคนต่างชาติที่มีสิทธิ์โหวตได้ยังไม่เคยถูกถามในทำนองเหยียดด้วยซ้ำ ก็ในเมื่อรัฐบาลอังกฤษ(ที่คนส่วนใหญ่เลือกเข้ามา)ให้ “สิทธิ์” นั้นกับผม แล้วถ้าคนอังกฤษจะมาเหยียดผมว่าเป็นชาวต่างชาติแต่มาโหวตได้ไง? ก็เท่ากับว่าเขาเหยียดตัวเขาเองด้วย นี่คือมุมมองส่วนใหญ่ของชาวอังกฤษต่อการเคารพสิทธิ์ของคนอื่นและของตัวเอง
สำหรับเมืองไทยที่ผ่านการเลือกตั้งประชาพิจารณ์(ระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับประเทศ) มาไม่น้อย คือเราเลือกที่จะเดินเส้นทาง(ประชาธิปไตย)แห่งนี้กันมาระยะหนึ่งแล้ว จู่ๆ ก็มีคนกู่ตะโกนบนเส้นทางว่า “คุณภาพเสียงของคนชนบทไม่เท่ากับเสียงคนในกรุงฯ” จากนั้นก็มีกลุ่มคนสนับสนุนคำพูดนั้นให้กังวานขึ้นเรื่อยๆ.....
อนิจจา...นี่เรากำลังหลอกตัวเองหรือว่าเราถูกหลอกมาตลอดว่าประเทศไทยปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย? แม้บันไดขั้นแรกของประชาธิปไตย “หนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียง” เท่าเทียมกันเรายังข้ามไม่พ้น??
...จากประชาพิจารณ์ในอังกฤษถึงเมืองไทย /ประชาธิปไตยจริงล่ะหรือ?....by วัชรานนท์
แน่นอนว่าการจะอยู่หรือไปของอังกฤษในสหภาพยุโรป อาจจะส่งผลกระทบหลายด้านและอาจส่งแรงกระเพื่อมในระดับglobal ได้ระดับหนึ่งไม่ว่าจะด้านเศรษกิจ การเมืองระหว่างประเทศ(ในยุโรป) สิทธิมนุษยชน ส่วนอังกฤษจุดศูนย์กลางของแรงกระเพื่อมก็ย่อมเปลี่ยนแปลงในระดับสูง แม้ในขณะนี้การสำรวจโพลระกว่างจะอยู่หรือจะไปยังก้ำๆ กึ่งๆ ห่างกันแค่เส้นยาแดง
ที่อยากจะรายงานต่อไปนี้ไม่เกี่ยวกับรายละเอียด แต่อยากจะพูดถึงพฤติกรรมโดยส่วนรวมของคนอังกฤษและรัฐบาลอังกฤษต่อการประชาพิจารณ์ในฐานะที่ผมเองก็มีสิทธิ์หนึ่งเสียงในการโหวต leave or remainด้วย ทั้งนี้เืพื่อที่เพื่อนๆ พี่ๆ ในนี้จะได้เกิดข้อเปรียบเทียบกับการทำประชาพิจารณ์ที่จะเกิดขึ้นในเมืองไทยในเร็วๆ นี้ โดยหลักๆ พฤติกรรมของคนอังกฤษไม่ว่าจะต่อต้านหรือสนับสนุนนั้น รัฐบาลเขาถือว่าเป็นสิทธิ์ที่ไม่อาจจะก้าวก่ายได้เลย ใครมีไอเดียอะไรและอยากจะพูดอะไร......เวทีเปิดกว้าง ข้างๆ บ้านผมยังปักธงว่า Vote to Leave ส่วนบ้านถัดไปก็ปักธง Vote to Remain ผมยังไม่เห็นพี่ตะหานคนไหนมาด้อมๆ มองๆ แถวๆ บ้านผมเลย (ฮา)
ในแง่ประวัติศาสตร์...ชาวอังกฤษและรัฐบาลอังกฤษผ่านหนาวผ่านร้อนต่อเหตุการณ์ทางประชาธิปไตยมาอย่างยาวนานไม่ว่าจะเรื่อง ประท้วง ชุมนุม บอยคอต เผาอาคาร ลอบสังหาร สั่งฆ่า ฯลฯ แม้จะไม่สามารถเรียกได้ว่า “ตกผลึก” ในเรื่องเหล่านี้ แต่ก็สามารถกล่าวได้ว่า คุณภาพและสามัญสำนึกโดยทั่วไปคนอังกฤษต่อการออกไปใช้สิทธิ์ในการโหวตนั้นอยู่ในระดับสูงถึงสูงมากๆ สังเกตุได้ว่า การติดป้ายคัตเอ้าท์ใหญ่ๆ ตามมุมถนน ติดรูปผู้สมัคร การรณรงค์ต่างๆ การพิมพ์แผ่นโฆษณาชนิดเกลื่อนถนน หรือแม้แต่การร้องเพลงรณรงค์นั้นมีน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย รัฐบาลอังกฤษ(กกต.) หรือพรรคการเมืองต่างๆ ประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องการโฆษณา รณรงค์ ส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่าจิตสำนึกประชาธิปไตยเขาเลยระดับที่จะถูกเกลี้ยกล่อม ซื้อเสียง ชักจูงได้ ดังนั้นเมื่อถึงฤดูการการเลือกตั้ง “คืนหมาหอน” จึงไม่เกิดขึ้นในอังกฤษ
กระนั้น ชาวอังกฤษก็ไม่ได้ชะล่าในเรื่องการใช้สิทธิ์ สถานการศึกษาต่างๆ จะจัดกิจกรรมจำลองรูปแบบการเลือกตั้ง การทำประชาพิจารณ์ และเชื้อเชิญผู้แทนฯ ในเขตนั้นๆ มาสังเกตุการณ์และบรรยายตบท้ายด้วย ซึ่งค่าใช้จ่ายตรงนี้ก็เป็นงบประมาณของสถานศึกษาหรือแผนกด้านการกิจกรรมทางการเมืองนั้นๆ....ตรงนี้กกต. ที่เมืองไทยควรที่นำไปศึกษา(แต่ไม่จำเป็นต้องถึงขั้นบินไปดูงานก็ได้)
การมีจิตสำนึกและตระหนักถึงความสำคัญต่อประชาธิปไตยของคนอังกฤษนั้น ผมไม่เชื่อว่าจู่ๆ จะเกิดขึ้นมาเองเลย หากแต่เกิดจากการเพาะบ่มจากสถาบันทั้งครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และที่สำคัญคือรัฐบาลและฝ่ายค้านด้วย และเหนือสิ่งอื่นใด...การเชื่อและปลูกฝังว่าทุกคนมีหนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียงอย่างเท่าเทียมกันคือบันไดขั้นแรกเลย การเชื่อเช่นนี้จะสัมฤทธิ์ผลได้ก็ต่อเมื่อมี “ผู้ใหญ่” ทำเป็นตัวอย่างและสนับสนุนความเชื่อตรงนั้น “ผู้ใหญ่” ที่ว่านี้หมายถึงผู้ใหญ่ทั่วๆ ไปทั้งในเรื่องวัยวุฒิ และคุณวุฒิ พ่อแม่ คราบาอาจารย์ นักบวช สส. และรัฐบาล ในอังกฤษผมไม่เคยได้ยินคำว่า หนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียงของคนกรุงกับคนชนบทนั้นมีคุณภาพไม่เหมือนกันเลย ตัวผมเองเป็นคนต่างชาติที่มีสิทธิ์โหวตได้ยังไม่เคยถูกถามในทำนองเหยียดด้วยซ้ำ ก็ในเมื่อรัฐบาลอังกฤษ(ที่คนส่วนใหญ่เลือกเข้ามา)ให้ “สิทธิ์” นั้นกับผม แล้วถ้าคนอังกฤษจะมาเหยียดผมว่าเป็นชาวต่างชาติแต่มาโหวตได้ไง? ก็เท่ากับว่าเขาเหยียดตัวเขาเองด้วย นี่คือมุมมองส่วนใหญ่ของชาวอังกฤษต่อการเคารพสิทธิ์ของคนอื่นและของตัวเอง
สำหรับเมืองไทยที่ผ่านการเลือกตั้งประชาพิจารณ์(ระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับประเทศ) มาไม่น้อย คือเราเลือกที่จะเดินเส้นทาง(ประชาธิปไตย)แห่งนี้กันมาระยะหนึ่งแล้ว จู่ๆ ก็มีคนกู่ตะโกนบนเส้นทางว่า “คุณภาพเสียงของคนชนบทไม่เท่ากับเสียงคนในกรุงฯ” จากนั้นก็มีกลุ่มคนสนับสนุนคำพูดนั้นให้กังวานขึ้นเรื่อยๆ.....อนิจจา...นี่เรากำลังหลอกตัวเองหรือว่าเราถูกหลอกมาตลอดว่าประเทศไทยปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย? แม้บันไดขั้นแรกของประชาธิปไตย “หนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียง” เท่าเทียมกันเรายังข้ามไม่พ้น??