ในฐานะที่เป็นแฟนห้องสีลม และเป็นมนุษย์เงินเดือนคนหนึ่งเหมือนกัน คลื่นระลอกใหม่ในวงการธุรกิจที่ผมรู้สึกว่ามาแรงมากๆ ช่วงนี้ คือ การปรับลดคนงานและทดแทนด้วยเครื่องจักรและเทคโนโลยี
คิดแล้วก็น่าประหลาดใจนะครับ เพราะดูเหมือนว่าเราจะตัดสลับระหว่างสองยุค ระหว่างยุคของ Man และยุคของ Machine มาตลอด
- เริ่มตั้งแต่ยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่ยังไม่มีเครื่องจักรอะไรมากมาย ก็ใช้แรงคนในการทำงาน ใครถนัดอะไรตรงไหนก็เข้ามาช่วยกันสร้าง
- จนกระทั่งปฏิวัติอุตสาหกรรมด้วยเครื่องจักรไอน้ำสำเร็จ มีระบบการผลิตแบบสายพานออกมา ก็ทำให้เครื่องจักรถูกทดแทนแรงงานคน คนกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเติมเต็มให้การผลิตแทน
- แต่แล้วระบบการผลิตด้วยเครื่องจักรมันดัน Mass ซะจนไม่สามารถจะสร้างจุดขายอะไรได้ เลยต้องกลับมาใช้ความคิดสร้างสรรค์ของคนเข้ามาช่วยเพิ่มจุดแตกต่าง และเพิ่มมูลค่าให้สินค้าและบริการด้วย ยุคนี้ถ้าให้ผมมองก็น่าจะก็เป็นยุค 1980 - 2010 แหละมั้ง
- ยุคศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมานี่แหละที่ Loop ของ Machine กลับมาอีกรอบ เพราะเครื่องจักรยุคนี้ ไม่เหมือนกับเครื่องจักรยุคที่ใช้ในอุตสาหกรรม เพราะเครื่องจักรทุกวันนี้เล็ก เร็ว และสร้างความแตกต่างได้อย่างชัดเจน
ที่จริง เราเห็นสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงมาได้สักพักแล้ว ในองค์กรใหญ่ๆ เช่น Major Cineplex ที่ใช้เครื่องขายตั๋วแทนพนักงาน, MK ที่เปลี่ยนเมนูมากดเอง จิ้มเองได้แบบไม่ต้องง้อพนักงาน, ทุกธนาคารที่เปลี่ยนมาใช้ระบบ Internet Banking และมี Application ในการฝาก ถอน โอน โดยที่เราไม่ต้องไปต่อคิวที่สาขาอีกต่อไป หรือมือถือกลายมาเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เราได้ทุกอย่าง ตั้งแต่จองคิวร้านอาหาร, จองตั๋วเครื่องบิน, จองโรงแรม, ซื้อขายสินค้า และอื่นๆ ตราบเท่าที่จะพัฒนากันออกมา
ผมเชื่อว่าแนวโน้มที่น่าจะเป็นในอนาคต คือ สาขาของธนาคารหลายๆ สาขาจะทยอยปิด เพราะคนมาใช้บริการทางออนไลน์กันหมด, ผมเชื่อว่าร้านอาหารแบรนด์ดังจะใช้พนักงานน้อยลง และลูกค้าสามารถสั่งอาหาร + จ่ายเงินได้ด้วยตัวเอง, ผมเชื่อว่าธุรกิจพลังงานจะเดินทางมาถึงจุดสิ้นสุด หากไม่เปลี่ยนกลยุทธ์มาเล่นเรื่องพลังงานทดแทนหรือพลังงานสีเขียว, ผมเชื่อว่าการขายของแบบมีหน้าร้านจะน้อยลง และคนจะเดินช็อปปิ้งสิบค้าอุปโภคกันน้อยลงมากๆ ถ้าไม่นับสินค้าแฟชั่นที่ต้องลองใส่ , ผมเชื่อว่าพ่อค้าคนกลางจะแย่ เพราะอินเตอร์เน็ททำให้ผู้ค้าและผู้ซื้อเชื่อมกันได้ง่ายกว่าเดิม, ผมคิดว่าภาคการเกษตรหรือสินค้าหัตถกรรม จะกลายเป็นธุรกิจที่ดิ่งลงเหว หากไม่มีนวัตกรรมสร้างสรรค์มาสร้างความแตกต่าง
ขณะที่ธุรกิจอย่างการขนส่ง, การสื่อสารและโทรคมนาคม, ธุรกิจดิจิตอล, การท่องเที่ยว หรือการให้บริการ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วให้ชีวิตคน จะเติบโตและมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามกระแสโลกที่เปลี่ยนไป
แล้วแบบนี้ คิดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า ถ้ามนุษย์เงินเดือนในองค์กรไม่ปรับตัว จะเกิดอะไรขึ้นครับ ??
ผมมองว่า สิ่งที่มนุษย์เงินเดือนรุ่นลูกของเรากำลังจะเจอ คือความท้าทายอย่างยิ่งนะครับ ต่อไปการเข้าทำงานในองค์กรใหญ่ๆ ทั้งหลาย จะกลายเป็นความสำเร็จ ไม่ต่างจากการได้ทำงานในวิชาชีพเฉพาะ เช่น หมอ, นักบิน ฯลฯ เพราะการทำงานในองค์กรในยุคที่ Machine เข้ามาแทนที่ Man นั้น สิ่งที่พนักงานจะต้องมี และจะต้องเป็น คือ การเป็นมนุษย์ Multi Tasks ที่สามารถทำงานได้หลายอย่าง และพร้อมจะก้าวไปตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พนักงาน Mass ที่ไม่มีความรู้และประสบการณ์มากพอ จะไม่ถูกจ้างเข้าทำงานในบริษัท ขณะที่ค่าตอบแทนของพนักงานที่ได้รับการคัดเลือกเข้าทำงานในบริษัทจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยกระบวนการคัดเลือกพนักงานก็จะมีความเข้มข้นมากขึ้นด้วยเช่นกัน
ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ พนักงาน HR ระดับปฏิบัติการในอนาคต นอกจากทักษะในการทำงานตามตำแหน่ง และการประสานงานกับฝ่ายอื่นๆ แล้ว ผมเชื่อว่าต้องสามารถบูรณาการการทำงาน HR ได้ครบถ้วนทุกฟังก์ชั่น เช่น การสรรหา, การฝึกอบรม, การประเมินผล, การออกแบบสวัสดิการและค่าตอบแทน, แรงงานสัมพันธ์, HRIS ฯลฯ หากมีความเชี่ยวชาญเพียงด้านเดียว และทำงานเป็นได้แขนงเดียว จะไม่ถูกจ้างเข้ามาในองค์กรอีกต่อไป
อีกหน่อย สำนวนที่ว่า "รู้กระจ่าง เพียงอย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล" จะกลายเป็นสิ่งที่ใช้ไม่ได้จริงในยุคดิจิตอล ผู้ที่เป็น Talent ซึ่งมีความรู้ ทักษะ และความชำนาญสูง ทั้งแนวกว้างและแนวลึก จึงจะทำงานได้ ผมเชื่อว่าอีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า มนุษย์เงินเดือนที่ไม่ใช่ Talent และไม่พยายามจะเป็น Talent แต่ยังยึดติดกับทำงานในรูปแบบเดิมๆ หยุดนิ่งติดอยู่ในกรอบเดิมๆ ไม่พัฒนาตัวเอง จะไม่หลงเหลือในองค์กรใหญ่ๆ แน่นอน
เชิญชวนมาเสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ
ยุคแห่งความรู้และนวัตกรรม ผู้ประกอบการก็ต้องปรับตัว คนทำงานก็ต้องปรับตัว !!
คิดแล้วก็น่าประหลาดใจนะครับ เพราะดูเหมือนว่าเราจะตัดสลับระหว่างสองยุค ระหว่างยุคของ Man และยุคของ Machine มาตลอด
- เริ่มตั้งแต่ยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่ยังไม่มีเครื่องจักรอะไรมากมาย ก็ใช้แรงคนในการทำงาน ใครถนัดอะไรตรงไหนก็เข้ามาช่วยกันสร้าง
- จนกระทั่งปฏิวัติอุตสาหกรรมด้วยเครื่องจักรไอน้ำสำเร็จ มีระบบการผลิตแบบสายพานออกมา ก็ทำให้เครื่องจักรถูกทดแทนแรงงานคน คนกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเติมเต็มให้การผลิตแทน
- แต่แล้วระบบการผลิตด้วยเครื่องจักรมันดัน Mass ซะจนไม่สามารถจะสร้างจุดขายอะไรได้ เลยต้องกลับมาใช้ความคิดสร้างสรรค์ของคนเข้ามาช่วยเพิ่มจุดแตกต่าง และเพิ่มมูลค่าให้สินค้าและบริการด้วย ยุคนี้ถ้าให้ผมมองก็น่าจะก็เป็นยุค 1980 - 2010 แหละมั้ง
- ยุคศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมานี่แหละที่ Loop ของ Machine กลับมาอีกรอบ เพราะเครื่องจักรยุคนี้ ไม่เหมือนกับเครื่องจักรยุคที่ใช้ในอุตสาหกรรม เพราะเครื่องจักรทุกวันนี้เล็ก เร็ว และสร้างความแตกต่างได้อย่างชัดเจน
ที่จริง เราเห็นสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงมาได้สักพักแล้ว ในองค์กรใหญ่ๆ เช่น Major Cineplex ที่ใช้เครื่องขายตั๋วแทนพนักงาน, MK ที่เปลี่ยนเมนูมากดเอง จิ้มเองได้แบบไม่ต้องง้อพนักงาน, ทุกธนาคารที่เปลี่ยนมาใช้ระบบ Internet Banking และมี Application ในการฝาก ถอน โอน โดยที่เราไม่ต้องไปต่อคิวที่สาขาอีกต่อไป หรือมือถือกลายมาเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เราได้ทุกอย่าง ตั้งแต่จองคิวร้านอาหาร, จองตั๋วเครื่องบิน, จองโรงแรม, ซื้อขายสินค้า และอื่นๆ ตราบเท่าที่จะพัฒนากันออกมา
ผมเชื่อว่าแนวโน้มที่น่าจะเป็นในอนาคต คือ สาขาของธนาคารหลายๆ สาขาจะทยอยปิด เพราะคนมาใช้บริการทางออนไลน์กันหมด, ผมเชื่อว่าร้านอาหารแบรนด์ดังจะใช้พนักงานน้อยลง และลูกค้าสามารถสั่งอาหาร + จ่ายเงินได้ด้วยตัวเอง, ผมเชื่อว่าธุรกิจพลังงานจะเดินทางมาถึงจุดสิ้นสุด หากไม่เปลี่ยนกลยุทธ์มาเล่นเรื่องพลังงานทดแทนหรือพลังงานสีเขียว, ผมเชื่อว่าการขายของแบบมีหน้าร้านจะน้อยลง และคนจะเดินช็อปปิ้งสิบค้าอุปโภคกันน้อยลงมากๆ ถ้าไม่นับสินค้าแฟชั่นที่ต้องลองใส่ , ผมเชื่อว่าพ่อค้าคนกลางจะแย่ เพราะอินเตอร์เน็ททำให้ผู้ค้าและผู้ซื้อเชื่อมกันได้ง่ายกว่าเดิม, ผมคิดว่าภาคการเกษตรหรือสินค้าหัตถกรรม จะกลายเป็นธุรกิจที่ดิ่งลงเหว หากไม่มีนวัตกรรมสร้างสรรค์มาสร้างความแตกต่าง
ขณะที่ธุรกิจอย่างการขนส่ง, การสื่อสารและโทรคมนาคม, ธุรกิจดิจิตอล, การท่องเที่ยว หรือการให้บริการ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วให้ชีวิตคน จะเติบโตและมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามกระแสโลกที่เปลี่ยนไป
แล้วแบบนี้ คิดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า ถ้ามนุษย์เงินเดือนในองค์กรไม่ปรับตัว จะเกิดอะไรขึ้นครับ ??
ผมมองว่า สิ่งที่มนุษย์เงินเดือนรุ่นลูกของเรากำลังจะเจอ คือความท้าทายอย่างยิ่งนะครับ ต่อไปการเข้าทำงานในองค์กรใหญ่ๆ ทั้งหลาย จะกลายเป็นความสำเร็จ ไม่ต่างจากการได้ทำงานในวิชาชีพเฉพาะ เช่น หมอ, นักบิน ฯลฯ เพราะการทำงานในองค์กรในยุคที่ Machine เข้ามาแทนที่ Man นั้น สิ่งที่พนักงานจะต้องมี และจะต้องเป็น คือ การเป็นมนุษย์ Multi Tasks ที่สามารถทำงานได้หลายอย่าง และพร้อมจะก้าวไปตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พนักงาน Mass ที่ไม่มีความรู้และประสบการณ์มากพอ จะไม่ถูกจ้างเข้าทำงานในบริษัท ขณะที่ค่าตอบแทนของพนักงานที่ได้รับการคัดเลือกเข้าทำงานในบริษัทจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยกระบวนการคัดเลือกพนักงานก็จะมีความเข้มข้นมากขึ้นด้วยเช่นกัน
ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ พนักงาน HR ระดับปฏิบัติการในอนาคต นอกจากทักษะในการทำงานตามตำแหน่ง และการประสานงานกับฝ่ายอื่นๆ แล้ว ผมเชื่อว่าต้องสามารถบูรณาการการทำงาน HR ได้ครบถ้วนทุกฟังก์ชั่น เช่น การสรรหา, การฝึกอบรม, การประเมินผล, การออกแบบสวัสดิการและค่าตอบแทน, แรงงานสัมพันธ์, HRIS ฯลฯ หากมีความเชี่ยวชาญเพียงด้านเดียว และทำงานเป็นได้แขนงเดียว จะไม่ถูกจ้างเข้ามาในองค์กรอีกต่อไป
อีกหน่อย สำนวนที่ว่า "รู้กระจ่าง เพียงอย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล" จะกลายเป็นสิ่งที่ใช้ไม่ได้จริงในยุคดิจิตอล ผู้ที่เป็น Talent ซึ่งมีความรู้ ทักษะ และความชำนาญสูง ทั้งแนวกว้างและแนวลึก จึงจะทำงานได้ ผมเชื่อว่าอีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า มนุษย์เงินเดือนที่ไม่ใช่ Talent และไม่พยายามจะเป็น Talent แต่ยังยึดติดกับทำงานในรูปแบบเดิมๆ หยุดนิ่งติดอยู่ในกรอบเดิมๆ ไม่พัฒนาตัวเอง จะไม่หลงเหลือในองค์กรใหญ่ๆ แน่นอน
เชิญชวนมาเสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ