4 จุดพลาดของ HR ในตลาดงานยุคใหม่

ทรัพยากรมนุษย์ คือ สิ่งสำคัญที่สุดในบริษัท 
แม้ทรัพยากรอื่นจะหายไป แต่พนักงานคุณภาพ
จะทำให้องค์กรได้ทรัพยากรอื่นกลับมา หรือ ได้มากกว่าที่เคยมี
หากฝ่ายบุคคลยังเป็นแนวอนุรักษ์นิยม ในสภาพสังคมและลักษณะงานที่เปลี่ยนแปลง
ก็อาจหาเพชรเม็ดงามหรือพนักงานยอดฝีมือที่จะเข้ามาพลิกฟื้นบริษัทไม่ได้ 

และต่อไปนี้ คือ จุดพลาด ที่ HR ยุคใหม่ต้องระวัง

1. จริงจังกับปริญญาและประสพการณ์ที่ตรงสายงาน ในบางสาขานั้นจริงอยู่  ความรู้เป็นสิ่งจำเป็น เช่น แพทย์ นักบิน
แต่งานหลายอย่างในยุคนี้ ต้องการ passion และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้
คุณอาจต้องมองหาคนที่มี passion ใน industry นั้น
ตลอดจนความรู้และประสพการณ์ โดยไม่พยายามหาความตรงเป๊ะ จนน่ากลัว
เพราะสิ่งที่คุณต้องดูคือ ศักยภาพคน แววในการทำงานจนสำเร็จได้ และความสามารถในการเรียนรู้

ที่น่ากลัวไปกว่านั้น วัฒนธรรมบางบริษัทกลัวพนักงานใหม่ที่เก่งจะมาแทนที่คนเก่า 
กลัวว่าคนเก่งจะไม่อยู่กับบริษัทนานๆ จ้างคนกลางๆ มาดีกว่า จะได้อยู่กับบริษัทนานๆ
ซึ่งทำให้บริษัทเสื่อมในระยะยาว ทัศนคติที่ถูกต้องคือ หาคนเก่งในแบบของเขามาร่วมทีม เพื่อสร้างทีมที่เป็นเลิศ
แม้คนเหล่านั้นจะอยู่กับบริษัทไม่นาน แต่เป้าหมายสำคัญคือ การเติบโตของบริษัทที่ไม่ต้องรอนาน

HR ยุคใหม่น่าจะต้องวิเคราะห์มนุษย์ให้ลึกขึ้นไม่ใช่จับคู่วุฒิการศึกษาและประสพการณ์ตรงสาย 
บางทีอาจจะต้องคิด ถึงการสร้างและปั้นคนให้กับองค์กร ให้เป็นดาวของธุรกิจสายนั้นให้ได้ 

2. เชื่อว่าจะได้คนเก่งมาในราคาถูก คุณเคยดื่มกาแฟราคา 15 บาท แล้วเคลือบแคลงความสะอาดของน้ำแข็งไหม
นี่หล่ะ คือ สาเหตุที่คนเก่ง มักไม่ยอมให้คุณจ้างเขาในราคาถูก เพราะงานของเขา คือ งานที่คุณไม่ต้องตรวจหลายรอบ 
เป็นงานที่ผิดพลาดน้อย เหมือนรถ ที่อะไหล่แข็งแรง ไม่เปลืองงบซ่อมบำรุงทีหลัง
ออฟฟิศ ไม่เปลืองงบพัฒนาบุคลากร หากจ้างคนที่ครบเครื่อง ซึ่งคนเหล่านั้น ลงทุนกับการพัฒนาตนเองมาแล้ว

3. ติดกับดักเรื่องวัย วัยไม่ใช่สิ่งที่จะต้องพิจารณา เพราะประสพการณ์ที่มากกว่า ด้วยเวลาที่ยาวกว่า ไม่ใช่ตัวชี้วัด 
เด็กๆ อาจรอบรู้ในบางเรื่องมากกว่าผู้ใหญ่ และในยุคที่คนเปลี่ยนงาน เพื่อหา work-life balance 
ผู้ใหญ่หลายคน ก็อาจไม่มีประสพการณ์ในธุรกิจของคุณ แต่เชื่อเถอะ ผู้ที่มีคุณสมบัติ อยู่ในบริบทไหน เขาก็เก่งได้
เพียงแต่ต้องให้เวลาปรับตัวเรียนรู้ในบริบทใหม่เท่านั้น

4. รับคำสั่งอย่างเดียว ไม่กล้านำเสนอ HR บางคนรอให้นายสั่ง จะจ้างตำแหน่งใด เงินเดือนเท่าไหร่
โดยไม่กล้าเสนอตำแหน่งใหม่  ยอมให้คนที่น่าสนใจหลุดมือไป ไม่ยอมปรับตำแหน่ง ปรับเงินเดือน 
ไม่กล้าเจรจากับผู้บริหาร และไม่เจรจากับคนที่สมัครเข้ามา จนบริษัทพังพินาศ หรือ ใกล้ล้มละลายแล้วโทษแต่ CEO

สังคมยุคใหม่ พึ่งพาปริญญาน้อยลง  วัย เพศ สถานที่-เวลาทำงาน  ขอบเขตความรู้  ไม่มีพรมแดน
ความสามารถของคนมีมิติอันหลากหลาย ยากที่จะตรงกับกรอบตำแหน่งที่ตีกรอบไว้กลางๆ แบบสังคมยุคก่อน 
บางคนจบวิศวะ แต่ชื่นชอบในเครื่องสำอางค์ และเมื่อเขาเข้าสู่ธุรกิจเครื่องสำอางค์ เขาสามารถพัฒนา
ทั้งวิธีการผลิตและการตลาดในรูปแบบใหม่ๆ ได้ ซึ่งฝ่ายบุคคลจะต้องเปิดกว้าง เพื่อสัมผัสคนอันหลากหลาย
แล้วค่อยหาข้อสรุป ว่า ใครคือ ผู้ที่เหมาะกับธุรกิจ ไม่ใช่ปัดเขาตกด้วยวิธีดั้งเดิม แบบกรองรอบแรก วุฒิการศึกษา
กรองรอบสอง ประสพการณ์ทำงานที่ตรงสาย  สุดท้าย ได้พนักงานที่ไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กร

ถ้า HR ไม่เปลี่ยนมุมมอง องค์กร ก็จะไม่เปลี่ยน เพราะได้บุคลากรมาตามกรอบทัศนะแบบหนึ่ง 
งานสรรหาคน เป็นหัวใจสำคัญขององค์กร หากได้ HR ที่สายตายาวไกล ย่อมทำให้บริษัทมีทรัพยากรบุคคลที่สูงค่าอยู่ในมือ
วันหนึ่ง ที่บริษัททำกำไร ก็ย่อมจะต้องย้อนกลับไปให้โบนัสต่อ HR ที่สรรหายอดฝีมือ ผู้เป็นกำลังสำคัญเข้าสู่ทีม
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่