คลังเรียก "กรมศุลฯ-สรรพสามิต-สมอ." ถกเคลียร์แนวทางปฏิบัติเกรย์มาร์เก็ตนำเข้ารถยนต์ หลังพบ 4 เดือนแรกเก็บภาษีได้ไม่ถึงพันล้าน จากปกติเก็บได้เดือนละกว่าพันล้าน กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่อนปรนเงื่อนไขตรวจสอบฟากเกรย์ฯบ่นอุบตลาดหดตัวไปแล้วกว่า 70% รายย่อยทยอยปิดตัว
นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.คลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ได้เชิญสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร มาหารือร่วมกันถึงแนวทางปฏิบัติที่ยังมีปัญหาติดขัดอยู่บ้างเกี่ยวกับการนำเข้ารถยนต์ของผู้ประกอบการนำเข้าอิสระ (เกรย์มาร์เก็ต) โดยผ่อนผันให้ว่า หากเป็นรถยนต์รุ่นที่เคยนำเข้ามาแล้วสามารถใช้เป็นบรรทัดฐานได้เลย หรือหากเป็นรถยนต์ที่มี CoC (Certificate of Conformity) ก็ให้สามารถนำมาสำแดงได้ เพียงแต่ต้องมีสำนักงานตรวจสอบที่ทาง สมอ.ให้การรับรอง
"ถ้าไม่มีอะไรสักอย่าง อีโคสติ๊กเกอร์ก็ไม่มี รถรุ่นเดียวกันที่ประกาศอยู่บนเว็บไซต์ก็ไม่มี คือเป็นรุ่นที่ไม่เคยมีการนำเข้า หรือ CoC ก็ไม่มี ทางกรมศุลฯก็ยอมว่า ให้มีการวางประกัน แล้วนำรถออกไปตรวจได้ เมื่อตรวจเสร็จแล้วก็มาเสียภาษี" นายวิสุทธิ์กล่าว
ทั้งนี้ สำหรับการที่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ตลาดเกรย์มาร์เก็ตแทบไม่มีการนำเข้ารถยนต์เลยนั้น นายวิสุทธิ์กล่าวว่า เนื่องจากเป็นช่วงแรก ๆ ของการบังคับใช้โครงสร้างภาษีใหม่ ผู้นำเข้าก็เลยไม่แน่ใจว่าต้องเสียภาษีในอัตราเท่าใด จากเดิมที่จะทราบล่วงหน้าว่าต้องเสียเท่าใด
"ตอนนี้กระทรวงการคลังกับกระทรวงอุตสาหกรรมคุยกันแล้วระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมสรรพสามิต สมอ. และกรมศุลกากรในเรื่องวิธีการปฏิบัติ ซึ่งจากนี้ก็ไม่น่ามีปัญหาแล้ว เพราะให้เจ้าหน้าที่คุยกันแล้วว่า ไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติแล้วก็อย่าทำให้ช้า อย่าทำให้เป็นปัญหา ส่วนผู้ประกอบการจะนำเข้ามาเท่าไหร่ อันนั้นก็ขึ้นกับเขา" นายวิสุทธิ์กล่าว
ขณะที่แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ช่วง 4 เดือนแรกที่ผ่านมา สำหรับการบังคับใช้โครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ ซึ่งเปลี่ยนมาจัดเก็บตามปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2559 ในทางปฏิบัติการเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิต กรณีรถยนต์ที่ผลิตในประเทศไม่มีปัญหา โดยภาพรวมพบว่า ยอดภาษีรถยนต์ตั้งแต่เดือน ม.ค.-เม.ย. 2559 จัดเก็บได้จำนวน 33,008 ล้านบาท ถือว่าทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2558 ที่จัดเก็บได้ 28,425 ล้านบาท
ส่วนรถยนต์นำเข้า หากเป็นการนำเข้าโดยตัวแทนจำหน่ายหรือดีลเลอร์ก็ไม่ได้มีปัญหา โดยตั้งแต่เดือน ม.ค.-เม.ย. 2559 พบว่าจัดเก็บภาษีได้ 14,245 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปี 2558 ที่จัดเก็บได้ 11,157 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหาในส่วนของเกรย์มาร์เก็ตที่ขั้นตอนต่าง ๆ ค่อนข้างยุ่งยากจนส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐ จากปกติที่จะเก็บได้เดือนละกว่า 1,000 ล้านบาท แต่ผ่านมา 4 เดือนยังเก็บรายได้ส่วนนี้ได้ไม่ถึง 1,000 ล้านบาท
"การนำเข้ารถยนต์ในส่วนที่ผ่านดีลเลอร์ไม่ได้มีปัญหา แม้จะใช้โครงสร้างภาษีใหม่ แต่เกรย์มาร์เก็ตมีปัญหามาก เนื่องจากขั้นตอนที่ยุ่งยากของทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ทำให้กรมศุลกากรก็ออกของไม่ได้ ทำให้ รมช.คลังต้องเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือ" แหล่งข่าวกล่าว
เช่นเดียวกับฟากผู้ประกอบการรถนำเข้ากล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาดตั้งแต่ต้นปีมาถึงตอนนี้ต้องบอกว่าปั่นป่วนมาก เนื่องจากรถแต่ละรุ่นที่จะนำเข้ามาขาย ผ่านกระบวนการต่าง ๆ ใช้เวลานานมาก ทำให้การวางแผนนำเข้ายุ่งยาก และไม่สามารถกำหนดราคาที่ชัดเจนกับลูกค้าได้ หลายฝ่ายอาจจะดูเป็นเรื่องเล็ก แต่ในส่วนของผู้ประกอบการมองว่าจุดนี้คือปัญหาหลัก เพราะการตัดสินใจซื้อของลูกค้าราคาเป็นตัวเร่งในการตัดสินใจ
การทำงานที่ล่าช้านี้ทำให้ตอนนี้ยอดขายเกรย์มาร์เก็ตทั้งระบบหดหายไป 60-70% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
"ถ้าปัญหาต่าง ๆ ยังไม่ได้รับการแก้ไข เชื่อว่าจะมีผู้ประกอบการหลายรายต้องถอดตัวออกจากตลาด ขณะนี้ก็มีหลายเจ้าทยอยปิดกิจการ บางรายก็เลิกไปทำอย่างอื่น ที่เห็นชัดเจน อาทิ ผู้ค้าย่านศรีนครินทร์ นอกจากนี้ ก็ย่านฉิมพลี ตลิ่งชัน และเร็ว ๆ นี้ก็จะมีเพิ่มขึ้นอีก 2-3 เจ้า"
JJNY : ภาษีรถนำเข้าฮวบ 4 เดือนไม่ถึงพันล. คลังบี้ผ่อนเงื่อนไข - เกรย์ฯ ถอดใจทยอยเลิกกิจการ
นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.คลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ได้เชิญสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร มาหารือร่วมกันถึงแนวทางปฏิบัติที่ยังมีปัญหาติดขัดอยู่บ้างเกี่ยวกับการนำเข้ารถยนต์ของผู้ประกอบการนำเข้าอิสระ (เกรย์มาร์เก็ต) โดยผ่อนผันให้ว่า หากเป็นรถยนต์รุ่นที่เคยนำเข้ามาแล้วสามารถใช้เป็นบรรทัดฐานได้เลย หรือหากเป็นรถยนต์ที่มี CoC (Certificate of Conformity) ก็ให้สามารถนำมาสำแดงได้ เพียงแต่ต้องมีสำนักงานตรวจสอบที่ทาง สมอ.ให้การรับรอง
"ถ้าไม่มีอะไรสักอย่าง อีโคสติ๊กเกอร์ก็ไม่มี รถรุ่นเดียวกันที่ประกาศอยู่บนเว็บไซต์ก็ไม่มี คือเป็นรุ่นที่ไม่เคยมีการนำเข้า หรือ CoC ก็ไม่มี ทางกรมศุลฯก็ยอมว่า ให้มีการวางประกัน แล้วนำรถออกไปตรวจได้ เมื่อตรวจเสร็จแล้วก็มาเสียภาษี" นายวิสุทธิ์กล่าว
ทั้งนี้ สำหรับการที่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ตลาดเกรย์มาร์เก็ตแทบไม่มีการนำเข้ารถยนต์เลยนั้น นายวิสุทธิ์กล่าวว่า เนื่องจากเป็นช่วงแรก ๆ ของการบังคับใช้โครงสร้างภาษีใหม่ ผู้นำเข้าก็เลยไม่แน่ใจว่าต้องเสียภาษีในอัตราเท่าใด จากเดิมที่จะทราบล่วงหน้าว่าต้องเสียเท่าใด
"ตอนนี้กระทรวงการคลังกับกระทรวงอุตสาหกรรมคุยกันแล้วระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมสรรพสามิต สมอ. และกรมศุลกากรในเรื่องวิธีการปฏิบัติ ซึ่งจากนี้ก็ไม่น่ามีปัญหาแล้ว เพราะให้เจ้าหน้าที่คุยกันแล้วว่า ไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติแล้วก็อย่าทำให้ช้า อย่าทำให้เป็นปัญหา ส่วนผู้ประกอบการจะนำเข้ามาเท่าไหร่ อันนั้นก็ขึ้นกับเขา" นายวิสุทธิ์กล่าว
ขณะที่แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ช่วง 4 เดือนแรกที่ผ่านมา สำหรับการบังคับใช้โครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ ซึ่งเปลี่ยนมาจัดเก็บตามปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2559 ในทางปฏิบัติการเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิต กรณีรถยนต์ที่ผลิตในประเทศไม่มีปัญหา โดยภาพรวมพบว่า ยอดภาษีรถยนต์ตั้งแต่เดือน ม.ค.-เม.ย. 2559 จัดเก็บได้จำนวน 33,008 ล้านบาท ถือว่าทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2558 ที่จัดเก็บได้ 28,425 ล้านบาท
ส่วนรถยนต์นำเข้า หากเป็นการนำเข้าโดยตัวแทนจำหน่ายหรือดีลเลอร์ก็ไม่ได้มีปัญหา โดยตั้งแต่เดือน ม.ค.-เม.ย. 2559 พบว่าจัดเก็บภาษีได้ 14,245 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปี 2558 ที่จัดเก็บได้ 11,157 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหาในส่วนของเกรย์มาร์เก็ตที่ขั้นตอนต่าง ๆ ค่อนข้างยุ่งยากจนส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐ จากปกติที่จะเก็บได้เดือนละกว่า 1,000 ล้านบาท แต่ผ่านมา 4 เดือนยังเก็บรายได้ส่วนนี้ได้ไม่ถึง 1,000 ล้านบาท
"การนำเข้ารถยนต์ในส่วนที่ผ่านดีลเลอร์ไม่ได้มีปัญหา แม้จะใช้โครงสร้างภาษีใหม่ แต่เกรย์มาร์เก็ตมีปัญหามาก เนื่องจากขั้นตอนที่ยุ่งยากของทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ทำให้กรมศุลกากรก็ออกของไม่ได้ ทำให้ รมช.คลังต้องเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือ" แหล่งข่าวกล่าว
เช่นเดียวกับฟากผู้ประกอบการรถนำเข้ากล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาดตั้งแต่ต้นปีมาถึงตอนนี้ต้องบอกว่าปั่นป่วนมาก เนื่องจากรถแต่ละรุ่นที่จะนำเข้ามาขาย ผ่านกระบวนการต่าง ๆ ใช้เวลานานมาก ทำให้การวางแผนนำเข้ายุ่งยาก และไม่สามารถกำหนดราคาที่ชัดเจนกับลูกค้าได้ หลายฝ่ายอาจจะดูเป็นเรื่องเล็ก แต่ในส่วนของผู้ประกอบการมองว่าจุดนี้คือปัญหาหลัก เพราะการตัดสินใจซื้อของลูกค้าราคาเป็นตัวเร่งในการตัดสินใจ
การทำงานที่ล่าช้านี้ทำให้ตอนนี้ยอดขายเกรย์มาร์เก็ตทั้งระบบหดหายไป 60-70% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
"ถ้าปัญหาต่าง ๆ ยังไม่ได้รับการแก้ไข เชื่อว่าจะมีผู้ประกอบการหลายรายต้องถอดตัวออกจากตลาด ขณะนี้ก็มีหลายเจ้าทยอยปิดกิจการ บางรายก็เลิกไปทำอย่างอื่น ที่เห็นชัดเจน อาทิ ผู้ค้าย่านศรีนครินทร์ นอกจากนี้ ก็ย่านฉิมพลี ตลิ่งชัน และเร็ว ๆ นี้ก็จะมีเพิ่มขึ้นอีก 2-3 เจ้า"