ผลจากความไม่มีธรรมะของมนุษย์ (อย่างหนัก)
-บาลี ปา. ที. ๑๑/๗๐/๓๙.
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อพระราชา มีการกระทำชนิดที่เป็นไปแต่เพียงเพื่อการคุ้มครองอารักขา, แต่มิได้เป็นไปเพื่อการกระทำให้เกิดทรัพย์ แก่บุคคลผู้ไม่มีทรัพย์ทั้งหลาย ดังนั้นแล้ว ความยากจนขัดสน ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด;
เพราะความยากจนขัดสนเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด อทินนาทาน (ลักทรัพย์) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด;
เพราะอทินนาทานเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด การใช้ศัสตราวุธโดยวิธีการต่างๆ ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด;
เพราะการใช้ศัสตราวุธโดยวิธีการต่างๆ เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด ปาณาติบาต (ซึ่งหมายถึงการฆ่ามนุษย์ด้วยกัน) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด;
เพราะปาณาติบาตเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด มุสาวาท (การหลอกลวงคดโกง) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด; (ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาจาก ๘ หมื่นปี เหลือเพียง ๔ หมื่นปี)
เพราะมุสาวาทเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด ปิสุณาวาท (การพูดจายุแหย่เพื่อการแตกกันเป็นก๊ก เป็นหมู่ ทำลายความสามัคคี) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด; (ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๒ หมื่นปี)
เพราะปิสุณาวาทเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด กาเมสุมิจฉาจาร (การทำชู้ การละเมิดของรักของบุคคลอื่น) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด; (ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๑ หมื่นปี)
เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด ผรุสวาท และ สัมผัปปลาปวาท (การใช้คำหยาบ และคำพูดเพ้อเจ้อเพื่อความสำราญ) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด; (ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๕ พันปี)
เพราะผรุสวาทและสัมผัปปลาปวาทเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด อภิชฌาและพยาบาท (แผนการกอบโกย และการทำลายล้าง) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด; (ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๒,๕๐๐-๒,๐๐๐ ปี)
เพราะอภิชฌาและพยาบาทเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิดชนิดเห็นกงจักรเป็นดอกบัว นิยมความชั่ว) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด; (ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๑,๐๐๐ ปี)
เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด (อกุศล) ธรรมทั้งสาม คือ อธัมมราคะ (ความยินดีที่ไม่เป็นธรรม) วิสมโลภะ (ความโลภไม่สิ้นสุด) มิจฉาธรรม (การประพฤติตามอำนาจกิเลส) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด (อย่างไม่แยกกัน); (ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๕๐๐ ปี)
เพราะ (อกุศล) ธรรม ทั้งสาม ... นั้นเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด (อกุศล) ธรรมทั้งหลาย คือ ไม่ปฏิบัติอย่างถูกต้องในมารดา, บิดา, สมณพราหมณ์ ไม่มีกุลเชฏฐาปจายนธรรม (ความอ่อนน้อมตามฐานะสูงต่ำ) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด. (ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๒๕๐-๒๐๐-๑๐๐ ปี)
สมัยนั้น จักมีสมัยที่มนุษย์มีอายุขัยลดลงมาเหลือเพียง ๑๐ ปี (จักมีลักษณะแห่งความเสื่อมเสียมีประการต่างๆ ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า) : หญิงอายุ ๕ ปี ก็มีบุตร; รสทั้งห้า คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และรสเค็ม ก็ไม่ปรากฏ; มนุษย์ทั้งหลาย กินหญ้าที่เรียกว่า กุท๎รูสกะ (ซึ่งนิยมแปลกันว่าหญ้ากับแก้) แทนการกินข้าว; กุศลกรรมบถหายไป ไม่มีร่องรอย, อกุศลกรรมบถ รุ่งเรืองถึงที่สุด; ในหมู่มนุษย์ ไม่มีคำพูดว่ากุศล จึงไม่มีการทำกุศล; มนุษย์สมัยนั้น จักไม่ยกย่องสรรเสริญ ความเคารพเกื้อกูลต่อมารดา (มัตเตยยธรรม), ความเคารพเกื้อกูลต่อบิดา (เปตเตยยธรรม), ความเคารพเกื้อกูลต่อสมณะ (สามัญญธรรม), ความเคารพเกื้อกูลต่อพราหมณ์ (พรหมัญญธรรม), และกุลเชฏฐาปจายนธรรม, เหมือนอย่างที่มนุษย์ยกย่องกันอยู่ในสมัยนี้; ไม่มีคำพูดว่า แม่ น้าชาย น้าหญิง พ่อ อา ลุง ป้า ภรรยาของอาจารย์ และคำพูดว่า เมียของครู; สัตว์โลกจักกระทำการสัมเภท (สมสู่
) เช่นเดียวกันกับแพะ แกะ ไก่ สุกร สุนัข สุนัขจิ้งจอก; ความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดฆ่า เป็นไปอย่างแรงกล้า แม้ในระหว่างมารดากับบุตร บุตรกับมารดา บิดากับบุตร บุตรกับบิดา พี่กับน้อง น้องกับพี่ ทั้งชายและหญิง เหมือนกับที่นายพรานมีความรู้สึกต่อเนื้อทั้งหลาย.
ในสมัยนั้น จักมี สัตถันตรกัปป์ (การใช้ศัสตราวุธติดต่อกันไม่หยุดหย่อน) ตลอดเวลา ๗ วัน : สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น จักมีความสำคัญแก่กันและกัน ราวกะว่าเนื้อ; แต่ละคนมีศัสตราวุธในมือ ปลงชีวิตซึ่งกันและกันราวกะว่า ฆ่าปลา ฆ่าเนื้อ.
(มีมนุษย์หลายคน ไม่เข้าร่วมวงสัตถันตรกัปป์ด้วยความกลัว หนีไปซ่อนตัวอยู่ในที่ที่พอจะซ่อนตัวได้ตลอด ๗ วัน แล้วกลับออกมาพบกันและกัน ยินดีสวมกอดกัน กล่าวแก่กันและกันในที่นั้นว่า มีโชคดีที่รอดมาได้ แล้วก็ตกลงกันในการตั้งต้นประพฤติธรรมกันใหม่ต่อไป ชีวิตมนุษย์ก็ค่อยเจริญขึ้น จาก ๑๐ ปี ตามลำดับๆ จนถึงสมัย ๘ หมื่นปี อีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งเป็นสมัย แห่งศาสนาของพระพุทธเจ้ามีพระนามว่า เมตเตยยสัมมาสัมพุทธะ).
ชุดจากพระโอษฐ์ ๕ เล่ม เล่มที่ ๔
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
หน้าที่ ๕๘๑
ผลจากความไม่มีธรรมะของมนุษย์ (อย่างหนัก)
-บาลี ปา. ที. ๑๑/๗๐/๓๙.
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อพระราชา มีการกระทำชนิดที่เป็นไปแต่เพียงเพื่อการคุ้มครองอารักขา, แต่มิได้เป็นไปเพื่อการกระทำให้เกิดทรัพย์ แก่บุคคลผู้ไม่มีทรัพย์ทั้งหลาย ดังนั้นแล้ว ความยากจนขัดสน ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด;
เพราะความยากจนขัดสนเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด อทินนาทาน (ลักทรัพย์) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด;
เพราะอทินนาทานเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด การใช้ศัสตราวุธโดยวิธีการต่างๆ ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด;
เพราะการใช้ศัสตราวุธโดยวิธีการต่างๆ เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด ปาณาติบาต (ซึ่งหมายถึงการฆ่ามนุษย์ด้วยกัน) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด;
เพราะปาณาติบาตเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด มุสาวาท (การหลอกลวงคดโกง) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด; (ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาจาก ๘ หมื่นปี เหลือเพียง ๔ หมื่นปี)
เพราะมุสาวาทเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด ปิสุณาวาท (การพูดจายุแหย่เพื่อการแตกกันเป็นก๊ก เป็นหมู่ ทำลายความสามัคคี) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด; (ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๒ หมื่นปี)
เพราะปิสุณาวาทเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด กาเมสุมิจฉาจาร (การทำชู้ การละเมิดของรักของบุคคลอื่น) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด; (ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๑ หมื่นปี)
เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด ผรุสวาท และ สัมผัปปลาปวาท (การใช้คำหยาบ และคำพูดเพ้อเจ้อเพื่อความสำราญ) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด; (ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๕ พันปี)
เพราะผรุสวาทและสัมผัปปลาปวาทเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด อภิชฌาและพยาบาท (แผนการกอบโกย และการทำลายล้าง) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด; (ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๒,๕๐๐-๒,๐๐๐ ปี)
เพราะอภิชฌาและพยาบาทเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิดชนิดเห็นกงจักรเป็นดอกบัว นิยมความชั่ว) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด; (ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๑,๐๐๐ ปี)
เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด (อกุศล) ธรรมทั้งสาม คือ อธัมมราคะ (ความยินดีที่ไม่เป็นธรรม) วิสมโลภะ (ความโลภไม่สิ้นสุด) มิจฉาธรรม (การประพฤติตามอำนาจกิเลส) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด (อย่างไม่แยกกัน); (ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๕๐๐ ปี)
เพราะ (อกุศล) ธรรม ทั้งสาม ... นั้นเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด (อกุศล) ธรรมทั้งหลาย คือ ไม่ปฏิบัติอย่างถูกต้องในมารดา, บิดา, สมณพราหมณ์ ไม่มีกุลเชฏฐาปจายนธรรม (ความอ่อนน้อมตามฐานะสูงต่ำ) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด. (ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๒๕๐-๒๐๐-๑๐๐ ปี)
สมัยนั้น จักมีสมัยที่มนุษย์มีอายุขัยลดลงมาเหลือเพียง ๑๐ ปี (จักมีลักษณะแห่งความเสื่อมเสียมีประการต่างๆ ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า) : หญิงอายุ ๕ ปี ก็มีบุตร; รสทั้งห้า คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และรสเค็ม ก็ไม่ปรากฏ; มนุษย์ทั้งหลาย กินหญ้าที่เรียกว่า กุท๎รูสกะ (ซึ่งนิยมแปลกันว่าหญ้ากับแก้) แทนการกินข้าว; กุศลกรรมบถหายไป ไม่มีร่องรอย, อกุศลกรรมบถ รุ่งเรืองถึงที่สุด; ในหมู่มนุษย์ ไม่มีคำพูดว่ากุศล จึงไม่มีการทำกุศล; มนุษย์สมัยนั้น จักไม่ยกย่องสรรเสริญ ความเคารพเกื้อกูลต่อมารดา (มัตเตยยธรรม), ความเคารพเกื้อกูลต่อบิดา (เปตเตยยธรรม), ความเคารพเกื้อกูลต่อสมณะ (สามัญญธรรม), ความเคารพเกื้อกูลต่อพราหมณ์ (พรหมัญญธรรม), และกุลเชฏฐาปจายนธรรม, เหมือนอย่างที่มนุษย์ยกย่องกันอยู่ในสมัยนี้; ไม่มีคำพูดว่า แม่ น้าชาย น้าหญิง พ่อ อา ลุง ป้า ภรรยาของอาจารย์ และคำพูดว่า เมียของครู; สัตว์โลกจักกระทำการสัมเภท (สมสู่) เช่นเดียวกันกับแพะ แกะ ไก่ สุกร สุนัข สุนัขจิ้งจอก; ความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดฆ่า เป็นไปอย่างแรงกล้า แม้ในระหว่างมารดากับบุตร บุตรกับมารดา บิดากับบุตร บุตรกับบิดา พี่กับน้อง น้องกับพี่ ทั้งชายและหญิง เหมือนกับที่นายพรานมีความรู้สึกต่อเนื้อทั้งหลาย.
ในสมัยนั้น จักมี สัตถันตรกัปป์ (การใช้ศัสตราวุธติดต่อกันไม่หยุดหย่อน) ตลอดเวลา ๗ วัน : สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น จักมีความสำคัญแก่กันและกัน ราวกะว่าเนื้อ; แต่ละคนมีศัสตราวุธในมือ ปลงชีวิตซึ่งกันและกันราวกะว่า ฆ่าปลา ฆ่าเนื้อ.
(มีมนุษย์หลายคน ไม่เข้าร่วมวงสัตถันตรกัปป์ด้วยความกลัว หนีไปซ่อนตัวอยู่ในที่ที่พอจะซ่อนตัวได้ตลอด ๗ วัน แล้วกลับออกมาพบกันและกัน ยินดีสวมกอดกัน กล่าวแก่กันและกันในที่นั้นว่า มีโชคดีที่รอดมาได้ แล้วก็ตกลงกันในการตั้งต้นประพฤติธรรมกันใหม่ต่อไป ชีวิตมนุษย์ก็ค่อยเจริญขึ้น จาก ๑๐ ปี ตามลำดับๆ จนถึงสมัย ๘ หมื่นปี อีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งเป็นสมัย แห่งศาสนาของพระพุทธเจ้ามีพระนามว่า เมตเตยยสัมมาสัมพุทธะ).
ชุดจากพระโอษฐ์ ๕ เล่ม เล่มที่ ๔
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
หน้าที่ ๕๘๑