หรืออย่างต่ำก็คงทรงฌาน ไม่กลับมา วุ่นวายหรือขัดข้องกันอีกกระมัง
(โดนเด็กไม่รู้จักเคารพผู้ใหญ่ โง่แล้วดื้อคิดว่าตนเองถูก โลกหมุนรอบตัวเอง เถียงคำไม่ตกฟาก ไม่สนหลักฐาน แถด่าตลอด ใครจะเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือล่ะ ความเมตตา กรุณา ก็มีขีดจำกัด เมื่อถึงจุดหนึ่งก็ต้องวางอุเบกขา)
ตอนนี้ก็เลยมีพระสัทธรรมปฏิรูป เต็มไปหมด "เบย" เยอะ "ฝุดๆ"
กระเบื้องลอย น้ำเต้าจม
ของแท้ก็แทบไม่เหลือ
มีแต่กิ่ง และใบ เปลือกยังหายาก จะกล่าวไปใยถึงแก่นเล่า
ตั้งมั่นบนแผ่นดินนี้มายาวนานแล้ว มากกว่า 500 ปี คงได้เวลาย้ายไปสู่ที่ใหม่ ที่ๆ เขาเคารพนับถือกันที่แก่นจริงๆ ไม่ใช่งาน Events
เวลาเช้าคนไทยทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหาร
เวลาสาย บ่าย เย็น ฝรั่งเข้าฟังเข้าศึกษาธรรมะ
"บ่องตงนะ" คงต้องไปอยู่ตะวันตกจริงๆแล้วล่ะนะ
(แค่กระทู้บ่นๆ ไร้สาระอย่าถือสาหาความกันเลยนะครับ)
-----------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
๓. จักกวัตติสูตร (๒๖)
...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้
เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสน ก็ได้ถึงแก่ความแพร่หลาย
เมื่อ
ความขัดสน ถึงความแพร่หลาย อทินนาทาน ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อ
อทินนาทาน ถึงความแพร่หลาย ศัสตรา ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อ
ศัสตรา ถึงความแพร่หลาย ปาณาติบาต ถึงความแพร่หลาย
เมื่อ
ปาณาติบาต ถึงความแพร่หลาย มุสาวาท ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อ
มุสาวาท ถึงความแพร่หลาย ปิสุณาวาจา ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อ
ปิสุณาวาจา ถึงความแพร่หลาย กาเมสุมิจฉาจาร ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อ
กาเมสุมิจฉาจาร ถึงความแพร่หลาย ธรรม ๒ ประการคือ
ผรุสวาจา และสัมผัปปลาปะ ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อธรรม ๒ ประการ ถึงความแพร่หลาย อภิชฌาและพยาบาท ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อ
อภิชฌาและพยาบาท ถึงความแพร่หลาย มิจฉาทิฐิ ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อ
มิจฉาทิฐิ ถึงความแพร่หลาย ธรรม ๓ ประการคือ อธรรมราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรม ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
(๑)
อธรรมราคะ ความกำหนัดในฐานะอันไม่ชอบธรรม
(๒)
วิสมโลภ ความโลภไม่เลือก
(๓)
มิจฉาธรรม ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจผิดธรรมดา
เมื่อธรรม ๓ ประการถึงความแพร่หลาย
ธรรมเหล่านี้ คือ
ความไม่ปฏิบัติชอบในมารดา
ความไม่ปฏิบัติชอบในบิดา
ความไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ
ความไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์
ความไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล
ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อธรรมเหล่านี้ถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้
วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อสัตว์เหล่านั้นเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะ
บ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๕๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑๐๐ ปี ฯ
[๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักมีสมัยที่มนุษย์เหล่านี้มีบุตรอายุ ๑๐ ปี ใน
เมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕ ปี จักสมควรมีสามีได้ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี รสเหล่านี้คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง
น้ำอ้อย และเกลือ จักอันตรธานไปสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลายในเมื่อมนุษย์ มีอายุ
๑๐ ปี หญ้ากับแก้ ๑- จักเป็นอาหารอย่างดี ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนข้าวสุก
ข้าวสาลีระคนกับเนื้อสัตว์ จักเป็นอาหารอย่างดี ในบัดนี้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ก็จักเป็นอาหารอย่างดี ฉันนั้นเหมือนกัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี
กุศลกรรมบถ ๑๐ จักอันตรธานไปหมด
สิ้น อกุศลกรรมบถ ๑๐ จักรุ่งเรืองเหลือเกิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ
๑๐ ปี แม้แต่ชื่อว่ากุศลก็จักไม่มี และคนทำกุศลจักมีแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี คนทั้งหลายจักไม่ปฏิบัติชอบในมารดา จักไม่ปฏิบัติ
ชอบในบิดา จักไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ จักไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ จักไม่
ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล เขาเหล่านั้นก็จักได้รับการบูชา และ
ได้รับการสรรเสริญ เหมือนคนปฏิบัติชอบในมารดา ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติ
ชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ใน
ตระกูล ในบัดนี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เขาจักไม่มีจิตคิดเคารพ
ยำเกรงว่า นี่แม่ นี่น้า นี่พ่อ นี่อา นี่ป้า นี่ภรรยาของอาจารย์ หรือว่านี่ภรรยา
ของท่านที่เคารพทั้งหลาย สัตว์โลกจักถึงความสมสู่ปะปนกันหมด เปรียบเหมือน
แพะ ไก่ สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ
๑๐ ปี สัตว์เหล่านั้นต่างก็จักเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความ
คิดจะฆ่าอย่างแรงกล้าในกันและกัน มารดากับบุตรก็ดี บุตรกับมารดาก็ดี บิดากับ
บุตรก็ดี บุตรกับบิดาก็ดี พี่ชายกับน้องหญิงก็ดี น้องหญิงกับพี่ชายก็ดี
จักเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่ากันอย่างแรงกล้า
นายพรานเนื้อเห็นเนื้อเข้าเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่า
อย่างแรงกล้าฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
...
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=11&A=1189&Z=1702
สมาชิกรุ่นเก่าๆ ห้องนี้ คงบรรลุธรรม ไปหลายคนแล้ว
(โดนเด็กไม่รู้จักเคารพผู้ใหญ่ โง่แล้วดื้อคิดว่าตนเองถูก โลกหมุนรอบตัวเอง เถียงคำไม่ตกฟาก ไม่สนหลักฐาน แถด่าตลอด ใครจะเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือล่ะ ความเมตตา กรุณา ก็มีขีดจำกัด เมื่อถึงจุดหนึ่งก็ต้องวางอุเบกขา)
ตอนนี้ก็เลยมีพระสัทธรรมปฏิรูป เต็มไปหมด "เบย" เยอะ "ฝุดๆ"
กระเบื้องลอย น้ำเต้าจม
ของแท้ก็แทบไม่เหลือ
มีแต่กิ่ง และใบ เปลือกยังหายาก จะกล่าวไปใยถึงแก่นเล่า
ตั้งมั่นบนแผ่นดินนี้มายาวนานแล้ว มากกว่า 500 ปี คงได้เวลาย้ายไปสู่ที่ใหม่ ที่ๆ เขาเคารพนับถือกันที่แก่นจริงๆ ไม่ใช่งาน Events
เวลาเช้าคนไทยทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหาร
เวลาสาย บ่าย เย็น ฝรั่งเข้าฟังเข้าศึกษาธรรมะ
"บ่องตงนะ" คงต้องไปอยู่ตะวันตกจริงๆแล้วล่ะนะ
(แค่กระทู้บ่นๆ ไร้สาระอย่าถือสาหาความกันเลยนะครับ)
-----------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
๓. จักกวัตติสูตร (๒๖)
...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้
เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสน ก็ได้ถึงแก่ความแพร่หลาย
เมื่อความขัดสน ถึงความแพร่หลาย อทินนาทาน ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่ออทินนาทาน ถึงความแพร่หลาย ศัสตรา ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อศัสตรา ถึงความแพร่หลาย ปาณาติบาต ถึงความแพร่หลาย
เมื่อปาณาติบาต ถึงความแพร่หลาย มุสาวาท ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อมุสาวาท ถึงความแพร่หลาย ปิสุณาวาจา ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อปิสุณาวาจา ถึงความแพร่หลาย กาเมสุมิจฉาจาร ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อกาเมสุมิจฉาจาร ถึงความแพร่หลาย ธรรม ๒ ประการคือ ผรุสวาจา และสัมผัปปลาปะ ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อธรรม ๒ ประการ ถึงความแพร่หลาย อภิชฌาและพยาบาท ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่ออภิชฌาและพยาบาท ถึงความแพร่หลาย มิจฉาทิฐิ ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อมิจฉาทิฐิ ถึงความแพร่หลาย ธรรม ๓ ประการคือ อธรรมราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรม ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
(๑) อธรรมราคะ ความกำหนัดในฐานะอันไม่ชอบธรรม
(๒) วิสมโลภ ความโลภไม่เลือก
(๓) มิจฉาธรรม ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจผิดธรรมดา
เมื่อธรรม ๓ ประการถึงความแพร่หลาย
ธรรมเหล่านี้ คือ
ความไม่ปฏิบัติชอบในมารดา
ความไม่ปฏิบัติชอบในบิดา
ความไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ
ความไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์
ความไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล
ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อธรรมเหล่านี้ถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้
วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อสัตว์เหล่านั้นเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะ
บ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๕๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑๐๐ ปี ฯ
[๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักมีสมัยที่มนุษย์เหล่านี้มีบุตรอายุ ๑๐ ปี ใน
เมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕ ปี จักสมควรมีสามีได้ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี รสเหล่านี้คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง
น้ำอ้อย และเกลือ จักอันตรธานไปสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลายในเมื่อมนุษย์ มีอายุ
๑๐ ปี หญ้ากับแก้ ๑- จักเป็นอาหารอย่างดี ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนข้าวสุก
ข้าวสาลีระคนกับเนื้อสัตว์ จักเป็นอาหารอย่างดี ในบัดนี้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ก็จักเป็นอาหารอย่างดี ฉันนั้นเหมือนกัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี กุศลกรรมบถ ๑๐ จักอันตรธานไปหมด
สิ้น อกุศลกรรมบถ ๑๐ จักรุ่งเรืองเหลือเกิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ
๑๐ ปี แม้แต่ชื่อว่ากุศลก็จักไม่มี และคนทำกุศลจักมีแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี คนทั้งหลายจักไม่ปฏิบัติชอบในมารดา จักไม่ปฏิบัติ
ชอบในบิดา จักไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ จักไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ จักไม่
ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล เขาเหล่านั้นก็จักได้รับการบูชา และ
ได้รับการสรรเสริญ เหมือนคนปฏิบัติชอบในมารดา ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติ
ชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ใน
ตระกูล ในบัดนี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เขาจักไม่มีจิตคิดเคารพ
ยำเกรงว่า นี่แม่ นี่น้า นี่พ่อ นี่อา นี่ป้า นี่ภรรยาของอาจารย์ หรือว่านี่ภรรยา
ของท่านที่เคารพทั้งหลาย สัตว์โลกจักถึงความสมสู่ปะปนกันหมด เปรียบเหมือน
แพะ ไก่ สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ
๑๐ ปี สัตว์เหล่านั้นต่างก็จักเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความ
คิดจะฆ่าอย่างแรงกล้าในกันและกัน มารดากับบุตรก็ดี บุตรกับมารดาก็ดี บิดากับ
บุตรก็ดี บุตรกับบิดาก็ดี พี่ชายกับน้องหญิงก็ดี น้องหญิงกับพี่ชายก็ดี
จักเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่ากันอย่างแรงกล้า
นายพรานเนื้อเห็นเนื้อเข้าเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่า
อย่างแรงกล้าฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
...
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=11&A=1189&Z=1702