เมื่อการแก้ปัญหาดูเหมือนจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรสำหรับคุณ ก็จะทำให้คุณหันกลับมาใช้ความคิดไปในทางที่เหมาะสมได้ ซึ่งสอดคล้องกับกรณีศึกษาใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น
จากการทดลองก็มีทีมนักวิจัยหลายคนได้ทำการประเมินว่า ผู้คนบ่อยครั้งมีความเข้าใจในหลักการแก้ปัญหาได้อย่างแม่นยำกว่าการคิดเชิงวิเคราะห์
“จิตสำนึกจากความคิดเชิงวิเคราะห์บางครั้งก็มักจะทำให้เรารีบเร่งหรือเกิดความสะเพร่าขึ้นมา ซึ่งนำไปสู่ความผิดพลาดในขณะที่ทำการแก้ปัญหาอยู่” กล่าวโดยทีมนักวิจัยศาสตราจารย์ John Kounios ในมหาวิทยาลัย Drexel สาขาวิชาศิลปะกับวิทยาศาสตร์และผู้ร่วมเขียนหนังสือ “The Eureka Factor Aha Moments Creative Insight And The Brain” “อย่างไรก็ตาม เชาวน์ปัญญาก็เป็นจิตใต้สำนึกและเป็นกลไกไร้จิตสำนึก จึงไม่สามารถนำไปสู่ความรีบเร่งได้ เมื่อกระบวนการได้ดำเนินการลุล่วงในแต่ละช่วงเวลาและทุกๆส่วนมีการเชื่อมโยงไปยังจิตใต้สำนึก การแก้ปัญหาก็จะเริ่มก่อไอเดียบรรเจิดขึ้นมา หมายความว่าเมื่อใช้ความคิดสร้างสรรค์ ก็สามารถทำการแหกกรอบทางความคิดตามที่อยากจะคิดได้ บ่อยครั้งดีที่สุดก็คือจะต้องรอเวลาปรับความคิดมากกว่าที่จะมาตั้งค่ารูปแบบการคิดเชิงวิเคราะห์”
การทดลองก็ใช้ปริศนาที่แตกต่างกันออกไปถึง 4 รูปแบบด้วยกันที่แสดงให้เห็นว่า คำตอบต่างๆเกิดขึ้นจากการใช้เชาวน์ปัญญาแบบฉับพลัน (จากการอธิบายในช่วงที่เกิดไอเดียบรรเจิดขึ้นมา) ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นคำตอบที่ถูกต้อง ยิ่งไปกว่านั้นผู้คนที่มีแนวโน้มใช้เชาวน์ปัญญามากขึ้น ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะยิ่งหลีกเลี่ยงการขีดเส้นตายมากกว่าที่จะให้คำตอบไม่ถูกต้อง แต่ในช่วงที่ตอบก็จะมีการตอบสนองผ่านไปยังการคิดเชิงวิเคราะห์ (มีการอธิบายแนวคิดเอาไว้ว่า มีการทำงานผ่านจิตสำนึกและเจตนาให้เป็นแบบนั้น) ก็ยิ่งดูเหมือนว่าคำตอบที่ได้รับจะมาจากการขีดเส้นตาย ในช่วงให้คำตอบนาทีสุดท้ายส่วนใหญ่ก็จะให้คำตอบแบบผิดๆ
เชื่อในตัวเอง
ศาสตราจารย์ Carola Salvi แห่งมหาวิทยาลัย Northwestern เป็นหัวหน้าดำเนินผลงานภายใต้หัวข้อ “การแก้ปัญหาด้วยเชาวน์ปัญญาบ่อยครั้งจะมีความถูกต้องแม่นยำกว่าการแก้ปัญหาเชิงวิเคราะห์” ในนิตยสาร Thinking & Reasoning
“ในประวัติการค้นพบที่ผ่านมานั้น ก็จะเห็นได้ถึงความสำเร็จในการใช้เชาวน์ปัญญาในแต่ละครั้ง ทั้งยังเป็นการสนับสนุนความเชื่อที่ว่า เมื่อไรที่ผู้คนได้ใช้เชาวน์ปัญญา พวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะแก้ปัญหาได้ถูกต้องแม่นยำมากกว่า” Salvi ได้อธิบาย “อย่างไรก็ตามความเชื่อนี้ก็ยังไม่เคยนำมาทดสอบและอาจจะมีแนวโน้มรายงานข้อมูลผิดๆไปในทางแง่บวกเพียงอย่างเดียวและมองข้ามการใช้เชาวน์ปัญญาที่ไม่ได้ผลในบางกรณี จากการศึกษาของพวกเราก็ได้มีการทดสอบหลักข้อสมมุติฐานว่า ความเชื่อมั่นของผู้คนบ่อยครั้งก็แสดงให้เห็นถึงการใช้หลักเชาวน์ปัญญา”
ผู้เขียนร่วมกับ Salvi กับ Kounios ก็คือ Mark Beeman (เป็นผู้เขียนร่วม “The Eureka Factor” กับ Kounios) แห่งมหาลัย Northwestern ,Edward Bowden แห่งมหาลัย Wisconsin parkside และ Emanuela Bricolo แห่งมหาลัย Milano-Bicocca ในประเทศอิตาลี
ทำการทดสอบเชาวน์ปัญญา
จากการศึกษาทดลองแต่ละครั้งก็ได้แบ่งคำถามออกเป็นหมวดหมู่แต่ละประเภท ส่วนหนึ่งก็ให้คำถามเกี่ยวกับภาษา อีกส่วนหนึ่งก็จะเป็นการทดสอบสายตา และอีกส่วนหนึ่งก็จะทำการทดสอบคำถามทั้งสองอย่างพร้อมๆกัน
ตัวอย่างเช่น กลุ่มหนึ่งที่ได้รับคำถามเกี่ยวกับภาษาก็จะให้รูปแบบคำถามที่ไม่เหมือนกันเช่น “Crab” , “Pine”, “Sauce” การทดลองกับผู้ทดสอบก็ได้มีการเตรียมข้อมูลคำถามที่พวกเขาสามารถเติมคำผสมลงไปได้ ซึ่ง “Apple” ก็เป็นคำตอบสำหรับกรณีตัวอย่างนี้ ส่วนคำถามทดสอบสายตาก็จะมีการเตรียมรูปภาพต่างๆและผู้ทดลองก็จะต้องกล่าวว่า รูปภาพตามความคิดของพวกเขานั้นคืออะไร
การทดลองแต่ละอย่างประกอบไปด้วยโจทย์ปัญหาประมาณ 50 ถึง 180 คำถาม โดยผู้เข้าร่วมมีเวลา 15 หรือ 16 วินาทีหลังจากที่ได้เห็นโจทย์ปัญหาแล้ว ทันทีที่ผู้เข้าร่วมคิดว่าพวกเขาตอบคำถามได้แล้ว พวกเขาก็จะกดปุ่มและให้คำตอบ จากนั้นทาทีมงานก็ได้ทำการบันทึกรายงานไม่ว่าการตอบคำถามจะมาจากความคิดเชาวน์ปัญญาหรือมาจากความคิดเชิงวิเคราะห์ก็ตาม
โดยทั่วไปมีการให้คำตอบสนองทางด้านเชาวน์ปัญญาที่พิสูจน์พบว่ามีความถูกต้องแม่นยำ ในโจทย์ทางด้านภาษานั้น มี 94 เปอร์เซ็นต์ที่มีการให้คำตอบทางด้านเชาวน์ปัญญาได้อย่างถูกต้อง เปรียบเทียบกับ 78 เปอร์เซ็นต์ซึ่งมีการให้คำตอบโดยการคิดเชิงวิเคราะห์ สำหรับโจทย์ทางด้านสายตานั้น 78 เปอร์เซ็นต์ก็ให้คำตอบได้อย่างถูกต้อง เทียบกับ 42 เปอร์เซ็นต์ที่ให้คำตอบโดยการคิดเชิงวิเคราะห์
คาดเดาได้แย่ทำให้มีการใช้หลักเชาวน์ปัญญาที่ดีมากขึ้น
เมื่อได้ใช้เวลาในการประเมินให้คำตอบ คำตอบส่วนใหญ่ผู้คนมักจะตอบในช่วง 5 วินาทีสุดท้ายก่อนที่จะถึงจุดขีดเส้นตาย ซึ่งมีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะให้คำตอบได้อย่างถูกต้องแม่นยำ สำหรับโจทย์ทางด้านภาษานั้น มีอยู่ 34 เปอร์เซ็นต์ที่ให้คำตอบผิด เมื่อเทียบกับ 10 เปอร์เซ็นต์ที่ให้คำตอบผิดจากการให้คำตอบแบบรวดเร็ว สำหรับโจทย์ทางด้านสายตานั้น มีอยู่ 72 เปอร์เซ็นต์ที่ให้คำตอบในช่วง 5 วินาทีสุดท้ายที่พบว่าเป็นคำตอบที่ผิด
คำตอบที่ผิดส่วนใหญ่มาจากการคิดเชิงวิเคราะห์ จากการทดลองนั้น ก็มีจำนวนผู้ให้คำตอบผิดที่พบว่ามีความสอดคล้องกับการคิดเชิงวิเคราะห์ ในช่วงที่ให้คำตอบ 5 วินาทีสุดท้ายก็พบว่ายิ่งมีการให้คำตอบแบบผิดๆมากถึง 2 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้เชาวน์ปัญญา
จำนวนผู้คนที่ให้คำตอบในช่วง 5 วินาทีสุดท้ายบางคนก็มีการใช้การคาดเดาในการแก้โจทย์ปัญหา ซึ่งผู้คนที่ให้คำตอบนั้นเป็นนักคิดเชิงวิเคราะห์
“การขีดเส้นตายเป็นตัวสร้างความฉลาดหรือก่อให้เกิดความรู้สึกที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล” Kounios กล่าว “ความวิตกกังวลเป็นตัวขับเคลื่อนความคิดจากเชาวน์ปัญญาไปสู่การวิเคราะห์ การขีดเส้นตายช่วยให้พวกเขาพยายามใช้ความคิดมากขึ้น แต่หากมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ก็ควรที่จะกำหนดขีดเส้นตายแบบยืดหยุ่นจะดีกว่า การขีดเส้นตายทำให้มีการให้คำตอบมากขึ้น แต่น้อยมากที่จะให้คำตอบไปในทางสร้างสรรค์”
นักคิดแบบเชาวน์ปัญญามีแนวโน้มที่จะไม่ให้คำตอบแบบคาดเดา พวกเขาจะไม่ให้คำตอบจนกว่าพวกเขาจะพบกับไอเดียที่บรรเจิด
“เนื่องจากการแก้ปัญหาด้วยเชาวน์ปัญญาเป็นกระบวนการนำไปสู่การทำงานของจิตสำนึก จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีการตรวจสอบและปรับเปลี่ยนกระบวนการก่อนที่จะตระหนักรู้ในวิธีการแก้ปัญหา” Salvi กล่าว
การนึกคิด Vs. ไอเดียบรรเจิด
การคิดเชิงวิเคราะห์เป็นที่รู้กันดีว่าเป็นกลยุทธ์การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง อย่างเช่น การแก้โจทย์ทางคณิตศาสตร์ Kounios กล่าว แต่ปัญหาใหม่ๆที่พบนั้นก็ไม่สามารถที่จะหาแนวทางการแก้ปัญหาได้ บ่อยครั้งการใช้เชาวน์ปัญญาถือเป็นวิธีการที่ดีที่สุด จากการศึกษาใหม่แสดงให้เห็นว่าผู้คนมีแนวโน้มที่จะใช้ความคิดตัดสินใจแบบฉับพลันมากขึ้น
“หมายความว่าทั้งสถานการณ์ของคนธรรมดาหรือคนที่มีความเป็นมืออาชีพนั้น เมื่อคนนั้นมีการใช้หลักเชาว์ปัญญาอย่างจริงจัง ไอเดียก็จะออกมาอย่างเป็นเรื่องเป็นราว” Kounios กล่าว “นั่นก็อาจจะไม่ได้หมายความว่าเป็นไอเดียที่ถูกต้องเสมอไป แต่มีความเป็นไปได้สูงที่จะคิดถูกมากกว่าแนวคิดอย่างมีแบบแผน”
ผู้แปล Mr.lawrence10
ที่มา sciencedaily.com
เชื่อในไอเดียบรรเจิดของคุณ : จากการทดลองแสดงให้เห็นว่าพวกเขาอาจจะคิดถูก
เมื่อการแก้ปัญหาดูเหมือนจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรสำหรับคุณ ก็จะทำให้คุณหันกลับมาใช้ความคิดไปในทางที่เหมาะสมได้ ซึ่งสอดคล้องกับกรณีศึกษาใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น
จากการทดลองก็มีทีมนักวิจัยหลายคนได้ทำการประเมินว่า ผู้คนบ่อยครั้งมีความเข้าใจในหลักการแก้ปัญหาได้อย่างแม่นยำกว่าการคิดเชิงวิเคราะห์
“จิตสำนึกจากความคิดเชิงวิเคราะห์บางครั้งก็มักจะทำให้เรารีบเร่งหรือเกิดความสะเพร่าขึ้นมา ซึ่งนำไปสู่ความผิดพลาดในขณะที่ทำการแก้ปัญหาอยู่” กล่าวโดยทีมนักวิจัยศาสตราจารย์ John Kounios ในมหาวิทยาลัย Drexel สาขาวิชาศิลปะกับวิทยาศาสตร์และผู้ร่วมเขียนหนังสือ “The Eureka Factor Aha Moments Creative Insight And The Brain” “อย่างไรก็ตาม เชาวน์ปัญญาก็เป็นจิตใต้สำนึกและเป็นกลไกไร้จิตสำนึก จึงไม่สามารถนำไปสู่ความรีบเร่งได้ เมื่อกระบวนการได้ดำเนินการลุล่วงในแต่ละช่วงเวลาและทุกๆส่วนมีการเชื่อมโยงไปยังจิตใต้สำนึก การแก้ปัญหาก็จะเริ่มก่อไอเดียบรรเจิดขึ้นมา หมายความว่าเมื่อใช้ความคิดสร้างสรรค์ ก็สามารถทำการแหกกรอบทางความคิดตามที่อยากจะคิดได้ บ่อยครั้งดีที่สุดก็คือจะต้องรอเวลาปรับความคิดมากกว่าที่จะมาตั้งค่ารูปแบบการคิดเชิงวิเคราะห์”
การทดลองก็ใช้ปริศนาที่แตกต่างกันออกไปถึง 4 รูปแบบด้วยกันที่แสดงให้เห็นว่า คำตอบต่างๆเกิดขึ้นจากการใช้เชาวน์ปัญญาแบบฉับพลัน (จากการอธิบายในช่วงที่เกิดไอเดียบรรเจิดขึ้นมา) ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นคำตอบที่ถูกต้อง ยิ่งไปกว่านั้นผู้คนที่มีแนวโน้มใช้เชาวน์ปัญญามากขึ้น ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะยิ่งหลีกเลี่ยงการขีดเส้นตายมากกว่าที่จะให้คำตอบไม่ถูกต้อง แต่ในช่วงที่ตอบก็จะมีการตอบสนองผ่านไปยังการคิดเชิงวิเคราะห์ (มีการอธิบายแนวคิดเอาไว้ว่า มีการทำงานผ่านจิตสำนึกและเจตนาให้เป็นแบบนั้น) ก็ยิ่งดูเหมือนว่าคำตอบที่ได้รับจะมาจากการขีดเส้นตาย ในช่วงให้คำตอบนาทีสุดท้ายส่วนใหญ่ก็จะให้คำตอบแบบผิดๆ
เชื่อในตัวเอง
ศาสตราจารย์ Carola Salvi แห่งมหาวิทยาลัย Northwestern เป็นหัวหน้าดำเนินผลงานภายใต้หัวข้อ “การแก้ปัญหาด้วยเชาวน์ปัญญาบ่อยครั้งจะมีความถูกต้องแม่นยำกว่าการแก้ปัญหาเชิงวิเคราะห์” ในนิตยสาร Thinking & Reasoning
“ในประวัติการค้นพบที่ผ่านมานั้น ก็จะเห็นได้ถึงความสำเร็จในการใช้เชาวน์ปัญญาในแต่ละครั้ง ทั้งยังเป็นการสนับสนุนความเชื่อที่ว่า เมื่อไรที่ผู้คนได้ใช้เชาวน์ปัญญา พวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะแก้ปัญหาได้ถูกต้องแม่นยำมากกว่า” Salvi ได้อธิบาย “อย่างไรก็ตามความเชื่อนี้ก็ยังไม่เคยนำมาทดสอบและอาจจะมีแนวโน้มรายงานข้อมูลผิดๆไปในทางแง่บวกเพียงอย่างเดียวและมองข้ามการใช้เชาวน์ปัญญาที่ไม่ได้ผลในบางกรณี จากการศึกษาของพวกเราก็ได้มีการทดสอบหลักข้อสมมุติฐานว่า ความเชื่อมั่นของผู้คนบ่อยครั้งก็แสดงให้เห็นถึงการใช้หลักเชาวน์ปัญญา”
ผู้เขียนร่วมกับ Salvi กับ Kounios ก็คือ Mark Beeman (เป็นผู้เขียนร่วม “The Eureka Factor” กับ Kounios) แห่งมหาลัย Northwestern ,Edward Bowden แห่งมหาลัย Wisconsin parkside และ Emanuela Bricolo แห่งมหาลัย Milano-Bicocca ในประเทศอิตาลี
ทำการทดสอบเชาวน์ปัญญา
จากการศึกษาทดลองแต่ละครั้งก็ได้แบ่งคำถามออกเป็นหมวดหมู่แต่ละประเภท ส่วนหนึ่งก็ให้คำถามเกี่ยวกับภาษา อีกส่วนหนึ่งก็จะเป็นการทดสอบสายตา และอีกส่วนหนึ่งก็จะทำการทดสอบคำถามทั้งสองอย่างพร้อมๆกัน
ตัวอย่างเช่น กลุ่มหนึ่งที่ได้รับคำถามเกี่ยวกับภาษาก็จะให้รูปแบบคำถามที่ไม่เหมือนกันเช่น “Crab” , “Pine”, “Sauce” การทดลองกับผู้ทดสอบก็ได้มีการเตรียมข้อมูลคำถามที่พวกเขาสามารถเติมคำผสมลงไปได้ ซึ่ง “Apple” ก็เป็นคำตอบสำหรับกรณีตัวอย่างนี้ ส่วนคำถามทดสอบสายตาก็จะมีการเตรียมรูปภาพต่างๆและผู้ทดลองก็จะต้องกล่าวว่า รูปภาพตามความคิดของพวกเขานั้นคืออะไร
การทดลองแต่ละอย่างประกอบไปด้วยโจทย์ปัญหาประมาณ 50 ถึง 180 คำถาม โดยผู้เข้าร่วมมีเวลา 15 หรือ 16 วินาทีหลังจากที่ได้เห็นโจทย์ปัญหาแล้ว ทันทีที่ผู้เข้าร่วมคิดว่าพวกเขาตอบคำถามได้แล้ว พวกเขาก็จะกดปุ่มและให้คำตอบ จากนั้นทาทีมงานก็ได้ทำการบันทึกรายงานไม่ว่าการตอบคำถามจะมาจากความคิดเชาวน์ปัญญาหรือมาจากความคิดเชิงวิเคราะห์ก็ตาม
โดยทั่วไปมีการให้คำตอบสนองทางด้านเชาวน์ปัญญาที่พิสูจน์พบว่ามีความถูกต้องแม่นยำ ในโจทย์ทางด้านภาษานั้น มี 94 เปอร์เซ็นต์ที่มีการให้คำตอบทางด้านเชาวน์ปัญญาได้อย่างถูกต้อง เปรียบเทียบกับ 78 เปอร์เซ็นต์ซึ่งมีการให้คำตอบโดยการคิดเชิงวิเคราะห์ สำหรับโจทย์ทางด้านสายตานั้น 78 เปอร์เซ็นต์ก็ให้คำตอบได้อย่างถูกต้อง เทียบกับ 42 เปอร์เซ็นต์ที่ให้คำตอบโดยการคิดเชิงวิเคราะห์
คาดเดาได้แย่ทำให้มีการใช้หลักเชาวน์ปัญญาที่ดีมากขึ้น
เมื่อได้ใช้เวลาในการประเมินให้คำตอบ คำตอบส่วนใหญ่ผู้คนมักจะตอบในช่วง 5 วินาทีสุดท้ายก่อนที่จะถึงจุดขีดเส้นตาย ซึ่งมีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะให้คำตอบได้อย่างถูกต้องแม่นยำ สำหรับโจทย์ทางด้านภาษานั้น มีอยู่ 34 เปอร์เซ็นต์ที่ให้คำตอบผิด เมื่อเทียบกับ 10 เปอร์เซ็นต์ที่ให้คำตอบผิดจากการให้คำตอบแบบรวดเร็ว สำหรับโจทย์ทางด้านสายตานั้น มีอยู่ 72 เปอร์เซ็นต์ที่ให้คำตอบในช่วง 5 วินาทีสุดท้ายที่พบว่าเป็นคำตอบที่ผิด
คำตอบที่ผิดส่วนใหญ่มาจากการคิดเชิงวิเคราะห์ จากการทดลองนั้น ก็มีจำนวนผู้ให้คำตอบผิดที่พบว่ามีความสอดคล้องกับการคิดเชิงวิเคราะห์ ในช่วงที่ให้คำตอบ 5 วินาทีสุดท้ายก็พบว่ายิ่งมีการให้คำตอบแบบผิดๆมากถึง 2 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้เชาวน์ปัญญา
จำนวนผู้คนที่ให้คำตอบในช่วง 5 วินาทีสุดท้ายบางคนก็มีการใช้การคาดเดาในการแก้โจทย์ปัญหา ซึ่งผู้คนที่ให้คำตอบนั้นเป็นนักคิดเชิงวิเคราะห์
“การขีดเส้นตายเป็นตัวสร้างความฉลาดหรือก่อให้เกิดความรู้สึกที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล” Kounios กล่าว “ความวิตกกังวลเป็นตัวขับเคลื่อนความคิดจากเชาวน์ปัญญาไปสู่การวิเคราะห์ การขีดเส้นตายช่วยให้พวกเขาพยายามใช้ความคิดมากขึ้น แต่หากมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ก็ควรที่จะกำหนดขีดเส้นตายแบบยืดหยุ่นจะดีกว่า การขีดเส้นตายทำให้มีการให้คำตอบมากขึ้น แต่น้อยมากที่จะให้คำตอบไปในทางสร้างสรรค์”
นักคิดแบบเชาวน์ปัญญามีแนวโน้มที่จะไม่ให้คำตอบแบบคาดเดา พวกเขาจะไม่ให้คำตอบจนกว่าพวกเขาจะพบกับไอเดียที่บรรเจิด
“เนื่องจากการแก้ปัญหาด้วยเชาวน์ปัญญาเป็นกระบวนการนำไปสู่การทำงานของจิตสำนึก จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีการตรวจสอบและปรับเปลี่ยนกระบวนการก่อนที่จะตระหนักรู้ในวิธีการแก้ปัญหา” Salvi กล่าว
การนึกคิด Vs. ไอเดียบรรเจิด
การคิดเชิงวิเคราะห์เป็นที่รู้กันดีว่าเป็นกลยุทธ์การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง อย่างเช่น การแก้โจทย์ทางคณิตศาสตร์ Kounios กล่าว แต่ปัญหาใหม่ๆที่พบนั้นก็ไม่สามารถที่จะหาแนวทางการแก้ปัญหาได้ บ่อยครั้งการใช้เชาวน์ปัญญาถือเป็นวิธีการที่ดีที่สุด จากการศึกษาใหม่แสดงให้เห็นว่าผู้คนมีแนวโน้มที่จะใช้ความคิดตัดสินใจแบบฉับพลันมากขึ้น
“หมายความว่าทั้งสถานการณ์ของคนธรรมดาหรือคนที่มีความเป็นมืออาชีพนั้น เมื่อคนนั้นมีการใช้หลักเชาว์ปัญญาอย่างจริงจัง ไอเดียก็จะออกมาอย่างเป็นเรื่องเป็นราว” Kounios กล่าว “นั่นก็อาจจะไม่ได้หมายความว่าเป็นไอเดียที่ถูกต้องเสมอไป แต่มีความเป็นไปได้สูงที่จะคิดถูกมากกว่าแนวคิดอย่างมีแบบแผน”
ผู้แปล Mr.lawrence10
ที่มา sciencedaily.com