บอกเลยค่ะ ว่าตอนแรกที่ดูทีเซอร์ไม่นึกว่าละครจะมาแนวนี้ด้วยเพราะทีเซอร์มันออกแนว คอมเมดี้บวกผีนิด ๆ
ซึ่งเป็นสไตล์หนังที่เราชอบดูมาก ๆค่ะ แต่ที่มันดีมากไปกว่านั้น สำหรับตอนแรกเมื่อวานคือ
ละครเรื่องนี้ เมื่อจบเป็นตอน จะมีพวกเกร็ดความรู้ทางการแพทย์ นั้นก็คือการรักษาทางโรคและอาการของผู้ป่วย
รวมไปถึงบอกสาเหตุของการเกิดโรคว่ามีอะไรบ้างที่ควรรู้
อย่างตอนเมื่อวาน อย่างโรคหอบจากอารมณ์คืออะไร ที่ได้คุณหมอจริง ๆมาอธิบายอาการและการพยาบาลเบื้องต้น
โรคหอบจากอารมณ์คืออะไร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ขออณุญาตแปะข้อมูลจากเว็บ http://rama4.mahidol.ac.th/ramamental/?q=generalknowledge/general/05012014-1359
คือการที่ผู้ป่วยมีอาการหายใจหอบเร็วและลึกอยู่นาน จนทำให้เกิดความผิดปกติของค่าสารเคมีในเลือด ทำให้มีอาการต่างๆ ทางร่างกายติดตามมา อาการดังกล่าว มักสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล หรือได้รับความกดดันทางจิตใจ ก่อนหน้าที่จะมีอาการ ซึ่งอาการดังกล่าว เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และไม่มีอันตรายถึงแก่ชีวิต หากไม่ได้เกิดจากสาเหตุทางกายอื่นๆ
ลักษณะอาการและสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากอะไร
ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจหอบเร็ว บ่นหายใจลำบาก หน้ามืด เวียนศีรษะ ใจสั่น อาจพบอาการเกร็ง มือจีบ และอาจมีอาการชาบริเวณรอบปากและนิ้วมือได้ ซึ่งอาการดังกล่าวเกิดจากปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดลดลง ทำให้เกิดการหดตัวของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะที่สมอง รวมทั้งมีการลดลงของค่าแคลเซียมที่เป็นตัวออกฤทธิ์ในเลือดลดลงด้วย อาการดังกล่าว มักสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล โดยก่อนเกิดอาการอาจพบว่า ผู้ป่วยมักมีปัญหากดดันจิตใจอย่างเห็นได้ชัด เช่น ทะเลาะกับคนใกล้ชิด หรือที่ทำงาน หรือมีปัญหาการเรียน ต้องสอบ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าว อาจคล้ายคลึงกับอาการหอบจากสาเหตุทางกายได้หลายสาเหตุ เช่น โรคหอบหืด (asthma) ภาวะหัวใจขาดเลือด ภาวะเป็นกรดในเลือดจากเบาหวาน (diabetic ketoacidosis) และอื่นๆ ดังนั้น ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยและการดูแลที่ถูกต้องตามสาเหตุต่อไป
วิธีการรักษา
รักษาอาการหายใจหอบ โดยการพยายามหายใจให้ช้าลง หรือให้หายใจในถุงกระดาษที่ครอบทั้งปากและจมูก รวมทั้งการได้รับยาในกลุ่มยาคลายกังวล จะช่วยให้อาการหายใจหอบทุเลาลง แต่หากผู้ป่วยไม่สามารถกินยาได้ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาฉีด ซึ่งจะออกฤทธิ์ได้รวดเร็ว
มักพบในกลุ่มบุคคลใด
อาการดังกล่าวพบบ่อยในผู้ป่วยหญิง วัยเรียน ถึงผู้ใหญ่ตอนต้น ก่อนเกิดอาการมักมีปัญหากดดันจิตใจ แต่ควรระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีอายุมาก มีโรคประจำตัวอยู่เดิม หรือบุคลิกเดิมของผู้ป่วยไม่มีปัญหาในการปรับตัวกับภาวะกดดันมาก่อน หรือผู้ป่วยที่มีอาการโดยที่ไม่มีปัญหากดดันที่ชัดเจน ซึ่งอาการดังกล่าวอาจเกิดจากสาเหตุทางกายที่กล่าวไปข้างต้น
ถือว่าเป็นโรคที่อันตรายร้ายแรงหรือไม่
ผู้ป่วยควรได้รับการอธิบายเพื่อเข้าใจถึงกลไกการเกิดอาการ รวมทั้งได้รับความมั่นใจว่าอาการดังกล่าวไม่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต และควรให้มาติดต่อรักษากับแพทย์ตามนัด
ต้องมีการบำบัดหรือรักษาอาการทางจิตหรือไม่
ผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเมื่อเกิดอาการ และ เนื่องจากอาการหอบทางอารมณ์ มักสัมพันธ์กับความตึงเครียดที่เกิดขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับ การรับมือและการแก้ไขสาเหตุของความตึงเครียด รวมทั้งและได้รับการดูแลด้านจิตใจ เพื่อให้ปรับตัวในการรับมือกับความเครียดได้ดีขึ้น
สามารถนำไปสู่โรคอื่นได้หรือไม่
ในผู้ป่วยที่สุขภาพร่างกายแข็งแรงดี อาการดังกล่าว จะไม่ได้นำไปสู่โรคอื่นๆที่อันตรายร้ายแรง
ผู้ป่วยโรคหอบจากอารมณ์จำเป็นต้องพกบัตรประจำคัวผู้ป่วยหรือไม่
การพกบัตรประจำตัวผู้ป่วย จะได้ประโยชน์ในแง่การได้รับความสะดวกเมื่อไปติดต่อกับทางโรงพยาบาล และในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการมาก ไม่สามารถให้ข้อมูลได้
ผู้ป่วยต้องนำอุปกรณ์ใดติดตัวบ้างเมื่อเกิดอาการกะทันหัน
ผู้ป่วยที่สามารถใช้วิธีการฝึกหายใจให้ช้าลง ในการลดอาการหอบหายใจเร็ว อาจไม่จำเป็นต้องพกอุปกรณ์ใดๆ แต่หากไม่สามารถใช้วิธีการดังกล่าวได้ อาจพกถุงกระดาษติดตัวเพื่อใช้เวลาเกิดอาการ
บทความโดย: พญ. ธนิตา หิรัญเทพ
และ
โรคทอกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) : มหันตภัยเงียบของตัวอ่อนในครรภ์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้การติดต่อของ โรคทอกโซพลาสโมซิส
โดยการกินโอโอซิสต์ระยะติดต่อ ที่ปนเปื้อนอยู่ในสภาพแวดล้อมหรือในเนื้อ ดิน และน้ำ โอโอซิสต์นี้จะมาจากสัตว์เพียงชนิดเดียว คือ สัตว์ในตระกูลแมว
โดยการกินเนื้อที่มีซีสต์ซึ่งภายในมีระยะแบรดดิซอยต์อยู่ โดยซีสต์จะอยู่ภายในเนื้อสัตว์หรือเครื่องในของสัตว์ที่เป็นโฮสต์ตัวกลางที่นำมากินเช่น สเต็ก ลาบดิบ โดยไม่ได้ทำให้สุกพอที่จะฆ่าเชื้อนี้ได้
โดยผ่านทางรก ในขณะที่แม่ตั้งท้อง โดยระยะแทคคิซอยต์จะผ่านจากแม่เข้าไปสู่ลูกโดยตรง โดยจะเข้าไปอยู่และทำให้เกิดซีสต์ที่สมอง ตา หรือที่อวัยวะอื่นๆ ของเด็กแรกคลอด
โดยผ่านทางน้ำนม โดยระยะระยะแทคคิซอยต์ จะออกมากับน้ำนมของแม่ เมื่อลูกกินนมก็จะได้รับเชื้อเข้าไป แต่กรณีนี้จะไม่ทำอันตรายกับลูกได้มากเท่ากับการผ่านทางรก
เกิดจากเชื้อที่ซ่อนอยู่ในร่างกายกลับมาเจริญเติบโตเมื่อผู้ติดเชื้อเกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
การวินิจฉัย
จากการตรวจหาแอนติบอดีย์ต่อเชื้อ ทอกโซพลาสมา กอนดิไอ
จากการตรวจโดยวิธี Sabin-Feldman dye test
จากการตรวจโดยวิธีปฏิกริยาลูกโซ่โพลิเมอเรส (Polymerase chain reaction – PCR)
การตรวจ MRI scan มีรอยโรคที่สมองก็ให้การวินิจฉัย
การเพาะเชื้อจากน้ำไขสันหลัง การวินิจฉัยที่บอกได้แน่นอนคือการน้ำเชื้อเนื้อสมองมาตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ซึ่งพบตัวเชื้อ
การป้องกันไม่โห้ติดโรคทอกโซพลาสโมซิส
(โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ครั้งแรกที่ไม่เคยติดเชื้อและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง)
ดื่มน้ำสะอาด
ไม่ดื่มนมดิบ
ไม่ควรรับประทานเนื้อดิบหรือไม่สุขที่ทำจาก แกะ หมู วัว ควรทำให้เนื้อสุกที่อุณหภูมิที่ 73-75 oC หรือจนกระทั้งไม่พบเนื้อแดงๆ เนื้อที่แช่แข็งหรือรมควันจะปลอดภัยจากเชื้อนี้
ล้างผัก ผลไม้ให้สะอาดก่อนรับประทาน
ล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสเนื้อดิบ
ล้างเครื่องครัวที่สัมผัสกับเนื้อดิบด้วยน้ำและสบู่
ในประเทศเขตอบอุ่นหรือหนาวลี้ยงแมวในบ้าน ควรทำความสะอาดถาดอุจจาระแมวด้วยน้ำร้อนเพื่อทำลายโอโอซิสต์
หลังจากการ ทำสวน ควรล้างมือให้สะอาด ควรสวมถุงมือขณะทำสวน
หญิงมีครรภ์และผู้ที่มีภาวะทางภูมิคุ้มกันบกพร่องควรหลีกเลี่ยงการอุ้มแมว หรือล้างถาดอุจจาระแมว
คนที่เล่นกับสุนัข ควรล้างมือสะอาด เนื่องจากอาจได้รับโอโอซิสต์ จากขนของสุนัขที่ปนเปื้อนอุจจาระแมว
หากเลี้ยงแมวควรมีกระบะให้แมวขับถ่ายและเปลี่ยนทุกวันและล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ ถ้าหากต้องทำเองต้องสวมถุงมือทุกครั้ง
ห้ามให้อาหารเนื้อดิบๆแก่แมว ควรเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารที่ทำให้สุก
หากจะซื้อแมวต้องอายุมากกว่า 1 ปีและสุขภาพแข็งแรง
ห้ามแมวเข้าห้องครัว
เลี้ยงแมวในบ้านเพื่อป้องกันการติดเชื้อหรือปล่อยโอโอซีสต์ออกสู่สิ่งแวดล้อม
ควรเลี้ยงแมวให้ห่างจากบริเวณที่เลี้ยงปศุสัตว์
ไม่ให้แมวของบ้านอื่นเข้ามาในอาณาเขตของบ้านเรา
การป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยเอดส์ จะให้ยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อเมื่อ
ถ้าเซลล์ CD4 น้อยกว่า100 เซลล์/ลบ.มม. ควรได้รับยาป้องกัน
ยาที่ป้องกันการติดเชื้อคือ Trimethoprim- Sulfadiazine
หรือ Dapsone: 100mg สัปดาห์ละสองครั้งร่วมกับ pyrimethamine
เมื่อผู้ป่วยได้รับยาต้านไวรัสเอดส์และมีเซลล์ CD4 มากกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม. เป็นเวลามากกว่า 3 เดือน
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIVและเป็นโรคทอกโซพลาสโมซิสแล้ว ควรได้ยาป้องกันตลอดชีวิต ยาที่นิยมใช้ได้ผลดีคือ pyrimethamine ร่วมกับ sulfadiazineและ leukoverin
อยากแนะนำซี่รี่ย์นี้ให้เพื่อนๆทุกคนนะคะ สำหรับคนที่อยากดูอะไรที่มีสาระ + ความสนุกจริง ๆ
ซีรี่ย์เรื่องนี้น่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีค่ะ สำหรับเรื่องราวๆดีๆในละครไทย ที่อยากเห็น
ขอชื่นชม GDH559 นะคะ จากซีรี่ย์ I see you พยาบาลเคสพิศวง ละครที่ให้ความรู้ทางการรักษาผู้ป่วยเบื้องต้นและการทำงานพยาบาล
ซึ่งเป็นสไตล์หนังที่เราชอบดูมาก ๆค่ะ แต่ที่มันดีมากไปกว่านั้น สำหรับตอนแรกเมื่อวานคือ
ละครเรื่องนี้ เมื่อจบเป็นตอน จะมีพวกเกร็ดความรู้ทางการแพทย์ นั้นก็คือการรักษาทางโรคและอาการของผู้ป่วย
รวมไปถึงบอกสาเหตุของการเกิดโรคว่ามีอะไรบ้างที่ควรรู้
อย่างตอนเมื่อวาน อย่างโรคหอบจากอารมณ์คืออะไร ที่ได้คุณหมอจริง ๆมาอธิบายอาการและการพยาบาลเบื้องต้น
โรคหอบจากอารมณ์คืออะไร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
และ โรคทอกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) : มหันตภัยเงียบของตัวอ่อนในครรภ์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อยากแนะนำซี่รี่ย์นี้ให้เพื่อนๆทุกคนนะคะ สำหรับคนที่อยากดูอะไรที่มีสาระ + ความสนุกจริง ๆ
ซีรี่ย์เรื่องนี้น่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีค่ะ สำหรับเรื่องราวๆดีๆในละครไทย ที่อยากเห็น