สอบถามเรื่องสารกัมมันตรังสี แต่ละชนิดการปนเปื้อนต่างกันอย่างไรครับ

จากข่าวในวันนี้ที่ผมรู้มา ตอนแรกมีคนไปเจอวัตถุปริศนาที่ติดป้ายเตือนเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสี/สารกัมมันตรังสี

ตอนแรกบ้างก็ว่าภายในอาจเป็นโคบอลต์-60 (ไม่รู้ใครบอก)
ต่อมาเบื้องต้นกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยก็ว่าเป็นซีเซียม-137
แต่ต่อมาตรวจสอบดูแล้วพบว่าเป็นอิริเดียม-192
ที่มา http://www.thairath.co.th/content/619317

ผมมีคำถามอยากถามครับ
สารโคบอลต์-60 ซีเซียม-137 อิริเดียม-192 และสารกัมมันตรังสีต่างๆ ที่ใช้กันในทางการแพทย์และอุตสาหกรรมนี้
แต่ละตัวอยู่ในรูป ธาตุ หรือสารประกอบอะไรยังไงครับ
สารกัมมันตรังสีแต่ละตัวนี้สามารถรั่วไหล แพร่กระจาย ปนเปื้อนไปกับสิ่งแวดล้อมได้หรือเปล่า ในกรณีที่สิ่งบรรจุเสียหาย
หรือว่าต่อให้สิ่งบรรจุเสียหายหรือไม่มีบรรจุ ก็ไม่รั่วไหล แค่แผ่กัมมันภาพรังสีออกมาเท่านั้น หรือเป็นอย่างอื่นครับ
ไม่ต้องตอบครบทุกตัวก็ได้ครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
อยากรู้จริงหรือเปล่าครับ ปส. เค้ามีหลักสูตรอบรมการป้องกันอันตรายจากรังสี อบรมแค่ 5 วันครับ สอบผ่านได้ Certificate ด้วยครับ ลองดูครับ อันนี้คุณจะได้รู้ทุกอย่างเลยครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่