บทความน่าสนใจดีค่ะอยากให้เพื่อนๆในพันทิปได้อ่าน
แล้วสังเกตตัวเองและคนรอบข้างว่ามีใครเข้าข่ายที่จะเป็นโรคนี้รึเปล่า
จขกท.ว่า มีไม่น้อยเลย ยิ่งNet idol และเยาวชนสมัยนี้ คนที่ชอบถ่ายรูปโชว์นม คนพวกนี้ก็เข้าข่ายนะ
เครดิตจากเว็บ Kapook :
http://health.kapook.com/view135632.html , WebMd, Psych Central
อาการป่วยที่ดูเหมือนจะเป็นเพียงแค่นิสัยปกติ แต่ถ้าสังเกตดี ๆ จะเห็นว่าระดับความหลงตัวเองของผู้ป่วยจะถึงขั้นสุด จนเหมือนโลกนี้มีแต่ฉันที่ถูกอยู่คนเดียว ซึ่งหากไม่รักษาอาจพัฒนาไปกระทำความผิดร้ายแรงโดยไม่รู้ผิดชอบชั่วดีได้
ชีวิตนี้เราต้องเคยเจอคนหลงตัวเองมาไม่มากก็น้อย เช่น หลงคิดว่าตัวเองสวย ดูดีแบบที่ใครก็สู้ไม่ได้ คิดว่าเป็นคนเก่งระดับเทพที่ใครจะเทียบชั้นก็ยาก หรือในโลกโซเซียลกับคนที่อัพรูปตัวเองบ่อย ๆ นี่ก็เข้าข่ายหลงตัวเองไม่น้อย ทว่าหากจะพูดถึงโรคหลงตัวเอง ยังมีข้อสังเกตถึงพฤติกรรมผู้ป่วยโรคหลงตัวเองอีกหลายอย่าง ซึ่งคุณสามารถเช็กอาการตัวเองไปพร้อม ๆ กับทำความรู้จักโรคนี้ให้มากขึ้น
โรคหลงตัวเอง คือ ?
โรคหลงตัวเอง (Narcissistic Personality Disorder) หรือ "นาซิซีติส" (Narcisisitic) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า NPD หรือภาวะ Narcissism ชื่อของโรคหลงตัวเองในภาษาอังกฤษมีต้นกำเนิดมาจากเทพนาร์ซิสซัส เทพกรีกที่หลงรูปตัวเองจนต้องถูกสาปให้ตกหลุมรักตัวเอง ซึ่งก็มีส่วนตรงกับอาการของผู้ป่วยโรคหลงตัวเองอยู่ไม่น้อย
แต่ในทางจิตวิทยา โรคหลงตัวเองคืออาการผิดปกติทางจิตที่มีอาการมากไปกว่าแค่หลงใหลในรูปโฉมของตัวเอง ทว่ายังมีเรื่องของความเห็นแก่ตัว ความรู้สึกอยากเป็นที่หนึ่ง อยากเป็นจุดสนใจ หรือความคิดที่ว่าตัวเองทำอะไรก็ไม่ผิด ซึ่งเป็นลักษณะของการถูกบ่มเพาะความคิดมาอย่างผิด ๆ จนนิสัยเหล่านี้ติดตัวมาในตอนโต กระทั่งทำให้เกิดเป็นโรคหลงตัวเองในที่สุด
สาเหตุโรคหลงตัวเอง
ทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคหลงตัวเองได้ แต่ก็มีความพยายามจะวิเคราะห์ความเป็นไปได้ออกมาในหลาย ๆ ทาง เช่น การสั่งสอนแบบผิด ๆ มาตั้งแต่เด็ก พันธุกรรมหรือความผิดปกติของยีน รวมทั้งความเครียดและการถูกกดดันจากครอบครัว รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่อยู่จนทำให้ต้องรักตัวเองมาก ๆ เป็นการทดแทน
โรคหลงตัวเอง อาการแบบไหนเข้าข่ายป่วย
อย่างที่บอกว่าอาการของโรคหลงตัวเองมีแค่เส้นกั้นบาง ๆ ระหว่างอาการป่วยกับนิสัยส่วนตัว ซึ่งถ้าจะเช็กให้ชัวร์ว่าป่วยด้วยโรคนี้จริงหรือไม่ อาจต้องดูจากอาการโรคหลงตัวเองตามนี้ด้วย โดยหากเช็กแล้วตรงกับความเป็นตัวเองเกิน 5 ข้อ ให้สงสัยว่าป่วยไว้ก่อนเลย
1. คิดแต่เรื่องของตัวเอง แถมยังชอบพูดถึงตัวเองในแง่ดีบ่อย ๆ
2. ชอบเรียกร้องความสนใจ อยากเป็นคนสำคัญตลอดเวลา
3. คิดว่าตัวเองเป็นบุคคล VIP ฉันนี่แหละสำคัญที่สุดในโลกแล้ว
4. ชอบเพ้อฝันถึงเรื่องเกินจริง มโนแจ่มไปกับสิ่งที่เป็นภาพลวงตา คิดว่าตัวเองเก่งสารพัดอย่าง และต้องได้รับแต่สิ่งดี ๆ
5. อารมณ์แปรปรวน เหวี่ยงวีน และมักจะไม่พอใจอะไรบ่อย ๆ
6. ไม่แคร์ใคร ไม่ใส่ใจความรู้สึกของคนรอบข้าง
7. ต้องการที่จะชนะทุกสิ่งอย่างบนโลกนี้ โดยไม่สนว่าอะไรจะผิดจะถูก คิดว่าตัวเองยิ่งใหญ่คับฟ้า ทำอะไรก็ได้
8. คิดว่าตัวเองมีแต่คนอิจฉา หรือรู้สึกอิจฉาคนรอบข้างบ่อยครั้ง
9. ต้องการมีอำนาจ ต้องการคำชมเชย และอยากเป็นที่รักของคนอื่นอยู่เสมอ
10. เอาแต่ใจตัวเอง จนไม่แคร์ว่าสิ่งที่ทำจะเป็นการเอารัดเอาเปรียบคนอื่นหรือไม่
11. มักจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง อวดสิ่งที่มีสิ่งที่ได้ หรือเรียกง่าย ๆ ว่ากร่างไปทั่ว
12. คบกับใครไม่ได้นาน อยู่ร่วมกับคนอื่นยาก
13. อ่อนไหวง่าย และมักจะฟูมฟายกับเรื่องที่เสียใจแบบเกินเหตุ
14. ทนไม่ได้กับการถูกวิพากษ์วิจารณ์
15. ไม่ยอมรับความผิดของตัวเอง และมักจะโทษว่าเป็นความผิดของบุคคลอื่นร่ำไป
16. รู้สึกเหมือนตัวเองเหนือกว่าคนอื่น และสามารถจะผลักใครให้พ้นทางก็ได้
17. ชอบที่จะเป็นผู้รับ โดยที่ไม่คิดจะเป็นผู้ให้
พฤติกรรมที่ว่ามาทั้งหมดอาจไปตรงกับใครหลาย ๆ คน ทว่าบางทีก็อาจเป็นแค่อุปนิสัยส่วนตัวที่ไม่ได้นับว่าเป็นโรค และบางคนก็ยังสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ปกติโดยไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ใคร ดังนั้นหากจะให้แน่ใจจริง ๆ ควรได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์อีกครั้งนะคะ
การรักษา
การรักษาโรคหลงตัวเองอาจทำได้เพียงแค่บำบัดอาการผิดปกติทางความคิดและจิตใจ ปรับทัศนคติให้ผู้ป่วยเปิดกว้างกับคนรอบข้างมากขึ้น และยังไม่มียารักษาโรคหลงตัวเองโดยตรง เพียงแต่หากผู้ป่วยมีความเครียดหรือความวิตกกังวล จิตแพทย์ก็อาจจะจ่ายยาแก้เครียดให้
ส่วนในกรณีที่ผู้ป่วยติดเหล้าหรือยาเสพติด ซึ่งมักจะพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคหลงตัวเอง จิตแพทย์ก็จะช่วยบำบัดอาการเหล่านี้ไปพร้อมกันด้วย แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นเด็ก ทีมแพทย์จะช่วยปรับวิธีการเลี้ยงดูให้กับคนเป็นแม่ และส่งทีมผู้เชี่ยวชาญมาแนะแนวทางการสั่งสอนให้เด็กไม่เสี่ยงโรคหลงตัวเอง
โรคหลงตัวเองเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หรืออย่างน้อย ๆ ก็มีวิธีบำบัดให้อาการอยู่ในระดับที่สังคมพอให้อภัย แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยเองด้วยว่าจะให้ความร่วมมือในการรักษามากน้อยแค่ไหน เพราะถ้าอยากหายก็ต้องยอมรับว่าตัวเองเป็นผู้ป่วยให้ได้ก่อน และต้องยอมเข้ารับการบำบัดด้วยนะคะ
ดังนั้นหากคุณเช็กดูจากอาการคร่าว ๆ แล้วก็เหมือนจะเข้าข่ายนิสัยตัวเองหลายข้อ แนะนำให้ไปทำแบบทดสอบทางจิตวิทยากับจิตแพทย์เพื่อหาความชัดเจนให้ตัวเองก่อนดีกว่า
"โรคหลงตัวเอง" เช็กสิคุณแค่มั่นหน้า หรือมีอาการป่วย ?
แล้วสังเกตตัวเองและคนรอบข้างว่ามีใครเข้าข่ายที่จะเป็นโรคนี้รึเปล่า
จขกท.ว่า มีไม่น้อยเลย ยิ่งNet idol และเยาวชนสมัยนี้ คนที่ชอบถ่ายรูปโชว์นม คนพวกนี้ก็เข้าข่ายนะ
เครดิตจากเว็บ Kapook : http://health.kapook.com/view135632.html , WebMd, Psych Central
อาการป่วยที่ดูเหมือนจะเป็นเพียงแค่นิสัยปกติ แต่ถ้าสังเกตดี ๆ จะเห็นว่าระดับความหลงตัวเองของผู้ป่วยจะถึงขั้นสุด จนเหมือนโลกนี้มีแต่ฉันที่ถูกอยู่คนเดียว ซึ่งหากไม่รักษาอาจพัฒนาไปกระทำความผิดร้ายแรงโดยไม่รู้ผิดชอบชั่วดีได้
ชีวิตนี้เราต้องเคยเจอคนหลงตัวเองมาไม่มากก็น้อย เช่น หลงคิดว่าตัวเองสวย ดูดีแบบที่ใครก็สู้ไม่ได้ คิดว่าเป็นคนเก่งระดับเทพที่ใครจะเทียบชั้นก็ยาก หรือในโลกโซเซียลกับคนที่อัพรูปตัวเองบ่อย ๆ นี่ก็เข้าข่ายหลงตัวเองไม่น้อย ทว่าหากจะพูดถึงโรคหลงตัวเอง ยังมีข้อสังเกตถึงพฤติกรรมผู้ป่วยโรคหลงตัวเองอีกหลายอย่าง ซึ่งคุณสามารถเช็กอาการตัวเองไปพร้อม ๆ กับทำความรู้จักโรคนี้ให้มากขึ้น
โรคหลงตัวเอง คือ ?
โรคหลงตัวเอง (Narcissistic Personality Disorder) หรือ "นาซิซีติส" (Narcisisitic) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า NPD หรือภาวะ Narcissism ชื่อของโรคหลงตัวเองในภาษาอังกฤษมีต้นกำเนิดมาจากเทพนาร์ซิสซัส เทพกรีกที่หลงรูปตัวเองจนต้องถูกสาปให้ตกหลุมรักตัวเอง ซึ่งก็มีส่วนตรงกับอาการของผู้ป่วยโรคหลงตัวเองอยู่ไม่น้อย
แต่ในทางจิตวิทยา โรคหลงตัวเองคืออาการผิดปกติทางจิตที่มีอาการมากไปกว่าแค่หลงใหลในรูปโฉมของตัวเอง ทว่ายังมีเรื่องของความเห็นแก่ตัว ความรู้สึกอยากเป็นที่หนึ่ง อยากเป็นจุดสนใจ หรือความคิดที่ว่าตัวเองทำอะไรก็ไม่ผิด ซึ่งเป็นลักษณะของการถูกบ่มเพาะความคิดมาอย่างผิด ๆ จนนิสัยเหล่านี้ติดตัวมาในตอนโต กระทั่งทำให้เกิดเป็นโรคหลงตัวเองในที่สุด
สาเหตุโรคหลงตัวเอง
ทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคหลงตัวเองได้ แต่ก็มีความพยายามจะวิเคราะห์ความเป็นไปได้ออกมาในหลาย ๆ ทาง เช่น การสั่งสอนแบบผิด ๆ มาตั้งแต่เด็ก พันธุกรรมหรือความผิดปกติของยีน รวมทั้งความเครียดและการถูกกดดันจากครอบครัว รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่อยู่จนทำให้ต้องรักตัวเองมาก ๆ เป็นการทดแทน
โรคหลงตัวเอง อาการแบบไหนเข้าข่ายป่วย
อย่างที่บอกว่าอาการของโรคหลงตัวเองมีแค่เส้นกั้นบาง ๆ ระหว่างอาการป่วยกับนิสัยส่วนตัว ซึ่งถ้าจะเช็กให้ชัวร์ว่าป่วยด้วยโรคนี้จริงหรือไม่ อาจต้องดูจากอาการโรคหลงตัวเองตามนี้ด้วย โดยหากเช็กแล้วตรงกับความเป็นตัวเองเกิน 5 ข้อ ให้สงสัยว่าป่วยไว้ก่อนเลย
1. คิดแต่เรื่องของตัวเอง แถมยังชอบพูดถึงตัวเองในแง่ดีบ่อย ๆ
2. ชอบเรียกร้องความสนใจ อยากเป็นคนสำคัญตลอดเวลา
3. คิดว่าตัวเองเป็นบุคคล VIP ฉันนี่แหละสำคัญที่สุดในโลกแล้ว
4. ชอบเพ้อฝันถึงเรื่องเกินจริง มโนแจ่มไปกับสิ่งที่เป็นภาพลวงตา คิดว่าตัวเองเก่งสารพัดอย่าง และต้องได้รับแต่สิ่งดี ๆ
5. อารมณ์แปรปรวน เหวี่ยงวีน และมักจะไม่พอใจอะไรบ่อย ๆ
6. ไม่แคร์ใคร ไม่ใส่ใจความรู้สึกของคนรอบข้าง
7. ต้องการที่จะชนะทุกสิ่งอย่างบนโลกนี้ โดยไม่สนว่าอะไรจะผิดจะถูก คิดว่าตัวเองยิ่งใหญ่คับฟ้า ทำอะไรก็ได้
8. คิดว่าตัวเองมีแต่คนอิจฉา หรือรู้สึกอิจฉาคนรอบข้างบ่อยครั้ง
9. ต้องการมีอำนาจ ต้องการคำชมเชย และอยากเป็นที่รักของคนอื่นอยู่เสมอ
10. เอาแต่ใจตัวเอง จนไม่แคร์ว่าสิ่งที่ทำจะเป็นการเอารัดเอาเปรียบคนอื่นหรือไม่
11. มักจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง อวดสิ่งที่มีสิ่งที่ได้ หรือเรียกง่าย ๆ ว่ากร่างไปทั่ว
12. คบกับใครไม่ได้นาน อยู่ร่วมกับคนอื่นยาก
13. อ่อนไหวง่าย และมักจะฟูมฟายกับเรื่องที่เสียใจแบบเกินเหตุ
14. ทนไม่ได้กับการถูกวิพากษ์วิจารณ์
15. ไม่ยอมรับความผิดของตัวเอง และมักจะโทษว่าเป็นความผิดของบุคคลอื่นร่ำไป
16. รู้สึกเหมือนตัวเองเหนือกว่าคนอื่น และสามารถจะผลักใครให้พ้นทางก็ได้
17. ชอบที่จะเป็นผู้รับ โดยที่ไม่คิดจะเป็นผู้ให้
พฤติกรรมที่ว่ามาทั้งหมดอาจไปตรงกับใครหลาย ๆ คน ทว่าบางทีก็อาจเป็นแค่อุปนิสัยส่วนตัวที่ไม่ได้นับว่าเป็นโรค และบางคนก็ยังสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ปกติโดยไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ใคร ดังนั้นหากจะให้แน่ใจจริง ๆ ควรได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์อีกครั้งนะคะ
การรักษา
การรักษาโรคหลงตัวเองอาจทำได้เพียงแค่บำบัดอาการผิดปกติทางความคิดและจิตใจ ปรับทัศนคติให้ผู้ป่วยเปิดกว้างกับคนรอบข้างมากขึ้น และยังไม่มียารักษาโรคหลงตัวเองโดยตรง เพียงแต่หากผู้ป่วยมีความเครียดหรือความวิตกกังวล จิตแพทย์ก็อาจจะจ่ายยาแก้เครียดให้
ส่วนในกรณีที่ผู้ป่วยติดเหล้าหรือยาเสพติด ซึ่งมักจะพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคหลงตัวเอง จิตแพทย์ก็จะช่วยบำบัดอาการเหล่านี้ไปพร้อมกันด้วย แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นเด็ก ทีมแพทย์จะช่วยปรับวิธีการเลี้ยงดูให้กับคนเป็นแม่ และส่งทีมผู้เชี่ยวชาญมาแนะแนวทางการสั่งสอนให้เด็กไม่เสี่ยงโรคหลงตัวเอง
โรคหลงตัวเองเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หรืออย่างน้อย ๆ ก็มีวิธีบำบัดให้อาการอยู่ในระดับที่สังคมพอให้อภัย แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยเองด้วยว่าจะให้ความร่วมมือในการรักษามากน้อยแค่ไหน เพราะถ้าอยากหายก็ต้องยอมรับว่าตัวเองเป็นผู้ป่วยให้ได้ก่อน และต้องยอมเข้ารับการบำบัดด้วยนะคะ
ดังนั้นหากคุณเช็กดูจากอาการคร่าว ๆ แล้วก็เหมือนจะเข้าข่ายนิสัยตัวเองหลายข้อ แนะนำให้ไปทำแบบทดสอบทางจิตวิทยากับจิตแพทย์เพื่อหาความชัดเจนให้ตัวเองก่อนดีกว่า