Pre - แปลว่า ก่อน , ล่วงหน้า
Diabetes คือเบาหวาน
Prediabetes คือ ภาวะที่กำลังจะเป็นเบาหวานครับ
เราจะรู้ได้จากการเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาล แพทย์หรือพยาบาลจะเตือนเรา ว่าเริ่มมีน้ำตาลในเลือดสูงแล้ว แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นเบาหวาน
จุดนี้เป็นจุดสำคัญที่สุดเลย เพราะว่าการเริ่มปรับตัวที่จุดนี้ จะป้องกันโรคเบาหวานได้ ซึ่งเป็นโรคที่รู้กันดีว่าสร้างความทรมานให้กับชีวิตเราจริงๆ
เลยอยากแนะนำให้รู้จัก Prediabetes กันครับ
ภาวะกึ่งเบาหวานคืออะไร ?
ภาวะกึ่งงเบาหวาน คือ การที่มีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติ แต่ยังไม่ถึงระดับเบาหวาน
(Prediabetes : น้ำตาลขณะอดอาหาร 101-125 mg/dl
Diabetes หรือ เบาหวาน ตัดที่ > 125 mg/dl ขึ้นไปครับ )
แล้วมันสำคัญยังไง ?
ถ้าไม่มีการดูแลรักษาเพิ่มเติม จะมีโอกาสเป็นเบาหวานในอนาคตได้ภายใน 5 ปี
แต่การควบคุมอาหาร ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยลดโอกาสเป็นเบาหวานได้ถึง 50%
ภาวะนี้จึงสำคัญฉะนี้ เพราะว่าถ้ารู้เร็วก็จะช่วยป้องกันการเกิดเบาหวานในอนาคตได้มากเลยครับ
เคยมีการทำสถิติในประเทศเจริญแล้วอย่างอเมริกา ในผู้ใหญ่ 86 ล้านคน มีคนเป็นภาวะนี้ถึง 30 ล้านคน ( ประมาณ 1 ใน 3 )
และคนที่เป็นภาวะนี้ เกือบทุกคนจะไม่มีอาการ ไม่รู้ตัวเลยว่าเป็นครับ
เมื่อไรควรไปตรวจระดับน้ำตาลล่ะ ?
แนวทางการคัดกรองเบาหวานทั่วโลก แนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาล ในผู้ที่อายุมากกว่า 35 ปี
ร่วมกับ
1.ผู้ที่อ้วน (BMI 25 กก./ม.2 และ/หรือ มีรอบพุงเกินมาตรฐาน)
2. พ่อ แม่ พี่ หรือ น้อง เป็นโรคเบาหวาน
3. โรคความดันโลหิตสูงหรือรับประทานยาควบคุมความดันโลหิตอยู่
4. มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ
5. มีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือเคยคลอดบุตรที่น้ำหนักตัวแรกเกิดเกิน 4 กิโลกรัม
6. เคยได้รับการตรวจพบว่าเป็น impaired glucose tolerance
7. มีโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease)
การดูแลรักษา
ในความโชคร้ายยังมีโชคดี
การมาถึงของภาวะนี้แม้จะทำให้เรามีโอกาสเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้น
แต่ก็เป็นโอกาสอันดีในการที่เราจะเริ่มดูแลตัวเองครับ
การออกกำลังกายแอโรบิค
90-150 นาที/สัปดาห์ หรือวิ่งวันละ 30 นาที อาทิตย์ละ 3-5 วัน จะช่วยอินซูลินในร่างกายออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น ผลคือสามารถควบคุมน้ำตาลได้ดีขึ้นครับ
กินอาหารที่ดี
การลดน้ำหนักลง 5-10% จะช่วยให้อินซูลินออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลได้ดีขึ้นเช่นเดียวกันครับ
อย่าคิดว่าเบาหวานจะทำให้เราเซ็ง กินแต่ของไม่อร่อย เราสามารถควบคุมได้ครับ มื้อไหนหนักไป มื้อหน้าก็ลดหน่อย ออกกำลังกายเพิ่ม เท่านั้นเอง
ยาลดระดับน้ำตาล
โดยส่วนใหญ่แล้วจะยังไม่เริ่มใช้ยาในภาวะกึ่งเบาหวาน จะพิจารณาใช้เฉพาะคนที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ยากจริงๆ หลังจากลองออกกำลังกายและทานอาหารที่ดีแล้ว หรือคนที่มีโรคอื่นที่ทำอันตรายต่อสุขภาพ ร่วมกับโรคเบาหวานได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ซึ่งการใช้ยาควรได้รับการดูแลโดยแพทย์เสมอครับ
ขอให้ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรงครับ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ผมเป็นหมอครับ กำลังทำเพจเกี่ยวกับสุขภาพแบบง่ายๆ Facebook :
https://www.facebook.com/qiniccom/
สำหรับใครที่มีคำถาม หรืออยากแชร์ประสบการณ์ในการดูแลรักษาโรคต่างๆ ผมยินดีครับ
Prediabetes : นกหวีดเตือนเบาหวาน
Diabetes คือเบาหวาน
Prediabetes คือ ภาวะที่กำลังจะเป็นเบาหวานครับ
เราจะรู้ได้จากการเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาล แพทย์หรือพยาบาลจะเตือนเรา ว่าเริ่มมีน้ำตาลในเลือดสูงแล้ว แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นเบาหวาน
จุดนี้เป็นจุดสำคัญที่สุดเลย เพราะว่าการเริ่มปรับตัวที่จุดนี้ จะป้องกันโรคเบาหวานได้ ซึ่งเป็นโรคที่รู้กันดีว่าสร้างความทรมานให้กับชีวิตเราจริงๆ
เลยอยากแนะนำให้รู้จัก Prediabetes กันครับ
ภาวะกึ่งเบาหวานคืออะไร ?
ภาวะกึ่งงเบาหวาน คือ การที่มีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติ แต่ยังไม่ถึงระดับเบาหวาน
(Prediabetes : น้ำตาลขณะอดอาหาร 101-125 mg/dl
Diabetes หรือ เบาหวาน ตัดที่ > 125 mg/dl ขึ้นไปครับ )
แล้วมันสำคัญยังไง ?
ถ้าไม่มีการดูแลรักษาเพิ่มเติม จะมีโอกาสเป็นเบาหวานในอนาคตได้ภายใน 5 ปี
แต่การควบคุมอาหาร ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยลดโอกาสเป็นเบาหวานได้ถึง 50%
ภาวะนี้จึงสำคัญฉะนี้ เพราะว่าถ้ารู้เร็วก็จะช่วยป้องกันการเกิดเบาหวานในอนาคตได้มากเลยครับ
เคยมีการทำสถิติในประเทศเจริญแล้วอย่างอเมริกา ในผู้ใหญ่ 86 ล้านคน มีคนเป็นภาวะนี้ถึง 30 ล้านคน ( ประมาณ 1 ใน 3 )
และคนที่เป็นภาวะนี้ เกือบทุกคนจะไม่มีอาการ ไม่รู้ตัวเลยว่าเป็นครับ
เมื่อไรควรไปตรวจระดับน้ำตาลล่ะ ?
แนวทางการคัดกรองเบาหวานทั่วโลก แนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาล ในผู้ที่อายุมากกว่า 35 ปี
ร่วมกับ
1.ผู้ที่อ้วน (BMI 25 กก./ม.2 และ/หรือ มีรอบพุงเกินมาตรฐาน)
2. พ่อ แม่ พี่ หรือ น้อง เป็นโรคเบาหวาน
3. โรคความดันโลหิตสูงหรือรับประทานยาควบคุมความดันโลหิตอยู่
4. มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ
5. มีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือเคยคลอดบุตรที่น้ำหนักตัวแรกเกิดเกิน 4 กิโลกรัม
6. เคยได้รับการตรวจพบว่าเป็น impaired glucose tolerance
7. มีโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease)
การดูแลรักษา
ในความโชคร้ายยังมีโชคดี
การมาถึงของภาวะนี้แม้จะทำให้เรามีโอกาสเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้น
แต่ก็เป็นโอกาสอันดีในการที่เราจะเริ่มดูแลตัวเองครับ
การออกกำลังกายแอโรบิค
90-150 นาที/สัปดาห์ หรือวิ่งวันละ 30 นาที อาทิตย์ละ 3-5 วัน จะช่วยอินซูลินในร่างกายออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น ผลคือสามารถควบคุมน้ำตาลได้ดีขึ้นครับ
กินอาหารที่ดี
การลดน้ำหนักลง 5-10% จะช่วยให้อินซูลินออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลได้ดีขึ้นเช่นเดียวกันครับ
อย่าคิดว่าเบาหวานจะทำให้เราเซ็ง กินแต่ของไม่อร่อย เราสามารถควบคุมได้ครับ มื้อไหนหนักไป มื้อหน้าก็ลดหน่อย ออกกำลังกายเพิ่ม เท่านั้นเอง
ยาลดระดับน้ำตาล
โดยส่วนใหญ่แล้วจะยังไม่เริ่มใช้ยาในภาวะกึ่งเบาหวาน จะพิจารณาใช้เฉพาะคนที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ยากจริงๆ หลังจากลองออกกำลังกายและทานอาหารที่ดีแล้ว หรือคนที่มีโรคอื่นที่ทำอันตรายต่อสุขภาพ ร่วมกับโรคเบาหวานได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ซึ่งการใช้ยาควรได้รับการดูแลโดยแพทย์เสมอครับ
ขอให้ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรงครับ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ผมเป็นหมอครับ กำลังทำเพจเกี่ยวกับสุขภาพแบบง่ายๆ Facebook : https://www.facebook.com/qiniccom/
สำหรับใครที่มีคำถาม หรืออยากแชร์ประสบการณ์ในการดูแลรักษาโรคต่างๆ ผมยินดีครับ