ไขข้อสงสัย? สารพัดปัญหาเบาหวาน ที่หลายคนอยากรู้ !
Q : สังเกตตัวเองอย่างไร?... ว่าเป็นเบาหวาน
ปัจจุบันพบผู้ป่วยเบาหวานในคนอายุน้อยลงเนื่องจากน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หรือพบในผู้สูงอายุ เพราะเมื่ออายุมากขึ้นก็จะมีภาวะดื้ออินซูลินเกิดขึ้นได้ตามอายุ ผู้ป่วยเบาหวานจะมีอาการ 3 แบบใหญ่ๆ ที่ตรวจพบได้
แบบที่ 1 ดื่มน้ำเยอะ กินเก่งแต่น้ำหนักตัวลดลง ปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางคืน บางคนตื่นมาปัสสาวะทั้งคืน กลุ่มนี้จะรู้สึกอ่อนเพลียไม่มีแรง ในช่วงแรกๆ อาจจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้แต่ในระยะยาวผู้ป่วยกลุ่มนี้จะผอมลง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ก็จะสลายไขมันเป็นพลังงานแทนทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ผอมลงเรื่อยๆ
แบบที่ 2 ไม่มีอาการอะไรเลยแต่มาตรวจพบระหว่างตรวจร่างกายซึ่งพบได้บ่อย
แบบที่ 3 มีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้น เช่น การติดเชื้อ เป็นแผลเรื้อรังแล้วไม่หาย เมื่อไปตรวจก็พบว่ามีเบาหวานเกิดขึ้น
Q : เป็นเบาหวานแล้วรักษาหายไหม?
เบาหวานจัดว่าเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ต้องการดูแลและการรักษาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะเมื่อเป็นเบาหวานแล้วส่วนใหญ่ต้องอาศัยระเบียบวินัยในการดูแลตัวเองทั้งการกินอาหาร การออกกำลังกาย แล้วก็การกินยา
Q : ทำไม? ผู้ป่วยเบาหวานถึงต้องไปพบคุณหมอบ่อยๆ
การที่ต้องมาพบแพทย์สม่ำเสมอนั้น เพราะว่าเราทานอาหารแต่ละวันไม่เท่ากันและปริมาณน้ำตาลที่ทานเข้าไปก็ไม่เท่ากัน แต่ปริมาณยาต้องปรับตามน้ำตาล เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปกติให้มากที่สุด เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นจากการที่มีน้ำตาลในเลือดสูงนานๆ
โดยแพทย์จะใช้โปรแกรมการตรวจเบาหวาน ที่มีไว้สำหรับตรวจดูคุณภาพการควบคุมเบาหวานที่ผ่านมาว่าผู้ป่วยควบคุมเบาหวานได้ดีมากน้อยแค่ไหน น้ำตาลในเลือดเป็นอย่างไร มีโรคแทรกซ้อนอื่นที่เกี่ยวกับเบาหวานเกิดขึ้นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูงตลอดจนโรคแทรกซ้อนเรื้อรังที่อาจเกิดขึ้นจากการเป็นเบาหวานมานาน ซึ่งจะเกิดกับอวัยวะหลายอย่าง เช่น ตา ไต หัวใจ สมอง หรือเส้นเลือดที่ปลายมือ ปลายเท้า ซึ่งอาจจะสร้างปัญหาทำให้เกิดแผลเรื้อรังได้
การตรวจที่ว่านี้คือ การตรวจฮีโมโกลบิน เอวันชี (Hb A1C) เป็นการตรวจเพื่อดูระดับน้ำตาลที่จับอยู่กับเม็ดเลือดแดง ตรวจว่าที่ผ่านมาย้อนหลังไป 3 เดือน ระดับน้ำตาลในเลือดทั่วไปปกติดีหรือไม่ ทำให้ทราบถึงระดับน้ำตาลในเลือดแต่ละระดับที่จะส่งผลต่อสุขภาพ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการดูแลตัวเองของผู้ป่วยนั่นเอง
Q : รักษาเบาหวานไม่ยากอย่างที่คิด… จริงหรือ ?
การรักษาเบาหวานมีหลายวิธี สิ่งแรกคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิต ได้แก่ การคุมอาหารและการออกกำลังกายเพราะเป้าหมายของการรักษาเบาหวานคือ การพยายามควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติให้มากที่สุดเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น วิธีต่อมาคือการทานยา ซึ่งยาที่ใช้ในการควบคุมเบาหวานปัจจุบันมียาหลายกลุ่มที่ทำให้น้ำตาลในเลือดปกติได้ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละรายไป
ทั้งนี้ผู้ป่วยเบาหวานจะต้องมีความรู้สึกที่ดีกับการรักษาตัวอยู่ตลอดเวลา ปฎิบัติตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ปฏิเสธการทานยา การควบคุมอาหาร หรือการออกกำลังกายควบคุมเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติให้มากที่สุดและให้นานที่สุด ก็จะช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้
***ใครที่มีคำถามหรือสงสัยอะไร?... เกี่ยวกับโรคเบาหวาน สามารถคอมเมนต์ถามได้เลยนะครับ***
สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติและองค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น “วันเบาหวานโลก” หรือ“World Diabetes Day” โดยได้กำหนดสาระสำคัญประจำปี 2018-2019 คือ “The Family and Diabetes” เพราะครอบครัวคือส่วนสำคัญในการรักษาเบาหวาน เพื่อให้ทุกคนตระหนักรู้ถึงผลกระทบของโรคเบาหวานที่มีต่อคนในครอบครัว มุ่งให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัวในการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน รวมถึงการป้องกันโรคเบาหวานด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตวันประจำวัน
ไขข้อสงสัย? สารพัดปัญหาเบาหวาน ที่หลายคนอยากรู้ !
ไขข้อสงสัย? สารพัดปัญหาเบาหวาน ที่หลายคนอยากรู้ !
Q : สังเกตตัวเองอย่างไร?... ว่าเป็นเบาหวาน
ปัจจุบันพบผู้ป่วยเบาหวานในคนอายุน้อยลงเนื่องจากน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หรือพบในผู้สูงอายุ เพราะเมื่ออายุมากขึ้นก็จะมีภาวะดื้ออินซูลินเกิดขึ้นได้ตามอายุ ผู้ป่วยเบาหวานจะมีอาการ 3 แบบใหญ่ๆ ที่ตรวจพบได้
แบบที่ 1 ดื่มน้ำเยอะ กินเก่งแต่น้ำหนักตัวลดลง ปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางคืน บางคนตื่นมาปัสสาวะทั้งคืน กลุ่มนี้จะรู้สึกอ่อนเพลียไม่มีแรง ในช่วงแรกๆ อาจจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้แต่ในระยะยาวผู้ป่วยกลุ่มนี้จะผอมลง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ก็จะสลายไขมันเป็นพลังงานแทนทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ผอมลงเรื่อยๆ
แบบที่ 2 ไม่มีอาการอะไรเลยแต่มาตรวจพบระหว่างตรวจร่างกายซึ่งพบได้บ่อย
แบบที่ 3 มีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้น เช่น การติดเชื้อ เป็นแผลเรื้อรังแล้วไม่หาย เมื่อไปตรวจก็พบว่ามีเบาหวานเกิดขึ้น
Q : เป็นเบาหวานแล้วรักษาหายไหม?
เบาหวานจัดว่าเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ต้องการดูแลและการรักษาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะเมื่อเป็นเบาหวานแล้วส่วนใหญ่ต้องอาศัยระเบียบวินัยในการดูแลตัวเองทั้งการกินอาหาร การออกกำลังกาย แล้วก็การกินยา
Q : ทำไม? ผู้ป่วยเบาหวานถึงต้องไปพบคุณหมอบ่อยๆ
การที่ต้องมาพบแพทย์สม่ำเสมอนั้น เพราะว่าเราทานอาหารแต่ละวันไม่เท่ากันและปริมาณน้ำตาลที่ทานเข้าไปก็ไม่เท่ากัน แต่ปริมาณยาต้องปรับตามน้ำตาล เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปกติให้มากที่สุด เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นจากการที่มีน้ำตาลในเลือดสูงนานๆ
โดยแพทย์จะใช้โปรแกรมการตรวจเบาหวาน ที่มีไว้สำหรับตรวจดูคุณภาพการควบคุมเบาหวานที่ผ่านมาว่าผู้ป่วยควบคุมเบาหวานได้ดีมากน้อยแค่ไหน น้ำตาลในเลือดเป็นอย่างไร มีโรคแทรกซ้อนอื่นที่เกี่ยวกับเบาหวานเกิดขึ้นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูงตลอดจนโรคแทรกซ้อนเรื้อรังที่อาจเกิดขึ้นจากการเป็นเบาหวานมานาน ซึ่งจะเกิดกับอวัยวะหลายอย่าง เช่น ตา ไต หัวใจ สมอง หรือเส้นเลือดที่ปลายมือ ปลายเท้า ซึ่งอาจจะสร้างปัญหาทำให้เกิดแผลเรื้อรังได้
การตรวจที่ว่านี้คือ การตรวจฮีโมโกลบิน เอวันชี (Hb A1C) เป็นการตรวจเพื่อดูระดับน้ำตาลที่จับอยู่กับเม็ดเลือดแดง ตรวจว่าที่ผ่านมาย้อนหลังไป 3 เดือน ระดับน้ำตาลในเลือดทั่วไปปกติดีหรือไม่ ทำให้ทราบถึงระดับน้ำตาลในเลือดแต่ละระดับที่จะส่งผลต่อสุขภาพ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการดูแลตัวเองของผู้ป่วยนั่นเอง
Q : รักษาเบาหวานไม่ยากอย่างที่คิด… จริงหรือ ?
การรักษาเบาหวานมีหลายวิธี สิ่งแรกคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิต ได้แก่ การคุมอาหารและการออกกำลังกายเพราะเป้าหมายของการรักษาเบาหวานคือ การพยายามควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติให้มากที่สุดเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น วิธีต่อมาคือการทานยา ซึ่งยาที่ใช้ในการควบคุมเบาหวานปัจจุบันมียาหลายกลุ่มที่ทำให้น้ำตาลในเลือดปกติได้ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละรายไป
ทั้งนี้ผู้ป่วยเบาหวานจะต้องมีความรู้สึกที่ดีกับการรักษาตัวอยู่ตลอดเวลา ปฎิบัติตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ปฏิเสธการทานยา การควบคุมอาหาร หรือการออกกำลังกายควบคุมเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติให้มากที่สุดและให้นานที่สุด ก็จะช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้
***ใครที่มีคำถามหรือสงสัยอะไร?... เกี่ยวกับโรคเบาหวาน สามารถคอมเมนต์ถามได้เลยนะครับ***
สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติและองค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น “วันเบาหวานโลก” หรือ“World Diabetes Day” โดยได้กำหนดสาระสำคัญประจำปี 2018-2019 คือ “The Family and Diabetes” เพราะครอบครัวคือส่วนสำคัญในการรักษาเบาหวาน เพื่อให้ทุกคนตระหนักรู้ถึงผลกระทบของโรคเบาหวานที่มีต่อคนในครอบครัว มุ่งให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัวในการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน รวมถึงการป้องกันโรคเบาหวานด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตวันประจำวัน